จากบทความก่อนหน้านี้ MoneyDuck ได้แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ ตราสารหนี้ ตั้งแต่ลักษณะโดยทั่วไปไปจนถึงการแบ่งประเภทตามเกณฑ์ลักษณะผู้ออกสินทรัพย์ทางการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้ MoneyDuck จะขอนำพาทุกท่านมาเจาะลึกในโลกของตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม “หุ้นกู้”

หุ้นกู้ คือ อะไร

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1665039359-business-man-analyzing-stock-market-data-charts-taking-notes-person-working-with-crypto-currency-buy-sell-money-global-investment-computer-financial-exchange-broker.jpg

อย่างที่ทราบกันดีว่า “หุ้นกู้” คือ ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อวัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงินจากภาคประชาชนสำหรับการหมุนเวียนและดำเนินกิจการต่อไป ภายใต้เงื่อนไขการคืนเงินต้นหลังจากตราสารหนี้ดังกล่าวครบกำหนดเวลาของตน ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีอายุตั้งแต่ 3 – 10 ปี ตามแต่กำหนดทำให้สถานะความเป็น “เจ้าหนี้” ของภาคประชาชน จึงค่อนข้างยาวนาน ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างการถือครองตราสารหนี้ เจ้าหนี้ทุกคนจะได้รับดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอจนกว่าตราสารหนี้นี้จะหมดอายุขัย เป็นค่าตอบแทน โดยความถี่ในการจ่ายจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหุ้นกู้ที่แต่ละเอกชนออกจำหน่าย ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เพราะการซื้อขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ถูกกำหนดมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อไว้เสมอ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 100,000 บาทต่อครั้ง สำหรับหุ้นกู้ 100 หน่วย (หุ้นกู้ทุกประเภทจากทุกกิจการในประเทศไทยถูกกำหนดให้ขายในราคาคงที่หน่วยละ 1,000 บาท) เว้นเสียแต่ว่ากิจการนั้นจะต้องการดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป็นเหล่านักลงทุนรายใหญ่ ผู้มากด้วยกำลังทรัพย์และสภาพคล่อง เช่นนั้นจำนวนเงินขั้นต่ำ อันกำหนดเป็นมาตรฐานในการซื้อขายย่อมเปลี่ยนแปลงไป โดยจะถูกปรับให้เหมาะสมกับความสามารถในการลงทุนของกลุ่มลูกค้ารายดังกล่าวแทน

ประเภทของหุ้นกู้ คือ อะไรบ้าง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1665039346-stock-market-graph-financial-data-electronic-board-laptop-screen%20%285%29.jpg

ในความเป็นจริงแล้ว หุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายอยู่ในตลาดมีหลากหลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปจะใช้การใช้สินทรัพย์ค้ำประกันกับสิทธิเรียกร้องจากผู้ออกตราสารหนี้ในกรณีที่กิจการประสบกับภาวะล้มละลายในการจำแนก ซึ่งในแต่ละเกณฑ์สามารถแบ่งประเภทของหุ้นกู้ได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

เกณฑ์การใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน หุ้นกู้ คือ อะไรบ้าง

หุ้นกู้ที่มีหลักประกัน

หุ้นกู้ที่ผู้ออกตราสารนำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ ทำให้ผู้ถือครองหุ้นกู้ ซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสาร มีสิทธิในสินทรัพย์ที่นั้นอย่างเต็มที่ เหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ โดยจะมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานะของสินทรัพย์ดังกล่าว เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ในตราสารเป็นสำคัญ

หุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน

เป็นหุ้นกู้ที่มีลักษณะตรงข้ามกับประเภทก่อนหน้า จากการไม่ปรากฏการวางทรัพย์สินใดๆจากผู้ออกตราสารสำหรับการค้ำประกันการออกตราสารที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้เผชิญหน้ากับความเสี่ยงในกรณีที่ถ้าหากเอกชน ผู้ออกตราสารตกอยู่ในภาวะล้มละลาย เพราะผู้ครอบครองตราสารหนี้ประเภทนี้ จะไม่ได้รับบุริมสิทธิเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆดังเช่นที่ผู้ถือครองตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ที่มีหลักประกันได้รับ เนื่องจากตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากกิจการล้มลาย เจ้าหนี้แต่ละรายจะได้รับสินทรัพย์ตามสิทธิและสัดส่วนของตน การจัดสรรสินทรัพย์จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามวิธีการดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าหนี้รายใดได้สิทธิเหนือสินทรัพย์ใดมากกว่ากัน

เกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องจากผู้ออกตราสารหนี้ ในกรณีที่กิจการประสบกับภาวะล้มละลาย

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1665039673-business-man-counting-dollar-banknote-online-business-concept%20%283%29.jpg

1. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ประสบกับภาวะล้มละลาย ผู้มีกรรมสิทธิ์ในหุ้นกู้ประเภทนี้ของกิจการดังกล่าว มีสิทธิที่จะเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารโดยตรง แต่จะต้องดำเนินการภายหลังจากที่เจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ กระทำการเรียกร้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2. หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

สำหรับผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้ หากกิจการประสบกับภาวะล้มละลาย ผู้มีกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้สามารถใช้สิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารหนี้นี้ได้ทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ ต่างจากหุ้นกู้ประเภทก่อนหน้าที่ผู้ถือครองจะสามารถใช้สิทธิได้ในลำดับรองลงมา

นอกเหนือจากหุ้นกู้ทั้ง 4 ประเภทตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังมีหุ้นกู้อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในตลาดตราสารหนี้ เพราะด้วยลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ที่อนุญาตให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ชนิดนี้สามารถเปลี่ยนหุ้นกู้ที่ตนถือครองอยู่เป็นหุ้นสามัญของกิจการผู้ออกหุ้นกู้ดังกล่าวได้ภายใต้เงื่อนไขอัตราแลกเปลี่ยนทางด้านราคาที่กำหนดไว้ โดยถ้าหากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว สถานะของนักลงทุน ผู้ถือครองหุ้นกู้จะเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของกิจการในทันที หุ้นกู้ประเภทนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “หุ้นกู้แปลงสภาพ” เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุนหุ้นกู้ ที่นี่

แม้การลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับการกล่าวขานในหมู่นักลงทุนว่ามีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำ แต่คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ทุกการลงทุนย่อมต้องเผชิญกับความเสี่ยงเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ต้องแบกจากการนำเงินก้อนใหญ่ไปลงทุนในระยะยาว หรือความเสี่ยงด้านเครดิต ที่อาจประสบในกรณีที่ผลประกอบการของกิจการที่นำเงินไปลงทุนไม่ประสบความสำเร็จจนไม่มีความสามารถในการชำระเงินคืน ด้วยเหตุนี้ ทาง MoneyDuck จึงขอแนะนำบริการผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกบาทที่ลงทุนไปจะงอกเงยอย่างงดงาม ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถกดลิงค์ด้านล่าง เพื่อขอเขารับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง