ใครหลายคนคงรู้จักบัตรเครดิตเพราะว่าบัตรเครดิตนั้นมีประโยชน์มากมายหลายอย่างอย่างเช่นเราสามารถซื้อสินค้าและบริการได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินทันทีและยังสามารถถอนเงินสดมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินและสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลด้วยแต่อย่างไรก็ดีผู้ที่ใช้บัตรเครดิตนั้นจะต้องรู้จักใช้อย่างมีวินัยและมีกฎอย่างเคร่งครัดเพื่อจะใช้เพื่อไม่ให้เกิดหนี้ด้วยให้เหมาะกับสภาพการณ์และความสามารถในการชำระหนี้ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะทำให้เราก่อนนี่โดยไม่รู้ตัว

บัตรเครดิตนั้นหากว่าเรารู้จักวิธีการใช้งานมันให้เป็นถูกวัตถุประสงค์จริงๆ มันก็มีแต่จะได้ประโยชน์ทั้งนั้น แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความมีวินัยทางการเงินของคุณเองด้วย และต้องรู้จักวิธีการบริหารเงินที่มีอยู่ เพราะการที่เรามีบัตรเครดิตนั้นช่วยให้เราไม่ต้องพกเงินสดติดตัวตลอดเวลา หากแต่ว่าเราต้องรู้จักประมาณการค่าใช้จ่ายให้ดี และอีกอย่างบัตรเครดิตก็ยังเป็นตัวช่วยในการจัดการบันทึกรายรับรายจ่ายของเรา เพราะในรายการใช้บัตรก็จะมียอดการใช้งานต่างๆบอกให้อยู่แล้ว ถือเป็นการทำบัญชีการใช้เงินของเราไปด้วยในตัว อีกทั้งยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆตามมาอีก เห็นไหมว่าบัตรเครดิตนั้นถ้าใช้ให้เป็นก็มีข้อดีมากมาย และจะได้ประโยชน์มากขึ้น หากคุณรู้ทันและสามารถจัดการกับการใช้บัตรนั่นเองค่ะ

ดังนั้นให้เรามาอ่านบทความนี้ด้วยกันเพื่อจะทำให้เรารู้ทันบัตรเครดิต ดังต่อไปนี้ค่ะ

ใช้จ่ายอย่างระวัง

ใช้จ่ายอย่างระวัง

การใช้จ่ายอย่างระวังนั้นมีอยู่ 4 อย่างด้วยกันที่รวมถึงในหลายๆอย่างด้วย

1.พยายามที่จะไม่ติดหนี้บัตรเครดิตเพราะว่าในหลายคนอาจจะสงสัยว่าถ้าแม่ติดหนี้บัตรเครดิตแล้วจะมีบัตรเครดิตไว้ทำไมล่ะงั้นก็คงไม่ต้องใช้กันเลยล่ะสิจริงๆแล้ว พยายามที่จะไม่ติดหนี้บัตรเครดิตเพราะว่าในหลายคนอาจจะสงสัยว่าถ้าแม่ติดหนี้บัตรเครดิตแล้วจะมีบัตรเครดิตไว้ทำไมล่ะงั้นก็คงไม่ต้องใช้กันเลยล่ะสิจริงๆแล้วสำหรับข้อห้ามนี้ เราไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่ให้คุณรู้ใช้บัตรเครดิตเลยแต่เมื่อเราได้ เอาบัตรเครดิตรูดไปแล้วมียอดการใช้งานเมื่อไหร่ให้คุณรีบจัดการปิดยอดเงินให้เร็วที่สุดเพราะว่าถ้าหากเราให้มีบินมาเรียกเก็บที่บ้านยอดนั้นจะมาพร้อมกันกับดอกเบี้ยอาจจะมีค่าธรรมเนียมจากการใช้งานอื่นๆแล้วแต่ว่าบัตรเครดิตมีข้อแม้อย่างไรค่ะ หรือถ้าหากว่าเราจำเป็นจะต้องใช้บัตรซื้อของที่เป็นเงินก้อนใหญ่จริงๆ ในระหว่างเดือนก็ไม่สามารถจะนำเงินมาปิดยอดไก้เพราะต้องเอาไว้ใช้ ก็พอจะอะลุ้มอะล่วยให้ไปปิดยอดตอนรอบบิลมาแล้วเงินเดือนออกเลยก็ได้ แต่นะนำว่าให้จ่ายให้หมดทั้งก้อนจะดีที่สุด เราจะไม่ติดกับดักดอกเบี้ยของบัตรเครดิต ไม่แน่นำให้ผ่อนตามอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้เรายิ่งมีหนี้มากขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเองค่ะ

