เมื่อพูดถึง 'รถยนต์' เดี๋ยวนี้ถ้าอยากได้รถใหม่สักคันก็ไม่ยากเท่าไรแล้ว เพราะมีบริษัทมากมายที่พร้อมจะเสนอสินเชื่อให้เราพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทไฟแนนซ์ หรือลิสซิ่งต่างๆ ที่มีทั้งในเครือธนาคาร หรือเครือค่ายรถเอง. เพราะในบางครั้ง จังหวะชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถเลือกได้ เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมาปัจจุบันทันด่วน สินเชื่อต่างๆ จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งทางออกของใครหลายๆ คน แต่ก็อาจจะยังมีคนสงสัยในการขอกู้ยืมเงินต่างๆ อยู่ดีว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะ สินเชื่อเช่าซื้อ ที่ใช้รถแลกเงิน และ สินเชื่อระบบรีไฟแนนซ์เงินกู้ หรือ สินเชื่อส่วนบุคคล. เราจึงนำเสนอข้อมูลตามบทความนี้มาให้ลองไปพิจารณาตรวจสอบกันดู

car loan

Media_works/shutterstock.com

สินเชื่อรถมีกี่แบบ

สินเชื่อรถมีกี่แบบ

สินเชื่อ คือ เงินที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือนิติบุคคล โดยมีข้อสัญญาผูกพันที่ผู้ขอกู้จะต้องชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับผู้ให้กู้ หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ การให้ยืมเงินนั้นเอง และเมื่อให้ยืมแล้ว ก็ต้องคืน แล้วก็ต้องมีอะไรตอบแทนสำหรับความเชื่อใจที่ให้ยืมเงิน โดยผลตอบแทนที่ว่า ก็คือ ดอกเบี้ยที่ตามมา

โดยทั่วไป สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์สำหรับบุคคลธรรมดาจะมีทั้งสินเชื่อรถมือหนึ่ง ซื้อรถจากค่ายรถ หรือดีลเลอร์ , สินเชื่อรถมือสอง ซื้อรถจากเต็นท์รถ หรือรถบ้าน และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่ขอสินเชื่อเช่าซื้อที่หนึ่งมาโปะอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้ เงื่อนไขของบริษัทให้สินเชื่อแต่ละที่ก็จะต่างกันไปสำหรับแต่ละประเภท ทั้งนี้ เมื่อเราพูดถึงสินเชื่อรถมักจะหมายถึงใน 2 แบบคือ แบบแรกคือการที่เราเช่าซื้อรถ (ไม่ว่าจะรถมือหนึ่ง มือสอง หรือรีไฟแนนซ์) ส่วนแบบที่สองคือ การที่เราเป็นเจ้าของรถอยู่แล้ว แต่เอารถไปขอ หรือแลกเป็นเงินสดออกมา (ซึ่งพวกนี้จะเรียกกันหลากหลาย เช่น Car for Cash หรือจำนำทะเบียนรถ เป็นต้น) ทั้งสองแบบจะแตกต่างกันตรงที่ แบบแรกเป็นเรื่องของ “เช่าซื้อ” คือเรายังไม่ได้เป็นเจ้าของรถ และขอสินเชื่อโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเจ้าของรถเมื่อจ่ายค่างวดครบ ส่วนแบบที่สองเป็นเรื่องของกู้เงิน คือเราเป็นเจ้าของรถอยู่แล้ว และเอารถไปขอ หรือแลกสินเชื่อเงินสดออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาเงินสดไปใช้จ่ายอย่างอื่น

สินเชื่อรถยนต์ มีรูปแบบหลักๆอยู่สองรูปแบบ คือ

สินเชื่อรถยนต์ มีรูปแบบหลักๆอยู่สองรูปแบบ คือ

สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

คือการเช่าซื้อรถยนต์ตามปกติ โดยทำสัญญาซื้อขายกับทางบริษัทสินเชื่อ ผ่านทางโชว์รูม ซึ่งทางบริษัทสินเชื่อจะเป็นคนจ่ายค่าเช่าซื้อแทนเราให้กับทางโชว์รูม แล้วให้เรามาผ่อนชำระกับทางบริษัทสินเชื่อด้วยตนเอง ผ่านช่องทางต่างๆตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน. สินเชื่อรถยนต์ ในรูปแบบนี้ มีข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รถแตกต่างกันไปตามเงื่อนไข บริษัทสินเชื่อบางเจ้าอาจตั้งกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ไว้อย่างยุติธรรม แต่บางบริษัทอาจถือกรรมสิทธิ์ไปจนกว่าเราจะทำการผ่อนชำระใกล้หมด ซึ่งเสี่ยงมากกว่า เพราะหากบริษัทเหล่านั้นถูกฟ้องล้มละลาย ก็จะพลอยสูญเสียทรัพย์สินไปด้วยโดยไม่รู้ตัว

