เมื่อเรานั้นได้มีรายได้เข้ากระเป๋ามา นอกจากค่าผ่อนชำระสิ่งของต่างๆและค่าใช้จ่ายของใช้ส่วนตัว ที่เราต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว ยังมีสิ่งที่เราต้องชำระอีกอย่าง ซึ่งก็คือ ‘ภาษี’ ที่หลายๆ คนอาจจะลืมนำมาคำนวณเป็นหนึ่งในรายจ่ายที่จำเป็นด้วยนั้น เมื่อถึงเวลาที่เราต้องเสียภาษี จึงตกใจว่า ทำไมเรานั้นต้องจ่ายภาษีมากขนาดนี้ และเรานั้นก็คงจะสงสัยว่าทำไมคนที่มีรายได้มากกว่าเราถึงจ่ายภาษีได้น้อยกว่า คนเหล่านั้นมีวิธีอะไร ทำอย่างไร ทำผิดกฎหมายหรือเปล่า....? แท้ที่จริงแล้วนั้นพวกเขาเหล่านั้นเพียงแค่รู้วิธีลดหย่อนภาษีอย่างถูกกฎหมายนั่นเอง ยกเว้นภาษีเงินได้หรือการลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิทั่วไปที่ผู้มีเงินได้ตามที่กรมสรรพากรระบุ ซึ่งสิทธิลดหย่อนภาษีนั้นก็มีอยู่มากมายหลายข้อ ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการลดหย่อนภาษี สำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธี ต่อไปนี้ค่ะ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

reduce tax

9dream studio/shutterstock.com

1. เป็นบุคคลที่มีเงินได้ ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท

1. เป็นบุคคลที่มีเงินได้ ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท

ข้อแรกนี้ เรานั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย เพียงแค่เราเป็นคนไทยที่มีหน้าที่ต้องชำระภาษี เราก็สามารถที่จะลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท ถือสะว่าเป็นค่าเลี้ยงดูตัวเอง หรือหากเรานั้นได้มีคู่สมรสและคู่สมรสของเราไม่มีรายได้ ก็สามารถลดหย่อนเพิ่มได้อีก 60,000 บาท ได้เช่นกัน

2. การทำประกันสังคม ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน

2. การทำประกันสังคม ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน

ต่อมาจะเป็นเรื่องของการทำประกัน ประกันสังคมน่าจะเป็นประกันที่พนักงานประจำต่างๆทั้งหลายคงจะคุ้นเคยกันดี เพราะในแต่ละบริษัทหรือองค์กรต่างๆจะหักเงินเดือนของคุณไปแล้วนั้นทั้งหมด 5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ลาออกจากงานฟรีแลนเซอร์หรืองานประจำก็สามารถสมัครทำประกันสังคมเองได้เช่นกัน ขอแค่คุณนั้นมีอายุตั้งแต่ 15 - 60 ปี ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถนำจำนวนเบี้ยประกันสังคมนั้นมายื่นขอลดภาษีได้เช่นกันและสรรพากรยังให้หักลดได้เต็มจำนวนที่จ่ายจริงได้อีกด้วย

3. การทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท

3. การทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท

เรื่องของการลดหย่อนภาษีต่อมาจะเป็นเรื่องของการทำประกันชีวิต การทำประกันชีวิต เรานั้นสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายรวมต่อปีไปดำเนินยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้เท่าที่จ่ายจริงได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นประกันชีวิตที่ทำต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีการกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ทำประกันชีวิตให้ภรรยาหรือสามีสามารถที่จะลดหย่อนภาษีลงได้อีก โดยสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี นั่นก็คือ 1.ภรรยาหรือสามีไม่มีเงินได้สามารถที่จะนำเบี้ยที่จ่ายจริงไปเป็นค่าลดหย่อนได้แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 2.ภรรยาสามีเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จะจ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท การทำประกันสุขภาพ สามารถนำเบี้ยประกันมายกเว้นภาษีตามที่จ่ายจริงได้แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นเบี้ยประกันสุขภาพต้องนำไปรวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท+ประกันชีวิตทั่วไป การทำประกันแบบบำนาญ เราสามารถที่จะนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเหมือนกับประกันชีวิต กล่าวคือ ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และเป็นประกันชีวิตที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ประกันชีวิตต้องกำหนดช่วงอายุในการชำระผลประโยชน์ มากกว่า85 ปีขึ้นไป หรือตั้งแต่55-85 ปีก็ได้ และเรานั้นต้องทำการจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนที่จะรับผลประโยชน์ด้วย

4. สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ลดหย่อนภาษีได้ 15 เปอร์เซ็นต์ของเงินได้

4. สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ลดหย่อนภาษีได้ 15 เปอร์เซ็นต์ของเงินได้

ต่อมาจะเป็นเรื่องของกองทุนสำหรับเลี้ยงชีพ กองทุนสำหรับเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างนั้นได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างนั้นได้ลาออกจากกองทุน ลาออกจากงาน หรือเสียชีวิต ซึ่งเงินที่นายจ้างจ่ายเรียกว่าเงิน “สมทบ” และเงินที่หักจากลูกจ้างเรียกว่าเงิน “สะสม” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีลักษณะคล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ที่มีรัฐบาลเข้ามาช่วยสมทบให้ โดยจำนวนเงินที่เรานั้นได้นำไปสมทบสามารถที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท แต่หากจำนวนเงินเกินต้องไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้ต่อปี แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

5. การเลี้ยงดูพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท

5. การเลี้ยงดูพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท

เรื่องต่อมาสำหรับการลดหย่อนภาษีคือ การเลี้ยงดู เพื่อนๆอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ เพียงการเลี้ยงดูพ่อแม่ของของคู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือตนเอง ก็สามารถที่จะลดหย่อนภาษีไปได้ถึงคนละ 30,000 บาท ในกรณีที่พ่อแม่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 30,000 บาท ก่อนที่จะทำการดำเนินยื่นภาษีจะต้องกรอกหนังสือรับรองการลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา(ลย03) จากนั้นเราจึงที่จะสามารถนำไปยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้แล้ว หากพ่อแม่ของของคู่สมรสหรือพ่อแม่ของตนเองได้ทำประกันสุขภาพ สามารถที่จะลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีกเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อแม่ของคู่สมรสหรือของตนเองต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท

6. การกู้เงินซื้อ/สร้างบ้าน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

6. การกู้เงินซื้อ/สร้างบ้าน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

เรื่องต่อมาจะเป็นเรื่องการกู้เงินซื้อหรือ การกู้เงินที่เรานั้นจะใช้มาสร้างบ้าน หากเรานั้นมีภาระผ่อนบ้าน ไม่ว่าจะเช่าซื้อ ซื้อ สร้าง หรือสร้างอาคารใดๆ เพื่อที่จะใช้อยู่อาศัย เรานั้นก็สามารถนำจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระทั้งหมดต่อปีนำเอาไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงได้เลย แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ช่วยเราจากการลดหย่อนภาษีได้มาก การกู้สินเชื่อบ้านก็สามารถช่วยให้เราได้ทั้งบ้าน และประหยัดภาษีลงได้อีกด้วย

7. การเลี้ยงดูลูก ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท

7. การเลี้ยงดูลูก ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท

เรื่องถัดมาเป็นเรื่องของการเลี้ยงดูลูกค่ะ ใช่ค่ะ คุณอ่านไม่ผิดหรอก ถ้าหากเรามีลูกก็สามารถที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท โดยลูกของจะต้องเป็นบุตรตามกฎหมาย จะมีกี่คนก็สามารถหักภาษีตามที่มีได้ แต่ถ้าหากเรานั้นเลี้ยงลูกบุญธรรม ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 3 คน และถ้ามีลูกตามกฎหมายอยู่ถึง 3 คนแล้วนั้น ก็ไม่สามารถที่จะรวมกับลูกบุญทำเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มได้ โดยลูกแต่ละคนนั้นต้องเป็นผู้เยาว์และไม่มีเงินได้พึงมีเกิน 30,000 บาท (“รายได้พึงมี” เป็นรายได้จากการทำงานไม่ใช่รายได้จากค่าเลี้ยงดูของผู้ปกครอง) หรือหากในกรณีที่ลูกอายุไม่เกิน 25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่เท่านั้น

8. การลงทุน RMF และ LTF ลดได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้

8. การลงทุน RMF และ LTF ลดได้ 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้

