การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกเพศวัยที่แม้แต่ในวัยเด็กก็ควรมีการปลูกฝังเรื่องนี้มาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคตซึ่งการวางแผนการเงินทำขึ้นก็เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ในชีวิตรวมถึงการลดหย่อนภาษีซึ่งจะขอเอ๋ยถึงการซื้อประกันสุขภาพ มาลดหย่อนภาษีคุ้มมั้ย สิ่งนี้อาจจะเป็นคำถามในใจใครหลายคนที่ยังไม่ได้คำตอบซึ่งเราจะไปคุณไปค้นหาพร้อมกัน

ประกันสุขภาพ คืออะไร

ประกันสุขภาพ คืออะไร

ก่อนอื่นเลยมาทำความเข้าใจประกันสุขภาพกันเสียก่อนว่าคืออะไร โดยประกันสุขภาพ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันไม่ว่าจะเกิดมาจากการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หรือเจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่มาจากอาการเจ็บป่วยทั่วไปแล้วพบแพทย์เพื่อกลับบ้านซึ่งต่างจากจากประกันชีวิตที่ไม่คุ้มครองค่าสินไหมเมื่อเราเข้ารักษาที่โรงพยาบาล

ซื้อประกันสุขภาพ มาลดหย่อนภาษีคุ้มมั้ย

สำหรับใครที่กำลังวางแผนนำประกันสุขภาพมาช่วยลดหย่อนภาษีคุ้มมั้ยนั้น ก็ต้องมาดูเงื่อนไขของประกันว่าสามารถลดหย่อนอะไรบ้าง โดยเงื่อนไขประกันสุขภาพที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้

  1. ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การชดเชยทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  2. ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  3. ประกันภัยโรคที่ร้ายแรง
  4. ประกันภัยการดูแลระยะยาว

โดยสามารถแบ่งการซื้อประกันสุขภาพเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้ 2 กรณีหลัก ๆ คือ

  1. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง คือการที่ผู้ทำประกันทำประกันสุขภาพให้ตัวโดยสามารถนำเบี้ยที่ทำประกันไว้ไปหักลดหย่อนภาษีที่จ่ายตามจริงสูงสุดได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่ในกรณีที่ทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี หรือทำร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญที่นำเบี้ยไปรวมกับการหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
  2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ หรือคู่สมรส ซึ่งนอกเหนือจากประกันตัวเองแล้วก็ยังมีเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกันซึ่งจะจ่ายตามจริงได้สูงสุดไม้เกิน 15,000 บาท คือ ลดหย่อนพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท ลดหย่อนแม่ได้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยจะมีเงื่อนไขว่า รายได้ของพ่อแม่ต้องไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีจึงจะนำมาลดหย่อนภาษีได้

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพ

4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพ

ต่อมาจะเน้นย้ำ 4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพเพราะค่อนข้างมีความสำคัญเนื่องจากในบางครั้งซื้อมาแล้วไม่ตอบโจทย์ความต้องการ เบิกเคลมบางข้อไม่ได้จริง หรือเกินความจำเป็นที่ต้องซ์้อซึ่งควรมีการทบทวบแต่ละข้อก่อนทุกครั้งก่อนตัดสินใจ ดังนี้

1. ความเสี่ยงในชีวิตด้านสุขภาพ

โดยให้ลองประเมินการใช้ชีวิตมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่ มีสิ่งแวดล้อม สภาพการทำงาน สถานที่อยู่อาศัยว่ามีโอกาสก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแค่ไหน ถ้าหากเจ็บป่วยรุนแรงแล้วมีผลกระทบรุนแรงต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินเท่าไรและต้องพักรักษาต่อเนื่องนานแค่ไหนซึ่งการประเมินนี้จะช่วยให้คุณเห็นความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใดที่จะกระทบสุขภาพของคุณ

2. สวัสดิการ/สิทธิ์การรักษาที่มีในปัจจุบัน

เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทองซึ่งเป็นสิทธิ์ที่คนไทยทุกคนได้รับ แต่หากเป็นคนทำงานอาจจะมีสิทธิ์ประกันสังคม ประกันกลุ่มเข้ามา หรือหากเป็นราชการก็จะมีสิทธิข้าราชการในการรักษาซึ่งให้ลองประเมินเบื้องต้นก่อนว่าสิทธิ์ที่มีอยู่ตอนนี้ครอบคลุมความเสี่ยงหรือยัง เช่นใครที่ต้องการวิธีการรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย หรือใช้ยาบางรายการที่ไม่สามารถเบิกได้ หรือต้องการคุณภาพห้องพักที่ดีกว่า การพิจารณาซื้อสุขภาพเพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการเพิ่มในส่วนนี้ได้

