เงินทองหายาก กว่าจะหามาได้เราก็ต้องใช้มันอย่างคุ้มค่า เพื่อนๆเห็นด้วยไหม? กับของบางอย่างเราก็ใช้เงินและจ่ายไปแบบที่ไม่คิดอะไร เพราะสิ่งนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญหรือมีราคาที่แพงมาก แต่กับของที่แพง สิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของครอบครัวหรือชีวิตของตัวเองด้วยแล้ว เราก็คงต้องนั่งคิดเลือกอย่างดี อย่างการเลือกทำประกันสักตัว คงไม่มีใครทำประกันไปโดยที่ไม่ได้อ่านรายละเอียดและคิดคำนวนค่าเบี้ยประกันอย่างดี

โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายและเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัว จะทำประกันสักตัวก็คงต้องคิดถึงความคุ้มค่าและความคุ้มครอง ที่สามารถตอบโจทย์อย่างครอบคุมเพื่อที่จะเป็นหลักประกันในอนาคตสำหรับครอบครัวเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ้งประกันที่หัวหน้าครอบครัวทำกันส่วนใหญ่นอกจากประกันภัยและประกันชีวิตที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดีอยู่แล้วนั้น ก็คือ ‘ประกันสุขภาพ’ นั่นเอง แต่ทีนี้สำหรับหัวหน้าครอบครัวที่ทำงานอย่างหนักซึ่งมีโอกาสล้มป่วยได้มากที่สุดแล้วนั้น แค่ประกันสุขภาพอย่างเดียวที่ช่วยรับรองค่าใช้จ่ายต่างๆเมื่อไม่สบายแล้วคงไม่พอ ยิ่งเป็นพนักงานในบริษัทด้วยแล้วนั้นเกิดเจ็บป่วยและต้องนอนโรงพยาบาล ถึงแม้จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล แต่หากจะต้องขาดรายได้เพราะไม่ได้ไปทำงานก็คงจะไม่ต่างกัน

และนั่นก็ทำให้ใครหลายๆคน หัวหน้าครอบครัวหลายๆท่าน คิดว่าถ้าต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและไม่ต้องเสียรายได้ในระหว่างนั้นก็คงจะดี และประกันที่ตอบโจทย์ตรงส่วนนั้นก็มีเหมือนกันที่เราเรียกกันว่า ‘ประกันชดเชยรายได้’ แต่ทีนี้หลายคนมักจะเข้าใจกันผิด คิดกันไปเองว่า ‘ประกันสุขภาพ’ และ ‘ประกันชดเชยรายได้’ นั้นเป็นประกันตัวเดียวกัน ซึ่งต้องขอบอกตรงนี้ก่อนเลยว่า ประกันสุขภาพและประกันชดเชยรายได้นั้นให้ความคุ้มครองและให้ผลประชุมทางกรมธรรม์ที่ต่างกัน ‘ประกันสุขภาพ’ และ ‘ประกันชดเชยรายได้’ ต่างกันยังไง? อยากจะได้ความคุ้มครองจากทั้งประกันสุขภาพและประกันชดเชยรายได้ด้วยได้ไหม? มาดูกันดีกว่า

ประกันชดเชยรายได้คืออะไร?

ประกันชดเชยรายได้คืออะไร?

เพื่อนๆก็คงรู้จักประกันหลากหลายประเภทที่ให้ความคุ้มครองกันคนละแบบ ถ้าเพื่อนๆทำประกันชีวิตไว้ เพื่อนๆก็จะได้รับเงินชดเชยหรือสินไหมทดแทน ถ้าเพื่อนๆทำประกันอุบัติเหตุไว้ ประกันก็จะจ่ายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆและความเสียหายที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นประกันสุขภาพ เมื่อเพื่อนๆเจ็บป่วยและต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อนๆก็สามารถเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้เลย โดยที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้ต่างๆในการรักษาพยาบาล ซึ่งประกันทั้งหมดที่ว่ามาก็ให้ความคุ้มครองแบบนั้น

แต่เมื่อเราคิดถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ต่อให้เราทำประกันภัยแบบต่างๆไว้ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย, ประกันชีวิต, ประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพ ต่อให้เราทำประกันทั้งหมดที่ว่ามาเพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ครอบคุม แต่เราก็ยังมีเรื่องที่ต้องเสียอยู่ดี เพื่อนๆคิดว่าคืออะไรล่ะ? นั่นก็คือรายได้นั้นเอง และประกันชดเชยรายได้ก็จะรับชอบค่าเสียหายตรงนี้ที่เป็นรายได้ของเรา

ประกันชดเชยรายได้ ได้รับเงินชดเชยอะไรบ้าง?

ประกันชดเชยรายได้ ได้รับเงินชดเชยอะไรบ้าง?

