รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2562 บอกว่า คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการในประเทศไทยทั้งหมดจำนวน 1,995,767 คน คิดเป็นร้อยละ ได้ 3.01 ของประชากรทั้งหมดของประเทศไทย โดยแบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,043,308 คน เพศหญิง จำนวน 952,459 คน ซึ่งในอดีตคนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำประกันภัยได้ เนื่องจาก

บริษัทประกันให้เหตุผลไว้ว่าคนเหล่านี้ เข้าข่ายในกลุ่มที่ มีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง ซึ่งก็ได้มีกรมธรรม์ของหลายบริษัทประกันได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้เอาประกันจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดพิการ แต่ในปัจจุบันธุรกิจประกันภัยเริ่มมีการปรับตัวปรับเปลี่ยนจนในปัจจุบันผู้พิการก็สามารถเข้าถึงสิทธิในเรื่องของการทำประกันภัยได้เทียบเท่ากับคนปกติทั่วไปมากขึ้น ซึ่งตรงนี้แหละมาดูกันดีกว่าว่าผู้พิการนั้นสามารถเข้าถึงสิทธิการทำประกันภัยอะไรได้บ้าง?

ประกันภัยอุบัติเหตุ

ประกันภัยอุบัติเหตุ

ประกันภัยประเภทแรกที่เปิดให้ผู้พิการมีสิทธิ์ทำได้ คือ ประกันภัยอุบัติเหตุ โดยทาง คปภ.ได้ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยและสมาคมประกันชีวิตไทย ได้ทำการออกแบบ กรมธรรม์อุบัติเหตุ เพื่อคนพิการ สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) เป็นประกันสำหรับผู้พิการโดยเฉพาะ เพื่อที่ผู้พิการจะสามารถเข้าถึงระบบประกันภัยได้เหมือนกับคนปกติ โดยเบี้ยประกัน เริ่มต้นอยู่ที่ 300 บาทต่อปี มีระยะเวลาการคุ้มครองอยู่ที่ 1 ปี อายุผู้ขอเอาประกันภัยอุบัติเหตุ 20 – 60 ปี และสามารถซื้อประกันได้คนละไม่เกิน 2 กรมธรรม์ โดยวิธีการซื้อก็แค่ นำบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้พิการไปซื้อได้เลยกับบริษัทที่ เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 บริษัท หรือจะไปซื้อที่เคาร์เตอร์เซอร์วิสใน 7-11 หรือในเทสโก้โลตัสก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้พิการที่สามารถทำประกันภัยอุบัติเหตุชนิดนี้ได้มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนพิการทางการมองเห็น กลุ่มคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย และกลุ่มคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว โดยประกันภัยดังกล่าวจะจ่ายเงินชดเชยในกรณี ดังต่อไปนี้

  • กรณีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คือ ถ้าหากเกิดการเสียชีวิตที่ไม่ได้มาจากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย หรืออุบัติเหตุขณะที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับเงินชดเชยจำนวน 100,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม คือ เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย หรืออุบัติเหตุขณะที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับเงินชดเชยจำนวน 50,000 บาท
  • เงินชดเชยการจัดงานศพ กรณีที่เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีที่เจ็บป่วยจนเสียชีวิตภายใน 120 วัน แรกนับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย) เป็นจำนวน 5,000 บาท
  • เงินปลอบขวัญ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ (ต้องเข้ารับรักษาตัวเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 วัน) ตลอดระยะเวลาประกันภัย จำนวน 5,000 บาท
  • เงินชดเชยรายได้ ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้เงินชดเชยรายได้ เป็นรายวัน วันละ 200 บาท เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 20 วัน

ประกันสังคม และประกันสุขภาพ (บัตรทอง)

ประกันสังคม และประกันสุขภาพ (บัตรทอง)

ตามปกติแล้วประกันสุขภาพบัตรทองนั้นผู้พิการที่เป็นคนไทยนั้นมีสิทธิที่จะใช้อยู่แล้วแต่ประกันที่มีการปรับเปลี่ยนให้ผู้พิการนั้นมีสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิเพิ่มขึ้น คือ ประกันสังคมโดยประกันสังคมในสมัยก่อนนั้นที่ผู้พิการยังไม่สามารถทำประกันได้ ถึงแม้เขาจะเข้าทำงานในหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆพวกเขาก็ยังไม่ได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาของประกันสังคม ในโรงพยาบาลต่างๆได้ ซึ่งตอนนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นอีกแล้ว ตอนนี้ผู้พิการที่ทำงานในหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆสามารถเข้ารับการรักษาของประกันสังคมในสถานพยาบาลที่เลือกไว้ได้แล้ว

