เราทุกคนสามารถเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและสร้างความมั่งคงทางการเงินให้กับตนเองได้!  เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเรารู้วิธีสร้างคุณสมบัติที่เหมาะสมกับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อจะสามารถเดินทางไปสู่ความสำเร็จในเส้นทางสายนี้ และมีเทคนิคที่ใช่สำหรับการเปิดบัญชีซื้อขายให้เหมาะกับสไตล์ของเราที่สุด

ไม่ต้องเผื่อเวลาอีกแล้ว มาดูเคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยเราย่นระยะทางสู่ความสำเร็จสำหรับนักลงทุนที่ฉลาดกว่าจำเป็นต้องรู้กันเลย ที่นี่!

คุณสมบัติที่สร้างความสำเร็จให้เรา

คุณสมบัติที่สร้างความสำเร็จให้เรา

ถ้าเราเป็นนักลงทุนที่อยากเพิ่มอิสรภาพทางการเงินในอนาคตแล้วล่ะก็ คุณสมบัติดีๆ ที่นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จจะพลาดไม่ได้ และเราต้องต้องนำไปประยุกต์ใช้ในทางสายนี้ ก็คือ

การสนใจในเรื่องต่างๆรอบตัว

เพราะนอกจากข้อมูลการลงทุนที่เราต้องศึกษาแล้ว ในโลกของการลงทุนยังมีความเชื่อมโยงที่เกี่ยวพันกันในซีกโลกต่างๆ เช่น วิกฤตต้มย้ำกุ้งของไทยในปี 40 ที่ส่งผลสะเทือนกับการเงินโลก หรือ วิกฤตไวรัสโคโรน่าที่แพร่ระบาดและกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆแห่ง. การเพิ่มข่าวสารที่แม่นยำนี้ ก็จะช่วยให้เราคาดคะเนทิศทางของสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น

มีไหวพริบ

นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จต้องมีไหวพริบในเรื่องการช่างสังเกต เข้าใจในรายละเอียดและข้อมูลสำคัญที่เราควรจำได้ในหุ้นตัวต่างๆด้วย เพราะยิ่งรู้ลึก ก็ยิ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ และแยกแยะผลกระทบในด้านต่างๆได้ดีว่า. แม้เจอสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณสมบัตินี้ก็จะทำให้เราตั้งรับได้เร็วกว่าคนอื่นๆมากขึ้นด้วย

มีความอดทน

นักลงทุนที่รักษาวินัยได้และมีความอดทน อดกลั้น ก็จะรอคอยโอกาสได้ดี ไม่ด่วนตัดสินไปตามกระแส. แต่พอน้ำขึ้นก็ค่อยรีบตัก ไม่ปล่อยให้โอกาสดีๆที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆนั้นผ่านไป นี่คือการฉลาดลงทุนแน่ๆ

ทิ้งอคติ

สิ่งที่ครอบงำเราอยู่บางครั้งอาจมาในรูปแบบอคติ คือการปล่อยให้ความคิดของเราถูกครอบงำไปกับกระแสของคนส่วนใหญ่ สิ่งนี้จะพานักลงทุนไปสู่แนวทางที่อาจผิดซ้ำเอาได้ด้วยพฤติกรรมที่คาดคะเนได้ล่วงหน้า. เราจึงควรทิ้งอคติตรงนี้ให้หมด และเปิดรับความคิดอิสระเข้ามาแทนที่ต่างหาก

มีสมาธิ

สมาธิที่แน่วแน่ และมีความลึกในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามตัวอย่างของนักลงทุนชื่อดัง George Soros ที่ขณะเขาทำการซื้อขายในช่วงที่ตลาดผันผวน แม้จะมีข่าวใหญ่หรือข้อสรุปวิเคราะห์ต่างๆ ก็จะยังไม่เปิดรับ จนกว่าเขาจะจัดการกับการลงทุนตรงหน้าให้เสร็จสิ้นก่อน. ถึงเราจะไม่ได้เพ่งจนเครียดแบบนั้น แต่คิดจะทำการใหญ่ใจต้องนิ่งจริงๆแหละ

มองภาพรวมได้ดี

ความครีเอทีฟ หรือความคิดที่สร้างสรรค์ก็จะช่วยให้นักลงทุนอย่างเรามองเห็นภาพรวมของสภาวะเศรษฐกิจได้ดีกว่าได้เหมือนกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนต่างๆ หรือราคาน้ำมัน สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยเราจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น

กล้ายอมรับความจริง

หากรักในอาชีพนักลงทุนแล้วล่ะก็ เราต้องมีความสุขเพื่อทำให้ได้ผล มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลที่ได้ ส่วนนี้จะช่วยเรายอมรับความจริงในการตัดสินที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะตัดใจขายขาดทุน หรือ ปล่อยให้กำไรเพิ่มขึ้น ก็จะต้องเปิดใจยอมรับมันให้ได้

การเปิดบัญชีซื้อขายตามประเภทที่เหมาะสม

การเปิดบัญชีซื้อขายตามประเภทที่เหมาะสม

การเปิดบัญชีซื้อขายนี้ ผู้ที่จะเปิดบัญชีได้จะต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หากใครอายุยังไม่แตะตัวเลขนี้ก็คงต้องศึกษาข้อมูลไปพลางๆก่อน โดยวงเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชีนั้นแม้จะไม่มีการกำหนดที่ตายตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโบรกเกอร์ ส่วนเอกสารที่เราจะต้องเตรียม ก็คือ สำเนาบัตรประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาสมุดคู่ฝากบัญชีออมทรัพย์ย้อนหลัง 6 เดือน