2.ไม่ควรทำบัตรเครดิตใหม่ เพราะมันจะทำให้คุณตกอยู่ในวังวลแห่งหนี้ ที่มีบัตรเครดิตใบเล็กๆนี่แหละคอยควบคุมอิสรภาพทางการเงินของคุณอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจุดประสงค์ในการเปิดบัตรเครดิตของคุณจะคืออะไร ถ้าหากเรายังสามารถจัดการกับบัตรใบเดียวที่มีอยู่ได้ ก็ไม่ควรจะไปเปิดบัตรเครดิตเพิ่มอีก ถึงแม้คุณคิดว่าบัตรเครดิตใบนี้คุณจะจัดการมันอยู่มันอยากได้บัตรอื่นหรือวงเงินเพิ่มตามมาใช้มากขึ้นก็อย่าคิด จะไปเปิดบัตรใหม่นะคะเพราะว่านั่นจะทำให้คุณมีประสิทธิภาพในการจัดการหนี้ลดลงและถ้าหาก มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือมีประวัติเครดิตที่ดีให้เราไปคุยกับธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อขอเพิ่มวงเงินเอาจะดีกว่านะคะ

3.การเปิดบัตรเสริม ที่บอกว่าการเปิดบัตรเสริมเป็นหนึ่งในข้อห้ามในการใช้บัตรเครดิตก็เพราะว่า เมื่อคุณเปิดบัตรเครดิตเสริมให้คนอื่นไปแล้ว คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเขาคนนั้นจะจัดการปิดยอดหรือน้อยที่สุดคือชำระยอดขั้นต่ำครบและตรงเวลาทุกเดือน เพราะอย่าลืมว่าชื่อหลักของบัตรนั้นจะยังเป็นชื่อของคุณอยู่ หรือแม้แต่คุณเปิดบัตรเสริมที่เป็นชื่อคนอื่นเลย สุดท้ายแล้วหากเขาไม่จ่าย ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตก็จะมาเรียกเก็บยอดการใช้งานจากคุณอยู่ดีค่ะ หากคุณไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินได้สองบัตรพร้อมๆกัน หรือไม่มั่นใจว่าคนที่เปิดให้จะสามารถดูแลบัตรนั้นได้จริงๆ เราก็ควรที่จะไม่เปิดบัตรเสริมดีกว่าค่ะ

4.ควรกดเงินสดจากบัตรเครดิตออกมาใช้เป็นอันขาด แม้ว่าจะรู้ทั้งรู้ว่าธนาคารมีofferนี้ให้มาในบัตรด้วย เพราะการกดเงินสดจากบัตรเครดิตนั้น คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารในอัตราที่สูง และที่สำคัญก็คือค่าธรรมเนียม 3% ที่เรียกเก็บจากการกดเงินออกมาให้ในแต่ละครั้ง นั่นหมานความว่ายอดหนี้ของคุณจะเพิ่มมากกว่าจำนวนเงินที่กดจริง และถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงทีเดียวค่ะ

การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต

การคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต

แต่ในการรูดบัตรแต่ละครั้งนั่นหมายความว่าจะต้องมีดอกเบี้ยตามมาเมื่อจ่ายไม่ทันกำหนดหรือมีการแบ่งจ่าย ดังนั้นเพื่อคงประสิทธิภาพให้วินัยทางการเงินของคุณ เราลองมาทำความรู้จักกับดอกเบี้ยบัตรเครดิต โดยการคิดคำนวณเพื่อที่จะได้ใช้บัตรเครดิตอย่างมีประโยชน์ค่ะ

กรณีที่ชำระค่าสินค้าไม่เต็มจำนวนหรือทยอยผ่อนชำระ และไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0% หรือกรณีที่มีการเบิกถอนเงินสดมาใช้จ่ายล่วงหน้า แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกิน 20% ต่อปี ซึ่งการคิดดอกเบี้ยทั้งสองรูปแบบสามารถคำนวณได้ โดยปกติแล้ว เมื่อมียอดบัตรเครดิตมา จะมีช่องข้างๆแจ้งว่า ชำระเงินขั้นต่ำจำนวนกี่ % เป็นเงินเท่าไหร่ นั่นก็ขึ้นอยู่กับทางธนาคารของบัตรเครดิตนั้นๆว่าเท่าๆไหร่ ส่วนมาก 20-25% ตัวอย่างเช่นเมื่อคุณ ใช้บัตรเครดิตในวันที่ 5 ต.ค.เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท สรุปยอดใช้บัตร วันที่ 25 ของทุกเดือน (ระยะเวลาหลังจากสรุปยอดประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งจะแจ้งเตือนก่อนผ่าน SMS หรือ Email เพื่อให้เรามีเวลาหาเงินมาชำระก่อนวันสุดท้ายของการเรียกเก็บเงิน) และวันที่ 8 พ.ย. เป็นวันที่มีบิลมาเรียกเก็บเงินถึงบ้านหรือข้อความแจ้งเตือนเพื่อให้คุณชำระเงิน

หากคุณเลือกที่จะชำระขั้นต่ำในวันที่ 8 พ.ย.(10%) = 2,000 บาท ดอกเบี้ยเงินต้นที่เกิดจะคำนวณ 2 ขั้น รวมกัน ขั้นที่ 1 วันที่ใช้บัตรเครดิต ถึง วันที่ปิดยอดบัตรเครดิต 5 – 25 ต.ค. 20,000 x 20% x 21 วัน / 365 วัน =230.14 บาท ขั้นที่ 2 วันถัดจากวันที่ปิดยอด – วันที่ค้างชำระ 26 ต.ค. – 8 พ.ย. 20,000 x 20% x 14วัน / 365 วัน = 153.42 บาท

แต่เมื่อชำระขั้นต่ำต่อไปเรื่อยๆ จะนำเงินต้นมาหักออก 2,000 เป็น 18,000 และคิดดอกเบี้ยในรูปแบบเดิมคือคิด 20%จากวันที่เรียกเก็บชำระย้อนหลัง ถึงวันที่ชำระเงินจริง โดยคำนวณเหมือนข้างต้น ดอกเบี้ยบัตรเครดิต จะไม่ลดลงตามเงินต้น เพียงแค่คูณวันเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เราจะชำระเท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อเรามีความสามารถหาเงินมาชำระได้เร็วที่สุดเราก็จะเสีย ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ไม่เยอะมากเท่าไหร่ ทางที่ดี ไม่มีดอกเบี้ย เครดิตทางการเงินของเราก็จะดีไปด้วย ซึ่งมีผลต่อการพิจารณางวงเงิน การกู้เงินต่างๆนั่นเองค่ะ

ตรวจสอบและศึกษาเงื่อนไข

ตรวจสอบและศึกษาเงื่อนไข

เราในฐานะผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองจากทางราชการในระดับหนึ่ง แต่ในการใช้บัตรเครดิตนั้น หากใช้ในทางที่ดี ก็จะมีประโยชน์มากมาย แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจเกิดผลไม่ดีตามมาได้ ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องพื้นฐานบางเรื่องก่อนจะสมัครบัตรเครดิตกันค่ะ

ต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่กำหนด - คนที่จะทำบัตรเครดิตได้จะต้องมีรายได้ประจำรวมกันไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือหากไม่มีรายได้ประจำ (เช่น ทำธุรกิจส่วนตัว) ก็ต้องมีเงินฝากระดับหนึ่ง เช่น มีเงินฝากประจำกับธนาคารไม่น้อยกว่า 500,000 บาทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เป็นต้น

2.วงเงินที่จะได้รับอนุมัติให้ใช้ได้ - หากเราขอบัตรเครดิต วงเงินสูงสุดที่เราจะได้รับอนุมัติสำหรับการซื้อสินค้า และบริการจะไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน หรือไม่เกิน 10% ของยอดเงินฝากเสมอตามกฎแบงค์ชาติ

3.ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี - บัตรเครดิตแต่ละธนาคารจะคิดแตกต่างกัน โดยการเรียกเก็บจะขึ้นอยู่กับประเภทของบัตรเครดิต ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ

800 - 1,000 บาท สำหรับบัตรพื้นฐาน 1,500 - 2,000 บาท สำหรับบัตรระดับกลางกึ่งสูง 4,000 - 8,000 บาท สำหรับบัตรระดับสูง

  1. เครือข่ายบัตรเครดิต - ปกติบัตรเครดิตทุกใบ (ไม่ว่าจะออกโดยธนาคาร หรือ Non-Bank ก็ตาม) จะต้องอยู่ภายใต้เครือข่ายของ "ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต" ซึ่งผู้ให้บริการรายหลักๆ ของโลกก็มี Visa, Master Card, JCB, Union Pay ซึ่งเราจะใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการได้ที่ร้านค้าที่รับบัตรเครดิตในเครือข่ายบัตรเครดิตเดียวกันเท่านั้น

5.ระยะเวลาชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ย (Grace Period) - ปกติเราใช้บัตรเครดิตกันก็เพราะเราได้เครดิตไม่ต้องชำระเงินสดทันที คำถามว่าเครดิตนานแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่ธนาคารผู้ออกบัตรไม่คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ผู้ถือบัตรชำระผ่านบัตรเครดิตนั่นเอง

6.การเบิกเงินสดล่วงหน้า (Cash Advances) - ถือเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่เราสามารถใช้ได้โดยการกดจากตู้ ATM หรือเบิกจากเคาน์เตอร์ธนาคารได้ โดยจะคิดดอกเบี้ยทันทีนับจากวันที่กดเงินสดออกไป

7.จำนวนผ่อนชำระขั้นต่ำ - หากถึงเวลากำหนดชำระแต่ละงวดแล้วท่านมีเงินไม่พอ ท่านสามารถชำระขั้นต่ำได้ในงวดนั้น โดยจะต้องชำระไม่น้อยกว่า 10% ของยอดคงค้างงวดนั้น

8.ดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม - หากท่านใช้บัตรเครดิตเบิกเงินฉุกเฉินล่วงหน้าจากตู้ ATM หรือท่านใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า แล้วต่อมาจ่ายไม่ครบเต็มตามจำนวนในแต่ละงวด ท่านจะต้องจ่ายดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือค่าปรับตามอัตราที่ผู้ออกบัตรเครดิตกำหนด

ทำความเข้าใจกับคู่มือของบัตรเครดิต

ทำความเข้าใจกับคู่มือของบัตรเครดิต

1.ไม่ใช้จ่ายเกิน 30% ของวงเงินบัตรเครดิต

ตัวอย่างเช่น หากคุณได้วงเงินบัตรเครดิต 50,000 บาท ก็ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในแต่ละเดือนเพียง 30% ซึ่งก็คือ 15,000 บาท โดยสามารถติดต่อธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อจำกัดการใช้วงเงินบัตรเครดิตของคุณได้ 2.การชำระบิลบัตรเครดิตเต็มจำนวน จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลยแม้แต่บาทเดียว ถือเป็นวิธีที่ชาญฉลาดที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินทุกสำนักแนะนำ

3.นอกจากการชำระเต็มจำนวนแล้ว การชำระให้ตรงเวลาก็สำคัญ หากคุณไม่ต้องการให้ประวัติการเป็นหนี้ของคุณด่างพร้อย เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าหากประวัติไม่ดี จะกู้หนี้สินอะไรในอนาคตก็ยากแล้ว

สรุป

สรุป

ดังนั้น จากที่เราได้อ่านไปก็ทำให้เรารู้ว่าบัตรเครดิตนั้น เราจะรู้ทันมันได้ถ้าหากเรามีวินัยอย่างเคร่งครัดกับตัวเองเราก็จะ ใช้บัตรเครดิต ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ หวังว่าหลายๆคนที่กำลังเริ่มใช้บัตรเครดิต จะนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อ เป็นประโยชน์ กับตัวคุณเองด้วยค่ะ