อีกไม่กี่วันลูกของเราก็จะเปิดเทอมแล้ว พวกคุณที่เป็นพ่อเป็นแม่จะต้องเตรียมกับค่าใช่จ่ายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียน อาจคิดไม่ถึงว่ายังมีรายการอีกเพียบที่รอให้ควักกระเป๋าจนอ่อนใจ เพื่อไม่ให้ปวดหัวเพราะหมุนเงินไม่ทัน ไม่ว่าจะเรียนชั้นอนุบาล ชั้นมัธยมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัยก็ตาม ความวุ่นวายไม่ต่างกันแน่นอน ทั้งค่าเทอม ค่าชุดนักเรียน ค่าหนังสือ ค่าไปโรงเรียน และอีกหลายค่าใช้จ่ายจิปาถะ นี่ให้พ่อแม่ปวดหัวกันเลยทีเดียว แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เป็นปัญหาเลย หากคุณมีการ วางแผนบริหารจัดการเงิน ไว้ล่วงหน้าแล้ว เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายน่าจะมีการจัดการวางแผนชีวิตให้ลูก ๆ ตั้งแต่เกิดจนเข้าโรงเรียนกันแล้วนะคะ เช่น ตั้งแต่ลูกเกิดต้องใช้เงินเท่าไหร่ ลูกเข้าโรงเรียนควรมีเงินเท่าไหร่ ลูกขึ้นชั้นมัธยมศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ จนถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่เคยลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละเทอมการศึกษาในแต่ละเดือน แต่ละโรงเรียนมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันทั้งรัฐ เอกชนและต่างประเทศ ถ้าเราไม่เคยมีแผนคร่าวๆไว้เลยว่าจะให้ลูกเรียนที่ไหน วันนี้เราก็จะไม่รู้ว่าควรเก็บเงินเท่าไหร่ แม้ว่าอนาคตลูกอาจจะไม่ได้เรียนในสถาบันที่เราตั้งใจไว้ แต่อย่างน้อยเราก็มีเงินเตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว ถ้าสถาบันใหม่มีค่าเล่าเรียนมากกว่าเงินที่เตรียมไว้ เราจะได้วางแผนว่าวันนี้จะต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ แต่ถ้าสถาบันใหม่ใช้เงินน้อยกว่าที่เตรียมไว้ก็จะมีเงินเหลือไปสนับสนุนลูกทางด้านอื่นมากขึ้น นี่แหละข้อดีของการวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นเราจึงมีคำแนะนำดีๆสำหรับพวกคุณที่เป็นพ่อแม่ให้ได้อ่านทำความเข้าใจค่ะ

school started

Hung Chung Chih/shutterstock.com

ค่าอุปกรณ์การเรียน

ค่าอุปกรณ์การเรียน

  • ค่าเทอม
  • ค่าเครื่องแต่งกาย
  • ค่าอุปกรณ์ต่างๆ
  • ค่าประกัน – คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจมีความกังวลในเรื่องความเจ็บไข้ได้ป่วยของลูกเมื่อต้องไปอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ก่อนเปิดเทอมก็จะซื้อประกันสุขภาพไว้ เผื่อฉุกเฉินลูกไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาล จะได้ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ได้บ้าง หรือบางโรงเรียนจะมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนต้องทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติม เพราะเด็กๆ มักประสบอุบัติเหตุกันง่าย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้สำรองไว้ด้วย
  • ค่าเบ็ดเตล็ด – เป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยที่คุณพ่อคุณแม่นึกไม่ถึงและไม่ได้ตระเตรียมไว้ตั้งแต่แรก แต่มีผลต่อสภาพคล่องทางการเงินไม่ใช่น้อย เช่น ค่าชมรมผู้ปกครอง ค่า SMS รายเทอม ที่บางโรงเรียนมีไว้แจ้งข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ รวมถึงแจ้งผู้ปกครองกรณีที่นักเรียนเดินทางยังไม่ถึงโรงเรียน ค่าอุดหนุนกิจกรรมการศึกษา ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าทัศนศึกษา เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องถามกับโรงเรียนเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ได้ทันก่อนเปิดเทอมนั่นเอง

