เพื่อนๆ เคยได้ยินกันบ้างไหมว่า ‘ออมก่อนรวยก่อน ออมมากกว่ารวยมากกว่า!!’ นี่เป็นเรื่องจริง เพราะว่าตัวเลขมันไม่มีลิมิต ถ้าเราอยากบรรลุเป้าหมายทางการเงินไวแค่ไหน ก็ต้องออมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นล่ะ ยิ่งออมเงินตั้งแต่อายุยังน้อยก็ยิ่งดี. แต่ว่าปัญหาจริงๆก็คือ เรื่องค่าใช้จ่ายที่หลายๆคนมีนั้นค่อนข้างมาก เงินเดือนหรือรายได้เข้ามาแค่ไหนก็ไหลออกตลอดเหมือนกัน บางทีเงินเดือนยังไม่มาก็มีงบรอพร้อมออกแล้ว ดังนั้น เราต้องไม่ติดกับดักแบบคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าผลตอบแทนทั้งหลายจะกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม จะสำเร็จผลไม่ได้เลยถ้าเราไม่มีการแบ่งเงินมาเก็บไว้บ้าง เงินออมจึงสำคัญมากๆ เพราะโดยปกติรายได้แม้มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่เคยออมเลย รายจ่ายมากอยู่แล้ว เราก็จะไม่รวยขึ้นสักที วันนี้จึงชวนมาลองเช็คลิสว่า เราควรออมเงินคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ดี พร้อมตัวอย่างต่างๆที่ช่วยเห็นภาพ

20 %

20 %

ถ้าเราแบ่ง 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เพื่อจ่ายกับการลงทุนและความสุขในระยะยาว เช่น จำนวนเงิน 3,000 บาท จากเงินเดือน 15,000 บาท เป็นต้น  นี่จะเป็นส่วนในการเริ่มสร้างความมั่งคั่งในอนาคตได้ โดยอาจจะเป็นการเก็บออม หรือลงทุนต่างๆเพิ่มเติมเพื่อให้เงินได้งอกเงย เปรียบเหมือนกับการที่เราจะค่อยๆ รดน้ำให้กับต้นไม้เพื่อหวังผลในวันข้างหน้านั่นแหละ ซึ่งการออมก็มีให้เลือกอีกหลายวิธีอีก ไม่ว่าจะเก็บใส่กระปุก , ฝากธนาคาร , ซื้อกองทุนตราสารหนี้ หรืออะไรอื่นๆก็ทำได้ตามสะดวกของแต่ละคน แต่ที่ไม่ลืมคือมีความพยายามจะเก็บเงิน อาจใช้ระบบเหลือก็ค่อยเก็บ แต่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการออม ลองใช้ระบบวิธีแบ่งส่วนเงินตั้งแต่วันที่เงินเดือนออกเลย หัก 20% เข้าบัญชีเงินออมทันทีที่เงินเดือนออก , ส่วนที่เหลือ แบ่งเป็น 50% สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าข้าว, ค่าเดินทาง, ค่าที่พัก อีก 30% ก็แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายตอบสนองความต้องการของตัวเอง เช่น ค่าเสื้อผ้า, ค่าอาหารมื้อหรู ก็ได้ พอทำแบบนี้แล้วเราก็ไม่เครียดจนเกินไป แบ่งเงินเป็นสัดส่วนมากขึ้น และป้องกันปัญหาการใช้เงินเกินได้ หลายคนจึงเลือกวิธีนี้

30 %

30 %

อันนี้เป็นสัดส่วนที่เราจะแบ่ง 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจ่ายในสิ่งที่ต้องการ เช่น จากจำนวน 4,500 บาท จากเงินเดือนทั้งหมด 15,000 บาท เป็นต้น ในส่วนนี้จะมีส่วนที่ยืดหยุ่นได้เพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง เช่น การซื้อเสื้อผ้า ซื้อสิ่งของที่ต้องการ หรือการกินอาหารมื้อพิเศษ  คล้ายๆ เหมือนเป็นการให้รางวัลแก่ตนเองอยู่ด้วยได้ แต่ก็ต้องระวังตัวไม่ลืมควบคุมไม่ให้ค่าใช้จ่ายเกินกว่ากำหนด โดยอาจคำนวณทำบัญชีค่าใช้จ่ายและรายได้ของตนเองออกมาก่อนก็ได้ สมมติว่าตั้งไว้ที่ 30% คนที่มีเงิน 15,000 ออมเดือนละ 30% ตกเดือนละ 4,500 บาท เหลือใช้ 10,500 หักค่าใช้จ่ายแล้วปลายเดือนคงมีลุ้นๆ อีกนิดหน่อย ; แต่ถ้าเป็นคนที่มีเงินเดือน 50,000 ออมเดือนละ 30% ตกเดือนละ 15,000 เหลือใช้ 35,000 สบายๆ ก็จะเพิ่ม% เงินออมได้อีกด้วยซ้ำ.   เราจึงต้องถามตัวเองก่อน ว่าเท่าไรถึงจะเหมาะสม และหากเราเริ่มต้นที่ 30% ของเงินเดือน แล้วค่อยๆปรับเปอร์เซนต์ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามรายได้ที่สูงขึ้นทุกปี จำนวนเงินออมของเราก็จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10% ด้วย แต่ถ้ารายได้เพิ่มขึ้นมากกว่านั้น ก็เก็บเพิ่มขึ้นอีกได้. มันจึงดีมาก.

