หลายคนที่เป็นนักลงทุนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า ตลาดแรกตราสารหนี้ หรือ IPO หุ้นกู้ ที่ธนาคารพาญิชย์ และบริษัทหลักทรัพย์ จะเป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นกู้ให้กับบริษัทที่ต้องการออกหุ้นกู้ โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากค่าธรรมเนียมในการออกหุ้นกู้ ซึ่งค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับรุปแบบในการจัดจำหน่าย ถ้ามีการรับประกันจำหน่ายตัวแทนจะได้ค่าธรรมเนียมสูงกว่าแบบที่ไม่รับประกัน ตัวแทนจะพยายามจำหน่ายหุ้นกู้ให้ครบและหมดตามจำนวนเงินที่บริษัทต้องการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ สำหรับคนที่พลาดการลงทุนในตลาดแรกไม่ต้องกังวลเพราะยังมีตลาดรองตราสารหนี้อยู่ ทำให้สามารถลงทุนซื้อหุ้นกู้ได้ ส่วนตลาดรองตราสารหนี้คืออะไร? มีการซื้อขายกันแบบไหน?  ในบทความนี้จะอธิบายให้เข้าใจคร่าวๆ

ตลาดตราสารหนี้คืออะไร

ตลาดตราสารหนี้คืออะไร

ตลาดรองตราสารหนี้ หมายถึง ตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร ระหว่างนักลงทุนด้วยกัน ไม่ได้ซื้อขายโดยตรงกับบริษัทที่ออกหุ้นกู้ ส่วนราคาซื้อขายของตราสารหนี้จึงขึ้นอยู่กับความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนการซื้อขายจะทำผ่านทางผู้กลาง อย่างธนาคารบริษัทหลักทรัพย์ บางกรณีบริษัทออกหุ้นกู้จะเป็นตัวแทนในการดำเนินการเอง (มักจะเป็นบริษัทใหญ่ๆ) จุดประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้นกู้ของบริษัท และให้ผู้ถือหุ้น สามารถซื้อขายและเปลี่ยนมือได้ง่ายขึ้น  หลังจากที่ได้ซื้อขายในตลาดเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายในตลาดรองคือนักลงทุน ซึ่งถือครองตราสารหนี้อยู่ และต้องการขายตราสารหนี้ออกไป การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองจะทำการซื้อขายโดย

  • ซื้อขายกันเอง หรือที่เรียกว่า Over the Counter : OTC   ผู้ที่สนใจจะซื้อขายตราสารหนี้สามารถติดต่อกับผู้ค้าตราสารหนี้ หรือ Dealer ในปัจจุบันมีธนาคารพาชย์ 14 แห่ง และบริษัทหลักทรัพย์  29 แห่งมีการแจ้งความประสงค์และทำการซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ด้วยกัน ผู้ค้าตราสารหนี้กับผู้ลงทุน ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อซื้อขายและตกลงราคากันเองได้ หรืออาจจะติดต่อผ่านสถาบันการเงินโดยมีการเจรจากันผ่านทางโทรศัพท์

ส่วนราคาซื้อขายขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในทุกวันนี้สถาบันการเงินบางแห่งจะกำหนดราคาเสนอซื้อ (Bid) และราคาเสนอขาย  (Offer) ผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันการเงินเอง สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะเสนอราคาซื้อขายแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะต้องติดต่อสถาบันการเงินหลายๆ แห่งหน่อยเพื่อเปรียบเทียบราคา อาจจะศึกษาอัตราผลตอบแทนเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่แต่ละสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะให้

แล้วผู้ลงทุนในตลาดรองตราสารหนี้ควร ศึกษาเรื่องการโอนตราสารหนี้ด้วย เพราะหุ้นกู้บางรุ่นมีระบุว่าโอนเปลี่ยนมือได้เฉพาะนักลงทุนที่เป็นกลุ่มสถาบันเท่านั้นแสดงว่านักลงทุนรายย่อยไม่สามารถทำการโอนเปลี่ยนมือได้ ถ้าซื้อไปโดยไม่ได้ศึกษารายระเอียดการโอนก่อนจะทำให้เสียเวลามาก

  • การซื้อขายผ่านระบบ Bond Electronic Exchange  BEX ดำเนินงานภายใต้บริษัทหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นักลงทุนที่ต้องการซื้อขายผ่านระบบ BEX ต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์ ส่วนวิธีการซื้อขายทำได้โดยนักลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้ของบริษัทหรือโบรกเกอร์ แล้วเจ้าหน้าที่การตลาดจะเป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อหรือขายต่อเข้าไปในระบบการซื้อขายของบริษัทหลักทรัพย์ และแจ้งยืนยันผลการซื้อขายให้นักลงทุนทราบ

ส่วนนักลงทุนในตลาดรองตราสารหนี้จะมีหลักๆ อยู่ 3กลุ่ม เช่น กลุ่มแรกจะเป็น Dealer ได้แก่ ธนาคารพาญิชย์ บริษัทหลักทรัพย์  กลุ่ม Dealer นี้จะเป็นผู้ทำตลาดรองตราสารหนี้ ทำหน้าที่ เสนอราคาซื้อ ราคาขาย

