รายการการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่อไปที่เอามาฝากให้คุณๆได้อ่านกันต่อมาก็คือ การ ลดหย่อนภาษี 2562 ของ 3 กลุ่มต่อไปนี้ คือ ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มคนรักพรรคการเมือง / กลุ่มติดค้างจากปีก่อน / กลุ่มที่ตอบแทนสังคม ทั้ง 3 กลุ่มนี้ก็สามารถเป็นบุคคลที่ขอการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เพราะได้เสียเงินได้ไปกับการจ่ายภาษีที่ส่วนมากเป็นการทำเพื่อส่วนรวม และเพื่อประชาชน งั้นเรามาดูรายละเอียดไปพร้อมๆกันนะคะ

ลดหย่อนภาษี 2562 กลุ่มคนรักพรรคการเมือง

political party thailand

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มคนรักพรรคการเมืองนั้น สำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มนี้ค่อนข้างเป็นรายการที่พิเศษกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากว่าไม่รวมอยู่กับส่วนของกลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นเงินได้ที่มักมาจากการบริจาคที่ไม่ระบุชื่อว่าเป็นของใครโดยเจาะจงแต่มักจะเป็นเงินได้ที่มาในชื่อของส่วนรวม ที่ได้มีการบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเงินบริจาคส่วนนี้มีมาตรมาจากมาตราที่ 70 ในพระราชบัญญัติประกอบด้วยรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งมีการกำหนดไว้ว่า บุคคลที่ทำการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งนั้นมีสิทธิ์ที่จะนำจำนวนเงินที่ได้บริจาคไปจำนวนนั้นไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ หรือนำไปหักรายจ่ายเพื่อการบริจาคที่มีการกำหนดในประมวลรัษฎากรได้ตามจำนวนเงินที่บริจาคไป แต่ไม่เกิน 10,000 บาทสำหรับบุคคลธรรมดาที่ทำการบริจาค ซึ่งก็หมายความว่านับตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป บุคคลธรรมดาๆที่ทำการบริจาคเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งนั้น จะได้รับสิทธิ์นำจำนวนเงินที่ได้บริจาคไปเอามาเป็นค่าลดหย่อนภาษี หรือ มาใช้เป็นรายจ่ายของธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้นถ้าใครหรือบุคคลไหนมีพรรคการมืองที่ชื่นชอบอยู่ในใจ อยากที่จะให้การสนับสนุนให้พรรคการเมืองนั้นๆได้ทำหน้าที่ต่อๆไป ก็สามารถให้การสนับสนุนช่วยเหลือพรรคการเมืองนั้นๆได้ และคุณเองยังสามารถได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ

ลดหย่อนภาษี มาตรา 70 แห่งรัฐธรรมนูญ

เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นเพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง

  • บุคคลธรรมดา / ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
  • นิติบุคคล / รายจ่ายบริจาคสูงสุด 50,000 บาท

หลักการและเงื่อนไขของกฏหมาย ลดหย่อนภาษี

เงินที่บริจาคให้แก่พรรคการเมืองตามจำนวนที่จ่ายไปจริงไม่เกิน 10,000 ใช้กฏหมายนี้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป และผู้ที่บริจาคต้องมีเอกสารมาแสดง คือใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นใดที่ได้จ่ายให้แก่พรรคการเมือง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตามวิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้

  • ครม. อนุมัติเมื่อ 26 พฤจิกายน 2561

  • กรมสรรพากรเปิดรับฟังความคิดเห็น 26 ธันวาคม 2561 – 9 มกราคม 2562

  • ยังไม่มีบทบัญญัติของกฏหมยฉบับนี้

  • อย่าลืมว่าสามารถทำการบริจาคภาษีเพื่อสนับสนุนได้ด้วยนะคะ * เงินส่วนนี้ที่บริจาคไปไม่มีผลต่อการจ่ายภาษีของเรานะคะ

