ถึงแม้ว่าเพื่อนๆจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ หรือ เป็นเจ้าหนี้ ผมก็อยากให้เพื่อนๆได้รู้เอาไว้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ทวงหนี้ฉบับปี 2558 ว่าถ้าเพื่อนๆเป็นเจ้าหนี้ต้องทำตัวอย่างไร และ เป็นลูกหนี้ต้องทำตัวอย่างไร   แต่เอาจริงๆผมว่าก็ไม่มีใครอยากที่จะเข้าไปยุ่งกับเรื่องของหนี้หรอกจริงไหมครับไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้ได้ก็ต้องมีการเอาเงินให้ผู้อื่นยืม หรือ กรณีเป็นลูกหนี้ก็แปลว่าจะต้องไปยืมเงินผู้อื่น ผมว่าคงไม่มีเพื่อนๆคนไหนอยากจะเข้าไปเป็นทั้งสองกรณี แต่เพื่อนๆอาจจะมีคนรู้จักที่ไม่เป็นลูกหนี้หรือไม่ก็เป็นเจ้าหนี้อยู่เพื่อนๆอาจจะเอาไว้เป็นความรู้เพื่อที่จะได้ให้คำปรึกษากับคนรู้จักของเพื่อนๆก็ได้เวลาที่พวกเขามีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ที่เจอลูกหนี้ขี้เหนียวจ่ายช้าเจ้าหนี้จะต้องทำตัวอย่างไร หรือ ถ้าเป็นลูกหนี้แล้วได้รับการทวงหนี้โหดและไม่ได้รับความเป็นธรรมต้องทำอย่างไร เมื่อเพื่อนๆอ่านบทความนี้เพื่อนๆจะสามารถไปให้คำปรึกษากับคนเหล่านั้นได้

เจ้าหนี้

เจ้าหนี้

ให้เรามาดูทางฝ่ายของเจ้าหนี้กันก่อนว่า พ.ร.บ.ทวงหนี้ปี 2558 ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 ฉบับนี้นั้น กำหนดให้เจ้าหนี้นั้นต้องมีการทำตัวอย่างไรเมื่อเจอกับลูกหนี้ขี้เหนียว จ่ายหนี้ช้า เจ้าหนี้จะมีวิธีการทำอย่างไรเพื่อให้ได้เงินคืนมา อันดับแรกเลยเจ้าหนี้จะต้องเริ่มที่การทวงถามหนี้หรือว่าจ้างผู้ทวงถามหนี้ แล้วผู้ทวงถามหนี้คือ? ผู้ทวงถามหนี้นั้นจะเป็นเจ้าหนี้เองที่ไปถามลูกหนี้เองก็ได้โดยที่ไม่ต้องว่าจ้างหรือจะมอบอำนาจให้กับผู้อื่นไปทำการทวงถามหนี้ให้แทนตัวเองโดยการว่าจ้างก็ได้ และที่เดียวที่เจ้าหนี้สามารถว่าจ้างให้ไปทวงหนี้แทนตัวเองได้นั้นจะต้องเป็นบริษัทรับทวงหนี้เท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ในระบบหรือนอกระบบจะผิดกฏหมายหรือถูกกฏหมายก็จะต้องทำตามระบบ พ.ร.บ.ทวงหนี้ฉบับนี้เช่นกัน ถ้าไม่ทำตาม พ.ร.บ.ทวงหนี้ก็แปลว่าไม่ทำตามกฏหมายก็จะโดนจับ

ต่อมาให้เรามาดูว่า บริษัททวงถามหนี้ หรือ ธุรกิจทวงถามหนี้ นั้นคือ ต้องบอกว่า บริษัททวงถามหนี้ คือ ผู้ที่ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนเรียบร้อยนะครับ โดยการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ส่วนในกรณีที่ผู้ที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความก็จะต้องจดทะเบียนกับสภาทนายความ และถ้าผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้นั้นไม่ได้จดทะเบียนจะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท เพราะฉะนั้นที่เรามักจะเห็นเจ้าหนี้นอกระบบใช้ลูกน้องของตนไปทวงหนี้โหดนั้นถือว่ามีความผิด

ต่อมา คือ ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำการทวงถามหนี้ เช่น พวกพี่ๆทหาร หรือ นายตำรวจ ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือ ไปทำการช่วยเหลือเจ้าหนี้ในการทวงถามหนี้จากลูกหนี้ ยกเว้น พี่ๆทหารหรือนายตำรวจท่านนั้นเป็นเจ้าหนี้เองหรือเจ้าหนี้เป็นภรรยา พ่อแม่ หรือลูก ถ้าในกรณีแบบนี้พี่ๆทหารหรือนายตำรวจสามารถทำการทวงถามหนี้ให้ได้ แต่ก็ต้องทวงถามหนี้ให้อยู่ภายใต้กรอบของกฏหมายนะครับ แต่ถ้าฝ่าฝืน พ.ร.บ. ทวงหนี้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นะครับ

