หลายคนมักพูดติดตลกกันไปว่า ‘การไม่เป็นหนี้ นั้นเป็นลาภอันประเสริฐ’ เพราะหนี้ ถือเป็นโรคร้ายที่เป็นภัยเบียดเบียนการเงินของชีวิตเรามากเลยทีเดียว คนมีหนี้มักจะรู้ซึ้งถึงความจริงข้อนี้ด้วยตัวเองเลยล่ะค่ะ
และโดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่หลายคนมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินกันเพิ่มขึ้น จนถึงกับมีเงินไม่พอจะใช้จ่ายและจ่ายหนี้ โดนทวงถามนานๆเข้า ก็ต้องไปกู้เงินจากแหล่งอื่นมาชำระอีก จนสุดท้ายกลับยิ่งเพิ่มภาระและสร้างปัญหาพัวพันมากขึ้นไปอีก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สงสัยไหมอะไรบ้างคือสาเหตุของการเป็นหนี้ ที่นี่
4 วิธีปลดหนี้ ทำได้จริง
4 เทคนิคต่อไปนี้ ถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ที่หลายคนนิยมใช้กัน และถือว่าช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของเราให้ดีขึ้นได้ด้วย. หากอยากชนะหนี้ และชนะใจตนเองไปด้วย ไม่อยากพลาดต้องมาเช็คลิสต์กันที่นี่แล้ว
การปรับโครงสร้างหนี้
จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้สนับสนุนให้บรรดาลูกหนี้และสถาบันการเงิน หันมาหาทางออกร่วมกันโดยการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดหนี้เสีย ทำให้เรารู้ว่าเมื่อเริ่มผ่อนต่อไม่ไหว การติดต่อสถาบันการเงินเพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมและผ่อนไหว ก็ถือเป็นทางแก้ที่ดี ที่ลูกหนี้ดีและลูกหนี้เสียสามารถเลือกทำได้ โดยมีวิธีเด่นๆ คือ
การยืดหนี้
การยืดหนี้เป็นวิธีในการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อน เพื่อช่วยลดภาระการผ่อนให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง โดยสถาบันการเงินจะพิจารณาอายุของผู้กู้ และระยะเวลาในการผ่อนประกอบกันค่ะ
ขอพักชำระเงินต้น วิธีนี้จึงช่วยลดภาระในการผ่อนแบบชั่วคราว เงินต้นจะไม่ลดลง และอาจต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา แต่ใครที่คิดว่าโปะทันในช่วง 3-6 เดือน ก็จะช่วยลดภาระลงไปมาก
ขอลดอัตราดอกเบี้ย ใครที่ได้ผลกระทบทางเศรษฐกิจคงจะยิ้มออก เมื่อได้ยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง โดยสถาบันการเงินจะดูในเรื่องประวัติการผ่อนชำระ ประเภทสินเชื่อ และหลักประกันประกอบค่ะ
การเปลี่ยนประเภทหนี้ เช่น ลูกหนี้ที่ให้บัตรเครดิตจนมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 18-28% หรือลูกหนี้ที่ใช้วงเงินเต็ม O/D แล้ว ก็สามารถขอการพิจารณาจากสถาบันการเงินเพื่อเปลี่ยนไปเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ หรือ term loan ได้เพื่อดอกเบี้ยที่ถูกลงค่ะ
นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นปี ธปท. ยังได้ประกาศให้ทางสถาบันการเงิน ผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดดอกเบี้ยปรับบนฐานของงวดที่ผิดนัดชำระจริงเท่านั้น จึงช่วยลดลูกหนี้เสียได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสนับสนุนให้เพิ่มสินเชื่อ WC ใหม่กับกิจการที่มีศักยภาพ ที่ผู้สนใจกู้สามารถเตรียมเหตุผลและประมาณการรายจ่ายเพื่อประกอบการพิจารณาได้ และอีกหลายๆสถาบันการเงินยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเพิ่มขึ้น ใครที่เป็นลูกหนี้วินัยดีก็ขอให้รีบไปจับจองวิธีที่โดนใจกันนะคะ
