หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างหนักจนถึงขั้นทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจหลายๆอย่างตามมา เพื่อนๆคงเห็นด้วยใช่ไหมครับว่าตอนนี้เราแทบทุกคนได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ และหลายๆคนก็มีปัญหาหนักขึ้นในเรื่องของภาระหนี้สิน เนื่องจาก เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาที่ตามมาก็คือการว่างงานหรือรายได้ที่ลดน้อยลง แต่ปัญหาภาวะหนี้สินยังคงเดิม ซึ่งเมื่อมีกำลังจ่ายน้อยลงก็ทำให้ภาระหนี้สินที่มีเท่าเดิมดูหนักขึ้นไปอีก เนื่องจากต้องดิ้นรนมากขึ้นที่จะหาเงินมาใช้จ่ายหนี้ จะได้ดีใจครับที่ทางสถาบันการเงินต่างๆ ออกมาตอบรับกลับมาแต่การให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่เป็นนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรของภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการในส่วนของระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ จึงมีหน้าที่ในการออกนโยบายที่จะช่วยให้สถาบันการเงินอื่นๆมีมาตรการที่จะใช้ในการช่วยเหลือลูกค้า ทำให้ภาระหนี้สินที่หนักอึ้งของเรานี้ได้รับการช่วยเหลือให้เบาลงหรือยืดระยะเวลาให้เราสามารถนำเงินบางส่วนมาหมุนเวียนได้ ดังนั้นบทความนี้จะพาไปดูครับว่ามาตรการต่างๆที่เป็นนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอะไรบ้าง และจะส่งผลให้สถาบันทางการเงินออกมาตรการให้ความช่วยเหลืออะไรบ้างครับ บทความนี้จะพูดถึงการออกนโยบายมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตโควิด 19 ในระยะที่ 2 ครับ

​ ลดอัตราดอกเบี้ย

​ ลดอัตราดอกเบี้ย

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้รายรับของลูกหนี้ลดลง หรือบางคนก็ถึงกับว่างานทำให้ขาดรายได้ จึงส่งผลกระทบต่อปัญหาในเรื่องของการจ่ายชำระหนี้สินรวมไปถึงดอกเบี้ย การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ช่วยแบ่งเบาภาระลงไปได้มากทีเดียวครับ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีนโยบายให้สถาบันทางการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั่วไปลงมา 2 เปอร์เซ็นต์ถึง 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตแล้วก็สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 นะครับ

โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะมีข้อแตกต่างกันไปตามรูปแบบของสินเชื่อ ในส่วนของบัตรเครดิตจะลดจาก 18 เปอร์เซ็นต์เหลือ 16 เปอร์เซ็นต์ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีเงินหมุนเวียนจะปรับลดจาก 28 เปอร์เซ็นต์เหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ แล้วสินเชื่อบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวดก็ปรับลด 28 เปอร์เซ็นต์เหลือ 25 เปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจะปรับจาก 28 เปอร์เซ็นต์เหลือ 24 เปอร์เซ็นต์ครับ เป็นการช่วยลดภาระหนี้สินให้กับลูกค้าของธนาคารต่างๆลงในอัตราที่เหมาะสมกับทุกฝ่ายครับ

​ เพิ่มวงเงิน

​ เพิ่มวงเงิน

อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาก็คือการนำเงินมาหมุนเวียนในธุรกิจครับ เนื่องจากเมื่อขาดรายได้ทำให้การหมุนเวียนเงินอาจจะเกิดภาวะฝืดขึ้น งั้นเพื่อที่จะเพิ่มความคล่องตัวทางการเงินในการทำธุรกิจหรือลงทุนทั่วไป ซึ่งอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องขอเพิ่มวงเงินในบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ดังนั้นทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีนโยบายให้สถาบันทางการเงินต่างๆพิจารณาที่จะเพิ่มวงเงินให้กับลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีอย่างต่อเนื่อง แล้วก็มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท โดยให้ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดังนั้น ถ้าเพื่อนๆคนไหนที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี และต้องการขยายวงเงินเพิ่มก็สามารถไปติดต่อขอทำเรื่องกับทางธนาคาร ปรึกษากับสถาบันทางการเงินที่เพื่อนๆเป็นลูกค้าอยู่ได้ครับ นโยบายนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุระกิจและลูกค้าที่มีรายได้ลดลง และยังเป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจอีกด้วยครับ

