ได้บัตรเครดิตมาแล้ว!! หลายคนอาจดีใจ ยิ้มเบิกบาน ที่ได้เป็นเจ้าของบัตรพลาสติกนี้มาครอบครอง เอาไว้เป็นเครดิตให้ตัวเอง รูดซื้อของ ท่องเที่ยว ตลอดจนอุ่นใจยามป่วยไข้. ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิตจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและเลือกใช้บริการบัตรแทนเงินสดนี้กันอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว ขณะที่เรายื่นบัตรเครดิตให้พนักงานขาย และรับสินค้าเดินออกจากร้านค้านั้น เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าเบื้องหลังของความสะดวกสบายและรวดเร็วเมื่อชำระด้วย บัตรเครดิตนี้ มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไรบ้าง? เจ้าบัตรเครดิตใบนี้ทำงานอย่างไร? เกิดอะไรขึ้นบ้างหลังจากที่เรารูดบัตรเครดิตแต่ละครั้ง? ร้านค้าได้เงินจากบัตรเครดิตของเราอย่างไร? และธนาคารรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่บ้างแล้ว? จึงน่าจะศึกษาข้อมูลกันไว้นั่นเอง

credit card

comzeal images/shutterstock.com

บัตรเครดิตและหมายเลขบัตร

บัตรเครดิตและหมายเลขบัตร

บัตรเครดิต หรือ บัตรสินเชื่อ เป็นบริการที่สถาบันทางการเงินต่าง ๆ ออกให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด โดยบัตรเครดิตนั้น เป็นบัตรพลาสติกที่บนบัตรมีข้อมูลของผู้ใช้บัตร เช่น ลายเซ็น ชื่อ เป็นต้น บัตรเครดิตจะให้อำนาจแก่ผู้ถือบัตรในการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ โดยค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ และจะถูกเรียกเก็บในภายหลัง ในปัจจุบัน บัตรเครดิตสามารถใช้ได้ผ่านตู้ ATM ร้านค้าต่างๆ ธนาคาร และการชำระเงินออนไลน์. สามารถใช้ได้ตามจำนวนวงเงินบัตรที่อนุมัติหักออกด้วยค่าสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายผ่านบัตร ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และหนี้สินคงค้างที่ยังไม่ได้ชำระ. หมายเลขบนบัตรเครดิตจะใช้ระบบหมายเลข ANSI Standard X4.13-1983 จำนวน 16 หลัก โดยเลขหลักต่างๆ จะมีความหมายแตกต่างกันไป ดังนี้