3. ความคุ้มครองต้องเหมาะสม

เพราะหากคุณเลือกซื้อประกันสุขภาพเพื่อมาตอบโจทย์สวัสดิการที่มีอยู่ให้ได้รับการรักษา หรือครอบคลุมความต้องการมากขึ้นการคุ้มครองต้องเหมาะสม โดยควรศึกษารายละเอียดดังนี้ - ค่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ เพศและประวัติส่วนตัวที่จะนำมาพิจารณาค่าเบี้ยประกันซึ่งยิ่งอายุน้อยเบี้ยประกันจะค่อนข้างถูก โดยแนะนำให้จ่ายเบี้ยประกันแบบรายปีเพราะค่อนข้างจะถูกกว่าชำระแบบรายเดือน - รายละเอียดความคุ้มครอง ที่จะต้องศึกษาแต่ละเงื่อนไขอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะมีประกันสุขภาพหลากหลายประเภททั้งประกันสุขภาพเหมาจ่ายตามจริง ประกันสุขภาพจ่ายตารางที่กำหนด รวมถึงเงื่อนไขสุขภาพว่าคุ้มครองทั้งหมดจริง หรือมีการยกเว้นบางกรณีระบุอยู่เพื่อที่ในอนาคนหากเราต้องเข้ารับการรักษาสามารถเบิกเคลมประกันได้จริง า - วงเงินคุ้มครอง ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอกจะมีการกำหนดวงเงินต่อครั้งต่อโรคและวงเงินต่อปี รวมถึงวงเงินสูงสุดที่สามารถเบิกจ่ายได้เท่าไร่

ตัวอย่าง หากคุณไม่สบายบ่อย มักเข้ารับการรักษาโดยไม่นอนโรงพยาบาล ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจากประกันกลุ่มที่ให้เบิก OPD ครั้งละ 1,300 บาท แต่อยากได้เพิ่มเป็นครั้งละ 3000 ก็อาจจะทำประกันสุขภาพแบบ OPD เพิ่มในวงเงินที่ต้องการอีก 1,700 บาทเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการ โดยไม่เพิ่มในส่วน IPD ก็ได้ หรือหากคุณต้องการวงเงินเพิ่มในส่วนของการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็อาจจะพิจารณาในส่วนของค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน IPD ในส่วนของค่าห้อง ค่ายา รวมถึงค่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่อาจจะเพิ่มวงเงินความคุ้มครองให้สูงขึ้นเพื่อรับการบริการโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ได้ห้องพักแบบเดี่ยวที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้พักและผู้เข้าเยี่ยม

4. เงื่อนไขการรับประกันและเรียกร้องสินไหม

เป็นสิ่งที่เน้นย้ำมาเสมอว่าควรศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพเพราะบริษัทประกันแต่ละแห่งอาจมีเงื่อนไขในการเรียกร้องสินไหมที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ข้อยกเว้นในกรมธรรม์เรื่องการไม่คุ้มครองโรคต่าง ๆ รวมถึงระยะเวลารอคอยที่ประกันภัยยังไม่คุ้มครองหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ หรืออาจจะรวมถึงวิธีเรียกร้องสินไหมที่อาจจะมีช่องทางในการใช้เรียกร้องสินไหมแตกต่างกันออกไป

อ่านมาถึงตรงนี้ หากซื้อประกันสุขภาพ มาลดหย่อนภาษีคุ้มมั้ย ? ตอบได้เลยว่า คุ้ม หากคุณได้ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดโดยเริ่มจากการทำความเข้าใจว่าประกันสุขภาพคืออะไร มีเงื่อนไขใดบ้างที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ทั้งกรณีที่ซื้อประกันสุขภาพให้ตนเอง พ่อแม่ หรือคู่สมรสที่มีระบุวงเงินสูงสุดว่าในแต่ละปีนำมาลดหย่อนได้เท่าไร รวมถึงการพิจารณาความเสี่ยงดานสุขภาพ สวัสดิการ หรือสิทธิ์รักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขการรับประกันและให้เรีบกร้องสินไหมของแต่ละบริษัทประกันว่ามีความเหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการและหากเกิดเหตุขึ้นมาก็ให้ความคุ้มครองได้จริงไม่จกตานั่นเอง

ส่วนใครที่อยากรู้วิธีการลดหย่อนภาษีแบบอื่น ๆ ก็สามารถเข้ามาอ่านบทความ รับสาระดี ๆ ทางการเงินและการลงทุน รวมถึงขอรับคำปรึกษาได้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ MoneyDuck Thailand