การคุมเพดานหนี้ ด้วยกฎ 20/10
จากสถานการณ์ที่คนไทยมีภาระทางการเงินสูงขึ้น ในขณะที่มีรายได้เท่าเดิมหรือลดลง จนหลายคนต้องไปกู้หนี้ยืมสินกัน คำถามตรงๆที่ว่า ควรมีระดับหนี้สินเท่าไหร่ถึงปลอดภัย กฎที่ใช้ได้จริงคือ การควบคุมเพดานนี้ด้วยกฎ 20/10 เพื่อไม่ปล่อยให้กลายเป็นหนี้เสียค่ะ
เริ่มจาก การควบคุมภาระหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ไม่เกิน 10%ของรายได้ต่อเดือน (แต่ไม่รวมการผ่อนหนี้สินประเภทที่อยู่อาศัย เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีโอกาสสูงขึ้นในอนาคต) และเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต จึงต้องมีการกู้หนี้หรือใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกิน 20% ของรายได้ทั้งปี
กฎควบคุมเพดานหนี้นี้ รายได้ที่นำมาคำนวณจะต้องเป็นรายได้ประจำที่แน่นอนหลังหักภาษีแล้ว จะได้ไม่ส่งผลให้เพดานหนี้ที่ต้องคิดจะสูงเกินความเป็นจริงและนำไปสู่การผิดชำระหนี้ได้ นอกจากนั้น การผ่อนชำระแบบ 0% ที่ถือว่าชะลอการจ่ายเงินก้อน ก็สามารถใช้การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย หรือแผนการใช้เงินล่วงหน้า เพื่อช่วยควบคุ้มการใช้เงินไม่ให้เพิ่มภาระหนี้ใหม่จนเกินกฎ 20/10 ค่ะ
การรวมหนี้
การรวมหนี้ คือ การรวบรวมหนี้ที่กำลังมีปัญหา หรือคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคต เพื่อจัดการอย่างเหมาะสมตามสถานะทางการเงินของเราเอง โดยระดับหนี้ที่จำเป็นต้องรวมหนี้แล้ว คือการเริ่มมีเงินไม่เพียงพอในการใช้จ่ายและชำระหนี้ในแต่ละเดือน ด้วยภาระการผ่อนที่มากเกินไปจนทำได้แค่การชำระหนี้แบบขั้นต่ำทุกรายการ หรือต้องกู้เงินเพื่อนำมาชำระหนี้
ขั้นในการรวมหนี้ เริ่มจากหยุดก่อหนี้ใหม่ในทุกรูปแบบ แล้วรวบรวมรายละเอียดของหนี้ทั้งหมด เพื่อเข้าใจสภาพหนี้ที่แท้จริง รวมถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือน ด้วยรูปแบบตารางที่เราทำได้ง่ายๆ มีช่อง ประเภทหนี้ จำนวนหนี้คงเหลือ เงินที่ต้องผ่อนชำระ จำนวนงวด และอัตราดอกเบี้ย (สามารถดูข้อมูลประกอบได้จากใบแจ้งหนี้ที่ได้รับในแต่ละงวด)
แล้วจัดหาแหล่งการเงินเพื่อชำระ หรือการรีไฟแนนซ์ โดยสอบถามจากสถาบันการเงินหลายแห่ง เพื่อเปรียบเทียบแนวทางที่ดีที่สุดกับเรา ตามเกณฑ์การพิจารณา เช่น วงเงินกู้ที่ได้ อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขพิเศษต่างๆ แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือ ภาระทางการเงินที่จะนานขึ้น แบบการชำระ 24 งวด จึงจะต้องมีวินัยและความอดทนในการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังที่จะไม่ใช้จ่ายเกินตัว
โดยข้อดีของวิธีนี้ เราจะมีหนี้เพียงแหล่งเดียว ไม่สับสนว่าต้องจ่ายเจ้าไหนก่อนเจ้าไหนหลัง และเมื่อจำนวนเงินผ่อนชำระลดลง ก็จะมีสภาพคล่องดีขึ้น จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง และทราบระยะเวลาในการผ่อนชำระที่แน่นอนได้ตามข้อตกลงค่ะ
การปลดล็อค เพื่อปิดหนี้
