แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้ได้รับเงินคืนจากการช้อปปิ้งออนไลน์

ในปัจจุบันการซื้อของออนไลน์เป็นที่นิยมในกลุ่มคนเกือบทุกประเภท และในแอพช๊อปปิ้งออนไลน์ก็มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อเอาใจลูกค้าอยู่บ่อยๆ ทั้งการใส่โค้ดเพื่อลดราคา หรือมีของแถม ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า ดังนั้นราจึงยกเหตุผลบางข้อมาว่า ทำไมการช๊อปปิ้งออนไลน์ถึงเป็นที่นิยมมาก

เหตุผลของการซื้อของออนไลน์

online shopping

Foxy burrow/shutterstock.com

อย่างแรกก็คือ ซื้อของออนไลน์เพราะประหยัดเวลา แค่เราเปิดแอพหรือเว็บไซต์ขึ้นมา ค้นหาสินค้าที่ต้องการ กดดูสินค้า แล้วก็สั่ง ไม่นานของที่สั่งก็มาอยู่ในบ้านแล้ว ทำให้มีเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวกับเพื่อน นี่จึงกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักของการซื้อของออนไลน์ เพราะทุกๆคนต้องการใช้เวลาในแต่ล้ะวันให้คุ้มค่าที่สุด

อย่างที่สองก็คือซื้อของออนไลน์เพราะต้องการของราคาถูก สินค้าบางชิ้นที่เราต้องการ หากต้องเดินทางไปเพื่อไปดูสินค้าแล้วเปรียบเทียบราคาจากแต่ละที่เพื่อดูราคาที่ถูกที่สุด คงลำบากไปและเสียเวลามาก ดังนั้น ในโลกออนไลน์ของมีบอกทุกอย่าง ทั้งราคา โปรโมชั่น และรีวิวจากผู้ใช้ แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้ต้องการของถูกเสมอไป เพราะบางครั้งสินค้าที่เราต้องการไม่มีในบ้านเราหรือเป็นของหายาก หลายคนยินดีจ่ายค่าขนส่งแพงๆ เพื่อให้ได้สินค้าเหล่านั้นมา อย่างที่สามที่ทำให้หลายคนซื้อของออนไลน์เพราะเปรียบเทียบราคาได้ง่าย ข้อนี้คือสิ่งที่คนบนโลกออนไลน์ เข้าใจกันเป็นอย่างดี หลายคนที่จะซื้อของที่ถูกที่สุดก็อาจจะไปที่ Lazada หรือ Shopee เพื่อเปรียบเทียบราคา ถ้าเว็บถูกสุด ก็ซื้ออันนั้น เริ่มจากการใช้ Google ค้นหาสินค้าที่เราต้องการก่อน แล้วเอาไปเทียบกับ 2 เว็บไซต์ที่ยกตัวอย่างมา บางครั้งสินค้าบางตัวอาจจะมีถูกกว่าก็ได้ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลนึงในการที่ทำให้คนหันมาซื้อของออนไลน์กันเยอะมากขี้น อย่างที่สี่คือซื้อของออนไลน์เพราะมีตัวเลือกให้เราได้ตัดสินใจเยอะ โลกออนไลน์ มีทุกอย่าง อยากได้อะไร ก็หามี ตัวเลือกเยอะแยะ ไม่ต้องเสียเวลาหาตามร้านต่างๆ เพราะในออนไลน์มีตัวเลือกเยอะ สุดท้ายก็คือซื้อของออนไลน์เพราะของมาส่งถึงที่ หลายคนไม่อยากออกไปไหนเลย ให้ไปรับของคงไม่ไปเช่นกัน หลายคนจึงอยู่บ้าน คลิ๊กไม่กี่ครั้งก็ซื้อของได้แล้ว บางที่ก็มีบริการส่งฟรีทั่วประเทศ หรือจะจัดส่งแบบด่วนก็มีให้เลือก

การลดความเสี่ยง

การลดความเสี่ยง

ข้อเสียของการซื้อของออนไลน์ที่หลายคนคงจะเคยเจอมา นั่นก็คือการโกง เช่น โอนเงินแล้วไม่ส่งของ ของที่ส่งมาไม่ตรงกับรูปที่เห็น บัตรประชาชนปลอม เป็นต้น ดังนั้นเราจึงมีคำแนะนำง่ายๆ ในการเลือกซื้อของออนไลน์ให้ปลอดภัยหรือลดความเสี่ยงที่จะโดนโกง และสิ่งที่ควรทำเมื่อรู้ตัวว่าโดนโกง

