ทำไมคุณต้องสนใจนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ก็เพราะว่าประเทสสหรัฐมีอิทธิพลอย่างต่อทุกแง่มุมของโลกเราเนื่องจากเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่เหมือนกับว่าควบคุมและปกครองอยู่เหนือประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศต่างๆก็เหมือนเป็น ลูกไก่ในกำมือ นั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าการเมือง เศรษบกิจของประเทศยักษ์ใหญ่นี้จะไปในทางไหนคุณก็ต้องให้ความสนใจเอาไว้ทั้งนั้น เพราะมันจะเกี่ยวข้องเกี่ยวโยงกับทุกๆประเทศทั่วโลกไปเลย ที่สำคุญการเดินหน้า หรือถอยหลังของสหรัฐส่งผลกระทบต่อเราทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินโลกนี้

แต่บทความนี้จะมาให้ข้อมูลที่เน้นว่า นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐนั้นส่งผลโดยตรงต่อภูมิภาคเอเชียของเราอย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ใกล้ตัวคุณขึ้นมาอีกระดับหนึ่งค่ะ คุณก็ทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยของเรานั้นอยู่ในภูมิภาคเอเชีย และนอกจากเศรษฐกิจของสหรัฐแล้ว เศรษฐกิขของประเทศเดียวกันที่อยู่ใกล้เคียงในภูมิภาคเอเชียนี้เป็นอย่างไรกันบ้างได้รับผลอย่างไรบ้าง เพราะประธานาธิปดีคนปัจจุบันของสหรัฐต้องการอย่างที่จะเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากมายทั่วโลกในเรื่องของเศรษฐกิจมาดดยตลอด โดยเฉพาะผลกระทบความต้องการนี้มีต่อประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทยอย่างเราคือ จีน และญี่ปุ่นอย่างมาก แล้วจะมากระทบกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง ดังนั้นบทความนี้จะมาให้ข้อมูลตรงนี้นะคะ เช่น นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศจีน, นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น, นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศไทย ค่ะ

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศจีน

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศจีน

ใครที่ได้ติดตามข่าวการเมืองของโลกก็จะเห็นว่าประธานาธิปบดีของสหรัฐนั้นได้กล่าวโจมตีประเทสยักษ์ใหญ่ทางฝั่งเอเชียอย่างจีนมาตลอด ซึ่งได้โจมตีในลักษณะที่ว่าเศรษฐกิจที่เติบโตของประเทศจีนนั้นส่งผลเสียต่ออุตสหกรรมและการผลิตที่ได้มาตรฐานมากกว่าของสหรัฐ  และตอนนี้ระหว่างจีน และสหรัฐก็มีสงครามกันในเรื่องของค่าเงินหยวน และเงินดอลลาร์เกิดขึ้น ซึ่งค่าเงินหยวนที่ต่ำลงทำให้เศรษบกิจของค่าเงินดอลลาร์นั้นโดนถ่วงลงไปด้วย โดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากจีนที่เข้ามาในสหรัฐส่งผลให้สินค้าของสหรัฐนั้นขายไม่ออก หรือน้อยลงนั่นเอง ต่อมาทางสหรัฐจึงมีนโยบายเพิ่มภาษีการนำเข้าสินค้าของจีนเพื่อสร้างเป็นกำแพงเมืองจีนในสหรัฐโดยตั้งค่าภาษีสินค้านำเข้าอยู่ที่ 45% ของราคาสินค้าซึ่งถือว่าสูงมากทีเดียว แต่ถึงจะมีการโจมตีกันทางเศรษฐกิจแบบนี้ ในทางเบื้องหน้าประธานาธิปบดีของทั้งสองประเทศก็ยังคงสร้างภาพด้วยการจับมือกันอยู่ดี และยังคงกล่าวว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยังคงแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกด้วย ซึ่งสร้างความสงสัยให้กับประชาชนอย่างมาก จึงเกิดการทำตัวไม่ถูกกันขึ้นของประชาชนและผู้บริโภคสินค้าของทั้งสองประเทศ จึงต้องขอใช้คำว่า งงในงง กันไปเลย ซึ่งคุณจะสามารถจับตาดูความเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนมากขึ้นจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนที่ที่ชื่อว่า อาลีบาบา ว่าจะยังมีฐานผลิตอยู่ในสหรัฐต่อหรือไม่ จะเป็นอย่างไรต่อไปก็เป็นเรื่องที่คุณต้องให้ความสนใจอย่างมากนะคะในสถานการณ์เศรษฐกิจของสองประเทศยักษ์ใหญ่นี้

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ้นก็ถือว่าเป็นอีกประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก และก้าวหน้ามาโดยตลอดด้วยเทคโนโลยีที่เลิศล้ำ ล้ำมากกว่าประเทศไหนๆในโลก ซึ่งเมื่อสหรัฐได้ประธานาธิปบดรคนใหม่อย่าง ทรัมป์ แล้วก้เกิดประเด็นตรงที่ว่า ทรัมป์ เคยกล่าวไว้ว่าจะถอนกำลังทางทหารออกจาญี่ปุ่นรวมไปถึงถอยตัวออกจากข้อตกลง TPP ถ้ารัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เมื่อทัรมป์ได้เป็นประธานาธิปบดีจริงๆจึงต้องคอยจับตามองประเด็นนี้เอาไว้เลยค่ะ

ซึ่งข้อมูลล่าสุด ประธานาธิปบดีของญี่ปุ่น นาย ชินโซ อะเบะ ได้แถลงไว้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 ว่า ตนเองได้เดินทางไปหารือกับประธานาธิปบดีของสหรัฐแล้วเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและเพื่อสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจกันไว้แล้ว เพื่อให้ประชาชนวางใจว่าจะไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น แต่คนในพรรการเมืองและประชาชนของสหรัฐก็กำลังจับตาดูว่าประธานาธิปบดีของเขาจะทำตามที่ได้พูดไว้หรือไม่ ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นดูเหมือนว่าสภาพทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้นจะไม่ได้เป็นเป้าหมาย หรือคู่ต่อสู้ที่ทางสหรัฐอยากจะสู้ด้วยสักเท่าไหร่นักค่ะ แต่นยบายที่ทรัมป์เคยพูดไว้ที่จะทำต่อประเทศญี่ปุ่นก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก้ได้ จากแรงกดดันของผู้ที่สนับสนุนทรัมป์ทางการเมืองอยู่ตอนนี้ เพราะดูเหมือนว่าคนใน พรรครีพับลิกัน ได้พูดไว้ว่า การที่ทรัมป์ไม่ได้ทำสิ่งที่เคยพูดไว้ในตอนที่หาเสียงก็จะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของเขาเอง ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวในตอนที่จะต้องมีการเลือกตั้งครั้งต่อๆไปค่ะ

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศไทย

นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศไทย

สำหรับผลกระทบที่ทางรับบาลไทยจะได้รับนั้น มีการประเมินมาว่า หลังจากทางสหรัฐมีการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ทางประเทศไทยก็จะไม่ค่อยจะได้รับผลกระทบอะไรมากนัก ในการส่งออกข้าวและผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆที่ส่งเข้าไปในประเทสสหรัฐ แต่เรื่องที่จะกระทบบ้างก็คือ ค่าเงินที่จะมีการผันผวนอยู่บ้างซึ่งก็เกิดจากสาเหตุความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ต่างของประเทศไทยเอง หรือประเทศอื่นๆที่กระทบกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูกันไปในระยะยาวว่าต่อไปจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?

แต่ในส่วนข้อดีเมื่อสหรัฐเริ่มมีการกีดกันสินค้าจากประเทศจีนที่นำเข่าไปในสหรัฐแล้วนั้น กลับส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศไทยที่จะมีการผลักดันมากขึ้นให้สหรัฐนำเข้าสินค้าจากไทยมากกว่าประเทศจีน แต่สิ่งที่เป็นผลเสียก็มีอยู่บ้าง เช่น เรื่องของเงินทุนที่จะหลั่งไหลเข้าไปในสหรัฐมากกว่า เงินทุนในส่วนของอุตสหกรรมรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ เคมีภัณฑ์ และธุรกิจพวกค้าส่งน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งทำให้ราคาของสินค้าพวกนี้มีการขึ้นราคาและผันผวนไม่แน่นอน ก็ส่งผลต่อการใช้จ่ายของคนไทยอยู่บ้างค่ะ รวมถึงสินค้าทางภูมิปัญญาต่างๆที่ทางสหรัฐอาจจะเริ่มมีการกีดกันการนำเข้าอยู่บ้าง แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มากสักเท่าไหร่ แต่ไม่ว่าเศรษบกิจของประเทสยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจะเป็นไปอย่างไรก็ต้องมีผลต่อประเทศเล็กๆอย่างเราไม่มากก็น้อย จึงเป็นเรื่องที่คุณควรจะต้องสนใจ จับตามองให้ดีๆนะคะ สำหรับประเทศไทยแล้ว นโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐต่อประเทศจีน และญี่ปุ่นมีผลต่อประเทศไทยทั้งนั้น เพราะเรามีสินค้าที่ส่งออกให้กันอยู่อย่างทั่วถึง เช่นไทยเองก็มีการนำเข้าสินค้าจากจีนในทุกวันนี้เป็นจำนวนมาก  และประเทศไทยเองก็นำเข้ารถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นมานานแล้วเช่นกัน คุณจึงต้องคอยเตรียมรับมือกับทั้งผลดี และผลเสียที่มีมานะคะ

สรุป

สรุป

ในทุกวันนี้ก็มีหลายฝ่ายที่ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อภูมิภาคเอเชียของเรา และที่สำคัญต่อประเทศไทยของเราว่าเป็นไปอย่างไรต่อไป หลังจากที่สหรัฐมีประธานาธิปบดีคนที่ 45 คือ โดนัล ทรัมป์ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าทรัมป์ต้องเลือกทำตามนโยบายที่เคยได้พูดไว้ตอนที่หาเสียง แต่ก็ต้องมาดูว่าความเข้มแข็งของนโยบายนั้นมากมีมากน้อยแค่ไหนกันเชียว

คุณจะเห็นว่าผลกระทบทางการเงินของสหรัฐนั้นที่มีต่อเอเชียของเราและประเทศไทยนั้นยังไม่แน่ชัดมากในตอนนี้ต้องดูกันต่อไปในความเคลื่อนไหวของผู้นำประเทศมหาอำนาจโลกตอนนี้ และความเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้แน่นอน คุณจึงต้องคอยระวังและจัดการเรื่องเงินของตัวเองให้ดีดีเพื่อรับมือได้กับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตค่ะ