หากใครที่ลงทุนในกองทุนรวมมานาน น่าจะอยากรู้กันบ้างว่าผู้จัดการกองทุนหรือคนที่คอยบริหารเงินให้เราผ่านกองทุนรวมอยู่นั้นเค้ามีการเดินทางแบบไหนกัน ถึงได้มาเป็นผู้จัดการกองทุนที่ต้องดูแลเงินในกองทุนแต่ละกองไม่น้อยกว่าหลักร้อยล้าน พันล้านกัน เรามาลองดูเส้นทางของผู้จัดการกองทุนกันดีกว่า มีนักลงทุนกี่คนรู้บ้างว่ากองทุนรวมที่เรานำเงินไปลงทุนอยู่นั้น มีใครผู้จัดการกองทุน ดูแลเงินลงทุนของเราอยู่?

เชื่อว่านักลงทุนไทยทั่วไปไม่เกิน 10% ที่ทราบชื่อของผู้จัดการกองทุนปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมการลงทุนในประเทศไทยมี “ผู้จัดการกองทุนรวม” ที่ได้รับใบอนุญาตจากทางสำนักงาน ก.ล.ต. อยู่ทั้งสิ้น 494 ราย และในจำนวนนี้มีผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่บริหารเงินลงทุนอยู่ทั้งสิ้น 330 ราย (ที่มา: ก.ล.ต.) และมีผู้จัดการกองทุน 285 รายที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมกองทุนรวม ส่วนที่เหลือก็กระจัดกระจายอยู่ในธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์หรือบริหารกองทุนส่วนบุคคล  แต่ถ้าอยากเป็นผู้จัดการกองทุนต้องทำอย่างไร? ก่อนอื่นต้องมารู้ข้อมูลตรงนี้ถ้าคุณเองอยากเป็นผู้จัดการกองทุนขึ้นมาบ้าง?

ผู้จัดการกองทุนคืออะไรและต้องทำอะไรบ้าง?

ผู้จัดการกองทุนคืออะไรและต้องทำอะไรบ้าง?

ผู้จัดการกองทุนก็คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการลงทุนของเงินที่ลูกค้าที่ได้มีการระดมทุนกันมา โดยผู้จัดการกองทุนจะดูว่าจะแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เพื่อไปลงทุนในหุ้น ในตราสารหนี้ หรือจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมด้วยกันก็ได้ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนตามที่ลูกค้าคาดหวัง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นผลตอบแทนที่สูงพอสมควร

ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะทำงานกันที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือเรียกย่อๆ ว่า บลจ. แต่บางครั้งก็มีที่ทำงานกันในบริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต ธนาคาร หรือจะเป็นกองทุนขนาดใหญ่ของทางภาครัฐ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม ซึ่งขนาดของกองทุนจะเป็นตัวบอกว่าจะมีผู้จัดการกองทุนมาดูแลมากน้อยแค่ไหน บาง บลจ.ที่มีต้องดูแลเงินเป็นแสนล้านและมีจำนวนกองทุนที่ต้องดูแลเป็นจำนวนมากก็อาจจะมีผู้จัดการกองทุนมากกว่า บลจ.ขนาดเล็ก และผู้จัดการกองทุนก็ยังแบ่งตามความเชี่ยวชาญ เช่น ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนตราทุน ผู้จัดการกองทุนตราสารต่างประเทศ เป็นต้น

ต้องมีคุณสมบัติอะไร?

ต้องมีคุณสมบัติอะไร?

ที่จริงๆ แล้วในการทดสอบเพื่อเป็นผู้จัดการกองทุนนั้นไม่ได้มีการแบ่งประเภทเหมือนกับผู้ติดต่อนักลงทุน ว่าเป็นผู้จัดการกองทุนได้เฉพาะตราสารหนี้หรือตราสารทุนเท่านั้น ถ้าเราสามารถสอบผ่านจนได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้เป็นผู้จัดการกองทุนแล้วล่ะก็สามารถบริหารกองทุนได้ทุกประเภท ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเราว่าชอบวิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์ตราสารหนี้ หรือจะสนใจไปเป็นผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ยังได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารงานของแต่ละ บลจ. แต่ถ้าจะเป็นผู้จัดการกองทุนได้ต้องจบอะไรมาบ้างถึงจะเป็นได้?

สำหรับใครที่สนใจจะเป็นผู้จัดการกองทุนนั้นจะจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสายบริหาร บัญชี การเงิน และก็มีบ้างที่เป็นสายวิศวกรรม ซึ่งทุกคนจะต้องสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง และมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนหรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่ถ้าหากไม่มีประสบการณ์แต่ได้รับวุฒิบัตร (ระดับ 3) หลักสูตร  Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) และนอกจากจะสอบผ่าน CFA หรือ CISA แล้ว ยังต้องผ่านการทดสอบเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณเกี่ยวกับการเป็นผู้จัดการกองทุนด้วยอีกหนึ่งอย่างถึงจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดการกองทุนได้

การทำงานของผู้จัดการกองทุน

การทำงานของผู้จัดการกองทุน

ในส่วนของการทำงานของผู้จัดการกองทุนนั้น ก็มีดังนี้ เมื่อเรารู้แล้วว่าจะมาเป็นผู้จัดการกองทุนได้นั้นต้องผ่านอะไรมาบ้าง? ทีนี้ก็มาถึงตอนที่ต้องทำงานกันจริงๆ แล้วว่าในแต่ละวันนั้นผู้จัดการกองทุนต้องทำอะไรกัน ก็เริ่มตั้งแต่เช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดผู้จัดการกองทุนก็จะต้องดูข้อมูลเงินเข้าเงินออกก่อนว่า วันนี้มีคนมาขอขายหรือสับเปลี่ยนกองทุนเท่าไร เพื่อดูว่าเงินที่มีอยู่พอที่จะจ่ายคืนให้กับนักลงทุนหรือไม่

หากไม่พอก็จะต้องวางแผนขายหุ้นหรือขายตราสารหนี้ที่มีอยู่ในกองทุนออก เพื่อที่จะได้มีเงินพอต่อการจ่ายคืนให้กับนักลงทุน และก็ต้องดูทางฝั่งรับด้วยว่ามีเงินเข้ามาในกองทุนเท่าไร เพื่อที่จะวางแผนในการซื้อหุ้นหรือตราสารหนี้เข้ากองทุน เมื่อผู้จัดการเห็นเงินเข้าเงินออกจากกองทุนแล้ว ต่อมาก็ต้องมาติดตามข่าวสารทั่วข่าวทั่วไปและบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อวางแผนในการซื้อหรือขายหุ้นและตราสารหนี้

นอกจากนั้นก็ยังต้องไปเข้าเยี่ยมกิจการที่กองทุนเข้าไปถือหุ้นหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย เพื่อไปดูว่ากิจการยังมีการดำเนินธุรกิจที่ดีอยู่จริงๆ หรือไม่บางครั้งก็ต้องไปพบกับลูกค้าสถาบัน เช่น ลูกค้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน เพื่อไปเสนอนโยบายการลงทุนหรือทำความเข้าใจด้านการลงทุน

สรุป

สรุป

ได้รู้ข้อมูลกันไปแล้วไม่ง่ายเลยนะคะ แต่ก็ใช่ว่าผู้จัดการกองทุนจะสามารถลงทุนอะไรได้ตามใจชอบตามอารมณ์ของตัวเองเหมือนกับการเล่นหุ้นของตัวเอง เพราะว่าผู้จัดการกองทุนกำลังบริหารเงินของคนอื่นๆ อยู่ ดังนั้น จึงต้องมีนโยบาย มีกฎเกณฑ์และหน่วยงานต่างๆ ทั้งของบริษัทและหน่วยงานภายนอกอย่าง ก.ล.ต. มาดูแลอีกทีผู้จัดการกองทุนสามารถลงทุนทั้งกองทุนและหุ้นได้ เพียงแต่ต้องแจ้งชื่อบัญชีให้กับหน่วยงานตรวจสอบของบริษัทได้ทราบ เพื่อที่จะได้รู้ว่าผู้จัดการกองทุนไม่ได้ใช้ข้อมูลภายในไปลงทุนเพื่อประโยชน์ของตัวเอง และถ้าหากมีผู้จัดการกองทุนคนไหนยอมทำเรื่องที่ไม่ถูกต้องแบบนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. สามารถตรวจสอบได้แน่นอน และเมื่อถูกจับได้ว่าปฏิบัติงานไม่ถูกต้องก็อาจจะต้องจบอาชีพการเป็นผู้จัดการกองทุนกันเลยทีเดียว จะเป็นผู้จัดการกองทุนได้นอกจาเก่งแล้วต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพไม่แพ้อาชีพอื่นๆ เหมือนกันค่ะ