เงินเดือนไม่เคยจะพอใช้เลย สิ้นเดือนเหมือนจะสิ้นใจเป็นคำขวัญของมนุษย์เงินเดือนเวลาใกล้จะสิ้นเดือน เข้าใจว่าปัจจุบันรายได้กับค่าครองชีพนั้นไม่สมดุลกัน แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วเราอาจจะทำงานได้เงินเดือนแล้วมีเงินเดือนพอใช้หรือบางทีอาจจะเหลือเก็บเลยด้วยซ้ำถ้าไม่ต้องไปเสียเงินให้กับค่าใช้จ่ายแฝง ใครไม่เข้าใจกับคำว่าค่าใช้จ่ายแฝง ผมจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ อย่างเช่น คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือต้องเคยเห็น SMS ส่งเข้ามาให้เราเกี่ยวกับโปรโมชั่นแพ็กเกจเสริม ที่ให้เราสมัครเพื่อทดลองใช้ฟรี 7 วัน บ้าง 15 วัน บ้าง หรือ ใช้ฟรีไปเลย 1 เดือน

แต่หลังจากครบกำหนดนะสิ เราก็จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งบางบริการใจดีหน่อยก็จะแจ้งเตือนล่วงหน้าให้เรายกเลิกได้ทัน แต่บางบางบริการก็จะไม่ได้แจ้งอะไรเลย แล้วทำการหักเงินค่าบริการอัตโนมัติ ถ้าคนที่ไม่ได้ใส่ใจรายละเอียดในเรื่องแบบนี้ ก็จะเสียเงินไปแบบไม่รู้ตัว กลายเป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการถูกตัดเงินอัตโนมัติ เกิดกรณีมัดมือชกผู้ใช้งานที่ไม่ได้ต้องการใช้งานบริการเหล่านี้ต้องจ่ายเงินเพิ่มนอกเหนือไปจากค่าแพ็กเกจรายเดือนที่ต้องจ่ายอยู่แล้วเราจะมาดูต่อกันว่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆท่านๆนั้นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายแฝงอะไรบ้างที่ทำให้เงินเดือนมพอใช้จนถึงสิ้นเดือนและไม่มีเงินเหลือเก็บเลย

ค่าโทรศัพท์มือถือ

ค่าโทรศัพท์มือถือ

ค่าใช้จ่ายอันดับแรกที่ต้องพูดถึงเลยที่คิดว่าทุกคนต้องมีค่าใช้จ่ายประเภทนี้อยู่เลยก็คือค่าโทรศัพท์ เนื่องจากปัจจุบันได้มีสิ่งที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตโซเซียลเข้ามาทำให้ไม่ค่อยได้ใช้โทรศัพท์ในการโทรเพื่อติดต่อสื่อสารกันแต่นิยมติดต่อสื่อสารกันทางช่องทางอื่นเช่นไลน์หรือเฟสซึ่งถ้าสังเกตแพ็กเกจรายเดือนที่คนส่วนใหญ่สมัครก็มักจะใช้ค่าโทรไม่ถึงตามแพ็กเกจหรือไม่เกินแพ็กเกจหรอกแต่สิ่งที่ใช้เกินในแพ็กเกจคงจะเป็นอินเตอร์เน็ตมากกว่าทำให้ต้องมีค่าส่วนต่างจากราคาแพ็กเกจรายเดือนของตัวเองที่เคยสมัครไว้ซึ่งส่วนใหญ่การตั้งราคาแพ็กเกจของค่ายที่ให้บริการเครือข่ายมือถือในประเทศไทยส่วนใหญ่จะตั้งราคาค่าโทรกับค่าเน็ตต่างกันไม่มาก เช่น ค่าโทรอาจจะ 40% ค่าเน็ตอีก 60%  ซึ่งถ้าเราเป็นคนติดอินเตอร์เน็ตและต้องการใช้เน็ตตามความเร็วที่เราต้องการมันก็จะพ่วงมากับค่าโทรด้วยที่เราจะต้องจ่ายซึ่งถามว่าคนที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใช้ ไลน์ หรือ เฟส โซซียวต่างๆในการติดต่อสื่อสารก็จะไม่ได้ใช้บริการการโทรแต่ก็ยังต้องจ่ายค่าโทรตามแพ็กเกจที่กำหนดแต่ไม่ได้จ่ายตามที่เราใช้โทร เมื่อเป็นแบบนี้คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะประหยัดในส่วนที่ตัวเองไม่ค่อยได้ใช้จึงเลือกแพ็กเกจที่ค่าโทรพอดีกับที่ตัวเองจำเป็นทำให้ความเร็วอินเตอร์เน็ตลดลงมาและทำให้ต้องซื้อแพ็กเกจเสริมดังนั้นถ้าอยากจะมีเงินพอใช้ถึงสิ้นเดือนหรือมีเงินเหลือเก็บก็ควรที่จะลองลดการเล่นเน็ตมือถือพยายามหา WiFi แทน หรือถ้าเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับที่แล้วต้องการอินเตอร์เน็ตให้สมัครแพ็กเกจที่เน้นไปที่อินเตอร์เน็ตตามที่เราต้องการให้พอใช้โดยไม่ต้องคำนึงถึงค่าโทรที่ตามมาด้วยว่าจะเกินความจำเป็นให้เราไม่ต้องใช้เกินกว่าที่สมัครแพ็กเกตเอาไว้จะดีที่สุด

ค่าเดินทาง

ค่าเดินทาง

ค่าใช้จ่ายต่อไป คือ ค่าเดินทางขอพูดถึงสำหรับพี่ๆที่ไม่ได้ใช้รถส่วนตัวในการเดินทางไปไหนมาไหนหรือไปทำงานนะครับแต่ใช้รถโดยสารสาธารณะ ผมเข้าใจว่าสำหรับพี่ๆที่ใช้เส้นทางสายหลักแล้วใช้บริการอย่าง รถBTS หรือ รถMRT ก็เข้าใจได้เพราะว่าทั้งรวดเร็ว และปลอดภัย สามารถซื้อเวลาได้ แต่ก็ไม่ใช้บ้านทุกคนจะอยู่หน้าทางขึ้น รถBTS รถMRT ที่จะสะดวกเดินออกจากบ้านปั๊บก็สามารถเดินขึ้นรถได้เลย นั้นและครับเพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิค่าใช้จ่ายแฝง อย่างเช่น ค่าพี่วินมอเตอร์ไซค์ ค่าแท็กซี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นค่าเหล่านี้แหละที่ทำให้การดูดเงินให้หายไปจากกระเป๋าเงินแบบไม่ทันรู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น หากเรานั่งพี่วินไปขึ้น BTS เที่ยวละ 20 บาท ไปกลับก็ 40 บาทต่อวัน เดือนหนึ่งทำงาน 20 วัน รวมแล้วเป็นเงิน 800 บาท ยังไม่นับรวมเสาร์ อาทิตย์ที่จะต้องไปไหนมาไหนด้วยนะ สรุปว่า เดือนหนึ่งจ่ายให้พี่วินไป 1,000 บาท เงินจำนวนนี้เอาไปกินบุฟเฟ่ต์อิ่มๆได้มื้อหนึ่งเลยนะ

ค่ากาแฟ เครื่องดื่ม

ค่ากาแฟ เครื่องดื่ม

กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มต่างๆตามร้านผมเชื่อว่าเกือบทุกคนที่เป็นพนักงานออฟฟิศหรือจะทำอาชีพอะไรก็ได้เชื่อว่าติดเครื่องดื่มประเภทนี้อยู่ คือถ้าเป็นพนักงานออฟฟิศเวลาพักเที่ยงหลังจากรับประทานอาหารเสร็จก็คงจะหาเครื่องดื่มเย็นๆสกชื่นๆดื่มกันเป็นประจำทุกวัน ที่นี้ให้เรามาลองคำนวนกันดูว่าเรานั้นเสียเงินให้ไปกับ ชา กาแฟ เครื่องดื่ม ตามร้านน้ำไปเท่าไหร่ ถึงบ้างคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าแค่ซื้อ กินวันละแก้วมันจะเท่าไหร่กันเชียว อันนี้เราจะมาคิดที่ราคาต่ำสุด ไม่ต้องไปคิดกาแฟ แก้วเป็นร้อย ตามห้างนะ ตีให้ราคากาแฟ ชา แก้ว 1 อยู่ที่ 20 แล้วคำนวนจากที่กินทุกวันวันละ 1 แก้ว 20 x 30 =600 บาท แต่ก็เป็นส่วนน้อยที่จะหาร้าน ชา กาแฟที่ราคาถูกแบบนี้ ค่อยข้างยาก ส่วนใหญ่ก็จะ 25 -30 เอามาคูณด้วยจำนวนวันของเดือนดู 30 จะเท่ากับเท่าไหร่ นี้ยังไม่ได้คิดคนติดหรูกินกาแฟสด หรือกินกาแฟ สตาร์บัค ที่แก้ว 1 ขั้นต่ำ 100 บาท คูณ 30 เป็นเงินเท่าไร ถามใจดูว่ามัน แค่กินกาแฟวันละแก้วจริงๆ หรือ กินกาแฟตั้งวันละแก้ว แล้วถ้าบอกว่าไม่กินไม่ได้จิงๆพักเที่ยงเสร็จกินข้าวมาอิ่มๆมันก็ต้องหาอะไรสดชื่อกินไม่งั้นจะหลับทำงานไม่ไหว แนะนำให้พกกาแฟเป็นซองชากเป็นซองไปชงเองมันจะช่วยประหยัดขึ้นได้นิดหน่อย แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ติดกาแฟขนาดนั้นก็แนะนำให้กินพอเป็นพิธี อาทิตย์ละ 2 แก้ว 3 แก้ว ก็น่าจะพอ หรือเลิกได้เลิกเลย ถ้าอยากกินวันไหนก็ซื้อมาชงกินเอง

ค่าแฟชั่นเสื้อผ้า

ค่าแฟชั่นเสื้อผ้า

ค่าใช้จ่ายอีกอย่างที่ดูดเงินจากกระเป๋าเงินต่อเดือนของเราอย่างมากก็คือ เรื่องของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแฟชั่นเครื่องประดับ กระเป๋า เข็มขัด นาฬิกา เสื้อ กางเกง ถ้าเป็นผู้ชายก็จะมีประมาณนี้ส่วนถ้าเป็นผู้หญิงนอกจากเครื่องแต่งกายแล้วยังต้องมีเครื่องแต่งหน้า อีก ลิป รองพื้น ครีมนั้นนู่นนี่ น้ำหอม เข้าใจว่าสิ่งของเหล่านี้ทั้งหมดที่พูดมามันเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดจำเป็นจริงๆ สมัยนี้ผมได้ยินคำนี้บ่อยมาก ของมันต้องมี ถามว่าจริงหรอที่ของมันต้องมีมันจำเป็นจริงๆหรอ ผมไม่ได้ว่าคนที่ซื้อของแพงใช้นะครับแต่ถ้ามีความสามารถในการซื้อโดยที่ไม่ได้เดือดร้อนตอนสิ้นเดือนก็ไม่เป็นไร แต่พูดถึงมนุษย์เงินเดือนถ้าสิ้นเดือนเหมือนจะสิ้นใจ เวลาจะซื้อของพวกนี้ก็ควรหยุดคิดนิดนึงว่า มันจำเป็นจริงๆไหม ไม่ได้ซื้อเพราะตามกระแส

ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง

ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง

ความบันเทิงความสนุก เข้าใจอยู่ที่ว่าทำงานแล้วเครียดมันก็ต้องการการผ่อนคลายคลายเครียดหาความสุข ความบันเทิงให้กับตัวเอง อย่างเช่น การไปนั่งร้านเหล้าฟังดลตรีสด หรือ การจัดปาร์ตี้กับเพื่อนๆ หรือ ไปดูหนัง สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลย ถ้าเป็นการที่นานๆสักครั้ง ก็ถือว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าทำสิ่งเหล่านี้แทบทุกวันหรือแทบทุกสัปดาห์ คิดดูว่าคุณต้องเสียเงินไปเท่าไรกับสิ่งเหล่านี้แล้วมันจะทำให้คุณกลับมาเครียดช่วงสิ้นเดือนกว่าเก่า แนะนำให้หาความบันเทิงที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายทำมันจะดีกว่า เช่น การเล่นกีฬา

ค่าสาธารณูปโภคต่างๆและของใช้ภายในบ้าน

ค่าสาธารณูปโภคต่างๆและของใช้ภายในบ้าน

ค่าใช้จ่ายสุดท้ายที่ทำการดูดเงินไปแบบที่เรารู้ตัวที่จะพูดถึงในบทความนี้ คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคกับของใช้ภายในบ้าน ที่เราต้องใช้ต้องจ่ายเป็นประจำในทุกๆเดือนไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ซึ่งค่าเช่าบ้านอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะเช่าบ้านหลังเดิมแล้วทำการประหยัดเพื่อจ่ายน้อยลงงั้นตัดไป ให้เรามาโฟกัสที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ถ้ามีการใช้ที่ประหยัดวางแผนเป็นอย่างดี ค่าใช้จ่ายของทั้งสองอย่างนี้สามารถลดลงได้เป็นอย่างมาก ส่วนเรื่องของการเลือกซื้อของใช้ภายในบ้าน ถ้าเป็นคนที่ซื้อของใช้ภายในอย่าง ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ แล้วไม่ติดยี่ห้อ วิธีการซื้อก็แนะนำให้ดูที่ราคาสินค้าช่วงลดแล้ววางแผนซื้อเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นก็ช่วยลดเงินในกระเป๋าได้

สรุป

สรุป

หลังจากได้รู้แล้วค่าใช้จ่ายอะไรที่เป็นค่าใช้จ่ายแฝงแล้วลองทำการหยิบบิลของตัวเองมาดูและทำการลดค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆดูตามที่แนะนำข้างบน บ้างทีเดือนนี้อาจจะไม่ใช่แค่พอใช้แต่อาจจะถึงกับมีเงินเหลือเก็บก็เป็นได้