สินเชื่อรถแลกเงิน คือ การนำรถมาจำนำทะเบียนไว้กับสถาบันทางการเงิน ที่มีการให้กู้สินเชื่อรถแลกเงิน โดยจะแตกต่างจากการรีไฟแนนซ์ คือ รถที่นำมายื่นกู้สินเชื่อ ต้องเป็นรถที่ชำระเงินสดหรือผ่อนรถจนหมดแล้วเท่านั้น โดยอัตราดอกเบี้ยจะมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันทางการเงิน เช่น “สินเชื่อเพื่อรถบ้าน” เป็นบริการสินเชื่อเช่าซื้อสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์มือสองโดยตรงจากเจ้าของรถหรือที่เรียกกันว่า รถซื้อ-ขายกันเอง หรือรถบ้าน หรือ "สินเชื่อเพื่อคนมีรถ" หนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับเจ้าของรถที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพราะ คาร์ ฟอร์ แคช คิดดอกเบี้ยต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นในวงเงินเท่ากัน สมัครง่าย อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ และยังมีรถไว้ขับตามปกติ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งผู้ที่มีเล่มทะเบียนรถอยู่แล้ว หรือยังผ่อนรถอยู่ก็กู้ได้

ข้อดีของสินเชื่อรถ คือ คุณสามารถนำรถยนต์มาใช้เป็นหลักประกัน เพื่อนำเงินสดไปช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน หรือนำไปขอยื่นกู้รีไฟแนนซ์เพื่ออัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าได้ ในขณะที่คุณยังสามารถใช้รถยนต์ได้ตามปกติ

สินเชื่อระบบไฟแนนซ์

ก็คือการที่เรามีรถยนต์อยู่แล้ว ผ่านการผ่อนชำระจนหมดพันธะเรียบร้อยแล้ว แต่คุณมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดจำนวนหนึ่ง จึงนำรถยนต์คันนี้เข้าไปจำนองกับบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อแลกเป็นเงินสดออกมาใช้จ่าย โดยนำรถยนต์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แล้วผ่อนจ่ายตามจำนวนที่ตกลงกัน สินเชื่อรถยนต์ระบบไฟแนนซ์นี้ สามารถใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภท ทุกรุ่น และมีอัตราการประเมินราคาที่แตกต่างกันออกไปตามสายตาของช่าง และนายทุนในบริษัทนั้นๆ ซึ่งบางทีคุณอาจไม่ได้เต็มตามวงเงินที่ขอไป แต่ทางบริษัทประเมินให้ตามสภาพรถและอายุการใช้งาน เพื่อความยุติธรรมของทั้งสองฝ่าย. ส่วนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ การกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ หรือต้องการยืดระยะเวลาผ่อนชำระออกไป เพราะต้องการใช้เงินก้อน โดยวิธีการของการรีไฟแนนซ์รถยนต์นั้น คือการนำรถยนต์ที่ยังไม่ปลอดภาระหนี้ไปยื่นขอเงินกู้กับธนาคารต่าง ๆ ซึ่งภาระหนี้ที่มีอยู่นั้นทางธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาการอนุมัติวงเงินกู้ยืม ยกตัวอย่างเข้าใจง่าย ๆ เช่น รถยนต์ของคุณมีภาระหนี้เหลืออยู่ 10 งวด เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ที่ต้องผ่อนชำระให้กับธนาคาร คุณต้องการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ดังนั้น ธนาคารอาจจะอนุมัติวงเงินที่ 150,000 บาท ซึ่งเงิน 100,000 บาท ธนาคารผู้ให้กู้จะนำเงินไปปิดงวดรถยนต์ของคุณ และคุณยังมีเงินคงเหลืออีก 50,000 บาท คุณสามารถนำเงินไปใช้จ่ายหรือหมุนเวียนได้ เป็นต้น