40 %

40 %

อันนี้อาจจะต้องใจกล้าหน่อย แต่ถ้าเราอยากบรรลุเป้าหมายไวๆ ก็ต้องลองออมมากกว่าคนทั่วไปแบบนี้ เช่น ตัวอย่างที่ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร เคยเขียนในหนังสือของท่าน ว่าตั้งแต่วันแรกที่แต่งงานก็ตั้งเป้าออมเงินอย่างน้อย 4 บาทจากรายได้ 10 บาท ก็คือ ออม 40% เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ ตอนนี้ชีวิตท่านก็ประสบความสำเร็จและสบายถึงลูกหลาน ดังนั้น ที่สำคัญก็ต้องไม่ลืมหลักการออมที่ถูกต้องพื้นฐาน คือ  รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย โดยไม่รอเงินเหลือแล้วค่อยออม และพยายามออมให้เป็นอัตโนมัติ เช่น ตั้งค่าหักเงินไปออมทันทีตั้งแต่ได้รับเงินเดือน ก็จะช่วยวินัยเราในการส่งเงิน.

50 %

50 %

ในส่วนของการออมแบบแบ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็นนั้น เช่น จำนวนเงิน 7,500 บาท จากเงินเดือน 15,000 บาท  เป็นต้น เพราะสิ่งที่จำเป็นหมายถึง เพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทางมาทำงาน ค่ากิน การจะเก็บและออมจึงอาจจะต้องมีจำนวนเท่าๆกันแบบนี้เลย แต่ส่วนสำคัญจึงเป็นการตัดสินใจให้ดีว่า สิ่งไหนจำเป็นกว่าจริงๆ ของการดำรงชีวิตของเรา แล้วจึงค่อยใช้เงินก้อนนี้กับสิ่งต่างๆเหล่านั้น เราจึงจะออมได้อย่างไม่ลำบากมากนัก และเป้าหมายของเราก็จะถึงเร็ว เพิ่มพูนได้อีกมากจากจำนวนออมก้อนนี้ หรือบางคนอาจตอนนี้มีเงินเดือนค่อนข้างมากถึงจำนวน 3 หมื่น ก็เริ่มออมได้เดือนละ 5%  แต่พอตอนที่เงินเดือน 7 หมื่น ก็จะออมได้ถึงเดือนละ 50% ก็ได้ ซึ่งตาม ประวัติของ Rockefeller มหาเศรษฐีในตำนานของอเมริกา รายนั้นทุกเหรียญที่หาได้เขาจะออมครึ่งหนึ่งก็เป็นที่พูดถึงพอสมควร เราจึงรู้ว่า สัดส่วนเงินออมแปรผันตรงกับรายได้ที่สูงขึ้น เพราะว่าค่าใช้จ่ายประจำมันจะคงที่ ไม่ได้เพิ่มตามเงินเดือนของเราถ้าใช้ชีวิตเรียบๆ ไม่ฟุ้งเฟ้อมากมาย แต่สามารถกินหรูได้บ้างบางโอกาสด้วย

อื่นๆ

อื่นๆ

อีกจำนวนนึงที่ไม่กล่าวไม่ได้ คือ การหักมาออม 10 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ เอาจริงๆแม้จำนวนนี้ถือว่ายังน้อยไปบ้าง แต่เงินเท่านี้ยังทำให้เงินเราในอนาคตพอจะมีเติบโตได้บ้างอยู่ แต่ฐานะอาจไม่เปลี่ยนอะไรไปมาก  ดังนั้น หากต้องการจะขยับฐานะหรือทำให้อนาคตมีความมั่งคั่งสูงยังไง เราก็จะต้องออมมากขึ้นกว่านั้น เช่น ภาพรวมครัวเรือนของไทยออมเงินกันประมาณเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้รวม หรือเฉลี่ยต่อคนประมาณ 9,000 บาท/ปี (ประมาณ 750 บาทต่อเดือน) แต่จำนวนเท่านี้ดันไปเท่ากับประกันสังคมที่ถูกหักในแต่ละเดือน หากมองในแง่ค่าเฉลี่ยแล้วคนส่วนใหญ่จึงไม่มีการออมเพิ่มเลย