-หลักแรก คือ ผู้ให้บริการของบัตรเครดิตนั้นๆ (Payment Network) -เลข 3 หมายถึง บัตรที่ใช้สำหรับท่องเที่ยว เช่น อเมริกันเอ็กซ์เพรส และไดเนอร์สคลับ เป็นต้นโดย อเมริกันเอ็กซ์เพรส และไดเนอร์สคลับ จะเริ่มต้นหมายเลขด้วยเลข 37 และ 38 -เลข 4 หมายถึง บัตรเครดิตของผู้ให้บริการวีซ่า -เลข 5 หมายถึง บัตรเครดิตของผู้ให้บริการมาสเตอร์การ์ด -เลข 6 หมายถึง บัตรเครดิตท่องเที่ยว -หมายเลขหลักที่เหลือ (หลักที่ 2-16) จะมีโครงสร้างหมายเลขที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการของบัตรเครดิตนั้นๆ มีรายละเอียดดังเช่น --อเมริกันเอ็กซ์เพรส หมายเลขหลักที่ 3 และ 4 จะบอกถึงระดับชั้นของบัตร และสกุลเงินที่ผู้ถือบัตรมีบัญชีอยู่ เลขหลักที่ 5-11 หมายถึง เลขบัญชี ตัวเลขหลักที่ 12-14 คือ เลขที่บัตรในบัญชีนั้นๆ และตัวเลขหลักที่ 15 เป็นตัวเลขตรวจสอบ --วีซ่า หลักที่ 2-6 เป็นเลขแสดงธนาคารผู้ออกบัตร ตัวเลขหลักที่ 7-12 หรือ 7-15 เป็นเลขที่บัญชีของผู้ถือบัตร หลักที่ 13 หรือ 16 เป็นเลขที่ตรวจสอบ --มาสเตอร์การ์ด หลักที่ 2-3, 2-4, 2-5, 2-6 เป็นเลขแสดงธนาคารผู้ออกบัตร ซึ่งจะเป็นกี่หลักนั้นจะแบ่งประเภทและอ้างอิงโดยขึ้นอยู่กับหลักที่สอง ว่าเป็นเลข 1, 2, 3 หรืออื่นๆ เลขหลักต่อจากรหัสธนาคารถึงหลักที่ 15 เป็นเลขที่บัญชีของผู้ถือบัตร และหลักที่ 16 เป็นเลขที่ตรวจสอบ -เลข 3 หลักหลังบัตรเครดิต และแถบ MAGSTRIPE โดยปัจจุบัน ยังมีเลขด้านหลัง 3 หลักที่ไม่ได้พิมพ์นูน เพื่อใช้ในการอนุมัติการใช้บัตรทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ส่วนแถบแม่เหล็กด้านหลังสีดำ หรือที่บางคนเรียกทับศัพท์ ว่า MAGSTRIPE นั้น คือ แถบแม่เหล็กที่เป็นเส้นแรงแม่เหล็กเรียงกันแน่น จนเห็นเป็นแถบดำยาวๆ ซึ่งเจ้าแถบแม่เหล็กนี้ เป็นตัวที่ทำให้เครื่องต่างๆ เช่น ตู้ ATM ฯลฯ สามารถอ่านข้อมูลของเราได้นั่นเอง

วิธีการใช้งาน

วิธีการใช้งาน

แบบทั่วไป

  • เลือกสินค้าที่เราต้องการซื้อ
  • คำนวณคร่าวๆ ว่าจะต้องผ่อนจ่ายรายเดือนเท่าไหร่จนกว่ายอดค้างชำระจะหมด
  • ยื่นบัตรเครดิตของเราให้กับแคชเชียร์เพื่อชำระเงิน
  • แคชเชียร์จะพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และยื่นใบเสร็จให้เรากลับมาพร้อมบัตรเครดิต
  • ตรวจสอบยอดชำระเงินบนใบเสร็จให้เรียบร้อย หากถูกต้อง ให้เซ็นใบเสร็จทั้งสองใบ คืนให้แคชเชียร์หนึ่งใบและเก็บไว้กับตัวอีกหนึ่งใบ
  • เก็บใบเสร็จทั้งหมดของเราไว้ด้วยเพื่อตรวจสอบธุรกรรมทางบัตรเครดิตทั้งหมดได้

แบบออนไลน์

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ประกอบการค้าที่เรากำลังติดต่ออยู่นั้นมีความน่าเชื่อถือจริงๆก่อนที่จะตัดสินใจทำธุรกรรม
  • ในหน้าชำระเงินและหน้าเช็คเอาท์สินค้า ดูให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือโดยการตรวจสอบ URL ของ
  • เว็บไซต์ซึ่งควรเริ่มต้นด้วย https://
  • ตรวจสอบใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตหรือ billing statement ของทุกเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาด หรือธุรกรรมใดๆที่น่าสงสัย
  • อย่าส่งข้อมูลบัตรเครดิตผ่าน e-mail โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากแฮคเกอร์และโปรแกรมที่อาจเป็นอันตราย

ช่องทางการชำระเงิน

  • สถาบันผู้ออกบัตรเครดิต
  • จุดบริการรับชำระ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ฯลฯ
  • ธนาคารอื่นที่ระบุในใบแจ้งยอดหนี้
  • หักบัญชีผู้ถือบัตรผ่านช่องทาง e-Banking, Mobile, ATM

