เมื่อพูดถึงการถูกยึดทรัพย์ ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากเนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงกับกลุ่มลูกหนี้และเจ้าหนี้พอสมควร หนี้เป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนมีความทุกข์ และเครียดกับปัญหานี้จริงๆ แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราก่อขึ้นมากเอง ถึงแม้เราจะจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็สามารถก่อหนี้ได้ทั้งนั้น ดังนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราจะต้องตระหนักว่า หนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่มีความสุขแต่กลับมีปัญหมากกว่าเดิม ทำให้ยากที่เราจะใช้ชีวิตแบบสงบ จึงจะต้องรู้ก่อนว่า เมื่อเรามีหนี้สินเราจะต้องรู้อะไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องซีเรียสจริงๆ เพราะไม่อย่างนั้นปัญหาที่ตามมาจะต้องมากกว่าเดิม ให้เรามาแก้ปัญหาตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า ดังนั้นเราจะมาดูว่า หลักการยึดทรัพย์มีอะไรบ้าง? หลักการอายัดเงินมีอะไรบ้าง? และส่วนที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถยึดได้มีอะไรบ้าง? ให้เรามาดูหลักการต่อไปนี้กัน

หลักการยึดทรัพย์

หลักการยึดทรัพย์

ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าหลักการยึดทรัพย์มีอะไรบ้าง ให้เรามาดู 2 หลักการดังนี้

1.อย่างแรกคือ ทรัพย์สินที่เป็น เครื่องใช้ในครัวเรือน สิ่งของใช้จำเป็นในชีวิต เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด แต่ถ้าเป็นของที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น เครื่องเพชรเครื่องพลอย สิ่งของเหล่านี้ไม่สามารถมีสิทธิ์ที่จะยึดได้ ถ้าหากจะยึดสิ่งของจะต้องเป็นสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตเจาหนี้สามรถยึดได้ เพาะลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้ในการใช้ชีวิต

2.อย่างที่สองคือ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องมือเครื่องจักรในการดำเนินกิจการ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถยื่นเรื่องร้องขอต่อศาลให้งดเว้นได้นั่นเอง

หลักการอายัดเงิน

หลักการอายัดเงิน

นอกจากนี้ ยังมีหลักการอายัดเงินที่ต้องรู้ มี 9 ข้อดังนี้

1.หากเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจหรือบริษัททั่วไปที่มีเงินเดือนเกิน 20,000 บาท จะถูกอายัดได้ไม่เกิน 30% ของเงินเดือน แต่ถ้าหลังจากหัก 30% แล้วลูกหนี้เหลือเงินไม่ถึง 20,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถหักเต็ม 30% ได้ ต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ไว้ใช้จ่าย 20,000 บาท แต่ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนไม่เกิน 20,000 บาท ก็จะได้รับการงดเวินไม่ถูกอายัดเงินเดือน โดยลูกหนี้ที่เป็น ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการ จะได้รับงดเว้นไม่ถูกอายัดเงินเดือนเช่นกัน หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซนต์การอายัดเงินเดือนได้นั่นเอง 2. เงินโบนัสสามารถอายัดได้ไม่เกิน 50% 3. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัดได้เต็ม 100% 4. เงินค่าตอบแทน ค่าสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง เจ้าหนี้จะสืบทราบและทำการร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไร 5. บัญชีเงินฝาก เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ทั้งหมด 6. เงินค่าวิทยฐานะ ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน 7. หุ้น กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้ 8. เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท หากเจ้าหนี้สืบทราบว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ใด สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้ 9. ในกรณีที่ลูกหนี้เปิดบริษัท โดยร่วมทุนกับผู้อื่นในการเปิดบริษัท หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์ กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด

ส่วนที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถยึดได้

ส่วนที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถยึดได้

อย่าพึ่งกังวลไปว่าทุกอย่างของเราจะหายไปหมด เพราะมีบางอย่างเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้ก็มีด้วย พอฟังแล้วจะเครียดลงหน่อยแต่อย่างไรก็ต้องรับผิดชอบหลายอย่างอยู่ดี ให้เรามีดู 2 อย่างนี้ที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดได้

  1. เงินกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ กบข.
  2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่ พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้กำหนดเอาไว้

สรุป:เจ้าหน้าที่ยึดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

สรุป:เจ้าหน้าที่ยึดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

คำตอบคือ มีสิทธิยึดได้แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะยึดได้ มาสรุปกันสั้นๆดังนี้ สิ่งที่ยึดได้ คือ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้ครัวเรือน และเครื่องมือทำมาหากิน และอายัดเงิน เงินเดือนเกิน 20,000 บาท จะถูกอายัดได้ไม่เกิน 30% ของเงินเดือน แต่ถ้าหลังจากหัก 30% แล้วลูกหนี้เหลือเงินไม่ถึง 20,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถหักเต็ม 30% ได้ ต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ไว้ใช้จ่าย 20,000 บาท และยังมีอีก 8 ข้อที่เราได้อ่านไปนั่นเอง แต่สิ่งที่ไม่สามารถยึด คือ ได้เงินกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราช การกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้นเมื่อเราได้รู้ไปทั้งหมดแล้ว เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวจริงๆ แต่ในเมืองมันเกิดขึ้นแล้วเราจะต้องลุกขึ้นมารับผิดชอบสิ่งนี้ให้ได้ เป็นทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ ถึงแม้เป็นเรื่องยากเราก็ต้องอดทนทำจนหมดไป และถ้าหมดไปเราจะต้องเริ่มต้นใหม่จะๆไม่สร้างหนี้อีก จัดการบริหารการเงินเป็นระเบียบจะทำให้ชีวิเราง่ายขึ้นมากนั่นเอง