เรื่องถัดไปการลงทุน RMF และ LTF กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการ เลี้ยงชีพ (RMF) เป็นกองทุนที่หลายคนคงเคยได้ยินว่าการลงทุนไว้เพื่อให้ลดหย่อนภาษี ที่ได้ยินมานั้นถูกต้องแล้ว เพราะว่าถ้าเราซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนทั้งสองนี้ เราจะได้รับยกเว้นภาษีเท่าที่ง่ายจริง แต่จำนวนเงินไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้ และจำนวนเงินนั้นต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับกองทุน (RMF) มีเงื่อนไขว่าจะนับรวมเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้ว และเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน โดยต้องไม่เกิน 500,000 บาท และสำหรับกองทุน (LTF) มีเงื่อนไขว่าเรานั้นจะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนระยะยาวต่อเนื่องโดยไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลิตภัณฑ์การเงินเหล่านี้นั้นไม่ได้มีจุดประสงค์หลักที่ให้เราลดหย่อนภาษี ดังนั้นเราจึงควรที่จะศึกษาผลิตภัณฑ์และเลือกกองทุนให้เหมาะกับเป้าหมายของตัวเองด้วย

9. การท่องเที่ยวในประเทศ 55 เมืองรอง ลดหย่อนไม่เกิน 15,000 บาท

9. การท่องเที่ยวในประเทศ 55 เมืองรอง ลดหย่อนไม่เกิน 15,000 บาท

เรื่องลดหย่อนภาษีนั้นดำเนินมาถึงเกือบข้อสุดท้ายแล้ว ซึ่งเรื่องนี้นั้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศ 55 เมืองรอง เชื่อหรือไม่ว่าแค่เรานั้นออกไปเที่ยวก็สามารถนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15,000 บาท อ่านไม่ผิดหรอกค่ะท่านผู้อ่าน เพราะรัฐบาลที่นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ โดยค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ คือ ค่าทัวร์ โฮมสเตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยวหรือค่าที่พัก ทั้งนี้ทั้งนั้น มาตรการลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวนี้ ได้ให้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และจำกัดสิทธิเพียงเมืองรอง 55 จังหวัด ดังนี้ หนองคาย สระแก้ว เลย ตาก ตราด เพชรบูรณ์ จันทบุรี มุกดาหาร นครสวรรค์ ราชบุรี นครศรีธรรมราช อุดรธานี เชียงราย ลพบุรี พิษณุโลก สุพรรณบุรี อุบลราชธานี นครนายกสกลนคร ลำพูน นครพนม อุตรดิตถ์ ระนอง ลำปาง ร้อยเอ็ด แม่ฮ่องสอน พิจิตร แพร่ ชัยน่านสมุทรสงคราม บุรัมย์ ชัยภูมิ พัทลุง ตรัง ศรีสะเกษ ปราจีนบุรี สตูล ชุมพร สุโขทัย สุรินทร์น่าน อ่างทอง มหาสารคาม กำแพงเพชร อุทัยธานี นราธิวาส ยะลา สิงห์บุรี หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ ปัตตานี พะเยา บึงกาฬ กาฬสินธุ์ และยโสธร

10. การบริจาคสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อน 2 เท่า ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้

10. การบริจาคสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อน 2 เท่า ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้

และแล้วก็มาถึงข้อสุดท้าย ซึ่งข้อนี้เกี่ยวกับการบริจาคสนับสนุนการศึกษา การศึกษากับการลงทุนถือว่าเป็นการลงทุนที่ยาวนานและยั่งยืน รัฐบาลที่เล็งเห็นความสำคัญของการลงทุนในส่วนนี้จึงมีการสนับสนุนให้เราบริจาคเงินเพื่อการศึกษา โดยมีมาตรการสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่จำนวนเงินนั้นต้องไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของเราต่อปี สำหรับเงินที่บริจาคสาธารณประโยชน์อื่นๆ เพื่อการศึกษา ก็สามารถที่จะนำมาลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการเดียวกันได้ เช่น เงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการกีฬา กองทุนเสริมศิลปะร่วมสมัย กองทุนเสริมงานวัฒนธรรม เงินบริจาคให้สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน และกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุหรือกองทุนโบราณคดี เป็นต้น

และนอกจากนี้ หากเราได้บริจาคเงินทั่วไปที่มีหลักฐานการบริจาคชัดเจน ก็สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน ซึ่งจำนวนเงินต้องไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วด้วย 10 วิธีลดหย่อนภาษีข้างต้น น่าจะช่วยไขข้อสงสัยสำหรับบางคนแล้วว่าทำไมคนที่มีรายได้มากกว่าเราบางคนถึงจ่ายภาษีได้น้อยกว่า ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นวิธีลดภาษีที่ใครๆ ก็สามารถที่จะทำได้ และหากเราอยากรู้ว่าเราจะสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ก็ลองทำการคำนวณลดหย่อนภาษีดูเพื่อที่จะได้ทราบว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไร และมีจุดไหนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้อีก หวังว่าบทความที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