ประเภทของบัตรเครดิต

ประเภทของบัตรเครดิตขึ้นอยู่กับการออกบัตรของแต่ละสถาบัน เช่น บัตรคลาสิค บัตรทอง บัตรแพททินัม เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.Magnetic stripe เป็นแถบสีดาคาดอยู่ส่วนบนของด้านหลังบัตร จะมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร 2.Chip โดยฝังลงบนบัตรด้านหน้าบัตร มีลักษณะสี่เหลี่ยมมุมมน ขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร

ข้อควรระวัง

  • เมื่อรับบัตรใหม่ให้เซ็นชื่อหลังบัตรทันที
  • รักษาบัตรไว้เสมือนเป็นเงินสด
  • ไม่เปิดเผยรหัสกับใคร และไม่เก็บรหัสไว้รวมกับบัตร
  • ก่อนเซ็นชื่อบน Sales Slip ตรวจสอบจำนวนเงินถูก ต้องหรือไม่ ซึ่ง Sales Slip ก็คือ หลักฐานการรับชำระหนี้ (ใบเสร็จบัตรเครดิตที่ร้านค้าให้กับลูกค้า ทำขึ้น 3 ฉบับ คือ ฉบับลูกค้า, ฉบับร้านค้า, ฉบับธนาคาร)
  • ตรวจสอบใบแจ้งยอดหนี้เทียบกับสำเนา Sales Slip ทุกครั้งอย่าตอบอีเมล์หรือ โทรศัพท์ที่ขอข้อมูลส่วนตัวโดยธนาคารไม่ได้ เป็นผู้ติดต่อ

การทำงานของบัตรเครดิต

กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถนำบัตรมาซื้อ สินค้าและบริการได้ตามวงเงินที่ธนาคารอนุมัติ หลังจากผู้รับบริการได้ บัตรเครดิตแล้ว ผู้ขายหรือผู้ให้บริการจะต้องเช็คยอดที่จ่ายกับทางธนาคารก่อนและจะได้รับรหัสอนุมัติจากธนาคาร. โดยในสมัยก่อนร้านค้าต้องโทรศัพท์ไปที่ธนาคาร แต่ปัจจุบันนี้มีเครื่องรูดบัตรที่จะออนไลน์กับธนาคารเพื่อให้ได้รหัสอนุมัติได้ในทันที จากนั้นผู้ขายหรือผู้ให้บริการก็จะนำสลิปไปให้เจ้าของบัตรเซ็นชื่อ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเจ้าของบัตรจริงหรือไม่ โดยเทียบกับลายเซนต์ที่เซนต์ไว้ด้านหลังของบัตรเครดิต และเก็บสำเนาไว้เพื่อส่งให้ธนาคารตรวจสอบได้ในภายหลัง. บัตรเครดิตเองนอกจากจะเป็นที่นิยมในการซื้อสินค้าตามราคาทั่วไปแล้ว ยังนิยมในการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย เมื่อมีการซื้อขายสินค้าผ่านบัตรเครดิต ผู้ใช้บัตรเครดิตจะต้องแสดงความสมยอมว่าการซื้อขายนั้นได้เกิดขึ้นจริง ด้วยการเซ็นชื่อในใบเสร็จ หากเป็นการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อาจจะกรอกราย PIN Number และหมายเลขบัตรเครดิต เพื่อเป็นการแสดงความต้องการในการซื้อขาย การชำระเงินคืนบัตรเครดิต เมื่อได้รับใบเรียกเก็บเงินจากบริษัทบัตรเครดิตหรือธนาคารผู้ออกบัตรแล้ว สามารถเลือกชำระได้สองวิธี คือ การชำระเต็มจำนวนภายในระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยส่วนใหญ่ 45-51 วัน แล้วแต่บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตร อีกวิธีหนึ่งคือการชำระเงินขั้นต่ำบางส่วน 10% ของยอดที่ใช้ โดยยอดค้างชำระของบัตรเครดิตจะกลายเป็นเงินกู้ที่เราจะต้องทำการผ่อนชำระเป็นงวดๆต่อมา. โดยการบริการและการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตจะแบ่งเป็นข้อๆได้ตามนี้

