กฎหมายอีเพย์เมนต์ก็คือ กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ที่ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป แม่ค้าออนไลน์ หรือผู้ทำธุรกิจใดๆ ที่มีบัญชีตรงตามเงื่อนไขจึงควรหัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล เรื่องนี้แม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ที่เงินสะพัดต้องสนใจ เพราะล่าสุดราชกิจจานุเบกษาออกประกาศ กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เพิ่มเติมลงในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (21 มี.ค.) เป็นต้นไป ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ที่กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษี

ในที่นี้พูดถึงว่าทั้งคนไทยและคนชาวต่างชาติ จะต้องมีเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้นให้เรามาดูข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันค่ะ

เริ่มเมื่อไหร่

เริ่มเมื่อไหร่

โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ข่าวคราวเรื่องการเก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ว่าทางกรมสรรพากรจะตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารซึ่งมีมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ได้มีการประกาศบังคับใช้จริงแล้ว เมื่อล่าสุด (วันที่ 20 มีนาคม 2562) ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ดังนั้น ใครที่รับโอนเงินถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี และไม่ใช่แค่คนขายของออนไลน์เท่านั้น แต่ทุกคนมีสิทธิ์โดนเหมือนกันหมด

ใช้กับใคร

ใช้กับใคร

มีดังต่อไปนี้ ร้านค้าออนไลน์ พ่อค้า-แม่ค้า มนุษย์เงินเดือน อาชีพรับจ้าง บริษัท-ห้างร้านต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ไม่ได้มีการยื่นเสียภาษีอย่างถูกต้อง

ต้องมีรายได้เท่าไหร่

ต้องมีรายได้เท่าไหร่

  • มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาท/ปีขึ้นไป ต้องเข้า 2 เงื่อนไข ทั้งจำนวนครั้งและมูลค่าเงิน เช่น ยอดโอน 400 ครั้ง มูลค่ารวม 2.5 ล้านบาท แบบนี้คือโดนตรวจสอบ แต่ถ้าเป็น ยอดโอน 400 ครั้ง มูลค่ารวม 1 ล้านบาท แบบนี้จะไม่โดนตรวจสอบ หรือยอดโอน 300 ครั้ง มูลค่า 3 ล้านบาท ก็ไม่โดนตรวจสอบเช่นกัน

การนับยอดทำธุรกรรมจะเป็นแบบปีต่อปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ โดยข้อมูลที่่ส่งจะแยกเป็นรายสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้รวมข้อมูลหรือเชื่อมโยงกัน ส่วนเรื่องการเสียภาษีออนไลน์ ปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นเสียภาษีกันอยู่แล้ว หากมีรายได้ตามเกณฑ์ ดังนี้นะคะ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี กรมสรรพากรจะได้ข้อมูลดังนี้

  • เลขประจำตัวประชาชน

ชื่อ-สกุล

  • เลขที่บัญชีเงินฝาก
  • จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน
  • ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน

ข้อมูลธุรกรรมเฉพาะที่กำหนดจะนับเฉพาะการฝากหรือรับโอนเงินเฉพาะขารับรวมกันทุกบัญชีใน 1 ปี ไม่รวมการโอนออกหรือถอนออก และไม่นับบัญชีต่างธนาคารกัน

ต้องมียอดโอนเท่าไหร่

ต้องมียอดโอนเท่าไหร่

สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลการใช้บริการให้กรมสรรพากรก็ต่อเมื่อ จะต้องมียอดฝากหรือรับโอนเงิน รวมกันทุกช่องทางทั้งเคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม และ Internet Banking (ไม่รวมการโอนเงินให้บัญชีตนเองและคนอื่น) ในแต่ละธนาคาร ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน

แต่อย่างไรก็ดี ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทุกคนมีหน้าที่ในการเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายอีเพย์เมนต์ไม่ได้ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้น แต่เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะใช้ในการตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นผู้ที่มีบัญชีตรง หรือไม่ตรงเงื่อนไข ก็ยังคงต้องเสียภาษีประจำปี และอาจจะมีการตรวจสอบข้อมูลในทางอื่นๆ ส่วนใครที่ยังไม่เคยเริ่มเสียภาษีอะไรใดๆ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็ต้องลองเริ่มจากการหัดทำบัญชีก่อนนั่นเองค่ะ

กฎหมายได้กำหนดว่า หากผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตาม อธิบดี กรมสรรพากรมีอำนาจลงโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

พร้อมทั้งปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของ ผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงปรับปรุงอัตราโทษ กรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสีบภาษี หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับวัตถุประสงค์การจัดทำกฎหมายดังกล่าว เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็ก ทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ที่ได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งรวมถึงการรับชำระภาษี

อย่างไรก็ตาม ประกอบกับลักษณะการทำธุรกรรมของภาคเอกชนปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูล เพื่อการจัดเก็บภาษีอากรในปัจจุบัน ไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะพิเศษให้กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

หากบัญชีของธนาคารไหนมีเงื่อนไขตรงตามที่กรมสรรพากรกำหนด ก็จะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ซึ่งถ้าเจ้าของบัญชียังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ก็มีหน้าที่ต้องมาเสียภาษีให้ถูกต้อง