ค่าเดินทาง

ค่าเดินทาง

ถ้าหากลูกๆของพวกคุณอยู่ในวัยที่ยังไม่สามารถที่จะเดินทางไปโรงเรียนเองได้ เช่นเด็กอนุบาลหรือคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีเวลาไปส่งลูกที่โรงเรียน คุณอาจต้องเลือกบริการรถโรงเรียน ซึ่งคุณต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ด้วย หรือในกรณีที่ลูกคุณอยู่ระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้ามหาวิทยาลัยอยู่ห่างจากบ้านคุณมาก ๆ การเดินทางไป-กลับทุกวันอาจทำให้เขาเหนื่อยและล้าเกินไป จนผลการเรียนออกมาไม่ดี คุณอาจจะต้องเตรียมค่าหอพักเผื่อไว้ด้วย แต่ถ้าเป็นเด็ก ๆ ชั้นมัธยมศึกษาจะไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ในส่วนนี้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาจะสามารถไป-กลับเองได้แล้ว คุณสามารถรวมค่าเดินทางไปกับค่าใช้จ่ายรายเดือนหรือรายสัปดาห์เลยก็ได้ค่พ

ค่าอาหาร

ค่าอาหาร

ค่าใช้จ่ายรายเดือนของลูก

เมื่อแจกแจงค่าใช้จ่ายออกมาได้ทั้งหมดแล้ว คุณก็ควรจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่ต้องจ่ายเงิน เช่น ค่าเทอมที่ต้องชำระก่อนเปิดเทอม

ค่าเรียนพิเศษ

ค่าเรียนพิเศษ

ค่าเรียนพิเศษ – เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นจะต้องมีอยู่แล้ว ที่เรียกได้ว่าคุณพ่อคุณแม่เต็มใจจะจ่ายอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนพิเศษที่โรงเรียนในตอนเย็น หรือเรียนตามสถาบันกวดวิชาในวันเสาร์อาทิตย์ ยังไม่นับถึงการเรียนภาษาต่างๆ หรือเสริมทักษะด้านกีฬา ดนตรีตามความต้องการของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายให้ดี เพราะอาจสร้างหนี้ได้แบบไม่รู้ตัวเช่นกันนั่นเองค่ะ ดังนั้น เราไม่ควรคิดว่าค่า เรียนพิเศษ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะยุคนี้แทบไม่มีเด็ก ๆ คนไหนไม่เรียนพิเศษเลย บางคนเรียน 4-5 วิชาเลยก็มี จึงเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยเลยที่คุณต้องกันเงินส่วนนี้เอาไว้ด้วย การเลือกเรียนพิเศษก็มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือหนึ่งเด็กเรียนอ่อนในวิชานั้น ๆ กับสองคือ อยากให้เขาได้เรียนวิชานี้เพิ่มเติมที่โรงเรียนไม่มีสอน ถ้าเป็นกรณีแรก คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยติดตามผลการเรียนของลูก ๆ ให้ดีว่าเขาอ่อนวิชาใด แล้วจึงให้เขาเรียนพิเศษเพิ่มเติมในวิชานั้น แต่ถ้าเป็นในกรณีที่สอง เกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเรียนรู้เพิ่มหรือลูก ๆ เอง เขาชอบอยากจะเรียน ก็ได้เช่นกัน เช่น เรียนดนตรี เรียนตีกอล์ฟ เรียนวาดรูป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องจัดสรรเวลาให้ดี อย่าให้กระทบกับการเรียนในภาคปกติ บางโรงเรียนสอนพิเศษ เขาเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้ทดลองเรียนฟรีก่อนสมัครเรียน เพื่อจะดูว่าเราเหมาะกับวิชานั้น ๆ หรือไม่ ถ้าไปเรียนแล้วเด็กไม่ชอบ คุณก็ยังไม่ต้องเสียเงินไปฟรี ๆ ถ้าลูกเกิดไม่อยากเรียนขึ้นมานะคะ ดังนั้นสุดท้ายนี้เรามีคำแนะนำ ที่อยากจะฝากคนเป็นพ่อเป็นแม่ด้วยเพราะว่าหนี้ช่วยพ่อแม่ด้วยนะคะไม่ใช่แค่ลูกเท่านั้นค่ะ