เงินกู้ (สินเชื่อส่วนบุคคล) คือ สินเชื่อที่ผู้ขอจะได้มาจำนวนเงินเป็นเงินก้อน สามารถเอาไปใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ตามความเหมาะสมของผู้ขอ โดยจำนวนเงินที่ขอสินเชื่อนั้นจะได้เงินอยู่ที่ประมาณ 5 เท่าของเงินเดือน มีกำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอน ซึ่งอาจจะชำระหนี้ครั้งเดียวเต็มจำนวน หรือผ่อนชำระเป็นงวดๆ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน มีทั้งชนิดที่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และชนิดที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการย้ายไฟแนนซ์นั่นเองสำหรับหลักทรัพย์ที่นิยมนำมาใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ยืม ได้แก่ ที่ดิน อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรืออาจใช้เงินฝากในบัญชีก็ได้ •ข้อดีของการของเงินกู้ (สินเชื่อส่วนบุคคล) คือ ผู้ขอสินเชื่อไม่จำเป็นต้องมีบุคคลเข้ามาค้ำประกัน หรือนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน สามารถกำหนดระยะเวลากู้ได้แน่นอน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่คงตัว และการชำระเงินรายเดือนที่เท่าๆ กัน ซึ่งการกู้นี้อาจจะได้เป็นเงินสดหรือไม่ใช่ก็ได้ การกู้เหล่านี้รวมไปถึงสิ่งของที่มีความจำเป็นต้องใช้โดยตรง อย่างการซื้อสินค้าด้วยบัตรผ่อนสินค้าที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น การซื้อรถ, ซื้อ – ซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น

ความแตกต่าง

ความแตกต่าง

ในเรื่องของความยากง่ายนั้น ต้องบอกเลยว่า สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ กับ สินเชื่อระบบรีไฟแนนซ์ สามารถอนุมัติได้อย่างรวดเร็วพอๆ กับทั้งสองแบบ ซึ่งนอกจากนี้ก็ต้องขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันทางการเงินด้วย และด้วยความที่อนุมัติง่ายเหล่านี้เอง ทำให้ดอกเบี้ยของสินเชื่อเหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่ค่อนข้างยาวนาน ซึ่งถ้าใครต้องการผ่อนยาวๆ สินเชื่อเหล่านี้อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเราได้. นอกจากนี้บางแห่งยังมีเงื่อนไขกู้มาก ดอกเบี้ยยิ่งลด ทำให้เหมาะกับบุคคลที่ต้องการความคล่องตัวทางการเงิน หรือต้องการเงินก้อนอย่างเร่งด่วนในเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ต้องนำไปใช้จ่ายในค่ารักษาพยาบาล, ปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น

หลายคนอาจจะมองว่า ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ กับ สินเชื่อระบบรีไฟแนนซ์ นั้น แทบไม่มีข้อแตกต่างกันเลย ซึ่งทั้งสองสินเชื่อนี้จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในลักษณะของเงื่อนไขในช่วงที่ยื่นเรื่องกับทางสถาบันทางการเงิน ดอกเบี้ย และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ อย่าง สินเชื่อระบบรีไฟแนนซ์ส่วนบุคคล หรือเงินกู้ อาจจะต้องการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ในการพิจารณากู้ยืม หรืออาจต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั้น จะมีเอกสารของรถเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และให้รถที่นำมาเข้าสินเชื่อทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันแทนนั้นเอง. สำหรับการขอสินเชื่อรถยนต์นั้นลูกค้าสามารถยื่นขอได้ทั้งสินเชื่อรถยนต์ของธนาคาร หรือไม่ก็บริษัทไฟแนนซ์ที่เน้นการจัดไฟแนนซ์รถยนต์โดยเฉพาะหรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “ลิสซิ่ง”

ในส่วนของขั้นตอนการพิจารณาขออนุมัติสินเชื่อนั้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของธนาคารและลิสซิ่งไม่ค่อยต่างกันนัก ถ้ารายได้ไม่ถึง ภาระหนี้เยอะ เคยมีประวัติติดเครดิตบูโร แบบนี้ไม่ว่าจะขอจัดไฟแนนซ์ที่ไหนก็มีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธได้เหมือนกัน ตรงกันข้ามหากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข มีเครดิตดี รายได้พร้อม ภาระหนี้ไม่มาก ไม่ว่าจะขอจัดไฟแนนซ์ที่ไหนโอกาสได้รับอนุมัติก็สูง. โดยหลายคนที่มีประสบการณ์ในการยื่นขอจัดไฟแนนซ์มาก่อนให้ข้อสังเกตว่าการขอจัดไฟแนนซ์กับบริษัทไฟแนนซ์หรือลิสซิ่งนั้นมีโอกาสได้รับการอนุมัติง่ายกว่าธนาคาร อาจเป็นเพราะนโยบายการปล่อยสินเชื่อของบริษัทไฟแนนซ์ไม่เข้มงวดเท่ากับของธนาคาร นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการพิจารณาเพื่ออนุมัติสั้นกว่าด้วย หากเป็นธนาคารจะใช้เวลานานเพราะมีขั้นตอนในการพิจารณามากกว่า บางครั้งลูกค้าต้องรอนานมากกว่าสัปดาห์ ในขณะที่ถ้าคุณสมบัติพร้อม ลิสซิ่งอนุมัติให้ได้ภายใน 2-3 วันเท่านั้น.

