เรื่องของภาษีนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มีรายได้ไม่ว่าจะทำงานและมีรายได้จากที่ไหนก็ตามต้องมีการเสียภาษีตามกฎหมายทั้งนั้น แต่หลายคนก็ยังไม่เคยได้ศึกษาข้อมูลของการเสียภาษีอย่างชัดเจนซึ่งจริงๆแล้วการเสียภาษีก็ทำให้คุณได้รับผลประโยชน์ด้วยเหมือนที่หัวเรื่องของบทความนี้บอกถึงการยื่นภาษีเพื่อที่คุณจะได้รับเงินคืนจากการที่คุณเคยเสียภาษีไปแล้ว แต่ก่อนที่เราจะพาคุณไปรู้ข้อมูลของการรับเงินคืนจากการเสียภาษีก็ต้องมาทำความรู้จักกับการเสียภาษีจากรายได้ของคุณกันก่อนซึ่งเรียกว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีนี้เป็นการเสียภาษีของบุคคลธรรมดาทั่วไปไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ตามที่มีรายเข้ามาก็ต้องมีหน้าที่ต้องเสียภาษีนี้ยิ่งมีรายได้มาก็ยิ่งเสียภาษีมาก ปัจจุบันนี้อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานสรรพการเป็นผู้จัดเก็บภาษีนี้ค่ะ โดยการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นไม่มีข้อยกเว้นในสองลักษณะนี้ คือ ไม่ว่าคุณจะมีแหล่งรายได้ในประเทศ หรือ แหล่งรายได้จากต่างประเทศ ก็ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมทั้งสองรูปแบบค่ะ ซึ่งแต่ละคนแต่อาชีพก็จะมีการเสียภาษีไม่เท่ากันเพื่อจะทราบว่าคุณเองต้องเสียภาษีเท่าไหร่ต่อปีคุณต้องเริ่มคิดคำนวณค่ะ ซึ่งในบทความนี้ก็คงจะไม่มีข้อมูลการคำนวณภาษีมาบอกแต่คุณสามารถหาข้อมูลด้วยตัวเองได้เพราะทุกวันนี้มีแอปพลิเคชั่น และเทคโนโลยีมากมายที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณสามารถคำนวณการเสียภาษีของตัวคุณเองได้ค่ะ

เรื่องราวในบทความนี้จะมาบอกถึงสิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาฝากกัน เริ่มจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วหลังจากนั้นคุณสามารถนำเอกสารและข้อมูลการเสียภาษีของคุณไปยื่นต่อกรมสรรพากรเพื่อขอเงินคืนได้ด้วยเมื่อมีการเสียภาษีในแต่ละปีค่ะ ซึ่งเรื่องนี้ยังคงเป็นที่สงสัยของใครหลายคนว่าจะยื่นภาษีเพื่อรับเงินคืนต้องทำอย่างไรบ้าง? ซึ่งเรื่องการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรดานี่ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเป็นเหมือนอีกหน้าที่หนึ่งของผู้ที่เสียภาษี และถึงแม้ว่าคุณมีรายได้ไม่มากจนถึงกับต้องเสียภาษีก็สามารภยื่นภาษีได้เช่นกันซึ่งเป็นการแสดงข้อมูลต่อสรรพากรว่าคุณมีรายได้ที่ผ่านมาเท่าไหร่? ในบทความนี้จะมาให้ข้อมูลการยื่นภาษีเพิ่มเติมเพื่อคุณจะเข้าใจเรื่องนี้และคลายความสงสัยลงได้ไม่มากก็น้อยค่ะ โดยมีเรื่องราวต่อไปนี้คือ กำหนดการยื่นภาษี, การยื่นภาษีของคู่สมรส และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง และ ไม่ยื่นภาษีได้ไหม? เมื่ออ่านบทความนี้จบคุณจะทราบว่าเรื่องของภาษีนั้นใกล้ตัวมากและเป็นเรื่องที่เลียงไม่ได้ยังไงก็ต้องศึกษาเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์และแสดงความโปร่งใสของที่ของรายได้ของคุณทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังด้วยค่ะ

กำหนดการยื่นภาษี

กำหนดการยื่นภาษี

เริ่มต้นด้วยการทราบข้อมูลของกำหนดการยื่นภาษีกันก่อนค่ะ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการยื่นภาษีกันปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น และจะมีช่วงเวลาคือ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคมของปีต่อไปซึ่งจะเป็นการสรุปรายได้ทั้งปีของปีที่แล้วตั้งแต่ มกราคม – ธันวาคมค่ะ ซึ่งมีการกำหนดแบบฟอร์มการยื่นภาษีที่แตกต่างกันจากรายได้ดังนี้