​ มาตรการอื่นๆเพิ่มเติม

​ มาตรการอื่นๆเพิ่มเติม

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกนโยบายให้ขยาย ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Covid-19 และไม่เป็น NPLs หวยวันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยสถาบันทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกในการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำกับลูกหนี้ที่รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อของพวกเขา อย่างเช่น การผ่อนชำระขั้นต่ำ การเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นให้เป็นระยะยาว การลดค่างวด หรือการเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้น  เป็นต้น แล้วยังมีการกำหนดให้สถาบันทางการเงินต้องอำนวยความสะดวกรวมทั้งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอที่จะช่วยให้ลูกหนี้สามารถตัดสินใจในการเลือกใช้ตัวเลือกต่างๆได้ อย่างเช่นต้องให้ข้อมูลเปรียบเทียบภาระหนี้สินแบบเดิมและแบบใหม่ว่าแตกต่างกันยังไง จำนวนหนี้และจำนวนงวดที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพิ่มถ้าเกิดเลือกทางเลือกในการขอเลื่อนชำระหนี้สินครับ

โดยมาตรการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำจะทำให้เป็นมาตรการที่ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถเลื่อนการชำระหนี้สินได้โดยไม่เป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้นถ้าเราไปลงทะเบียนหรือรับมาตรการให้ความช่วยเหลือในการขอผลัดเลื่อนการจ่ายหนี้สิน เราก็จะไม่โดนค่าปรับหรือถูกบันทึกไว้ใน ลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้ แล้วจะไม่ถูกเรียกเก็บเบี้ยปรับหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม รวมไปถึงถ้าเราสามารถชำระที่ได้ก่อนกำหนด แล้วต้องการที่จะจ่ายชำระหนี้ก็จะไม่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับเหมือนกัน และทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีการกำหนดให้สถาบันทางการเงินต่างๆมีช่องทางให้บริการในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องของข้อมูล รวมไปถึงต้องมีช่องทางให้ลูกค้าเข้ามาแจ้งความต้องการในการรับมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆเหล่านั้น ทำให้แต่ละธนาคารก็จะมีเว็บไซต์ Application หรือคอลเซ็นเตอร์ที่จะให้เพื่อนๆสามารถเข้าไปแจ้งความต้องการขอรับมาตรการให้ความช่วยเหลือ และเข้าไปติดต่อสอบถามได้ครับ หรือถ้าสะดวกเข้าไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีนะครับเพราะว่าเจ้าหน้าที่ของธนาคารจะสามารถช่วยให้เราตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่เหมาะกับสภาพทางการเงินของเราได้อีกด้วยครับ

​ ปรับปรุง​โครงสร้างหนี้

​ ปรับปรุง​โครงสร้างหนี้

อีกปัญหาหนึ่งคือโครงสร้างหนี้ที่วางแผนได้ไม่ดีทำให้หนี้สินในช่วงที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจนี้เพิ่มทับถมกัน อาจจะเกิดปัญหาที่ทำให้เราไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ ดังนั้นนโยบายในการให้สถาบันทางการเงินต่างๆเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้จึงถือเป็นนโยบายที่ จะช่วยให้เรามีโอกาสที่จะได้แก้ไขโครงสร้างหนี้ เพื่อให้หนี้สินที่กองทับถมกันอยู่คลี่คลายและเบาลง เดินทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีนโยบายให้ทางสถาบันทางการเงินนึกถึงความสามารถของลูกหนี้ในการจ่ายชำระหนี้ด้วย เพื่อจะเป็นการช่วยบรรเทาภาระหนี้สินให้กับลูกหนี้ครับ

​ เลือกรับมาตรการ​ด้วยการตัดสินใจที่รอบคอบ

​ เลือกรับมาตรการ​ด้วยการตัดสินใจที่รอบคอบ

เป็นเรื่องน่าดีใจจริงๆนะครับที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีนโยบาย​ออกมาให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ของธนาคาร​ต่างๆ และธนาคารต่างๆก็ได้ตอบรับกับนโยบายโดยมีการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้ให้ครับ ซึ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนที่มีคุณสมบัติที่สามารถเข้ารับมาตรการให้ความช่วยเหลือของทางธนาคารที่เป็นลูกค้าอยู่ได้ ก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดของมาตรการให้ความช่วยเหลือของแต่ละธนาคารให้ละเอียด รวมไปถึงอาจจะเข้าไปติดต่อสอบถามกับพนักงานของธนาคาร เพื่อขอคำแนะนำว่าควรจะเลือกหรือวางแผนเข้ารับมาตรการให้ความช่วยเหลือตัวเลือกไหนที่จะเหมาะกับสถานภาพทางการเงินของเพื่อนๆนะครับ และผมมั่นใจครับว่านโยบายการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยในหลายๆด้านเลยล่ะครับ