อีกทั้งได้สิทธิประโยชน์ต่างๆเหมือนกับบุคคลปกติครบทุกประการ เช่น เงินทดแทนเวลาที่ขาดรายได้กรณีพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ของผู้พิการที่เป็นผู้ประกันตน กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ว่างงาน ชราภาพ โดยผู้พิการที่ต้องการรับสิทธิประโยชน์ต่างๆก็สามารถเข้าไปแจ้งเลือกใช้ สิทธิประกันสังคมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม จังหวัด เขตพื้นที่ และสาขาทุกแห่งทั่วประเทศได้เลย และนอกเหนือไปจากนั้นผู้พิการ ยังมีโอกาสเลือกได้ด้วยว่า ระหว่าง สิทธิการรักษาของประกันสังคมกับสิทธิการรักษาของประกันสุขภาพ(บัตรทอง) จะใช้สิทธิของประกันอะไรไหนการเข้ารับการรักษา และถ้าหากสิทธิที่เลือกไม่ตอบโจทย์ไม่ตรงกับความต้องการ ผู้พิการก็สามารถที่จะเปลี่ยนได้ด้วยปีละ 1 ครั้ง

ประกันแบบอื่นๆ

ประกันแบบอื่นๆ

ณ ตอนนี้ ในปัจจุบัน นั้นประกันอื่นๆ เช่นประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ต้องบอกว่า ยังไม่มีกรมธรรม์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้พิการโดยตรง เพราะฉะนั้น นอกจากประกันอุบัติเหตุ ประกันสังคม ประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ผู้พิการยังไม่สามารถทำประกันอื่นๆได้ แต่เอาเข้าจริงๆ ประกันชีวิตและประกันสุขภาพของบางบริษัท ก็มี กรมธรรม์ที่ไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขที่ชัดเจน ถึงข้อกำหนดที่ห้ามคนพิการทำ ซึ่งตรงนี้ทำให้ผู้พิการที่ต้องการจะทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพอาศัยเงื่อนไขดังกล่าว ทำการซื้อประกันและทำสัญาประกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะได้รับการประกันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่การพิจารณาของแต่ละบริษัทอีกที ซึ่งถ้าเกิดว่าผู้พิการต้องการทำประกันอื่นๆและทำได้สำเร็จผู้พิการก็อาจจะเจอกับเงื่อนไขการรับประกันที่จะต้องมีเงื่อนไขการรับประกันมากกว่าคนปกติและอาจจะมีการจ่ายเบี้ยประกันที่สูงกว่าราคาปกติด้วย

ผู้พิการในปัจจุบันมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นทั่วไปมากขึ้น

ผู้พิการในปัจจุบันมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นทั่วไปมากขึ้น

สุดท้ายแล้ว เพื่อนๆในปัจจุบันคงจะมีความรู้และความเข้าใจของผู้พิการมากขึ้นนะครับ ซึ่งในอนาคตต่อไปนี้ผมก็หวังว่าผู้พิการจะได้รับสิทธิที่เท่าเทียมพอๆกับคนปกติอย่างเราๆในทุกวันนี้ ถือว่าเรื่องการที่มีประกันอุบัติเหตุเพื่อคนพิการ และการที่ประกันสังคม ได้เปิดโอกาสให้กับผู้พิการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆเท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของอะไรหลายๆอย่างนะครับ และหวังว่าปัญหาความเลื้อมล้ำในสังคมไทย หรือการเอารัดเอาเปรียบผู้พิการ ยกตัวอย่าง การแย่งที่จอดรถผู้พิการ การแย่งที่นั่งผู้พิการ ในประเทศไทยจะหมดไปนะครับ

อ้างอิง http://dep.go.th/uploads/Docutents/4700c4a5-791d-47c1-b8be-25e55a3559ddสถานการณ์คนพิการ%20มีค.62.pdf