กลุ่มที่ 2 กลุ่มนักลงทุนสถาบัน ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อ ตกลงซื้อขายตราสารหนี้เพื่อการลงทุน ถือครองในระยะยาว มีเวลาในการลงทุนที่ชัดเจน อาจจะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนตามความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย

กลุ่มสุดท้าย คือ นักลงทุนรายย่อย เป็นบุคคลธรรมดานี่แหล่ะ ตอนนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่า การซื้อขายตราสารหนี้ ในตลาดรองมีใครบ้าง ส่วนวิธีการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองจะเป็นในลักษณะผู้ซื้อและผู้ขายต่อรองราคากันเอง ราคาซื้อขายในตลาดรอง มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นผู้ซื้อ ซื้อในปริมาณเท่าไหร่  ยิ่งซื้อในจำนวนมากก็จะซื้อได้ในราคาถูกกว่า เหมือนๆ กับเวลาไปซื้อของจากแม็คโครและเซเว่นนั่นแหล่ะยิ่งซื้อเยอะก็จะทำให้ได้ราคาต่อหน่วยถูกลง เช่น ถ้า Dealer มีการซื้อขายกันเองจะเป็นอีกราคาหนึ่ง  ถ้า Dealer ซื้อขายกับนักลงทุนสถาบันก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ถ้าซื้อขายกับนักลงทุนรายย่อยก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ความแตกต่างของราคา นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือและความคุ้นเคย การติดต่อซื้อขายกันเป็นประจำ ผู้ขายและผู้ซื้อที่ดีและไว้ใจได้จะทำให้ได้ราคาดีกว่าลูกค้ารายใหม่ๆ นี้คือเหตุผลที่ทำให้เรารู้ว่า ทำไมราคาซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองกับ Dealer ถึงได้ราคาไม่ดีเท่ากับนักลงทุนรายใหญ่ เพราะ ต้นทุนทางการเงิน นี่เอง

แต่อาจจะมีบางคนสงสัยว่า ถ้าราคาซื้อขายไม่เท่ากันแล้วนักลงทุนรายย่อยอย่างเราจะไปซื้อขายกับ Dealer ไหนดีหล่ะ  ไม่ต้องกังวลไป ตอนนี้ได้มี เว็บไซต์ WWW.thaibond.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของศูนย์ซื้อขาย ที่เปิดให้บริการกับนักลงทุนรายย่อยโดยเฉพาะ นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าไปดูราคาซื้อ ราคาขายตราสารหนี้ จาก Dealer ที่มีการเสนอราคาก่อนได้ ราคาที่มีการเสนอ จะเป็นราคาที่ Dealer ซื้อขายกับนักลงทุนรายย่อยโดยเฉพาะ นักลงทุนสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามราคาที่ Dealer แต่ละแห่งก่อนก็ได้เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบราคาและตัดสินใจได้ว่าจะซื้อขายกับ Dealer ไหนดี

ประโยชน์ของผู้ขาย

ประโยชน์ของผู้ขาย

ทำไมต้องลงทุนในตลาดรองตราสารหนี้ เพราะการซื้อขายในตลาดรองตราสารหนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ และผู้กลาง ส่วนประโยชน์ของผู้ขายก็คือ:

เพื่อให้ผลกำไรจากส่วนต่างของราคา

เช่น นาย ต จองซื้อหุ้นกู้ของบริษัท A ในตอนที่บริษัทออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายครั้งแรกในราคา 1 ล้านบาท เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี บริษัท A เริ่มมีฐานะทางการเงินดีขึ้น มีความมั่นคงมากขึ้น ทำให้หุ้นกู้ของบริษัทเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ผู้ซื้อต้องการและเสนอซื้อหุ้นกู้ของบริษัท A ในราคา 1.1 ล้านบาท ทำให้มีราคาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 แสนบาท ถ้านาย ต จะขายหุ้นกู้ก็สามารถขายได้จะทำให้ได้กำไรจากส่วนต่าง ถึง 1แสนบาทในเวลา 1 ปี

เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นกู้ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

เพื่อจะได้เข้าใจง่ายๆ และเห็นภาพได้ชัดเจนในส่วนนี้ จะขอตัวอย่างเช่น นาย ป ได้ซื้อหุ้นบริษัท K ในราคา 1 ล้านบาท ได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอยู่ที่ 4% ต่อปี แต่ถ้านาย ป เอาเงินจำนวน 1ล้านบาทไปลงทุนซื้อบ้านและปล่อยให้คนเช่า เดือนละ 5,000 บาท ปีนึงก็จะได้เงินอยู่ที่ 60,000 บาท ถ้าเอารายได้จากค่าเช่ามาคำนวนถึงผลตอบแทน นาย ป จะได้ถึง 6% ต่อปี เมื่อเห็นผลตอบแทนที่จะได้สูงกว่า นาย ป สามารถตัดสินใจขายหุ้นกู้ แล้วเอาเงินไปลงทุนซื้อบ้านแทน

เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะต้องใช้เงินตอนฉุกเฉิน

ในทุกวันนี้เราต่างก็รู้กันดีว่า อนาคตไม่แน่นอน จะเกิดอะไรขึ้นกับเราเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเรามีหุ้นกู้อยู่ในมือก็จะช่วยเราได้เมื่อจำเป็น เช่น ยามเจ็บป่วย ต้องทำการรักษาแล้วต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่เรามีเงินสดในบัญชีไม่พอ แต่ยังมี หุ้นกู้ที่ซื้อเอาไว้ ถ้าจำเป็นเราสามารถขายหุ้นกู้นั้นเพื่อเอาเงินไปรักษาตัวได้ทันที

เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของนโยบายการลงทุน

อย่างเช่น บริษัท ก ลงทุนหุ้นกู้กับบริษัท ค ซึ่งได้รับจัดอันดับเครดิต หรือ Rating A แต่ต่อมา บริษัท ค ถูกปรับลดอันดับเครดิตเป็น Rating A- แต่นโยบายของบริษัท ก จะต้องลงทุนได้เฉพาะหุ้นกู้ Rating A ขึ้นไป ดังนั้น บริษัท ก จำเป็นต้องขายหุ้นกู้ของบริษัท ค ออกไปเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของการลงทุน

ประโยชน์ของผู้ซื้อ

ประโยชน์ของผู้ซื้อ

ส่วนประโยชน์ของผู้ซื้อหุ้นกู้ อันดับแรก  เพื่อเพิ่มผลตอบแทน เพื่อจะเห็นว่าผู้ซื้อจะเพิ่มผลตอบแทนจากหุ้นกู้ได้ยังไร จะขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ เช่น ตัวผู้เขียนเอง ซื้อหุ้นกู้ของบริษัท A ในจำวนเงิน 2 ล้านบาท อายุของหุ้นกู้อยู่ที่ 3 ปี ได้ผลตอบแทนในอัตราดอกเบี้ย 5%ต่อปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1ปี ตัวผู้เขียนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน จึงได้ไปแจ้งกับบริษัทหลักทรัพย์ว่า ตอนนี้ต้องการขายหุ้นกู้ ช่วยหาผู้ซื้อให้หน่อยนะ  หลังจากนั้น นาย ก ได้รับทราบข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ว่า มีคนขายหุ้นกู้ของบริษัท A ซึ่งตอนนั้นบริษัท A มีฐานะทางการเงินค่อนข้างมั่นคงและให้ผลตอบแทนของดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้นาย ก ตกลงซื้อขายหุ้นกู้ของบริษัท A ผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์

ส่วนผลประโยชน์อับต่อไป เพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคา แน่นอนว่าเมื่อมีการลงทุนสิ่งที่เราต้องการคือ กำไร คนที่ลงทุนซื้อหุ้นกู้ก็อยากซื้อเอาไว้เพื่อเก็งกำไร จากส่วนต่างนั้น ถ้าบริษัท มีฐานะมั่นคงมีจำนวน Order เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มได้รับการจัดอันดับเครดิต และเป็นที่ต้องการของตลาด เมื่อเวลาผ่านไป ราคาหุ้นกู้ก็ได้มีการปรับราคาสูงขึ้น ผู้ซื้อจึงมีโอกาศที่จะได้กำไรจากส่วนต่างนั้นเต็มๆ

ประโยชน์ของผู้กลาง

ประโยชน์ของผู้กลาง

การลงทุนซื้อขายหุ้นกู้ ทำให้ผู้กลางได้รับประโยชน์ด้วย โดยได้รับส่วนต่างจากราคารับซื้อและราคาขายต่อให้กับนักลงทุน หรือ กำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นกู้

สรุป:

สรุป:

การลงทุนในบ้านเรามีหลายแบบ แต่ละคนก็มีสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันไปตามความชอบและความถนัด บางคนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  บางคนไม่กล้าเสี่ยงก็ลงทุนโดยการซื้อสลากออมสิน ส่วนบางคนที่มีต้นทุนสูงหน่อยก็ลงทุนตลาดตราสารหนี้ ทั้งในตลาดแรก และตลาดรอง การซื้อขายก็มีความแตกต่างกัน

ส่วนราคาก็ต่างกันด้วยซึ่งความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับ ความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนวิธีการขายก็มีการขายผ่านทาง ผู้กลางอย่างบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนซื้อขายกันเอง หรือ Dealer ขายให้กับ นักลงทุนทั้งที่เป็นทั้งรายใหญ่ และ นักลงทุนรายย่อย ส่วนราคาซื้อขายระหว่างนักลงทุนด้วยกันเองกับนักลงทุนรายย่อย ก็ต่างกันที่  จำนวนการซื้อขาย ซื้อขายมากได้ราคาดีกว่าและขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อ แน่นอนว่านักลงทุนรายใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าในเรื่องราคา เพราะมีต้นทุนสูงกว่านั่นเอง.