  • ถ้ามีรายได้จากเงินเดือนเท่านั้นจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91
  • ถ้ามีรายได้จากที่อื่นด้วยนอกจากเงินเดือนจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90

แต่การยื่นภาษีก็มีแบบการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีด้วย เช่น รายได้ของเดือนมกราคม – มิถุนายนมีรายได้รวมกันแล้วเกิน 60,000 บาท จึงสามารถยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีได้ ช่วงเวลาในการยื่นภาษีคือเดือน กรกฎาคม - กันยายน แต่ว่าหลังจากนั้นเมื่อผ่านไปหนึ่งปีคุณก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีอีกครั้งของทั้งปีที่ผ่านมาในช่วง มกราคม – มีนาคมค่ะ การยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีจะต้องใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลของกำหนดเวลาที่คุณสามารถทำการยื่นภาษีได้ค่ะ คือ รายได้ของปีที่แล้วต้องรวบรวมมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีต่อไปในเดือนมกราคม - มีนาคม เท่านั้นค่ะ

มีอีกเรื่องที่คุณควรร็คือ การเงินคืนภาษีเนื่องจากบางคนมีกรณีที่มีการเสียภาษีเกินกว่าที่ตัวเองต้องเสียก็สามารถยื่นขอเงินคืนเป็นการยื่นภาษีย้อนหลังได้ แต่มีกำหนดการยื่นขอเงินคืนภายใน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษีนะคะ ซึ่งทางกรมสรรพากรมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีให้คุณภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยื่นแบบฟอร์มขอเงินคืน เพราะถ้าหากกรมสรราพากรล่าช้าในการคืนเงินให้คุณคุณก็มีสิทธิ์ได้รับเงินคืนภาษีพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อเดือนนับจากการยื่นขอเงินภาษีคืนโดยเริ่มนับอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไปหลังจากมีการขอเงินคืนแล้วค่ะ ข้อมูลเรื่องนี้ก็สำคัญและเป็นประโยชน์มากเลยนะคะสำหรับใครที่เสียภาษีเกินรายได้ไปแล้วก็ยังมีทางนับเงินคืนได้ด้วยนะคะด้วยวิธีนี้ค่ะ

การยื่นภาษีของคู่สมรส และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

การยื่นภาษีของคู่สมรส และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

กำหนดการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่บอกว่าเป็นกไหนดการที่ใช้ได้กับทั้งบุคคลที่มีสถานะโสด และ คู่สมรส และ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลยนะคะ ส่วนเรื่องต่อไปจะบอกว่าคู่สมรส และ ห้างหุ้นส่วนจะต้องยื่นภาษีอย่างไรบ้างค่ะ

การยื่นภาษีคู่สมรส: การยื่นภาษีของคู่สมรมก็คือ คุณสามารถนำรายได้ของคุณและคู่สมรสมารวมกันเพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ค่ะ หรือจะแยกกันยื่นภาษีก็ได้ทั้งนั้นค่ะซึ่งการยื่นภาษีรายได้แยกกันจะทำให้ภาระการเสียภาษีต่ำกว่าการยื่นภาษีรวมกันค่ะ อันนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกของคุณและคู่สมรสนะคะ

การยื่นภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัด: การยื่นภาษีของบุคคลที่มีธุรกิจเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีเช่นกัน แต่ต้องมีการทำบัญชีพร้อมยื่นแบบฟอร์มภาษี ภ.ง.ด. 90/91 ซึ่งการทำบัญชีการยื่นภาษีต้องทำตามขั้นตอนนี้คือ

  1. ทำบัญชีเพื่อรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา มีรายละเอียดจำนวนรวมยอดรายได้และยอกรายจ่ายที่มีการรับมาหรือรายจ่ายที่จ่ายไประหว่างปีภาษี และยอดเงอนคงเหลือยกไป
  2. การทำบัญชีเพื่อยื่นภาษีนี้ต้องจัดทำในภาษไทย แต่ถ้าเกิดทีการจัดทำในภาษาต่างประเทศก็ต้องมีเอกสารที่เป็นภาษาไทยกำกับมาด้วย

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง? และ ไม่ยื่นภาษีได้ไหม?

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง? และ ไม่ยื่นภาษีได้ไหม?

คำถามยอดฮิตของผู้คนเรื่องของการยื่นภาษีก็ยังมีอีกสองำถามนี้คือ ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง? และ ไม่ยื่นภาษีได้ไหม? บทความนี้จะมาตอบคถามเหล่านี้ให้หายข้องใจกันค่ะ

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง? สถานที่ที่สามารถยื่นภาษีได้นั้นก็มีหลายๆที่ เช่น

  • สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ของคุณทุกสาขา
  • ทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบ E-Filling ของกรมสรรพากร
  • ไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณีเฉพาะผู้ที่มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพฯโดยส่งพร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือในธนาณัติตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวนไปที่สำนักบริหารการคลัง และ รายได้กรมสรรพากร อาคารสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

ไม่ยื่นภาษีได้ไหม? จริงอยู่ที่ว่าการยื่นภาษีนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและคุณเองก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้วยแต่สำหรับบางคนก็ไม่เห็นค่าประโยชนืตรงนี้จึงเกิดคำถามว่าไม่ยื่นภาษีได้ไหม? งั้นเรามาดูคำตอบว่าในกรณีเหล่านี้คุณไม่ต้อยื่นภาษีก็ได้ค่ะ เช่น

  • คุณมีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งปีในจำนวนเงินไม่เกิน 120,000 หรือตกเดือนละ 10,000 บาทค่ะ
  • คุณมีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีแต่มีจำนวนเงินไม่เกิน 60,000 หรือตกเดือนละ 5,000 บาทค่ะ
  • คุณสมรสตามกฎหมายแล้วแต่คุณและคู่สมรสมีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียงรวมกันตลิดทั้งปีในจำนวนเงินไม่เกิน 220,000บาท หรือตกเดือนละ 18,333.33 บาท
  • คุณสมรมตามกฎหมายแล้วแต่คุณและคู่สมรมมีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีรวมกันไม่เกิน 120,000บาท หรือตกเดือนละ 10,000บาทค่ะ
  • คุณมีรายได้จากดอกเบี้ยะนาคาร / ดอกเบี้ยหุ้นกู้ / ดอกเบี้ยพันธบัตร / ส่วนต่าง Discount Bond / กำไรจากการขายตราสารหนี้ / เงินปันผลของบริษัทห้างร้าน แล้วคุณปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • คุณมีรายได้จากเงินปันผลจากกองทุนรวมแล้วปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • คุณมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มาแล้ะปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
  • คุณมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไรแล้วปล่อยให้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย

นี่คือกรณีต่างๆที่คุณสามารถไม่ไปยื่นภาษีก็ได้ถ้าคุณไม่ต้องการรับภาษีเงินได้คืนและไม่ผิดกฎหมายและไม่มีการบังคับในกรณีเหล่านี้ค่ะ

เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เลี่ยงไม่ได้

เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เลี่ยงไม่ได้

เรื่องราวของภาษีนั้นอาจจะมีความลึกลับซับซ้อนและซ่อนเงื่อนเข้าใจยากเหมือนการค้นหาความลับแต่เรื่องราวของภาษีไม่ว่าจะเป็นการเสยภาษีให้ถูกต้องตามรายได้ หรือ การยื่นภาษีเพื่อรับเงินคืน ทั้งหมดก็เป็นเรื่องที่คุณทุกคนที่มีรายได้ไม่ว่ามาก หรือน้อยและมีรายได้มาจากแหล่งไหนก็ตามต้องศึกษาเอาไว้ค่ะเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกระบวนการกฎหมายเพื่อป้องกันตัวคุณเองจาปัญหาการเงินหรือความไม่โปร่งใส โดยเฉพาะคนที่มีรายได้มากๆมักจะพบเจอกับปัญหาเรื่องการเสียภาษีไม่ถูกต้องและโดนเก็บภาษีย้อนหลังจนเป็นเรื่องใหญ่โตก็มี ดังนั้นคุณเองควรศึกษาเอาไว้ไม่เพียงเรื่องของการยื่นภาษีเท่านั้นนะคะ เรื่องของภาษีทั้งหมดคุณควรรู้เพื่อป้องกันปัญหาการเงินค่ะและจะได้ไม่เสียสิทธิประโยชน์มากมายด้วยค่ะ