สำหรับเรื่องของดอกเบี้ยและโปรโมชั่น การจัดไฟแนนซ์กับลิสซิ่งมักได้ข้อเสนอที่ดีกว่าธนาคาร ยิ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นลิสซิ่งที่เป็นยี่ห้อรถอย่างโตโยต้าลิสซิ่ง หรือฮอนด้าลิสซิ่ง จะมีข้อเสนอดอกเบี้ยและโปรโมชั่นที่ดีกว่ามาก เช่น ดอกเบี้ย 0% ดาวน์น้อยกว่า หรือผ่อนได้นานกว่า เป็นต้น เมื่อบริษัทผลิตรถยนต์ยี่ห้อนั้นต้องการขายรถให้ได้ตามเป้า ก็ยอมรับภาระดอกเบี้ย โดยมีข้อเสนอพิเศษเป็นดอกเบี้ยต่ำ หรือดอกเบี้ย 0% เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อรถง่ายขึ้น. การจัดไฟแนนซ์รถยนต์กับธนาคารก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลย เพราะถ้าดูเรื่องการจ่ายค่างวดคืนจะพบว่าช่องทางการจ่ายคืนผ่านธนาคารนั้นสะดวกกว่า และถ้าจ่ายค่างวดผ่านธนาคารเดียวกับที่มีการขอสินเชื่อรถยนต์ก็จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ต่อเดือนอาจดูไม่มาก แต่เมื่อรวมระยะเวลาที่ต้องผ่อนนานก็เป็นเงินหลายพันบาทเหมือนกัน. โดยหลายธนาคารมีนโยบายเน้นปล่อยสินเชื่อรถยนต์ เช่น ธนาคารทิสโก้ ธนาคารธนชาต หรือธนาคารเกียรตินาคิน การจัดไฟแนนซ์ผ่านธนาคารเหล่านี้มีโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอที่ดีเช่นกัน เนื่องจากฐานลูกค้ามีจำนวนมากและอยู่ในธุรกิจมานานทำให้ออกแบบโปรโมชั่นหรือทำการตลาดได้ง่รนด้วย. และจากการเปรียบเทียบว่าจะจัดไฟแนนซ์ผ่านธนาคารหรือบริษัทไฟแนนซ์ดี สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกและตัดสินใจให้ดี ก็คือ การจัดไฟแนนซ์กับธนาคารหรือบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินที่มากพอ อยู่ในธุรกิจมานาน มีระบบระเบียบและขั้นตอนในการดำเนินงานที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นอย่างดี และมีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างดีที่สุด.

นอกจากเรื่องความรวดเร็วแล้ว ในส่วนของดอกเบี้ย ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล หรือเงินกู้นั้น ก็ค่อนข้างแตกต่างกับสินเชื่อรถ ซึ่งส่วนมากสินเชื่อรถนั้น จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล แต่มีเงื่อนไขว่า รถที่นำมาเข้าสินเชื่อรถนั้น ต้องผ่อนหมดแล้วเท่านั้น ในทางกลับกัน เงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น แม้เราไม่มีรถ ก็สามารถทำเรื่องขอกู้ยืมได้ ทว่ามีดอกเบี้ยสูง บางแห่งมากถึง 28% ต่อปี ดังนั้น เมื่อเราต้องการเงินเร่งด่วน ทั้งเงินกู้ (สินเชื่อส่วนบุคคล) และ สินเชื่อรถ สามารถช่วยเหลือเราได้เมื่อเกิดปัญหา และต้องการเงินก้อน นอกเหนือจากเรื่องดอกเบี้ย ทั้งสองสินเชื่อนี้ยังมีระยะจ่ายหนี้ที่ยาวนาน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ สินเชื่อรถจะประเมินวงเงินจากการนำรถที่ผ่อนเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว ส่วนเงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น แม้จะรวดเร็ว แต่ก็ต้องใช้เวลาเล็กน้อยในการตรวจสอบเอกสารต่างๆ เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินก้อนโตมากๆ.

ดังนั้นแล้ว จะเห็นว่านอกเหนือจากเรื่องดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ และสถาบันการเงินที่ไว้ใจยื่นสินเชื่อได้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือความจำเป็นของการกู้ยืมต่างๆ รวมไปถึงการวางแผนทางการเงินที่ดี เพื่อให้การผ่อนชำระเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หากจะให้ดีควรมีเงินสำรองเผื่อการจ่ายชำระหนี้ไว้ 2 – 3 งวด จะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการร์ฉุกเฉินอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถผ่อนชำระได้ตรงตามที่ตกลงไว้ได้. คราวนี้เรื่องสินเชื่อก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ขอเพียงแค่มีความเข้าใจ และระเบียบวินัยที่ดี ก็จะช่วยให้เราสามารถจัดการการเงินได้อย่างราบรื่นแน่นอน!