ลดหย่อนภาษี กลุ่มเรื่องติดค้างจากปีก่อน

tax deduction

Andrey_Popov/shutterstock.com

สำหรับบุคคลกลุ่มนี้นั้นเป็นกลุ่มคนที่มีค่าลดหย่อนภาษีที่ติดค้างมาจากปีก่อนหน้านี้ หรือสำหรับกลุ่มบุคคลที่เคยใช้ค่าลดหย่อนภาษีนี้มาแล้ว ในปี 2558 – 2559 นั่นก็คือ ค่าลดหย่อนภาษีจากมาตราการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์จำนวนสูงสุด 120,000 บาท ( ขอเน้นตรงนี้นิดนึงนะคะว่า ค่าลดหย่อนภาษีส่วนนี้เป็นสิทธิ์ต่อเนื่องจากการที่คุณได้ซื้อบ้านหลังแรกภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้นนะคะ ) และให้สิทธิ์สำหรับบุคคลที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท และให้สิทธิ์พิเศษสามารถนำเงินของค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นไปขอลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะต้องทำตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ต้องเป็นการซื้อบ้านหลังแรก ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท และต้องซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 เท่านั้น
  • สามารถใช้สิทธิ์ตั้งแต่ปีภาษี 2558 – 2559 เป็นต้นไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี
  • ห้ามโอนหรือมีการขายต่อภายในระยะเวลาที่กำหนดนี้ คือภายในระยะเวลา 5 ปีนี้ห้ามทำการโอน หรือขาย และต้องมีชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นด้วย

ลดหย่อนภาษี กลุ่มบริจาคตอบแทนสังคม

ลดหย่อนภาษี กลุ่มบริจาคตอบแทนสังคม

รายการการลดหย่อนภาษีให้กับบุคคลกลุ่มนี้รายละเอียดเป็นยังไงมาดูกันค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาดูวิธีการคำนวณการใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษีกันก่อนค่ะ ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากลุ่มอื่นๆ เพราะนี่ถือว่าเป็นกลุ่มสุดท้ายที่สามารถนำเงินได้จากการจ่ายภาษีมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ หลังจากที่ได้ทำการหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนภาษีจากกลุ่มอื่นๆแล้ว โดยจะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิหลังจากการหักค่าใช้จ่ายอื่นๆทั้งหมดไปแล้ว พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือค่าใช้จ่ายตัวนี้นำมาหักเป็นรายการสุดท้ายนั่นเองค่ะ ซึ่งการคำนวณลดหย่อนภาษีกลุ่มนี้แตกต่างจากการคำนวณกลุ่มอื่นอย่างนี้ค่ะ จากที่คุณเคยคำนวณภาษีอื่นๆแบบนี้ คือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ) x อัตราภาษี

จะเปลี่ยนมาเป็นการคำนวณแบบนี้แทน คือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี ) – เงินบริจาค x อัตรภาษี

ซึงในปี 2562 นี้ค่าลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับการบริจาคนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ส่วนที่ลดหย่อนภาษีได้สองเท่า กับ ส่วนที่ลดหย่อนภาษีได้หนึ่งเท่า ก็จะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ส่วนที่ลดหย่อนภาษีได้สองเท่า

ส่วนที่ลดหย่อนภาษีได้สองเท่า

เงินบริจาคเพื่อการสนับสนุนการศึกษา การกีฬา สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง และเงินบริจาคที่ช่วยเหลือสังคม : เงินบริจาคเพื่อสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สองเท่าขงเงินที่ได้จ่ายไปตามจำนวนจริง แต่ก็ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้ที่ประเมินหลังจากการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆแล้ว อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้นั่นแหละค่ะ สำหรับการลดหย่อนภาษีแบบสองเท่านี้คุณสามรถเข้าไปหาข้อมูลและตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซด์ของกรมสรรพากร ตามนี้ค่ะ http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html (สำหรับการศึกษา) และ http://download.rd.go.th/fileadmin/download/sportsociety_241256.pdf (สำหรับการกีฬา) ลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามนี้นะคะ