1.ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ไม่เสียหาย ทำไว้ก่อนอุ่นใจดี ทำให้ละเอียดเท่าไหร่ยิ่งดี 2.เก็บหลักฐานทุกเม็ด เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน จะเล็กจะน้อย หรือมากแค่ไหน อย่าละเลย เก็บให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ เพราะต้องใช้ในเวลาที่จะยื่นแบบภาษี 3.ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาษีให้ดีๆคนทำธุรกิจมีหน้าที่ที่จะต้องรู้ว่า ประเภทธุรกิจที่ทำอยู่มีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เช่น เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฯลฯ หากเพิ่งเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ก็คอยเก็บเอกสารไว้ หรือหาโปรแกรมบัญชีฟรี ช่วยบันทึกเอกสารไปก่อน แล้วรวบรวมไปขอคำปรึกษาการทำบัญชีและเสียภาษีกับสำนักงานบัญชี หรือพนักงานบัญชีอิสระที่คุณรู้จักอยู่ค่ะ

อย่างไรก็ตามการรายงานดังกล่าวจะทำให้กรมสรรพากรมีข้อมูลเพิ่ม เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษีออกมา แล้วแบ่งผู้เสียภาษีออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ 1.กลุ่มที่เสียภาษีอยู่แล้ว แต่มีความเสี่ยงที่จะเสียภาษีไม่ครบถ้วน ,2.กลุ่มที่เสียภาษีอยู่แล้ว แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่เสียภาษี ,3.กลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษีเลย และมีความเสี่ยงที่จะหนีภาษี และ 4.กลุ่มไม่เคยเสียภาษี แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะหนีภาษี

"กลุ่มที่มีนัยทางภาษีแล้วไม่เสี่ยงก็คือ กลุ่มเด็กดี ก็จะเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกให้มากขึ้น เช่น มีช่องทางพิเศษ คอลเซ็นเตอร์ หรือ คืนภาษีเร็ว ส่วนกลุ่มที่เสี่ยงก็อาจจะเข้าไปตรวจสอบ ให้ความรู้ หรือกำกับโดยใกล้ชิดรายตัว เข้าประกบ ทั้งนี้ ก็จะเหมือนแบงก์ คือ เราจะได้หาโปรดักต์ที่เหมาะสมให้กับผู้เสียภาษี เพราะเราไม่อยากให้มาตรการเดียวกังนหมด ระหว่างคนดี กับคนไม่ดี" ปัจจุบัน ผู้ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปบริษัท จะต้องยื่นแบบแสดงเงินได้บุคคลธรรมดาโดยกรอกรายได้ ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการค้าขาย และยื่นภาษี 2 ครั้ง ได้แก่ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 คือ ช่วงนี้ ถึงวันที่ 9 เม.ย.62 กรณียื่นแบบฯออนไลน์ และยื่นภาษีกลางปี หรือ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. ซึ่งเป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกโดยค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งในปีภาษี 2562 กรมสรรพากร ตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน หลังลงทุนด้านเทคโนโลยี มาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บภาษีตามนโยบายรัฐบาล

ขณะที่ผู้ค้าธุรกิจออนไลน์ แสดงความเห็นถึงกฎหมายอีเพย์เมนต์ที่ประกาศใช้ในครั้งนี้ โดย “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ ตลาดดอทคอม Tarad.com กล่าวว่า กฎหมายอีเพย์เมนต์กำหนดให้ธนาคารรายงานความเคลื่อนไหวทางบัญชีถือว่าขัดนโยบายดิจิตอล ไทยแลนด์ 4.0 รัฐบาลต้องการส่งเสริมการค้าออนไลน์ ผลักดันให้ประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสด แต่กฎหมายอีเพย์เมนต์ทำให้คนลังเลว่าจะเข้าสู่ระบบสังคมไร้เงินสดหรือไม่ เพราะกลัวการตรวจสอบ โดยมีความเห็นว่าควรชะลอการบังคับใช้กฎหมายออกไป 2 ปี เพื่อให้ระบบการชำระเงินออนไลน์เติบโตเต็มที่ก่อน

สรุป ดังนั้นเพื่อต้องการตรวจสอบให้ผู้ที่อยู่นอกระบบภาษี เข้ามาเสียภาษีแบบถูกต้องมากขึ้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่มีรายได้ทุกคนอยู่แล้ว เพราะเราก็ไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกปรับเพราะว่าเราทำถูกต้องแล้ว ถ้าเราทำตามกฎหมาย E payment นี้ที่กล่าวมาก็จะทำให้เราไม่มีปัญหาตามมาทีหลังด้วยซึ่งทำให้แม่ค้าออนไลน์หลายๆคนก็จะ ไม่มีเรื่องที่จะทำให้ยุ่งยากอะไรอีก ดังนั้น ใครที่ยื่นเสียภาษีแบบถูกต้อง รับรองว่าจะไม่มีผลกระทบแต่อย่างใดแน่นอนค่ะ หวังว่าบทความนี้จะช่วยพวกคุณได้รับประโยชน์มากที่เดียวเพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นข่าวที่แม่ค้าออนไลน์หลายๆคนต้องรู้ไว้นะคะ