ก็อย่างที่ชื่อของประกันบอก ประกันชดเชยรายได้หลักๆแล้วก็ให้เงินชดเชย เมื่อเพื่อนๆต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล อาจจะมาจากการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเมื่อเพื่อนๆประสบอุบัติเหตุแล้วต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่สามารถทำงานอาชีพ ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ ประกันชดเชยรายได้ก็จะรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้น คือ ต่อให้เพื่อนๆต้องนอนโรงพยาบาลนานหลายวัน ไปทำงานไม่ได้ แต่เพื่อนๆจะมีเงินจากประกันชดเชยรายได้ ทำให้เพื่อนๆยังมีรายได้อยู่แม้จะต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและไม่ได้ไปทำงานก็ตาม

แต่ทีนี้ไม่ใช่ว่าเพื่อนๆประสบอุบัติเหตุหรือไม่สบาย ไปนอนโรงพยาบาลวันสองวันแล้วทางบริษัทประกันที่เพื่อนๆไปทำประกันชดเชยรายได้ไว้จะจ่ายเงินที่เป็นรายได้ชดเชยให้ทันที ประกันที่ดูดีแบบนี้ก็ต้องมีเงื่อนไขกันหน่อย ไม่งั้นบริษัทประกันคงได้เจ๋งกันไปจริงๆแน่ และเงื่อนไขที่ว่านั้นอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของเวลา ซึ่งบริษัทประกันแต่ละที่ก็กำหนดเรื่องระยะเวลาไว้ไม่เหมือนกัน บริษัทประกันบางที่ แค่เพื่อนๆเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 ชั่วโมง ก็สามารถเคลมได้แล้ว แต่บางบริษัทก็กำหนดไว้ว่าอย่างน้อยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 วันขึ้นไปถึงจะสามารถเคลมได้

กับอีกเรื่องก็ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการรักษา ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่าแค่พักรักษาตัวเพื่อรอดูอาการ ไม่ใช่พักเพื่อเข้ารับการรักษา เพื่อนๆก็อาจจะเคลมไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดกรมธรรม์ของประกันชดเชยรายได้ตัวที่เพื่อนๆทำ

ปัญหาที่หลายคนเจอ

ปัญหาที่หลายคนเจอ

เมื่อทำประกัน ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพ จะเป็นประกันประเภทไหนก็ตามแต่ ปัญหาอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เจอเลยก็คือ เรามักเข้าใจความคุ้มครองที่จะได้รับจากการทำประกันนั้นผิดไป อาจจะไม่ผิดซะทีเดียว แต่เมื่อเราเคลมแล้วความคุ้มครองอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิด อาจจะมาจากตอนที่คนขายประกันอธิบายไม่ดี (บางทีก็เพราะไม่ได้ให้ข้อมูลเราทั้งหมดด้วย) หรือเราอ่านเงื่อนไขต่างๆไม่ละเอียดพอ ทำให้เมื่อถึงเวลาเคลมประกันเรามักจะรู้เสียความรู้สึก เพราะเรารู้สึกว่าไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนกับที่คุยกันไว้

ซึ่งปัญหาแบนี้ก็มีกับประกันชดเชยรายได้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น วิธีเเก้คือก่อนที่เพื่อนๆจะตัดสินใจทำประกันชดเชยรายได้กับบริษัทใด บริษัทหนึ่ง ให้เพื่อนๆอ่านรายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดีๆ แล้วยกเคสตัวอย่างถามกับพนักงานหรือคนขายประกันเลย อย่างเช่น ถ้าเงื่อนไขในกรมธรรม์บอกว่าเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 6 ชั่วโมงก็สามารถเคลมได้ เพื่อนๆก็ต้องถามต่อเลยว่า แค่อยู่ดูอาการก็เคลมได้ไหม? หรือต้องเป็นการพักฟื้น? 6 ชั่วโมงที่ว่าเคลมได้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? เพื่อจะให้เพื่อนๆได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการทำประกันชดเชยรายได้และไม่รู้ผิดหวังทีหลัง อย่าลืมทำความเข้าใจตัวประกันชดเชยรายได้ดีๆล่ะ

ต้องทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่กับประกันสุขภาพไหม?

ต้องทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่กับประกันสุขภาพไหม?

ถ้าถามว่าควรทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่กับประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตที่ทำไว้รึเปล่า? ก็ต้องมาดูที่ตัวเพื่อนๆเอง ถ้ารู้สึกว่าแค่ค่าสินไหมทดแทนหรือความคุ้มครองที่ได้รับจากการตัวประกันที่ทำไว้ก็พอดีอยู่แล้ว ก็อาจจะไม่ต้องทำประกันชดเชยรายได้ แต่ถ้าเพื่อนๆลองคิดดู ถ้าต้องนอนพักรักษาตัว ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาหรือค่าห้องก็ถือว่าดีอยู่แล้ว แต่ถ้าตอนนี้นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอล้วก็มีเงินเข้าเป็นรายได้ไปด้วย ก็จะดีขนาดไหน! ถ้าไหนๆจะทำประกันทั้งที ไม่ว่าจะเป็นประกันอะไร ก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่ไปด้วยเลยดีกว่านะ!