  • สิ่งที่ไม่ควรลืม คือ ในปี 2562 นี้ในกรณีที่คุณบริจาคเงินให้แก่สถานศึกษานั้น จะต้องทำการบริจาคผ่านระบบ e – Donation เท่านั้น คุณถึงจะสามารถใช้สิทธิ์ในการขอลดหย่อนภาษีได้ค่ะ

เงินบริจาคให้กับสถานพยาบาลของรัฐ : ค่าลดหย่อนภาษีจากการบริจาคให้กับสถานพยาบาลของรัฐนั้นขอลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายไปจริงในจำนวนไม่เกิน 10% ของเงินที่ได้บริจาคหลังจากที่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอานไปแล้ว ซึ่งเป็นมาตราการที่กระตุ้นให้บุคคลที่บริจาคให้กับสถานพยาบาลของรัฐ หรือของราชการเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคให้กับสถานพยาบาลของ ทั้งที่เป็นสถานพยาบาลของสถาบันการศึกษา ขององค์กรมหาชน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของหน่วยงานต่างๆของรัฐ รวมไปถึงสถานพยาบาลของสภากาชาดไทยด้วย ( ขอเน้นนะคะว่าเฉพาะสถานพยาบาลเท่านั้น ) และยังมีเงื่อนไขอีกว่า เมื่อมีการวมกับการบริจาคเพื่อสนับสุนการศึกษาแล้วนั้น ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้ที่พึงประเมินหลังจากที่ได้หักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆไปแล้ว

ส่วนที่ ลดหย่อนภาษี ได้หนึ่งเท่า หรือส่วนที่ลดหย่อนภาษีตามปกติ

ส่วนที่ ลดหย่อนภาษี ได้หนึ่งเท่า หรือส่วนที่ลดหย่อนภาษีตามปกติ

เงินบริจาคทั่วๆไป เช่นการบริจาคเพื่อช่วยผู้ประสบภัยจากพายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทยบ้านเรา สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายไปจริงแต่ก็ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือหลังจากด้ทำการหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อนและเงินบริจาคในกลุ่มที่เป็นสองเท่าไปแล้วค่ะ ซึ่งโดยทั่วๆไปนั้น คำว่าเงินบริจาคทั่วไป จะเป็นเงินที่คุณได้บริจาคไปให้แก่ วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล สถานศึกษา ต่างๆ รวมไปถึงการบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่เป็นขององค์กรสาธารณกุศล ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่าคุณสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซด์นี้ได้เลยค่ะ

http://www.rd.go.th/publish/29157.0.html แล้วก็สำหรับในปีนี้ ปี2562 นี้มีการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยนะคะ เนื่องจากว่าช่วงนี้มีข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเรา แต่ว่าถ้าคุณมีการบริจาคให้กับหน่วยงานที่เป็นตัวกลางอย่างภาครัฐ หรือเอกชนที่ได้ขึ้นทะเบียนกับภาครัฐ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เหมือนกันค่ะ แต่จะต้องเป็นเงินบริจาคเท่านั้นนะคะ ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายการค่าลดหย่อนภาษีของ 3 กลุ่มนี้ค่ะ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้คุณให้ความช่วยเหลือและลองริเริ่มบริจาคเพื่อส่วนรวมกัยมากขึ้น เพราะเงินที่บริจาคไปนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับการนำเงินไปใช้จ่ายประเภทอื่นๆ และทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์ด้วยค่ะ ใครที่ไม่เคยบริจาคก็ลองแบ่งปันน้ำใจกันดูนะคะ และเพื่อจะเช็คและทำการตรวขสอบรายการสถานที่ต่างๆที่บริจาคแล้สจะมีผลต่อการลดหย่อนภาษีก็สามารถเข้าไปตรวจสอบรายการรายชื่อสถานที่เหล่านั้นได้ที่เว็บไซด์ของกรมสรรพากรดูนะคะทุกคน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง