หลายท่านที่กำลังตัดสินใจที่จะขอสินเชื่อคงตัดสินใจยากว่าจะขอสินเชื่อที่ไหนดี เนื่องจากมีสิ่งหนึ่งที่ท่านยังไม่เข้าใจ นั่นคือ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเราจะเห็นว่ามีหลายแบบด้วยกัน แต่ละแบบก็แตกต่างกัน เราควรทำความเข้าใจอย่างดีว่าเราควรเลือกแบบไหนถึงจะคุ้มค่าและเหมาะกับเรามากที่สุด เพราะดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเงินที่เราจะต้องจ่ายให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยผู้ปล่อยกู้มักจะคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ และสามารถแบ่งอัตราดอกเบี้ยออกเป็น 2 ประเภท คือ

ดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ ต่างกันอย่างไร

ดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ ต่างกันอย่างไร

ก่อนขอสินเชื่อ ทุกคนจำเป็นต้องเปรียบเทียบดอกเบี้ยของสินเชื่อของแต่ละธนาคารที่นำเสนออยู่ ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าจะทำให้เรายอดเงินที่เราต้องจ่ายคืนให้กับธนาคารนั้นน้อยกว่าดอกเบี้ยที่แพง แต่อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยสินเชื่อที่แต่ละธนาคารนำเสนออยู่ในปัจจุบันนั้น ก็ค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร บางครั้งเราจึงไม่สามารถเปรียบเทียบได้แบบตรง ๆ

ดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate) และดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ก่อนอื่นจะขออธิบายเรื่องดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัวนี้ก่อนที่จะไปขอสินเชื่อ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกันอย่างไร ไปดูกัน

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนดไว้ตายตัว หรือในช่วงสัญญาที่กำหนดไว้ อัตราดอกเบี้ยนี้จะไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของธนาคารหรือสถาบันการเงิน แต่จะคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ แม้ว่าผู้ขอกู้จะนำเงินมาชำระก่อนครบกำหนดชำระผู้ขอกู้ก็ต้องชำระอัตราดอกเบี้ยเต็มจำนวนตามที่ระบุในสัญญา

ตัวอย่าง กู้เงินซื้อรถยนต์ จำนวน 1 ล้านบาท (ไม่รวม VAT) คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2.5% ต่อปี ระยะเวลา 5 ปี ต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งสิ้น 125,000 บาท (1,000,000x2.5%) x 5 ปี = 125,000 )เมื่อรวมกับเงินต้น 1 ล้าน และผ่อน 60 งวด จะต้องชำระค่างวดๆละ 18,750 บาท (1,000,000+125,000=1,125,00/60= 18,750)จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่ว่าผ่อนชำระแต่ละงวดไปจนครบ 5 ปีหรือจะนำเงินก้อนมาปิดหนี้สินก่อนกำหนดก็จะมีค่าใช้จ่ายเท่ากัน ไม่มีเพิ่ม หรือลดลงแต่อย่างใด

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate)หรือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงไปตามต้นทุนหรือภาวะของเศรษกิจของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะประกาศอัตราดอกเบี้ยออกมาเป็นครั้งๆไป ทำให้ผู้กู้และผู้กู้ไม่ทราบจำนวนดอกเบี้ยที่จะได้รับหรือต้องจ่ายแน่นอนได้ล่วงหน้า แต่ต้องรอใกล้ๆวันที่จะได้รับหรือจ่ายดอกเบี้ย จึงใช้อัตราดอกเบี้ยที่อ้างอิงนั้นในการคำนวณดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง เราสามารถเข้าไปดูอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ หรือสาขาของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดอกเบี้ยชนิดนี้ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ MLR, MOR, MRR และ MHR (Minimum Housing Rate) หรือ HLR (Housing Loan Rate) ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)เป็นต้น

MLR MOR และ MRR คืออะไร

MLR MOR และ MRR คืออะไร

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้ขอสินเชื่อเงินกู้ ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งแต่ละชนิดมีความหมาย ดังนี้

MLR (Minimum Loan Rate)

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ซึ่งวัดได้จาก อาชีพ ฐานเงินเดือน รายรับ ประวัติการเคลื่อนไหวบัญชี อายุที่เปิดบัญชีธนาคาร มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างดี และเป็นเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) โดยส่วนใหญ่เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่เหมาะกับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อย่างเช่น สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ, สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น

MOR (Minimum Overdraft Rate)

คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี โดยมีการชำระหนี้ดี มีความสามารถในการชำระหนี้สูง ซึ่งลูกค้าต้องการวงเงินกู้เพื่อขยายธุรกิจของกิจการ

MRR (Minimum Retail Rate)

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี สำหรับคนทั่วไปที่มีประวัติการชำระเงินดี แต่มีความเสี่ยงในการชำระเงินอยู่บ้าง เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งเรามักจะพบได้บ่อย คือ สินเชื่อบ้าน เช่น MRR-0.25% แต่เนื่องจาก แบงก์ชาติไม่ได้มีการบังคับใช้อัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ 3 ตัวนี้เท่านั้น

ธนาคารบางแห่งจึงได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นมาใช้เอง อย่างเช่น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) อัตราดอกเบี้ยนี้ธนาคารให้สินเชื่อเพื่อการเคหะสำหรับลูกค้าชั้นดี เช่น MHR (Minimum Housing Rate) และ HLR (Housing Loan Rate) ดังนั้น แต่ละธนาคารจึงมีอิสระที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงได้เอง เพียงแต่ว่าจะต้องให้คำจำกัดชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยที่ตั้งขึ้นมานั้นมีความหมาย และคำจำกัดความว่าอะไร แต่ตามความเป็นจริงแล้วธนาคารก็ไม่ค่อยได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบพิสดารมากนัก ดังนั้น เราจึงมักจะเจอแค่ MLR, MRR และ MOR บ่อยที่สุด และเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงแบบลอยตัวที่ธนาคารนิยมใช้กันมากที่สุดในการให้สินเชื่อ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เข้าใจอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านประเภทต่าง ๆ ที่นี่

ดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ เลือกแบบไหนดี

ดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ เลือกแบบไหนดี

เราจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยแต่ละอย่างที่มีความแตกแต่งกันตามการขอสินเชื่อด้วยกัน สิ่งที่เราควรดูว่าอัตราดอกเบี้ยตัวไหนที่ให้ผลคุ้มค่าและให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับเรามากที่สุด เราจึงควรเปรียบเทียบสินเชื่อที่เราต้องการกับหลายๆธนาคารและคอยสังเกตสถานะการณ์ของดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคารก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อเราหาข้อมูลและหาข้อเปรียบเทียบอย่างดีแล้วว่าธนาคารไหนที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดควรเลือกธนาคารนั้น เนื่องจากความเสี่ยงทางการเงินของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นเราควรเลือกผ่อนชำระแบบดอกเบี้ยต่ำที่สุด เพราะจะเป็นผลดีต่อการชำระหนี้ในแต่ละงวดในอนาคต

ตัวอย่าง

สินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงเทพ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.583% ต่อปี “สินเชื่อบ้านบัวหลวง” วงเงินอนุมัติสูงสุด 90% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 : MRR – 3.25% ต่อปี ปีที่ 2 : MRR – 3.00% ต่อปี ปีที่ 3 : MRR – 1.375% ต่อปี(ตลอดอายุสัญญา) (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7%)

ธนาคารกรุงไทย อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.092% ต่อปี “สินเชื่อบ้านกรุงไทย แสนสะดวก” วงเงินอนุมัติสูงสุด 90% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 : 3.25% ต่อปี ปีที่ 2 : MLR – 0.25% ต่อปี(ตลอดอายุสัญญา) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 3.092% ต่อปี (MLR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 6%)

ธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี = 4.00% ต่อปี “สินเชื่อเคหะ” วงเงินอนุมัติสูงสุด 90% ของราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 : 1.000% ต่อปี ปีที่ 2 : MRR – 2.000% ต่อปี ปีที่ 3 : MRR – 1.00% ต่อปี(ตลอดอายุสัญญา) (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7%)

ดังนั้น เราจะเห็นว่าเราควรเลือกสินเชื่อบ้านกับธนาคารใดที่ให้วงเงินอนุมัติเท่ากัน ในระยะเวลา 3 ปีที่เท่ากัน แต่ให้อัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน หลายท่านคงตัดสินใจได้ไม่ยากว่าจะขอกู้สินเชื่อที่ธนาคารไหนดีที่เราได้ประโยชน์ในการชำระหนี้ได้มากที่สุด ท่านคงจะเลือก “สินเชื่อบ้านกรุงไทย แสนสะดวก” อย่างแน่นอน

ก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินใด ผู้ขอกู้ควรพิจารณาว่าดอกเบี้ยลอยตัว กับ ดอกเบี้ยคงที่ ต่างกันอย่างไร รายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แต่ละธนาคารเสนอกันมาเมื่อคำนวณออกมาตลอดระยะเวลากู้แล้วว่าธนาคารไหนสูง หรือต่ำกว่ากัน เพื่อเราจะตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ และมั่นใจมากยิ่งขึ้น เพราะอย่าลืมว่าหากเราตัดสินใจพลาดเราอาจจะต้องเสียดอกเบี้ยที่แพง และเราจะต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิตของเรานะคะ หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่างเลย