ไหนใครเคยขอสินเชื่อบ้าง? ถึงบางคนจะยังไม่เคยขอสินเชื่อ แต่ก็มีผ่านหูผ่านตากันมาบ้างกับสินเชื่อแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อแบบอื่นๆอีกต่างๆมากมายที่เราอาจจะไม่เคยรู้ว่ามีอยู่เลยก็ได้ แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่า สินเชื่อต่างๆที่เรารู้จักกันอยู่นั้น ไม่ได้อยู่ในประเภทเดียวกันหรอกนะ ถึงจะมีคำนำหน้าว่าสินเชื่อเหมือนกัน แต่ก็ถูกแบ่งให้อยู่กันคนละประเภท แล้วการรู้จักประเภทของสินเชื่อจะมีประโยชน์อะไรล่ะ? ก็ตอนที่เราต้องเงินด่วน ช่วงเงินช็อตจะได้วิ่งหาสินเชื่อถูกประเภทกันยังไงล่ะ!

ก็เกริ่นมาพอหอมปากหอมคอแล้ว ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่า สินเชื่อแต่ละอันที่เรารู้จักกันอยู่นั้น ถูกจัดอยู่ในประเภทไหนกันบ้าง? แล้วใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งประเภทของสินเชื่อกัน? และสินเชื่อแต่ละประเภทนั้นเหมาะกับใคร? รู้ไว้ไม่เสียหาย แต่ถ้าไม่รู้คงเสียดายแย่

เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งสินเชื่อ

เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งสินเชื่อ

เชื่อว่าสินเชื่อจะเป็นแหล่งเงินกู้อย่างแรกๆที่เราๆนึกถึงกัน เพราะเป็นแหล่งเงินกู้ที่ปลอดภัย มีการคำนวนดอกเบี้ยออกมาอย่างชัดเจน บางที่ก็สามารถผ่อนได้แบบลดต้นลดดอก ทำให้เมื่อเงินช็อตพอเงินขาดมือก็วิ่งหาสินเชื่อกันยกใหญ่ ซึ่งก็มีทั้งธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่ง ที่ให้บริการสินเชื่อหลายประเภท แต่สินเชื่อที่เพื่อนๆได้ยินกัน นอกจากชื่อจะยังไม่เหมือนกันแล้วนั้น ก็ยังถูกจัดให้อยู่คนล่ะประเภทกันด้วย ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งสินเชื่อแต่ล่ะประเภทนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ชื่อของสินเชื่อเพียงอย่างเดียวนะ แต่ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลา, วัตถุประสงค์, ผู้ขอรับสินเชื่อ, ผู้ให้สินเชื่อ และก็หลักประกันนั่นเอง

ทีนี้อยากให้เรามาดูกันดีกว่าว่า สินเชื่อที่ถูกแบ่งออกตามประเภทต่างๆนั้นมีอะไรบ้าง? พอเพื่อนๆรู้ ไว้คราวหน้าที่เงินขาดมือ จะได้หาสินเชื่อที่ถูกประเภทและเหมาะกับตัวเองกัน

สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามระยะเวลา

สินเชื่อประเภทแรกที่เราจะมาดูกันก็คือสินเชื่อที่ถูกแบ่งตามระยะเวลา ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าระยะเวลาในการผ่อนชำระสินเชื่อก็เป็นตัวกำหนดสินเชื่อในประเภทนี้ ซึ่งจะมีการแบ่งระยะเวลาอยู่ 3 ช่วงด้วย คือ สินเชื่อระยะสั้น, สินเชื่อระยะกลาง และสินเชื่อระยะยาว มาดูกันดีกว่าว่าแต่ละช่วงเวลาจะสั้น จะยาว ขนาดไหนกัน

สินเชื่อระยะสั้น

สินเชื่อระยะสั้นก็เป็นสินเชื่อที่มีระยะสั้นสมชื่อเลยนะ เพราะอายุในการผ่อนชำระสินเชื่อประเภทนี้นั้นจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี หมายความว่าเมื่อเราขอสินเชื่อประเภทนี้มา เราก็ต้องหาทางผ่อนชำระให้หมด ภายใน 1 ปี ถ้าจะให้ยกตัวอย่างสินเชื่อระยะสั้นที่เรารู้จักกันดีก็คงจะเป็น สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อการค้า ซึ่งคนที่เป็นลูกค้าบัตรเครดิตจะเข้าใจดีเลยว่าทำไมสินเชื่อบัตรเครดิตถึงได้เป็นสินเชื่อระยะสั้น เพราะทุกสิ้นปีใครที่ชอบจ่ายแต่ยอดขั้นต่ำในแต่ละเดือนคงตกใจกับตัวเลขในสิ้นปีแน่ๆ ถึงบัตรเครดิตจะเป็นสินเชื่อระยะสั้นที่มีเวลาชำระ 1 ปีแต่ฝึกนิสัยชำระให้หมดทุกสิ้นเดือนไว้จะดีกว่านะ