การที่หนี้ลดลงไปเรื่อยๆ เราย่อมมีพลังในการจัดการปลดล็อค เพื่อปิดหนี้ได้อย่างมีหวังแน่ๆ โดยจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือ การตั้งสติเพื่อยอมรับความจริง เพื่อจะชนะใจตัวเอง ด้วยการสุรปรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินทั้งหมดของเราออกมา อาจทำเป็นตารางว่ามีเจ้าหนี้กี่ราย เงินต้นและดอกเบี้ยเท่าไหร่ ผ่อนกี่งวดและชำระวันไหน แล้วต่อด้วย การมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ปิดหนี้บัตรเครดิต 1 แสนบาท ในเวลา 6 เดือน เพื่อลงมืออย่างจริงจัง
ทั้งนี้ แนวทางการปลดล็อคที่ดี จะต้องจัดการกับหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงก่อน แต่ถ้าเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ดูแล้วจะใช้เวลานาน ก็ให้จัดลำดับหนี้ก้อนเล็กกว่ามาเป็นอันดับแรกได้ เพื่อเรียกกำลังใจฮึกเหิมและปิดหนี้ก้อนแรกได้สำเร็จค่ะ. และเมื่อเรารู้ว่าควรเริ่มที่ตรงไหน ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น เปลี่ยนสินทรัพย์ที่เกินจำเป็นมาเป็นเงินสด ก็จะมีเงินเหลือไปจัดการกับหนี้แบบเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนได้. แล้วถ้าจะใจอ่อนสร้างหนี้อีกครั้ง ก็ขอให้นึกถึงดอกเบี้ยมากมายที่ต้องจ่าย ลองคิดถึงวันที่ได้ใช้เงินเดือนแบบเต็มๆ ที่ไม่ต้องไปผ่อนหนี้ ก็จะเป็นแรงใจเพื่อสร้างอิสระจากภาระทางการเงินที่เราทำได้ค่ะ
‘หนี้’ คำนี้พูดง่าย แต่ถ้าหากเลือกได้ คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้กันหรอกค่ะ แต่อยากจะชนะมันด้วยซ้ำ!! เพราะหนี้ถือเป็นภาระที่เราต้องแบกรับ ในระยะเวลาที่มักจะถูกกำหนด ถ้าไม่ได้ตั้งหลักให้ดี รู้ตัวอีกที ก็อาจจะแพ้ทางจนถึงกับสร้างหนี้เกินที่จะแบกรับกันไปแล้ว
4 เทคนิคที่เราพูดคุยกันไป จึงเป็นวิธีที่สามารถลงมือเพื่อชนะหนี้ได้ ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การคุมเพดานหนี้ ด้วยกฎ 20/10 การรวมหนี้ ไปจนถึงการปลดล็อค เพื่อปิดหนี้ให้ได้!! หากท่านใดสนใจว่าวิธีนี้เหมาะกับฉันแล้วล่ะ ก็ขอให้รีบไปดำเนินการกันแบบด่วนๆเลยนะคะ จะได้หายใจหายคอกันคล่องๆอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 วิธีปลดหนี้ แบบทำได้จริงไม่ยากเกินไป ที่นี่
และสำหรับคนไหนที่ไม่อยากเครียดเพราะปัญหาเรื่องหนี้อีกแล้ว เราคงต้องกลับไปทบทวนเรื่องพื้นฐาน อย่างความจำเป็น (Need) กับ ความต้องการ (Want) เพื่อลงมืออย่างชนะใจตัวเอง และมั่นใจว่าจะจัดการกับหนี้ที่เหลืออยู่ได้แบบโปรกว่า รับรองว่าถ้าเราควบคุมได้ ก็จะไม่ต้องเครียดกับการเป็นหนี้ ลดปัญญาสุขภาพการเงิน และปิดหนี้ได้แบบชนะใสๆ เพื่อมุ่งสู่ความมั่นคงทางการเงินในวันข้างหน้าค่ะ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
Brother
ตอนนี้ไม่ได้มีหนี้อะไรมากครับนอกจาก หนี้รถ เพราะไปขอสินเชื่อรถยนต์มาซื้อรถ 1 คัน ตอนนี้ก็ผ่อนมาได้ 1 ปีกว่าๆ ยังเหลืออีกไม่มากครับ ผ่อนเดือนละประมาณ 8,000 กว่าบาทถึง 9,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่าเดือนไหนจ่ายเร็วจ่ายช้า มีใครจะแนะนำไหมครับถ้าสมมุติว่าช่วงนี้กำลังจะผ่อนไม่ไหวจะปรับโครงสร้างหนี้ยังไงได้บ้าง ถ้าจะรีไฟแนนซ์จะดีไหม?