ห้ามทวงหนี้กับบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้ของตน ก็ตัวอย่าง การไปทวงถามหนี้เอาจากคนที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้เรา เช่น คนที่เป็นลูกคือคนที่เป็นหนี้เรา แต่เรากลับไปทวงถามเอาจากตัวพ่อหรือแม่หรือพี่ชายพี่สาวของลูกหนี้แทน อันนี้คือ ห้ามเด็ดขาด ทำได้แค่เพียงบอกข้อมูลเท่านั้นว่า ลูกคุณ น้องคุณ เป็นลูกหนี้ค้างหนี้เราอยู่เท่านั้นเท่านี้อะไรประมาณนั้นแต่ห้ามไปทวงเอาจากบุคคลเหล่านั้นทวงได้แค่กับลูกหนี้ และถ้าเจ้าหนี้ทำการฝ่าฝืนข้อนี้ก็จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท สุดท้ายแล้วสำหรับเจ้าหนี้ คือ เวลากำหนดในการทวงหนี้ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ก็มีเวลาและความเหมาะสมในการทวงถามหนี้ ดังนี้ คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัส วันศุกร์ สามารถทวงถามหนี้ได้ เวลา 08:00-20:00 น. และวันหยุดสามารถทวงถามหนี้ได้เวลา 08:00-18:00 น. และจำนวนความเหมาะสมในการทวงถามนี้ต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1 ถึง 2 ครั้ง ก็ตามความเหมาะสม แต่ถ้าหากเจ้าหนี้ หรือ บริษัทที่ถูกว่าจ้างให้ทวงถามหนี้ไม่ได้ทำตามเวลานี้ก็จะต้องถูกระงับการปฏิบัติงาน และถ้ายังฝ่าฝืนอีกก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ลูกหนี้

ลูกหนี้

มาถึงทางฝ่ายของลูกหนี้กันบ้าง ในกรณีที่ถูกเจ้าหนี้ ตามทวงหนี้โหด ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหนี้ และถูกคุกคามจากเจ้าหนี้ยังไงบ้าง ที่จะสามารถแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอความช่วยเหลือ ให้เรามาดูกันว่า พ.ร.บ.ทวงหนี้ปี 2558 เขาคุ้มครองลูกหนี้ยังไงบ้าง มาที่ข้อแรกกัน กรณีที่เจ้าหนี้ใช้ความรุนแรงในการทวงถามหนี้ จนทำให้ตัวลูกหนี้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน เหมือนที่เรามักจะเห็นในละครไทยบ่อยๆที่เจ้าหนี้มักไปทำร้ายนางเอกที่เป็นหนี้แล้วพระเอกก็เข้ามาช่วย แต่ชีวิตจริงเราไม่ต้องรอพระเอกนะครับเพราะไม่รู้จะมีมารึป่าว ลูกหนี้สามารถที่จะแจ้งความได้ และเจ้าหนี้ที่กระทำเช่นนั้น จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ต่อมาเรามาดูกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ได้มาแต่ส่งคนมาทวงถามหนี้แทน แล้วผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาทวงถามหนี้แทนนั้น พูดจาไม่สุภาพ ดูหมิ่นลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทวงหนี้ต่อหน้า หรือจะเป็นการส่งจดหมายผ่านไปรษณีย์ โดยที่มีข้อความการทวงหนี้ที่เป็นเชิงข่มขู่ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท และถ้าทำให้ลูกหนี้ที่ได้รับจดหมายนั้นมีการเข้าใจผิดในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ ทำให้เข้าใจผิดว่าจดหมายฉบับนี้เป็นการกระทำของศาล เช่น การส่งเอกสารที่มีตราครุฑมาให้กับลูกหนี้ ก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าทำให้ลูกหนี้เชื่อว่า มีการส่งหนังสือทวงถามจากทางทนายความมาให้แล้ว มีการทำเอกสารเพื่อทำให้ตัวลูกหนี้เข้าใจผิดว่าถูกดำเนินคดีหรือเข้าใจผิดว่าถูกยึดทรัพย์ หรือ มีการทวงหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งถ้าเจ้าหนี้กระตามดังกล่าวจริงๆจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และสุดท้าย คือ ถ้ามีการกระทำที่ไม่เหมาะสมในการทวงหนี้ อันได้แก่ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าอะไรก็ตามแต่ที่จะเรียกเก็บที่มันเกินกว่ากำหนดของหนี้ที่ลูกหนี้ต้องจ่ายหรือมีการให้ลูกหนี้ทำเช็คจ่ายทั้งที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายได้ ลูกหนี้ก็สามารถไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

การรู้กฎหมายช่วยให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ

การรู้กฎหมายช่วยให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ

ก็อย่างที่บอกว่าผมทราบดีว่าไม่มีใครอยากที่จะเป็นหนี้กันหรอกใช่ไหมครับ มีใครที่ไหนอยากเป็นหนี้ แต่การรู้กฏหมายเอาไว้ก็ถือว่ามีประโยชน์ ซึ่ง พ.ร.บ. ทวงหนี้ 2558 ฉบับนี้ก็มีมาเพื่อที่จะคุ้มครองลูกหนี้ ซึ่งถ้าเพื่อนๆไม่ได้เป็นลูกหนี้แต่มีคนรู้จักเป็นก็สามารถที่จะให้คำแนะนำกับเขาได้ว่ามีการคุ้มครองอะไรยังไงบ้าง แต่ยังไงผมก็อยากจะแนะนำสำหรับคนที่เป็นลูกหนี้ทั้งหลายว่าหากท่านเป็นลูกหนี้แล้วก็อยากให้นำเงินไปจ่ายตามกำหนดและตามระยะเวลาที่สัญญากับเจ้าหนี้เอาไว้แล้วผมเชื่อว่าท่านจะไม่มีปัญหาอะไรที่จะต้องเพิ่งกฏหมาย พ.ร.บ. ทวงหนี้ 2558 ฉบับนี้แน่นอน ครับ