สินเชื่อระยะกลาง

สินเชื่อประเภทนี้จะมีระยะเวลาในการผ่อนชำระนานขึ้นมาหน่อย แต่ก็ไม่ได้นานมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีระยะเวลาในการผ่อนชำระสินเชื่อประเภทนี้ตั้งแต่ 1 - 5 ปี ก็ถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาในการผ่อนชำระนานอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของสินเชื่อที่เราขอออกมาด้วย อย่างสินเชื่อรถหรือการผ่อนส่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่สักชิ้น ก็ถือว่าเป็นสินเชื่อระยะกลางนะ

สินเชื่อระยะยาว

สินเชื่อระยะยาวก็มีเวลาในการผ่อนชำระยาวอยู่เหมือนกันนะ เพราะสินเชื่อประเภทนี้จะมีระยะเวลาในการผ่อนส่งตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ตั้ง 5 ปีแน่ะ แสดงว่าก็ต้องเป็นสินเชื่อที่ใช้สำหรับสินค้าชิ้นใหญ่ๆราคาสูงๆ อย่างบ้านหรือที่ดิน ที่นับวันราคาจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก

สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามวัตถุประสงค์

สินเชื่อเพื่อการบริโภคหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่เราคุ้นหูกันอยู่นั่นเอง ซึ่งเหตุผลที่แต่ละคนขอสินเชื่อประเภทนี้ก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ไปจนถึงการผ่อนชำระสินค้าชิ้นใหญ่ๆ ต่างก็เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลด้วยกันทั้งนั้น

สินเชื่อเพื่อการลงทุนเป็นสินเชื่อที่มีไว้เพื่อธุรกิจและการลงทุนโดยเฉพาะตามชื่อ ขอเพื่อการลงทุนต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ แถมการขอสินเชื่อประเภทนี้ยังเป็นสินเชื่อระยะยาวที่ไม่ต้องใช้คนค้ำอีกด้วยนะ

สินเชื่อเพื่อการค้าเป็นสินเชื่อสำหรับใครที่ต้องการเงินหมุนในธุรกิจหรือกิจการของตัวเอง หรือเงินทุนสำหรับซื้อขายสินค้าไปจนถึงวัตถุดิบ และสินเชื่อประเภทนี้ยังเป็นแบบที่ซื้อก่อน ผ่อนจ่ายทีหลัง ภายใน 30 - 60 วันนะ

สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามผู้ขอสินเชื่อ

บุคคล อย่าง สินเชื่อส่วนบุคคลที่เราคุ้นๆหูกันนั่นแหละ และพวกบัตรต่างๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด บัตรเสริมต่างๆ ถ้าเป็นนิติบุคคล สินเชื่อประเภทนี้สามารถขอเพื่อเอาไปใช้ในการลงทุนธุรกิจหรือจะเป็นเงินหมุนในกิจการก็ได้นะ ขึ้นอยู่กับตัวนิติบุคคลนั้นๆเลย และถ้าเป็น หน่วยงานต่างๆ อย่าง รัฐบาล มูลนิธิ หน่วยงานการกุศล องค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม หรือแม้แต่เอกชนก็สามารถขอสินเชื่อประเภทนี้ได้ค่ะ

สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามผู้ให้สินเชื่อ

บุคคลผู้ให้ยืม เป็นการยืมเงินกันแบบที่เราๆเคยทำกันนี่แหละ ยืมจากญาติ พี่น้อง คนในครอบครัว หรือหนักหน่อยก็คือการไปกู้หนี้นอกระบบมาค่ะ ส่วนสถาบันการเงินก็อย่างธนาคาร หรือสถานที่ที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆก็จะถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ และหน่วยงานอื่นๆคืออย่างมูลนิธิ หน่วยงานการกุศล องค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งมีทั้งที่เป็นของทางภาครัฐและของทางเอกชนค่ะ

สินเชื่อที่ถูกแบ่งตามหลักประกัน

ก็จะแบ่งเป็นสินเชื่อได้ 2 ประเภทคือ แบบที่มีหลักประกันและแบบที่ไม่มีหลักประกันนั่นเอง

แบบที่มีหลักประกัน

คนที่ให้กู้ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ต่างๆ ก็จะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมาก เพราะถึงคนที่ขอกู้ไปจะไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้อีก แต่หลักประกันที่มีก็จะไม่ทำให้ขาดทุนแน่นอน

แบบที่ไม่มีหลักประกัน

คนที่ให้กู้ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวคนที่ไปขอกู้ก็ต้องมีคุณสมบัติที่ผ่านเงื่อนไขด้วย อย่าง ต้องมีกำลังในการผ่อนจ่ายแน่ๆ และเป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือด้วย

สินเชื่อแต่ละอัน ไม่เหมือนกันจริงๆด้วย

สินเชื่อแต่ละอัน ไม่เหมือนกันจริงๆด้วย

มาถึงตรงนี้ เพื่อนๆพอจะมองเห็นกันแล้วใช่ไหมละคะว่า สินเชื่อที่เราๆได้ยินกันนั้นมีอยู่หลายประเภทและไม่ได้เหมาะกับทุกคน ถ้าเป็นคนทั่วไป เงินช็อตก็อาจจะขอสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ถ้าอยากได้เงินหมุนมาลงในธุรกิจ ก็ต้องไปขอสินเชื่อเพื่อการค้า คราวหน้าถ้าเงินช็อต เงินขาดมือ อย่าดูประเภทสินเชื่อให้ดีกันก่อนจะไปขอนะ!