ควรทำบัญชี จะได้รู้ว่าเราจ่ายอะไรไปบ้าง

เจียดเวลาซักนิดช่วงก่อนนอนมาเขียนบัญชีค่าใช้จ่ายของแต่ละวัน เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าวันนี้ไปซื้ออะไรมาบ้าง ทานอะไรแพงเกินไปรึเปล่า การทำบัญชีจะทำให้คุณเปรียบเทียบได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดูดเงินคุณออกไปมากที่สุด

สิ่งที่ทำเป็นประจำ

คุณต้องลองสังเกตว่าค่าใช้จ่ายประจำอะไรที่สามารถลดได้บ้าง หลายคนไม่รู้ตัวว่ากาแฟที่ซื้อก่อนทำงานทุกวันสูบเงินคุณไปเดือนนึงเป็นหลายพันบาท (สมัยนี้แก้วละร้อยกว่าบาท) วันไหนที่คุณรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องดื่มกาแฟได้ ลองงดดูก่อนหรือเปลี่ยนเป็นชงกาแฟที่ทำงานจะได้ประหยัด อีกอย่างกาแฟแบบหวานและน้ำผลไม้ปั่นที่ใส่น้ำหวานต่างๆ ก็ไม่ดีต่อสุขภาพจากปริมาณน้ำตาลในนั้นด้วยค่ะ

อินเทรนด์เกินไปรึเปล่า

คุณอินเทรนด์กับแฟชั่นหรือเทคโนโลยีเกินไปรึเปล่า ถ้ามีเสื้อผ้าแนวใหม่ หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ คุณต้องไปต่อคิวซื้อรึเปล่า ถ้าคุณกำลังทำอย่างนี้อยู่ ต้องปรับตัวเพราะของเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับคุณสามีที่ชอบแต่งรถ คุณลองคิดดูว่าถ้าคุณไม่แต่งรถ จะมีเงินเก็บพอที่จะใช้ซื้อข้าวของจำเป็นอื่นๆ ได้มากขนาดไหน

เงินผ่อน

กลับไปดูบิลเครดิตการ์ดของคุณซิว่ามีสินค้าที่กำลังผ่อนอยู่กี่อย่าง คุณไม่ควรผ่อนของหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้คุณไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายคุณไปเท่าไหร่แล้ว และเดือนหน้าต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่ายก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกเดือนด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเครียดเวลาใกล้เปิดเทอมด้วยนะคะ

คิดทุกครั้งก่อนซื้อ

เราจำเป็นต้องซื้อทีวี 3 มิติรึเปล่า? ต้องเครื่องใหญ่ด้วยหรอ? คุณรักกาแฟมากจนต้องซื้อเครื่องทำกาแฟไว้ที่บ้าน หรือแค่เห็นคนอื่นมีแล้วมันเท่ห์? ความคิดว่าถ้ามีนู่นมีนี่แล้วมันเท่ห์ โก้ หรู จะทำให้กระเป๋าตังค์คุณแห้งได้ง่ายๆ หรือเมื่อคุณเดินผ่านร้านขายเสื้อผ้าแล้วเจอเสื้อสวย ก็ซื้อทันทีถึงแม้ว่าคุณจะมีเสื้อผ้าเต็มตู้ระวังการซื้อของที่ไม่จำเป็นนะคะ

สรุป

สรุป

การวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษาของลูกเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการรวบรวมค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ และค่าอื่นๆ จะช่วยให้ทราบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงินจำนวนเท่าไร เพื่อดูว่าเงินออมที่มีอยู่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ หากครอบครัวใดที่กลัวว่าจะเตรียมตัวไม่พร้อมสำหรับวันเปิดเทอม ก็ต้องเริ่มวางแผนทางการเงินเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา แต่เมื่อคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ลองทำตามคำแนะนำหน่อยนี้ก็สามารถจะช่วยคุณได้อย่างแน่นอนที่จะรับมือกับภาระหนักช่วงเปิดเทอมได้นะคะ