เมื่อถึงเวลาเลือกประเภทของบัญชีที่ตรงกับสไตล์การลงทุนนั้น เราก็ต้องจำแนกให้ขาดว่า บัญชีไหนคืออะไรบ้าง เราควรเลือกตัวไหนในเส้นทางการลงทุน และถามไถ่เจ้าหน้าที่ให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจเปิดบัญชีซื้อขายนั้นๆ โดยแยกประเภทเป็น

บัญชีเงินสด (Cash Account)

บัญชีเงินสด (Cash Account) : บัญชีรูปแบบนี้นักลงทุนจะสามารถสั่งซื้อหุ้นได้ในจำนวนวงเงินที่ได้รับ ตามที่โบรกเกอร์เปิดไว้ ทั้งจากบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือเงินที่ลงทุนในกองทุนรวม โดยจะอ้างอิงตามฐานะทางการเงินจากหลักประกัน และความสามารถในการทำชำระหนี้ของเรา. บัญชีประเภทนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนกลุ่มมือใหม่ ที่กำลังเริ่มสร้างวินัยด้านการลงทุน และคิดว่าตนรับผิดชอบได้ในจำนวนเท่าใด

ซึ่งเมื่อบัญชีเงินสดได้รับการอนุมัติแล้ว นักลงทุนก็จะต้องวางหลักประกันในจำนวน 15 % ของวงเงินนั้นไว้กับโบรกเกอร์ เช่น วงเงิน 1 แสนบาท ก็ต้องมีหลักประกัน 15,000 บาท ซึ่งอาจจะเป็นหลักทรัพย์ก็ได้ หรือถ้าเป็นเงินสด เราก็จะได้รับดอกเบี้ยกลับมา. ข้อดีของบัญชีประเภทนี้ก็เหมือนๆกับการลงทุนก่อนแล้วจ่ายทีหลัง และจะมีการตัดเงินค่าซื้อหุ้นจากเราใน 2 วันทำการจากวันที่สั่งซื้อ (T+2)

บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balane)

บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balane) : บัญชีประเภทนี้ นักลงทุนจะต้องฝากเงินกับโบรกเกอร์ไว้ก่อน ซึ่งหลังจากสั่งซื้อขายหุ้นแล้ว เงินก็จะถูกหักออกจากบัญชีทันที ในทุกครั้งก่อนส่งคำสั่งการซื้อขาย จึงต้องตรวจสอบด้วยว่ามีเงินในบัญชีเพียงพอต่อการชำระหรือไม่ แต่หากวงเงินไม่พอกับมูลค่าหลักทรัพย์นั้น ก็สามารถโอนเพิ่มเข้าบัญชีได้ ส่วนการขายก็จะต้องมีหลักทรัพย์นั้นคงเหลืออยู่ในบัญชีเช่นเดียวกัน

บัญชีประเภทนี้โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จึงนิยมเปิดให้กลุ่มลูกค้าได้ลองมือกันก่อนในช่วงแรกๆ จึงเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่หรือกลุ่มที่พึ่งเริ่มต้นและมีเงินลงทุนจำนวนไม่สูงนัก ซึ่งต้องการจำกัดวงเงิน หรือกลัวจะเผลอให้งบลงทุนเกิน

บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) / เครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)

บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) / เครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) : บัญชีซื้อขายแบบนี้จะขยับขึ้นมาสำหรับนักลงทุนกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการลงทุนสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี เพราะเป็นบัญชีแบบให้สินเชื่อแก่ผู้ลงทุน มีเงินส่วนหนึ่ง และกู้ได้อีกส่วนหนึ่ง. เมื่อส่วนต่างที่จ่ายเพิ่มก็จะเป็นเงินกู้จากโบรกเกอร์ นักลงทุนจึงต้องมีเงินสดหรือหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันในสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนดด้วย รวมถึงจ่ายดอกเบี้ยของเงินกู้นั้น

ข้อควรระวังของบัญชีประเภทนี้ คือ วงเงินกู้อาจจะเพิ่มหรือลดลงได้ตามราคาหุ้นที่ถูกวางเอาไว้ หากอัตรามาร์จิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ โบรกเกอร์ก็อาจบังคับให้ลูกค้าต้องวางหลักประกันหรือเงินสดเพิ่มเติม หรือบังคับขาย (Forced Sell) เพื่อรักษาอัตรามาร์จิ้นให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป และบัญชีประเภทนี้ ยังสามารถซื้อขายได้เป็นบางตัวหุ้นที่โบรกเกอร์กำหนดอีกด้วย

เทคนิคเพื่อการก้าวสู่ความสำเร็จและสไตล์ที่ใช่สำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

เทคนิคเพื่อการก้าวสู่ความสำเร็จและสไตล์ที่ใช่สำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

ถ้าจะบอกว่า การสร้างนิสัยที่ดีในการลงทุน ค่อยๆเติมเต็มคุณสมบัติที่ช่วยให้นักลงทุนทุกท่านประสบความสำเร็จ อย่างที่เรายกตัวอย่างกันไปตอนต้น จะช่วยให้เราเลือกการลงทุนได้อย่างสร้างอิสรภาพทางการเงินได้ คุณจะเชื่อมั้ย.. แต่นี่คือเรื่องจริง!  ยิ่งบวกกับความใส่ใจและความทุ่มเท ตลอดจนการพัฒนาในสไตล์การลงทุนที่เป็นตัวเราที่สุด เลือกบัญชีซื้อขายที่เหมาะสม โอกาสในการสร้างความสำเร็จของเราก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หวังว่า 2 แง่มุมที่ฝากกันไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนที่แวะเข้ามาอ่านกันนะคะ