แต่หนังสือ The Millionaire Next Door ของสหรัฐ พบว่าเศรษฐีเงินล้านในสหรัฐอเมริกาที่รวยมาจากการสร้างฐานะด้วยตัวเองปกติจะออมเงินในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ขึ้นไป เราจึงนำมาปรับใช้ได้เป็นมาตรฐานด้วยว่า อาจจะต้องออมเงินไม่ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เพื่อสร้างฐานะทางการเงินที่ดีในอนาคต หรือ David Bach ผู้เขียนหนังสือ The Automatic Millionaire กล่าวว่า ในวันนึงเราจะต้องทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น ควรออมเงินอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงของการทำงาน จึงเป็นตัวเลขอย่างน้อย 12.5 – 25% ของรายได้รวมต่อเดือน ด้วยเหตุผลที่ว่า เรามาทำงานก็ควรจะแบ่งรายได้จากชั่วโมงการทำงานให้กับอนาคตตัวเองในการเอาไปลงทุน ซึ่งพอหักมา 2 ชั่วโมงต่อวัน ก็เท่ากับหักรายได้ตอนเช้าหนึ่งชั่วโมง ตอนบ่ายอีกหนึ่งชั่วโมงมาจ่ายให้ตัวเองแบบนี้

ดีหน่อยสำหรับคนที่ทำงานราชการ จะต้องเข้า กบข.ขั้นต่ำ 3%, คนที่ทำงานบริษัทเอกชนที่มี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ก็จะถูกหักเงินกันโดยเฉลี่ย 5% แต่สูงสุดที่จะออมได้คือ 15% นอกจากกบข.กับ PVD แล้วยังสามารถออมคู่ไปกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)  รวมกันแล้วไม่เกิน 15% หรือไม่เกิน 500,000 ด้วย ออมในกองทุนรวมธรรมดา อันนี้ไม่มีข้อจำกัดตัวเงินสูงสุดและเงื่อนไขที่จะลงทุน เอาตามศักยภาพได้เลย เช่น อาจจะหักสะสมกอง PVD 5%, LTF 5%, RMF 5%, ที่เหลือออมโดยการซื้อกองทุนหุ้นอีก 10% เป็นเงินลงทุนเพิ่มไป หรือเปลี่ยนการออมผ่านกองทุนหุ้นเป็นการซื้อคอนโดมิเนียมดีๆสักที่แบบผ่อนสินเชื่อบ้าน แบบนี้ก็ออมได้ถึง 25 เปอร์เซนต์ ของรายได้รวมแล้ว จึงขึ้นอยู่กับแผนการเงินและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคนในการออกแบบแผนที่เหมาะสมของชีวิต

สรุป

สรุป

อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่าการออมที่มากขึ้นนั้น จะนำเราไปสู่เป้าหมายทางการเงินหรือมีอิสรภาพทางการเงินที่ไวขึ้นได้จริงๆ  หากเราลองตั้งใจพยายามออมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตด้วย สิ่งสำคัญสุด คือ ผลตอบแทนทั้งหลายไม่ว่าจะกี่เปอร์เซ็นต์ทบต้นก็ตาม จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเราไม่มีเงินออมมาเพื่อลงทุนต่อไป เงินออมของเราจึงสำคัญมากๆ จึงต้องจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายให้ออกก่อน ว่าอันไหนจำเป็นจริงๆ อันไหนแค่อยากได้ เราก็จะรู้เองได้เร็วขึ้นว่าควรออมเงินกี่เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน เพราะการแบ่งเงินในแต่ละเรื่องให้ชัดเจนในแต่ละเดือน จะสร้างวินัยในการใช้จ่าย โดยเราต้องใช้จ่ายให้ตรงกับแผนทีวางไว้ให้ได้มากที่สุด และทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ยิ่งถ้าเราสามารถลดในส่วนของรายจ่ายในสิ่งที่ต้องการ และรายจ่ายที่จำเป็นได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราสามารถไปเพิ่มในการจ่ายเพื่อให้ความสุขตนเองในระยะยาวเพิ่มขึ้นได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นความสุขในระยะยาวของเราก็จะยิ่งมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งหลังจากที่เราได้เงินเดือนมาแล้ว หากแบ่งสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของเงินตามความเหมาะสมแล้ว ก็จะมีทางเลือกที่หลากหลายในการลงทุนเงินออมให้เลือกจัดการได้อีกด้วย สุดท้ายนี้ การลงมือทำนั้นสำคัญกว่าคำพูดหรือความคิดจึงเป็นวิธีที่ฉลาดที่เราจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้!