การยื่นบัตรเครดิตให้พนักงาน. ผู้ซื้อจะทำการยื่นบัตรเครดิตให้กับพนักงานขาย จากนั้นพนักงานขายจะนำบัตรเครดิตไปรูดที่เครื่องรูดบัตร (Electronic Data Capture: EDC) ซึ่งอาจจะเป็นของธนาคาร หรือ Non-bank แห่งอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า สถาบันผู้รับบัตร หรือ Acquirer

  • เครื่องรูดบัตร จะส่งข้อมูลกลับไปยังสถาบันผู้รับบัตร
  • สถาบันผู้รับบัตรจะส่งข้อมูลต่อไปยังศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิต (เช่น VISA หรือ MASTER เป็นต้น)
  • ศูนย์เครือข่ายส่งข้อมูลไปยังผู้ออกบัตร ซึ่งก็คือธนาคาร หรือ Non-bank ที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิตนั้น ซึ่งเรียกว่า สถาบันผู้ออกบัตร หรือ Issuer เพื่อขออนุมัติการใช้บัตรเครดิต
  • ผู้ออกบัตรแจ้งการอนุมัติไปยังศูนย์เครือข่าย สถาบันผู้ออกบัตรจะตรวจสอบวงเงินว่ามีเพียงพอหรือไม่ และแจ้งการอนุมัติกลับไปยังศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิต
  • ศูนย์เครือข่ายบัตรเครดิตจะแจ้งการอนุมัติกลับไปยังสถาบันผู้รับบัตร
  • สถาบันผู้รับบัตรจะแจ้งการอนุมัติกลับไปยังร้านค้าเพื่อพิมพ์ใบบันทึกการขาย หรือ Sales Slip
  • ผู้ซื้อตรวจสอบความถูกต้องของใบบันทึกรายการขาย หรือSales Slip ก่อนที่จะเซ็นชื่อ และเก็บ Sales Slip ไว้เป็นหลักฐานการชำระเงิน และเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้
  • สถาบันผู้ออกบัตรจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้ซื้อก่อนครบกำหนดชำระเงิน
  • ผู้ซื้อต้องทำการชำระค่าใช้จ่ายตามยอดหนี้ที่ระบุในใบแจ้งหนี้ให้แก่สถาบันผู้ออกบัตรภายในเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยและค่าบริการต่าง ๆ

จะเห็นว่า บัตรเครดิต เปรียบเสมือนเงินสดเคลื่อนที่ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมใช้กันมากกว่าการพกเงินสดจำนวนมาก อีกทั้งยังมีไว้เพื่อใช้เป็นเงินฉุกเฉินในยามจำเป็นได้ด้วย ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่แทบทุกคนจะมีบัตรเครดิตพกเอาไว้ติดกระเป๋า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะรู้วิธีใช้บัตรเครดิต รู้ว่ามันมีประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากเอาไว้รูดซื้อของ แต่พอสิ้นเดือนมาก็จ่ายค่าบัตรเครดิตเวียนกันไป เพราะคนไทยในปัจจุบันมีบัตรเครดิตกันหลายใบ จนกลายเป็นปัจจัยในชีวิตที่ขาดไม่ได้ไปซะแล้ว แต่เพื่อความรอบครอบเราก็ควรใช้มันอย่างฉลาด รู้จักบัตรเครดิตให้มากขึ้น ว่ามันทำงานอย่างไร มีค่าใช้จ่ายใดบ้างในแต่ละใบ มิฉะนั้นหายนะในกระเป๋าอาจมาเยือนกันได้นั่นเอง