กวีประภา
ช่วงโควิดแบบนี้เรื่องหนี้สิน เป็นปัญหาที่ปวดหัวทำให้นอนไม่หลับจริงๆคะ แต่ดีหน่อยที่สถาบันทางการเงินเขามีออกมาช่วยเหลือพวกเราในช่วงที่ผ่านมาก อย่างเราก็ได้ไปขอสินเชื่อส่วนบุคคลของ ออทสินแหละคะ ได้วงเงินมา สองหมื่นนิด ถึงจะได้ไม่มาก เราก็ได้เงินก้อนนี้แหละคเอามาใช้หนี้บางส่วน ตอนนี้ก็วางแผนว่าจะปลดหนี้ของใหญ่ๆแล้วละคะ
Rabbit
@ กวีประภา สนใจอยากขอด้วยเหมือนกันค่ะ ขอรายละเอียดที่ได้ไหมคะเกี่ยวกับดอกเบี้ยของสินเชื่อตัวนี้ แล้วสินเชื่อที่คุณขอเนี่ยเป็นสินเชื่ออะไรหรอคะ ขอชื่อหน่อยได้ไหมคะ ? เราต้องการสินเชื่อเพื่อที่จะมาปิดหนี้บัตรเครดิตหน่อยค่ะ เราควรขอสินเชื่อตัวไหนดีคะ หรือเราควรจะทำยังไงดีเพราะตอนนี้เป็นหนี้บัตรเครดิตเยอะมากเลย หมุนเงินไม่ทันเลยค่ะ
65Raranron
การปรับโครงสร้างหนี้สามารถเลือกทำได้หลายวิธีเลยนะคะ มีทั้งการยืดหนี้ ขอพักชำระเงินต้น ขอลดอัตราดอกเบี้ย และมีการเปลี่ยนประเภทหนี้ด้วย หลากหลายวิธีให้คนที่เป็นลูกหนี้ได้เลือกกันตามความต้องการและความเหมาะสม แค่ตัวเองเป็นหนี้ก็รู้สึกไม่ดีละ ยิ่งเป็นหนี้แล้วหาเงินมาจ่ายคืนไม่ได้ยิ่งรู้สึกแย่เข้าไปใหญ่ สู้สู้กันนะคะ
เจตสุภา
@Brother ถ้าจะปรับโครงสร้างหนี้ มันจะยืดเวลาการผ่อนชำระของเราไปอีกนะคะ ไม่ทราบว่าตรงนี้ไหวไหมละคะ ถึงจะจ่ายน้อยลงกว่าเดิมก็จริงแต่ก็ต้องจ่ายนานกว่าเดิม เรามีอีกวิธีคะ ไม่ทราบเคยได้ยินเรื่องของการรีไฟแนนซืไหมคะ คุณจ่ายค่างวดมาแล้ว1ปี สามารถทำได้คะ ตัวนี้ ก็จะดอกเบี้ยเท่าเดิมแหละ แต่เปลี่ยนเจ้าไฟแนนซ์ คะ