ข่าวการโดนที่ทำงาน ‘ลอยแพ’ แบบไม่ทันตั้งตัว หรือ ถูกเลิกจ้างกระทันหัน ในสถานประกอบการณ์หลายๆแห่งนั้น ก็อาจทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรามีหนาวๆร้อนๆ อยู่บ้างไม่น้อยค่ะ

เพราะจากวิกฤติเศรษฐกิจ และ ผลกระทบจากโควิด-19 จึงอาจทำให้หลายบริษัทไปต่อไม่ได้ หรือ มีนโยบายจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง จึงส่งกระทบโดยตรงแน่ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อาจถูกเลิกจ้างแบบสายฟ้าแลบ หรือ ตกงานแบบกระทะหัน ไม่ทันได้ตั้งตัวจนสูญเสียรายได้ที่เคยมีไป..

เราจะมีวิธีรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างไร มีสิทธิตรงไหนที่เรียกร้องได้  มีการจ่ายเงินชดเชยให้ยังไง และถ้าเป็นนายจ้างหรือฝั่งผู้ประกอบจำต้องระมัดระวังในเรื่องใด มาดูสิ่งที่สามารถเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือหากเกิดปัญหาในลักษณะนี้กันได้เลยค่ะ

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงมีเงินชดเชยให้

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงมีเงินชดเชยให้

การเลิกจ้างที่เป็นธรรมที่สุด ซึ่งบรรดาลูกจ้างต้องรู้ และนายจ้างต้องทราบเพื่อการจ่ายเงินชดเชยให้ ก็คือ การทำงานจนครบ 120 วันขึ้นไป โดยถูกให้ออกจากงานแบบไม่ได้สมัครใจ ทั้งกรณีที่นายจ้างเคยแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ก็ตาม แต่ตัวเราจะต้องไม่ถูกให้ออกจากงานด้วยสาเหตุต่อไปนี้

  • การลาออกเองโดยสมัครใจ / ทุจริต หรือ มีความผิดอาญา
  • ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย / ประมาทเลินเล่อจนนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนระเบียบในที่ทำงาน โดยมีหนังสือเตือนออกไปแล้ว / ทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน หรือ การได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ซึ่งการถูกเลิกจ้างในลักษณะนี้  ตัวลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดตามที่กฎหมายระบุค่ะ

จะได้เงินชดเชยเท่าใด จ่ายเมื่อไหร่

จะได้เงินชดเชยเท่าใด จ่ายเมื่อไหร่

ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 มีการกล่างถึง ‘ค่าชดเชย’ (Severance Pay) คือ เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้างซึ่งไม่มีความผิด นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นที่ได้ตกลงไว้ โดยมีเงื่อนไขประกอบที่ขึ้นอยู่กับอายุงานและเงินเดือน ดังนี้

  • ทำงานติดต่อกันจนครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี เงินชดเชยจะต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ทำงานติดต่อกันจยครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี เงินชดเชยจะต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันจนครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี เงินชดเชยจะต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ทำงานติดต่อกันจนครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี เงินชดเชยจะต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันจนครบ 10 ปีขึ้นไป เงินชดเชยจะต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันจนครบ 20 ปีขึ้นไป เงินชดเชยจะเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วันค่ะ           โดยปกติแล้วเงินค่าชดเชยถูกเลิกจ้างนี้ นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ได้ทำงาน   หากไม่มีเงินชดเชยจำนวนดังกล่าว สามารถยื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัดได้ ส่วนในกรุงเทพฯ ยื่นเรื่องได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานค่ะ

ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ค่าตกใจ

ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ค่าตกใจ

หากถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้สมัครใจ โดยไม่บอกล่วงหน้าอีกต่างหาก ยังต้องมี ‘ค่าตกใจ’ เพิ่มด้วยนะ..  โดยการเลิกจ้างทั่วไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เป็น 1 งวด ของการจ่ายเงินค่าจ้าง และต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน

กรณีเลิกจ้างเพราะการย้ายสถานประกอบกิจการ ที่เห็นบ่อยๆในข่าว ก็ยังคล้ายกัน คือ ต้องมีการแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเงินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ ถ้ามีการบอกล่วงหน้าอย่างถูกต้องแล้ว แต่ลูกจ้างไม่อยากย้ายไปที่ทำงานใหม่ด้วย ก็ยังมีค่าชดเชยให้อีกไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยการถูกเลิกจ้างที่ต้องได้รับ

ส่วนการเลิกจ้าง เพราะปรับปรุงหน่วยงาน/การผลิต/การบริการ/เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยี จนต้องลดจำนวนลูกจ้างลง  จะต้องมีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยว่า เงินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ยิ่งถ้าเป็นลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันจนครบ 6 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิชดเชยพิเศษเพิ่มอีก คือ ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อ การทำงานครบ 1ปีด้วย

โดยหลังจากที่เราได้จัดการเรื่องเอกสารต่าง ๆ กับทางฝ่ายบุคคลเรียบร้อยแล้ว  ควรขอใบรับรองการผ่านงานจากทางบริษัทฯ เพื่อรับรองประสบการณ์การทำงาน และยืนยันว่าไม่ได้ถูกให้ออกจากงานจากการทำผิดวินัย  พร้อมการขอเอกสารใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ สำหรับใช้ยื่นแสดงรายได้ของปีนั้นๆ ด้วย

สิทธิจากประกันสังคม

สิทธิจากประกันสังคม

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีประกันสังคม หากเราโดนเลิกจ้างกะทันหันขึ้นมา ยังมีสิทธิอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะได้ คือ การยื่นเรื่องเพื่อขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน โดยสามารถเข้าไปที่ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านทุกแห่ง หรือทำรายการผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม

สิทธิประโยชน์นี้ จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือ ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยจะต้องรีบดำเนินการขึ้นทะเบียนคนว่างงาน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ถูกเลิกจ้าง เพื่อรับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้ เป็นระยะเวลา 6 เดือนค่ะ (ไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ที่คำนวณจากฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)

อาจโดน ‘เลิกจ้างกระทันหัน’ ต้องมีเงินสำรองเผื่อความอุ่นใจ!

อาจโดน ‘เลิกจ้างกระทันหัน’ ต้องมีเงินสำรองเผื่อความอุ่นใจ!

การถูกเลิกจ้างกะทันหัน ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา สำหรับวัยทำงาน/มนุษย์เงินเดือนทุกคนที่ยังไม่ทันได้ตั้งตัวจึงถือน่าหวาดเสียวเอามากๆ ถ้าไม่เกิดขึ้นมันก็ดี แต่หากต้องรับมือหรือเกิดกับคนใกล้ตัว ก็อย่าพึ่งตกใจจนลืมเรื่องสิทธิประโยชน์ที่สามารถเรียกร้องได้เอาซะล่ะ..

เราจึงต้องตั้งสติ เพราะในทุกปัญหามีทางออก ยังมี “เงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง” ซึ่งเป็นความคุ้มครองหากต้องถูกเลิกจ้างกะทันหันแบบไม่สมัครใจและไม่มีความผิด โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยนี้ให้ภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน หากไม่มีเงินชดเชยดังกล่าวก็สามารถยื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานฯได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า ‘ค่าตกใจ’ และ เงินช่วยเหลือกรณีว่างงานจากประกันสังคมแล้วแต่กรณีค่ะ

สิ่งสำคัญ คือ ตัวเราเองก็จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นเสมอ ด้วย “เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน” ที่ย้ำหนักย้ำหนา เพื่อการประคับประคองตนเองและครอบครัวได้สักช่วงระยะจนกว่าที่จะหางานใหม่ได้ (สัก 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน) โดยอาจเปิดเป็นบัญชีออมทรัพย์ ที่เบิกถอนเอายากๆ หรือ เงินฝากแบบพิเศษที่มีสภาพคล่องสูงเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตค่ะ สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอยากวางแผนการเงินให้ยืนยาวและมั่นคงที่สุด ก็สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ MoneyDuck กันได้ด้วย แล้วพบกันใหม่บทความหน้าจ้า!