เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะตกต่ำ อยู่ในช่วงชะลอการเติบโต รวมถึงมีอัตราประชาชนว่างงานเยอะ และค่าครองชีพเพิ่มขึ้นสูง ประกอบกับเกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกขาลง ลองมาฟังการวิคราะห์เศรษฐกิจในภาพรวมปี 2566 จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำกันเลย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ที่นี่
มุมมองภาวะเศรษฐกิจ 2566 จาก 4 บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ
เริ่มต้นปี ก็ต้องมีการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจกันหน่อย เพื่อให้นักลงทุนหรือผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถคาดการณ์ได้ว่าควรดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกรรมไปในทิศทางไหน ซึ่งเราได้นำเอาวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจ 2566 จาก 4 บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ มาฝากทุกคน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
บลจ.ไทยพาณิชย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีกทั้งราคาน้ำมันยังไม่ฟื้นตัว จึงมีผลอาจทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรลดลงในตลาดอีก 6 เดือนข้างหน้า ช่วงนี้ตลาดภาพรวมอยู่ในภาวะขาลง ทำให้เกิดปัจจัยบวกในการลงทุนในตราสารทุน และการลงในทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ กำลังปรับตัวลดลง เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว แต่ถ้ามองในระยะสั้นจะมีความผันผวน รวมถึงมีการปรับของตอกเบี้ยเฟดทำให้ตลาดถูกลง ช่วยให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นในช่วงกลางปี มีแนวโน้มเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในทิศทางที่ดีกว่าปีที่แล้ว ส่วนการเปิดประเทศจะส่งผลดีต่อการใช้จ่ายของคนทั่วไปในสินค้ากลุ่มการท่องเที่ยวและการบริโภคเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำกำไรได้ดีเกินคาด
ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ในปี 2565 เศรษฐกิจโลกมีการชะลอการเติบโตจาก 3.2% ในปี 2565 สู่ 2.7% ในปี 2566 ก่อนจะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยสู่ 3.0% ในปี 2567-2568 ยังมีปัจจัยที่ยังกดดันเศรษฐกิจอยู่ในเรื่องของสงครามรัสเซีย-ยูเครนนำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าและวิกฤตพลังงานที่ยังยืดเยื้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงในปี 2565 – 2566 เพื่อคุมเงินเฟ้อ และเกิดภาวะตึงตัวในตลาดการเงิน โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจโลกเสี่ยงจะซบเซารุนแรงในปี 2566 การชะลอตัวของอุปสงค์โลกจะช่วยบรรเทาอาการแรงกดดันของเงินเฟ้อ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2566-68 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวในปี 2566 เป็น 1.0% และปี 2567 เป็น 1.2% ก่อนจะกระเตื้องขึ้นสู่ 1.8% ในปี 2568 อัตราเงินเฟ้อพุ้งเกิน 8.0% ในช่วงไตรมาส 2-3 ปี ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะอยู่ที่ 5.0-5.25% ณ สิ้นปี 2566 โดยจะส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัว
เศรษฐกิจยุโรปจะเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่ค่อนข้างรุนแรงและยืดเยื้อนานวัน โดยคาดว่าช่วงปี 2566-2568 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.4% ต่อปี อันเป็นมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัญหาขาดแคลนพลังงาน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น
บลจ.กสิกรไทย
เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2566 ที่มาจากธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ที่ชะลอลง ทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวน ขณะที่เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้จุดสูงสุด ทำให้ราคาตราสารหนี้เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยต้องคำนึงจึงปัจจัยต่าง ๆ อีกด้วย เช่น ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ ความคืนหน้าการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ของจีน รวมถึงการเลือกตั้งของไทย
คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปจะสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 ในช่วงครึ่งแรกของปี จะเห็นสัญญาณตัวเลขเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และมีการคาดการณ์ปรับกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะลง ในขณะที่ Fed ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ยังต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อต่อไป
ในปัจจุบันตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้มีภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวลง จึงต้องรอสัญญาณหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed รวมถึงการชะลอตัวเศรษฐกิจและการปรับกำไรบริษัทลงอย่างต่อเนื่องว่ามีมากน้อยเพียงใด ส่วนในฝั่งยุโรปก็มีความไม่แน่นอน มีโอกาสจะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจก่อนประเทศ จึงควรรอจังหวะกลับเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป เมื่อเริ่มมีสัญญาณดอกเบี้ยใกล้หยุดปรับขึ้นต่อ และความกังวลในเศรษฐกิจถดถอยทำให้การคาดการณ์ว่ากำไรลงไประดับหนึ่ง
Krungthai COMPASS
เป็นปีที่มีความเสี่ยงของการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจ (Transition Risk) ซึ่งเป็นปีแห่งความท้าทายหลายอย่าง หลายประเทศให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องปรับตัวให้ทันกระแสโลกที่เปลี่ยนไป หลังจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวไปสู่ภาวะชะลอตัว บางเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากภาวะเงินที่ตึงตัวตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
โดยในปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะมีการเติบโต 3.4% โดยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 22.5 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทยังเผชิญกับความผันผวนจากนโยบายการเงินของสหรัฐฯ อีกทั้งอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนโยบายทางมาตรการทางการเงินสู่ภาวะปกติ ทั้งในเรื่องธนาคารแห่งประเทศไทยปรับค่าธรรมเนียม FIDF ลงเท่าเดิมที่ระดับ 0.46% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา
ควบคู่ไปกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.00% ณ สิ้นปี 2566 เพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง จึงเป็นปีที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ โดย Krungthai COMPASS แนะนำให้ผู้ประกอบการรับมือกับการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านหลายมติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจผันผวนสูง พร้อมรับมือกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและนโยบายที่มุ่งหวังให้ไทยสู่เศรษฐกิจ BCG ให้สอดคล้องกับลูกค้าและนักลงทุน
เมื่อทราบมุมมองจากนักวิเคราะห์กันไปแล้ว ก็เตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ ด้วยการปรับตัวให้ทันกระแสโลกที่เปลี่ยนไป และควรวางแผนตั้งรับ โดยการชะลอการลงทุน ประหยัด และมองหาหนทางใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง สังคม องค์กร และประเทศ เพื่อจะผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ ต้องการขอคำแนะนำด้านวางแผนการเงิน สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้นะคะ
บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่