เนื่องจากระบบในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนไปจากสมัยก่อนเยอะมาก โดยเฉพาะในด้านอาหารการกิน มีการกินอาหารที่ใช้สารปรุงแต่งมากเกินไป จึงทำให้คนไทยเป็นโรคไตกันมากขึ้น  โรคไตนี้ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ เจ็บปวด และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมากในแต่ละปี เพราะเป็นโรคเรื้อรัง รักษากันนานเลย  กรมการแพทย์ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลข ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในไทยว่ามีมากถึง 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ป่วยเป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมากกว่า 100,000 คน ที่จะต้องทำการฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง เมื่อรู้ตัวเลขแล้วรู้สึกตกใจมากจริงๆ เลยใช่มั้ยคะ?  เมื่อเห็นตัวเลขที่สูงขนาดนี้ สำนักงานประกันสังคม จึงเห็นความสำคัญ อยากให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี และได้รับการรักษาที่เท่าเทียมกัน จึงได้มีการแจ้งสิทธิประโยชน์คุ้มครองผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคไต และเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย สามารถใช้สิทธิประกันสังคม โดยยื่นขอการบำบัดทดแทนไตได้ ในบทความนี้ช่วยให้ทั้งผู้ป่วยโรคไต และไตวายเรื้อรัง รวมถึงญาติๆ ได้รู้ว่า มีสิทธิ์ได้รับการรักษาอะไร? มีขั้นตอนและเงื่อนไขในการรับสิทธิ์อย่างไรบ้าง?  เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว

สิทธิการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

สิทธิการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือด คือกระบวนการกำจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินจากเลือด เป็นกระบวนการที่จัดทดแทนการทำงานของไตโดยการฟอกเลือด การฟอกเลือดเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนการไหลเวียนเลือดเข้าไปสู่เครื่องจักรที่ออกแบบมาเพื่อทำความสะอาดเลือดโดยเฉพาะ  ผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีคำถามเสมอว่า ทำไมต้องรับการฟอกเลือด ?  คำตอบที่คุณหมอจะบอกว่า คุณต้องเข้าใจว่าคนที่ป่วยเป็นโรคไต คือไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว ยิ่งเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตล้มเหลว ของเสียและของเหลวในร่างกายจะเริ่มสะสมเข้าด้วยกัน ถ้าปล่อยเอาไว้ ไม่รีบทำการรักษา หรือฟอกเลือด จะทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกาย อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การฟอกเลือดจึงเป็นการช่วยกรองสารตกค้าง และของเหลวที่ไม่จำเป็นออกจากเลือดเพื่อป้องกันปัญหาอีกหลายอย่างที่จะตามมา เมื่อต้องฟอกเลือดแล้วผู้ป่วยอยากรู้อีกว่า ต้องเข้ารับการฟอกเลือดนานขนาดไหน? ในเรื่องระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ปัญหาไตล้มเหลวอาจจะเป็นภาวะชั่วคราว การฟอกเลือดจะหยุดต่อเมื่อไตของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ  ถ้าหากสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไต และเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ไม่ได้ จำเป็นต้องทำการฟอกไตไปตลอดชีวิต

การฟอกเลือดมีกี่ประเภท ผู้ป่วยคงอยากจะรู้ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษา การฟอกเลือดอยู่ 2 ประเภท คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ การฟอกไตผ่านช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการรักษาที่คนส่วนใหญ่รู้จัก และคุ้นเคยมากที่สุด กระบวนการนี้มีทำงานโดย การแทงท่อที่ปลายติดเข็มไว้ที่แขนผู้ป่วย แล้วเลือดจะไหลผ่านท่อเข้าไปยังเครื่องกรอง และเครื่องกรองจะปล่อยเลือดสะอาดกลับเข้าไปในร่างกาย ผ่านท่ออีกเส้นหนึ่ง วิธีการนี้มักจะทำ อาทิตย์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ส่วน การฟอกไตผ่านช่องท้อง  จะใช้เยื่อบุช่องท้องของผู้ป่วยเป็นตัวกรองแทนการใช้เครื่องจักรภายนอกร่างกาย โดยที่เยื่อบุช่องท้องจะมีหลอดเลือดเล็กๆ หลายพันหลอดเรียงกันอยู่ เปรียบเหมือนเครื่องกรองธรรมชาติ  ก่อนการรักษา จะมีการกรีดช่องท้องใกล้กับสะดือ เพื่อทำการสอดท่อล้างไตเข้าไปที่รอยกรีด และลงไปในโพรงช่องท้อง จะทำให้ของเสียและของเหลวส่วนเกินถูกแยกออกจากเลือดเข้าไปผสมกับน้ำยาล้างไต หลังจากนั้นสารที่ใช้จะถูกดูดออกใส่ถุง และใส่ของเหลวใหม่ลงไปแทน การสับเปลี่ยนของเหลวนี้จะใช้เวลา ประมาณ 30-40 นาที จะทำซ้ำๆ ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน

ในเรื่องของการใช้ สิทธิที่ผู้ป่วยโรคไต ทางสำนักงานประกันสังคม แจ้งว่าปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในระบบประกันสังคมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่เป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังก่อนเข้ามาเป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
  • กลุ่มที่เป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหลังเข้ามาเป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิ ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาท  ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่เพียงพอสำหรับสถานพยาบาลบางแห่ง ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนบางรายต้องรับภาระในการออกค่าใช้จ่ายเอง อย่างไรก็ตามทางสำนักประสันสังคม ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีฟอกเลือดด้วยเครืองไตเทียม แก่ผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดย
  • ให้สิทธิรับค่าฟอกเลือด ในอัตรา 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ หรือ (18,000 บาทต่อเดือน)
  • ค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ไม่เกิน 20,000 บาท/ คน/ต่อ 2 ปี  รวมทั้งขยายสิทธิสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการเป็นผู้ประกันตน ให้สิทธิได้รับค่าฟอกเลือด ในอัตรา 1,000 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง

สิทธิในการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร

สิทธิในการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร

  • ค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท
  • และค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย /ต่อ 2ปี หากภายในระยะเวลา 2 ปี ผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องวางท่อรับส่งน้ำยาทางช่องท้อง ประกันสังคมจ่ายเพิ่มอีก ไม่เกิน 10,000 บาท.

สิทธิการปลูกถ่ายไต

สิทธิการปลูกถ่ายไต

การปลูกถ่ายไต เป็นการปลูกถ่ายอวัยวะของไตให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทางสำนักงานประกันสังคมให้การคุ้มครองผู้ป่วยที่เป็นโรคไต และในกรณีปลูกถ่ายไตให้กับผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ได้รับสิทธิรับการบริการทางการแพทย์ได้ โดยที่ทางประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการให้กับสถานพยาบาลในความตกลง ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาพยาบาลได้ทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เช่น: สิทธิกรณีปลูกถ่ายไต :  ค่าใช้จ่ายหลังการปลูกถ่ายไต ค่าตรวจรักษา ค่ายากดภูมิคุ้มกัน

  • ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 ได้สิทธิ เดือนละ 30,000 บาท.
  • เดือนที่ 7-12 ได้สิทธิ เดือนละ 25,000 บาท.
  • ปีที่ 2 ได้สิทธิ เดือนละ 20,000 บาท.
  • ตั้งแต่ปี่ที่ 3 เป็นต้นไป ได้สิทธิ เดือนละ  15,000 บาท.

ขั้นตอน และ เงื่อนไขในการรับสิทธิ์

ขั้นตอน และ เงื่อนไขในการรับสิทธิ์

ขั้นตอนในการรับสิทธิในการรับบริการรักษา ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ การแพทย์กำหนด โดยมีผลจากการพิสูจน์ Serum Bun, Serum Creatinine หรือ อัตราการกรองของเสียของไต และขนาดของไตแล้วเท่านั้น   ส่วนขั้นตอนในการรับสิทธิ ผู้ประกันตนต้องทำการยื่นขอรับการอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคมก่อน และต้องเตรียมเอกสารให้ครบด้วยเช่น:

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีบำบัดทดแทนไต และปลูกถ่ายไตหรือการดูแลหลังการผ่าตัดและหลังปลูกถ่ายอวัยวะ และรับยากดภูมิคุ้มกันกองทุนประกันสังคม
  • สำเนาเวชระเบียนที่เกี่ยวข้อง
  • ผลการตรวจไตตามหลักเกณฑ์, หนังสือรับรองจากอายุรแพทย์โรคไต
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำขอรับสิทธิการบำบัดทดแทนไต กับ สำนักงานประกันสังคม ทั้งใน กรุงเทพมหานคร หรือในเขตพื้นที่ จังหวัด  สาขา ที่ผู้ป่วยประสงค์จะไปใช้สิทธิ เมื่อผู้ประกันตนได้รับสิทธิบำบัดทนแทนไตเรียบร้อยแล้ว เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน แต่ถ้ามีค่าใช้จ่ายส่วนเกินผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบจ่ายเอง  หรือถ้ามีข้อสงสัยอยากสอบถามเพิ่มได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร 1506 หรือเข้าไปที่ www.sso.go.th

ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย

ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย

อาการไตวาย คือ ภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือดจนทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้  ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย และทำให้มีระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่างๆในร่างกายไม่สมดุล อาการไตวาย อาจเกิดขึ้นได้ทั้ง  แบบเฉียบพลัน  และ ค่อยๆแสดงอาการ ไตวายส่วนใหญ่มาจากสาเหตุ

  • สูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป
  • ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
  • การทำงานในระบบต่างๆของร่างกายล้มเหลว
  • การติดเชื้อ และผลข้างเคียงจากการใช้ยา  ผู้ป่วยโรคไตวาย ที่จะได้รับสิทธิการบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไตได้ ต้องเป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งการทำหน้าที่ของไตเสียหายไปอย่างถาวร เกินร้อยละ 95 โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาจาก
  • การตรวจผลเลือด ถ้ามีภาวะไตวาย ปริมาณไนโตรเจน กรดยูเรีย ( Blood Urea Nitrogen ,BUN) และ ครีเอทินิน (Creatinine ,Cr) ที่เป็นของเสียมาจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูงกว่าคนปกติ
  • หาค่าประเมินการทำงานของไต การหาค่า eGFR  ด้วย ค่านี้จะแสดงให้เห็นว่าในแต่ละนาทีไตสามารถกรองเลือดได้เท่าไหร่ วิธีคำนวนคือ นำเอาค่าต่างๆรวมทั้ง BUN, และ Cr ในเลือดมาคำนวน ซึ่งค่าปกติของคนที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับไตค่าจะอยู่ที่ 90 มิลลิลิตรต่อนาที
  • การเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ (CT Scan)และตรวจอัลตราซาว์ด
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อของไตไปตรวจในห้องปฎิบัติเพื่อดูความผิดปกติ
  • ผลตรวจปัสสาวะ และขนาดของไต

ผู้ที่เคยใช้สิทธิ์อื่นมาแล้วใช้สิทธิ์ได้อีก

ผู้ที่เคยใช้สิทธิ์อื่นมาแล้วใช้สิทธิ์ได้อีก

หากผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเคยได้รับสิทธิในการบำบัดทดแทนไตมาแล้วจากที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นสิทธิของ ข้าราชการ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง ก็สามารถใช้สิทธิบำบัดทดแทนไตจากสำนักงานประกันสังคมได้อย่างเนื่อง

สรุป

สรุป

เมื่อพูดถึง โรคไต ไตวายเรื้อรัง ต้องไปรับการฟอกเลือด ปลูกถ่ายไต ทุกอาทิตย์ ใครๆก็กลัวแล้วใช่มั้ยคะ เพราะนอกจากผู้ป่วยจะ เจ็บปวด ทรมาน ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเหมือนเดิม ทำงานได้น้อยลงแล้ว  แต่ค่าใช้จ่ายสิ เพิ่มขึ้นตลอด เพราะโรคไตวายต้องใช้เวลาในการรักษาระยะยาว ถึงแม้ทางประกันสังคมช่วยให้เราได้รับสิทธิในการรักษา การฟอกเลือด ฟรี ก็ตาม ของฟรีแบบนี้คงไม่มีใครอยากใช้สิทธิ แบบนี้ใช้มั้ย? เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เราต้องหันมาเอาใจใส่ดูแล สูขภาพ และอาหารการกินให้มากขึ้นแล้วหล่ะ เช่น ลดอาหารที่ใช้สารปรุงรส ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด และ อาหารประป๋อง หรืออาหารสำเร็จรุป เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยงต่อการเป็น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

แต่เมื่อเป็นแล้ว ก็ต้องรู้จักใช้สิทธิของตัวเองในฐานะเป็นผู้ประกันตน เพื่อรับสิทธิในการรักษาในการฟอกไต ค่ายากดภูมิ  ค่าดูแลหลังจากการผ่าตัด เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในครอบครัวลงได้.