อีกไม่กี่เดือนก็ใกล้สิ้นปี 65 ที่หลายคนเริ่มมีการวางแผนทั้งเรื่องการลาหยุด เตรียมเสียภาษีและที่ต้องรู้ไม่ควรพลาดอีกเรื่องในปี 66 นี้ คือการขอเปลี่ยนข้อมูลประกันสังคมและเช็คสิทธิ์การเปลี่ยนโรงพยาบาลซึ่งจะมีวิธีการการอย่างไร ยื่นแบบไหน ติดตามสถานะการยื่นช่องทางใด MoneyDuck! จะพาคุณไปคลายช้อสงสัยให้กระจ่างพร้อมกันกับเรา

ประกันสังคมมีมาตราใดบ้าง

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1667528886-Untitled.png

เริ่มต้นกันที่การพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับประกันสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม First Jobber ที่เริ่มทำงานอาจจะยังงง ๆ ว่าจริง ๆ ประกันสังคมนั้นมีกี่มาตราและเราอยู่มาตราไหน

  1. มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

    หมายเหตุ: กลุ่ม First Jobber ที่ยังคงทำงานประจำในบริษัทฯ หรือองค์กรจะอยู่ในมาตรา 33 โดยหากนายจ้างมีการส่งรายชื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม

  2. มาตรา 39 จะเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

    โ่ดยต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ

  3. มาตรา 40 จะเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไป หรือแรงงานอิสระ (Freelance) ซึ่งไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนโรงพยาบาล

https://img.moneyduck.com/article_attachment/1667528881-Untitled%20%281%29.png

ต่อมาจะเป็นการพูดถึงหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ดังนี้

  1. สิทธิ์ในการเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถทำได้ในช่วงระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. - 31 มี.ค.ของปีถัดไป
  2. หากต้องการเปลี่ยนสิทธิ์โรงพยาบาลระหว่างปี (กรณีมีเหตุจำเป็น) เช่น ย้ายสถานที่ทำงาน ย้ายที่พักอาศัย หรือเป็นการพิสูจน์ได้ว่าผู้ประกันตนมิได้เลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองให้สามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 30 วัน

ช่องทางการยื่นเปลี่ยนโรงพยาบาล

ส่วนช่องทางการในการยื่นเพื่อเปลี่ยนสถานโรงพยาบาลสามารถทำได้ 3 ช่องทางในปัจจุบันได้แก่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมและผ่านแอพลิเคชั่นซึ่งสามารถเปลี่ยนข้อมูลประกันสังคมเกี่ยวกับรายละเอียดทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน

  1. เว็บไซต์ของประกันสังคม

    • เข้าเว็บไซต์ https://www.sso.go.th แล้วทำการสมัครสมาชิกสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน
    • สำหรับผู้ที่เคยเป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารคลิกเพื่อยื่น “เปลี่ยนสถานพยาบาล” โดยเลือกเหตุผลการเปลี่ยนโรงพยาบาล
    • จากนั้นให้เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการ แล้ว Click ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง
    • แล้วกดบันทึก แล้วรอการอนุมัติว่าเปลี่ยนโรงพยาบาลได้หรือไม่

    หมายเหตุ: ควรมีรายชื่อโรงพยาบาลสำรองลำดับที่ 2 และ 3 เผื่อลำดับแรกที่เลือกไปอาจจะสิทธิ์เต็ม

  2. Application SSO Connect

    • ดาวน์โหลดแอป SSO Connect ได้ที่ App Store และ Andriod
    • จากนั้นให้ลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชนแล้วรอยืนยันตัวตนผ่านระบบ OTP ที่ส่งไปยังอีเมล์ หรือหมายเลขโทรศัพท์
    • เข้าไปเลือกเมนู "เปลี่ยนโรงพยาบาล" เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการ กดยืนยันและรอตรวจสอบ

    หมายเหตุ: การขอเปลี่ยนโรงพยาบาลจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันทำการ

  3. สำนักงานประกันสังคมแต่ละจังหวัด

    โดยคุณไปติดต่อเพื่อดำเนินการเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมของแต่ละจังหวัดที่คุณทำงาน หรือพักอาศัยในวันเวลาราชการ

ตรวจสอบสิทธิสถานพยาบาลได้ที่ไหน

ทิ้งท้ายด้วยการตรวจสอบสิทธิ์หลังจากมีการเปลี่ยนข้อมูลประกันสังคมซึ่งสำหรับข้อมูลทั่วไป เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เพศ อายุจะสามารถเปลี่ยนในระบบได้ทันที ส่วนเปลี่ยนชื่อนามสกุลอาจจะต้องมีการเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วอัพโหลดลงในระบบเช่นเดียวกับการขอเปลี่ยนสิทธิสถานพยาบาลซึ่งสามารถตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ได้ที่

  • Line Official Account ของสำนักงานประกันสังคม (@ssothai)
  • www.sso.go.th
  • Application SSO Connect
  • เครื่อง Smart kiosk ของกระทรวงมหาดไทย
  • สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

การขอเปลี่ยนข้อมูลประกันสังคมและสิทธิโรงพยาบาลประกันสังคมนั้นทำได้ไม่ยากเพียงแค่เข้าไปในเว็บไซต์ ดาวน์โหลดแอพ SSO Connect หรือไปสำนักงานประกันสังคมก็สามารถดำเนินการได้ทันทีซึ่งก็รอเพียงแค่การอนุมัติโดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1 สัปดาห์ซึ่งสำหรับบางข้อมูลการแก้ไขก็สามารถทำได้ทันที

ซึ่งถ้าหากมีข้อสงสัย หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิ์ประกันสังคมก็สามารถสอบถามตามช่องทางทั้งหมดที่ได้กล่าวมา หรือสำหรับใครที่กำลังมองหาแพ็ตเกจดูแลด้านสุขภาพ ประกันภัยที่สามารถเบิกจ่ายและครอบคลุมมากกว่าประกันสังคมก็สามารถมาปรึกษาเรื่องการลงทุนและผลิตภัณฑ์ด้านการเงินต่าง ๆ กับ MoneyDuck! ได้ทันทีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย