เมื่อคิดถึงการลงทุนเป้าหมายของคนส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ผลตอบแทนหรือกำไรเป็นหลัก และมักจะไม่ได้คิดถึงเรื่องความเสี่ยงกันซักเท่าไหร่ใช่มั้ยคะ? เมื่อลงทุนก็คาดหมายว่าจะได้ผลตอบแทนที่ทำให้เรามีฐานะดี มีเงิน ร่ำรวยขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการลงทุนมันก็มีความเสี่ยงในตัวของมันเองตามมาเสมอ ถ้าจะเปรียบการลงทุนเป็นเหมือนเหรียญ ก็จะมี 2 ด้าน คือด้านหนึ่งคือ กำไร ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ ขาดทุน นั่นก็หมายความว่า เมื่อคิดจะลงทุนเราต้องมีความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของทั้งสองด้านเป็นอย่างดี ไม่ใช่ว่าจะหวังกำไรเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจกำลังถดถอย ตัวเลข GDP ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเนื่องจากผลกระทบจากไวัรัสโควิด ถึงแม้บางธุรกิจจะกลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติก็ตาม แต่กว่าที่จะกลับมาให้เติบโตเหมือนเดิมคงจะเป็นเรื่องยาก และต้องใช้เวลาเป็นปีๆเลยทีเดียว!

การลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ เราจะทำอย่างไรเพื่อจะไม่ให้เจ็บตัว? เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ และที่สำคัญคือ ถ้าจะลงทุนเราจำต้องคิดถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ในบทความนี้ดิฉันได้นำเอา ความเสี่ยงที่คุณต้องคิดถึงมาฝากกันค่ะเช่น ความเสี่ยงทางการตลาด, ความเสี่ยงทางธุรกิจ, ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย, และ ความเสี่ยงในเรื่องของอำนาจการซื้อ ขอเพื่อนๆอ่านและพิจารณาไปทีละข้อนะคะว่า ความเสี่ยงของแต่ละอย่างเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? เผื่อว่าเพื่อนๆจะนำไปใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนในอนาคตได้ค่ะ

ความเสี่ยงทางการตลาด

ความเสี่ยงทางการตลาด

ความเสี่ยงทางการตลาด (Market Risk) คือ โอกาสที่เราอาจจะสูญเสียเงินเพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ที่เราลงทุนไป ซึ่งได้รับผลกระทบจาก อุปสงค์ และอุปทานของตลาดค่ะ

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีทั้งความต้องการซื้อและความสามารถในการซื้อ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับราคา นั่นหมายความว่าถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น ความต้องการสินค้าจะลดลง! ปัจจัยที่กำหนดความต้องการของปริมาณของอุปสงค์ได้แก่ ราคาของสินค้า รายได้ของผู้บริโภค สินค้าและบริการอื่นๆที่ใช้แทนกันได้ พฤติกรรมและนิสัยส่วนตัว การศึกษา และที่สำคัญ ก็คือสภาพเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆด้วย

อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีราคาตลาดและต้นทุน เป็นตัวกำหนด ซึ่งโดยปกติแล้ว ปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับระดับของราคา เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ผู้ขายก็จะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่มากขึ้น

ความเสี่ยงทางธุรกิจ

ความเสี่ยงทางธุรกิจ

ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในบริษัทที่ไม่สามารถทำกำไรได้ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนสูญเสียรายได้ทั้งในส่วนของเงินทุน และกำไร ความเสี่ยงนี้เกี่ยวข้องกับ ทางการเงิน การบริหารจัดการในองค์กร และในระดับอุตสาหกรรมด้วย ความเสี่ยงทางธุรกิจ เกิดมาจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกค่ะ

ปัจจัยภายใน คือ ปัญหาในการบริหารจัดการภายในองค์กร ในเรื่อง นโยบาย การวางแผนในธุรกิจ ปัญหาในด้านโครงสร้างทางการเงิน ธุรกิจมีหนี้สินมากเกินไปทำให้กำไรที่ได้ลดลงเพราะต้องเอาเงินทุนไปจ่ายค่าดอกเบี้ยมากขึ้น ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้โอกาสที่ธุรกิจจะล้มละลายเป็นไปได้สูง และปัญหาอีกส่วนหนึ่งมาจาก พนักงานที่มีตำแหน่งในการบริหารลาออก หรือทุจริต

ปัจจัยภายนอก คือ ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ สภาพเศรฐกิจ และ นโยบายของทางรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงทาง การเมือง สังคม รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความต้องการสินค้าและบริการที่ลดลง

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดส่งผลให้ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเปลี่ยนไป แน่นอนในการลงทุนส่วนใหญ่เรามักจะได้เงินทุนมาจากการกู้ยืมเงินจากทางสถาบันการเงินเป็นหลัก ถ้าอัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงนั่นหมายความว่าได้รับผลกระทบทันที!

หลังจากที่ประเทศเราได้รับผบกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทางคณะกรรมการนโนบายทางการเงิน (กนง ) ได้มีมติออกมาในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 1.25 % เหลือ 1% ต่อปี ซึ่งมีผลทันที ถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพราะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อย่างมาก

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกับต่างประเทศลดลง เงินทุนไหลออก เงินบาทอ่อนค่าลง การผลิตในประเทศขยายตัว การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนภาคธุรกิจมีหนี้สินน้อยลงฐานะทางการเงินก็เข้มแข็งขึ้น ประชาชนก็มีกำลังที่จะซื้อมากขึ้น แต่สำหรับคนที่หวังผลตอบแทนจากเงินฝากได้รับผลกระทบแน่ๆเพราะได้ดอกเบี้ยน้อยลงค่ะ.

ความเสี่ยงจากอำนาจการซื้อ

ความเสี่ยงจากอำนาจการซื้อ

ความเสี่ยงจากอำนาจการซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากค่าของเงินลดลงทำให้อำนาจการซื้อลดลงสาเหตุมาจากภาวะเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าของเงินน้อยลงส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ และการลงทุน ซึ่งผลกระทบก็มีทั้งด้านบวก และด้านลบ ถ้าสามารถควบคุมเงินเฟ้อในอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้มีการลงทุนมากขึ้น อัตราการว่างงานลดลง ภาคเอกชนต้องการแรงงานเพิ่ม และเงินเฟ้อยังส่งผลดีต่อคนที่เป็นหนี้ในระบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ด้วยเพราะมูลค่าที่แท้จริงของหนี้ลดลง ถึงแม้ค่าเงินจะลดลงแต่สัญญาการกู้เงินยังเหมือนเดิม ผลกระทบในด้านลบของเงินเฟ้อ ทำให้ค่าครองชีพในแต่ละวันสูงขึ้น คนที่มีรายได้น้อยจะอยู่ยาก ระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง เพราะอุปสงค์ของตลาดจะเพิ่มขึ้น ในที่สุดอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในอุตสาหกรรมต่างๆได้

ความเสี่ยงหลีกเลี่ยงได้แต่ต้องการะจายการลงทุน

ความเสี่ยงหลีกเลี่ยงได้แต่ต้องการะจายการลงทุน

พออ่านมาถึงตอนนี้แล้วเพื่อนๆคงจะได้รายละเอียดมาบ้างแล้วว่า ความเสี่ยงที่เราควรรู้มีอะไรบ้าง? เราจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อย่างไร? ส่วนใหญ่นักวางแผนการเงินการลงทุนจะแนะนำให้เรา กระจาย การลงทุนในทรัพย์สินในประเภทเดียวกันเพราะมันอาจจะทำให้เราขาดทุนได้ และกระจายการ ลงทุนแบบข้ามประเภทในสัดส่วนที่ต่างกันเท่าที่เรารับความเสี่ยงที่เรารับได้ อย่างเช่น ลงทุนในหุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาลค่ะ

เพื่อนๆเห็นหรือยังว่า ถึงแม้การลงทุนจะมี ความเสี่ยง แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าเราจะไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทนเลย เพียงแต่เราต้องมีความรู้ ความเข้าใจหลักการในการลงทุน รวมถึง สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงให้รอบคอบก็เท่านั่นเองค่ะ