1.ความน่าเชื่อถือของร้าน ประการแรกที่จะตัดสินใจซื้อของนอกจากตัวสินค้าแล้วก็คงเป็นร้านค้าว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ทั้งช่องทางการติดต่อ รายละเอียดการลงขายสินค้าว่ามีข้อมูลชัดเจนหรือไม่ ถ้าอยากให้ปลอดภัยมากขึ้นให้ดูว่าร้านค้าได้จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านค้าออนไลน์หรือไม่ 2. บางครั้งการโกงไม่ได้ในรูปแบบที่โอนเงินแล้วไม่ส่งของ แต่กลับมาในรูปแบบของคุณภาพแทน จริงอยู่ที่ว่าขายของถูกกว่าร้านอื่น แต่คุณภาพอาจจะต่างกันมากๆ หรือ ของที่คุณซื้อมาอาจจะเป็นของปลอมก็ได้ แต่กรณีเช่นนี้พบได้ทั้งสินค้าในราคาถูกหรือราคาแพง จึงต้องตรวจสอบให้ดีก่อนสั่งซื้อ 3.คุณสมบัติที่ไม่เกินจริงจนเกินไป เราจำเป็นต้องดูคุณสมบัติของสินค้าให้ดีว่าจริงแท้เพียงใด ของบางอย่างกล่าวเกินจริงไปหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขาย อีกประการคือต้องดูเรื่องความปลอดภัยด้วย โดยเฉพาะเครื่องสำอาง ครีม อาหารเสริม ยาบำรุง ที่มักมีโฆษณาเกินจริงและอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ 4.เช็กประวัติร้านค้าให้ดี นอกจากดูว่าร้านค้ามีความน่าเชื่อถือแล้ว ประวัติการขายก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน พยายามเช็กเครดิตคนขายจากในกลุ่มที่มีการขายของหรือจากคนที่เคยซื้อไป เพราะพวกมิจฉาชีพมักจะเปลี่ยนชื่อร้าน เปลี่ยนสินค้าที่ขายไปเรื่อยๆ ไม่อยู่กับของชิ้นใดชิ้นหนึ่งนานๆ ดังนั้นหากซื้อสินค้าจากร้านที่เปิดใหม่ก็ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ 5.ดูรีวิวจากลูกค้าที่เคยสั่ง การตอบรับจากลูกค้าที่เคยซื้อของจากร้านก็เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ดี นอกจากจะลดความเสี่ยงในการโดนโกงแล้ว ยังให้เรารู้ถึงการบริการของร้านค้าด้วยว่าเป็นอย่างไร เช่น บางร้านค้าอาจหุ้มห่อสินค้าไม่ดี ทำให้เวลาของมาถึงมือผู้ซื้อ สินค้าเกิดความเสียหาย 6.เช็กให้ดีก่อนจะโอน ร้านค้ามักให้เลขบัญชีหรือช่องทางการชำระเงินเมื่อเราตัดสินใจจะซื้อสินค้าชิ้นนั้น แต่อย่าเพิ่งใจร้อน รีบโอน วิธีที่ดคือควรเอาชื่อบัญชีและเลขบัญชีไปเช็กในอินเทอร์เน็ตก่อน ว่าชื่อบัญชีหรือชื่อบุคคลนี้มีประวัติการโกงหรือไม่เพื่อความปลอดภัย 7.เก็บหลักฐานไว้ อย่าให้หาย หลังจากโอนเงินเรียบร้อยและรอของที่สั่งมาส่ง ควรเก็บหลักฐานในการสั่งซื้อ หลักฐานการโอนเงิน หลักฐานการชำระเงิน หรือประวัติการสนทนาซื้อขายไว้ให้ครบ เผื่อว่าในอนาคตอาจจำเป็นต้องใช้ และอีกอย่างที่สำคัญคือ ชื่อ-นามสกุล เลขบัญชีของผู้ขาย ชื่อของร้านค้า หรือเบอร์ติดต่อพร้อมทั้งให้ร้านค้าถ่ายรูปบัตรประชาชนให้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานหากเกิดการโกงขึ้น

แต่ถ้าเกิดเราโดนโกงแล้ว เราควรทำอย่างไร?

cheated

graphbottles/shutterstock.com

บันทึกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวข้องกับการซื้อขายไว้เป็นหลักฐาน เก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายไว้เป็นหลักฐาน โดยให้เราเก็บเท่าที่เรามี เช่น สลิปการโอนเงิน รูปภาพหลักฐานการพูดคุยซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต รูปภาพการประกาศขายของบนหน้าเพจของผู้ขาย เป็นต้น 2.เตรียมหลักฐานสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพ เช่น

  • เลขที่บัญชีธนาคาร
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล์
  • หมายเลขพัสดุ
  • บัตรประชาชนหรือหลักฐานๆ อื่นที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายครั้งนี้

3.แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สน.พื้นที่ที่เราไปโอนเงิน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีกับผู้ฉ้อโกง 4.นำใบแจ้งความส่งให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP ของมิจฉาชีพ นำใบแจ้งความไปเป็นหลักฐานในการขอข้อมูลหมายเลข IP ของผู้ฉ้อโกง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี 5.นำเอกสารในข้อ 1 – 4 ส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการติดตามตัวกลับมาดำเนินคดี เมื่อเรารวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ ให้เรานำไปมอบให้กับตำรวจเพื่อให้เป็นข้อมูลกับตำรวจสำหรับดำเนินการกับผู้ฉ้อโกง โดยระยะเวลาของคดีจะประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่เรารู้ว่าโดนฉ้อโกง

แอพซื้อของพร้อมกับได้เงินคืน

แอพซื้อของพร้อมกับได้เงินคืน

การซื้อของออนไลน์นั้นมีอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราประหยัดได้อีกหนึ่งวิธีนอกจากการหาโค้ดส่วนลด การใช้บัตรเครดิตเพื่อคืนเงิน การได้แต้มมากกว่าเดิมหลายเท่า ก็คือการใช้แอป Shopback เพื่อขอเงินคืนจากส่วนแบ่งรายได้การขายของจากร้านออนไลน์

Shopback คืออะไร?

Shopback (ช้อปแบ๊ค) เป็นบริษัทของสิงคโปร์ ตั้งขึ้นมาเพื่อเก็บค่าคอมมิชชั่นจากการขายของออนไลน์ โดนทางแอป นั้นจะได้ค่าแนะนำให้ซื้อสินค้าในแอปนั้นๆ เป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่ทางเว็บออนไลน์ได้กำหนดไว้ จากนั้น ShopBack ก็จะเอารายได้จากการส่วนแบ่งนั้นมาแบ่งกลับให้คนที่ใช้งานแอปอีกที ซึ่งจะมีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าเว็บไหน ได้ส่วนแบ่งเท่าไหร่บ้าง

เริ่มต้นจากการดาวน์โหลดแอพจาก เพลย์สโตร์ หรือแอพสโตร์ หลังจากนั้น ก็กดสมัคร เมื่อสมัครเสร็จแล้วให้ดูว่าปกติเราใช้แอปอะไรในการซื้อของบ้าง แล้วเลือกแอป ที่เราใช้งานซื้อของออนไลน์ทั่วไปได้เลย เช่น Lazada, Shopee, Ali Express, Konvy, Expedia, Central Online, Advice Online และอื่นๆ อีกมากมาย โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่แอป หน้าแรก หรือเข้าไปที่เมนูค้นหาเพื่อพิมพ์รายชื่อร้านที่เราต้องการซึ่งในระบบของ ShopBack นั้นมีรายชื่อร้านค้า และบริการออนไลน์อยู่กว่าร้อยรายการรวมไปถึงการจองตั๋วต่างๆ ที่เราจ่ายเงินออนไลน์ก็รวมอยู่ในรายการร้านค้าด้วย เมื่อเรารู้แล้วว่าจะใช้จ่ายกับร้านอะไรบ้างก็จัดการกดเข้าไปที่ไอค่อนแอป นั้นๆ ข้างในจะมีรายละเอียดว่าเราสามารถซื้อของอะไรได้บ้าง และได้เงินคืนกลับเท่าไหร่บ้าง อย่างเช่น Lazada นั้นมีระบุเอาไว้เลยว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะได้คืน 2% สินค้าแฟชั่น 7% สินค้าทั่วไป 6% ขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งรายได้ของเว็บไซต์ออนไลน์นั้นๆ ว่ามีส่วนแบ่งจากผู้ขายมาอย่างไรบ้าง และไม่ควรใช้ส่วนลดอื่นๆ เสริมเข้าไปเพราะเราอาจจะไม่ได้เงินคืนกลับมาเต็มจำนวนเนื่องจากได้ใช้ส่วนลดหักไปแล้วส่วน Shopee นั้นมีคืนเงินให้ต่างออกไปจากเดิมตรงที่ใช้เงินคืนกลับเป็นลูกค้าใหม่ (ซื้อครั้งแรก) 6.5% และลูกค้าเก่า 2.5% สำหรับการซื้อในครั้งต่อๆ ไป ตามแต่การตกลงของเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งส่วนแบ่งเงินคืนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในทุกเดือน

ซื้อของออนไลน์เพื่อรับเงินคืน

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่ามีแอป ไหนบ้างที่สามารถได้รับเงินคืนจากการซื้อของได้บ้าง จากนั้นก็ให้เรากดเข้าไปที่รายละเอียดแล้วกดที่ปุ่ม เปิดแอพพลิเคชั่น ซึ่งตรงนี้สำคัญมากเพราะทางแอพ จะให้เราทำการผูกบัญชีแอพ ช็อปปิ้งของเราเข้าไปกับระบบคืนเงินของ ShopBack ทำให้การซื้อของครั้งต่อไปจะถูกเก็บเข้าระบบทั้งหมดเพื่อทำเรื่องคืนเงินให้ เมื่อเราเปิดแอป ช็อปปิ้งแล้ว ให้ทำการสั่งซื้อของได้ตามปกติ เลือกการชำระเงินแบบทันที โอนเงิน บัตรเครดิต หรือว่าเก็บเงินปลายทางก็ได้ เมื่อรายการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วเราจะเห็นว่าใน ShopBack ของเรามีเงินเข้ามาจากแอป อะไรบ้าง ส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้เวลาในการคืนเงินประมาณ 75 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่รอให้การสั่งซื้อเสร็จสิ้น ไม่มีการคืนเงิน ไม่มีการคืนของ ไม่มีการเปลี่ยนของ ไม่มีการยกเลิกรายการ เมื่อทุกอย่างผ่านไปครบถ้วนเมื่อครบ 75 วันโดยประมาณจะมียอดเงินเข้ามาในระบบแจ้งให้เราทราบ

ตรวจสอบยอดเงินที่เข้ามา

เราสามารถตรวจสอบยอดเงินได้อยู่ตลอดเวลาโดยการเข้าไปที่เมนู บัญชีผู้ใช้ ด้านล่างเพื่อตรวจสอบยอดเงินที่เราควรจะได้ ยอดเงินที่สามารถกดถอนได้ การแจ้งปัญหาเงินขาดหาย และตั้งค่าบัญชีของเรา โดยการถอนแต่ละครั้งสามารถทำได้เมื่อเรามียอดเงินมากกว่า 250 บาท แต่ถ้ามียอดเหลือน้อยกว่านั้นจะไม่สามารถทำรายได้จนกว่าเราจะมียอดสะสมครบตามจำนวนที่แจ้งไว้

ระยะเวลาที่ได้เงินคืน

หลังจากที่เราได้ทำการสั่งซื้อของไปแล้วในหน้าคืนเงินจะมีการแสดงข้อมูลให้เราทราบทันทีว่าเราได้ซื้ออะไรไปแล้วได้เงินคืนกลับมาเท่าไหร่ แต่จะยังไม่สามารถเอามาใช้งานได้ เพราะเงินที่ได้มาอยู่ในรายการ เงินคืนรอดำเนินการ ซึ่งจะต้องรอให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นเสียก่อนถึงจะสามารถถอนเงินออกมาได้ ทั้งนี้การเปิดใช้บัญชีครั้งแรกเราจะได้เงินโบนัส 100 บาทซึ่งมาจากการใช้รหัสแนะนำเพื่อนเข้ามาสมัคร และอีก 100 บาทเป็นโบนัสในการเปิดบัญชีครั้งแรก หมายความว่าถ้าเราซื้อของให้ได้เงินคืน 50 บาท เราจะมียอด 250 บาท ซึ่งสามารถถอนเงินออกมาได้ทันที (ในระยะเวลา 75 วัน)

การชวนเพื่อนมาใช้แอพก็ได้เงินคืนด้วย

การชวนเพื่อนมาใช้แอพก็ได้เงินคืนด้วย

นอกจากการซื้อของแล้วได้เงินคืน เราสามารถกดแชร์ไปให้เพื่อนๆ สมัครต่อจากรหัสของเราเพื่อนจะได้โบนัส 100 บาท และเราเองจะได้โบนัส 100 บาทด้วย โดยเพื่อนที่เชิญไปแล้ว สมัครแอป แล้วเรียบร้อย จะต้องซื้อของแล้วได้เงินคืน 500 บาทก่อนเราถึงจะได้รับเงินโบนัส 100 บาทจากการเชิญเพื่อนด้วย ดูแล้วค่อนข้างยุ่งยาก แต่ถ้าเพื่อนที่เราเชิญไปได้ซื้อของจริงๆ เราก็จะได้ตรงนี้ 100 บาททันทีที่ยอดเงินของเพื่อนสำเร็จแล้ว

LAZADA

ปกติแล้วทาง Lazada จะมีคูปองส่วนลดให้กับทางพาร์ทเนอร์อยู่เป็นประจำ แต่เราอาจจะไม่เห็นเพราะคูปองส่วนลดนั้นจะถูกสินค้าต่างๆ บังไปหมด วิธีการหาคูปองส่วนลดง่ายๆ เพียงแค่เข้าที่หน้าเว็บ Lazada.co.th จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่างสุด จะมีป้ายบอก “สิทธิพิเศษจากพาร์ทเนอร์” กดเข้าไปจะเจอส่วนลดจากทางบัตรเครดิตต่างๆ เครือข่ายมือถือ ร้านค้า และการผ่อนชำระให้เราเลือกใช้มากมาย บางครั้งเราไม่ต้องรอเทศกาลลดราคา หรือกิจกรรมลดพิเศษก็สามารถหาส่วนลดที่นี่ไปใช้งานได้

SHOPEE

แอพ Shopee นั้นมีโปรแกรมที่เรียกว่า Coins เป็นการสะสมแต้มจากการซื้อของทุกครั้งตามเงื่อนไง เราสามารถหยิบเอามาใช้เป็นส่วนลดได้ครั้งละ 50% ของราคาสินค้า และใช้ได้วันหนึ่งไม่เกิน 500 บาท เช่น สินค้าราคา 200 บาทเราสามารถใช้ Coins ลดราคาได้ 100 บาท เลยทีเดียว ถ้าเราไม่มี Coins ก็ให้กดเข้าไปที่ ฉัน ในเมนู Shopee Coins ของฉัน จะมีเมนูให้เรากดรับ Coins ได้ทุกวัน

บัตรเครดิต

credit card

Be Panya/shutterstock.com

การใช้งานบัตรเครดิตกับเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์สิ่งที่ควรทำก่อนการซื้อคือการตรวจสอบโปรโมชั่น ส่วนใหญ่แล้วบัตรเครดิตมักจะมีโปรโมชั่นคืนเงิน (แคชแบ็ค) ตามแต่ช่วงเดือนนั้นๆ และโปรโมชั่นแต้ม 2-5 เท่าจากเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ ทั้งนี้การเข้าร่วมโปรโมชั่นจะต้องเข้าไปลงทะเบียนกับบัตรนั้นๆ ก่อนทำการซื้อของเพื่อเปิดใช้โปรโมชั่นที่เราต้องการ

และทั้งหมดนี้ก็คือแอพซื้อของออนไลน์ที่ได้รับเงินคืนหลังจากการซื้อของ รวมถึงเหตุผลที่ผู้คนนิยมซื้อของออนไลน์และวิธีการลดความเสี่ยงในการซื้อของออนไลน์ ดังนั้นขอให้ทุคนซื้อของออนไลน์อย่างมีความสุขและตรวจสอบร้านที่เราจะซื้อสินค้าด้วยความรอบคอบ จะได้ไม่เสียเงินและเวลาไปอย่างสูญเปล่า