เคยได้ยินมาว่ามีหลายคนเคยตกเป็นเหยื่อหลงกล เซ็นเอกสารไปโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเอกสารใบนั้นเป็นการทำสัญญาทำประกันชีวิตกับทางสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่บุคคลที่จะโดนหลอกง่ายที่สุดเลยก็จะเป็นญาติผู้ใหญ่ของเรานั้นเองเพราะไม่ค่อยทราบถึงศัพท์ทางการเงินต่างๆและมีความไว้เนื้อเชื่อพนักงานสถาบันการเงินสูงมีเอกสารอะไรมาก็เซ็นไปง่ายๆ วันนี้เราเลยจะมาบอกวิธีตรวจสอบให้เพื่อนๆนั้นสามารถที่จะเอาวิธีสังเกตและตรวจสอบเหล่านี้ไปบอกและไปเตือนกับญาติๆได้ โดยวิธีสังเกตตรวจสอบนั้นมีด้วยกัน 4 ข้อสงสัย แล้ว 4 ข้อสงสัยนั้นมีอะไรบ้างไปดูได้เลยในหัวข้ต่อไป

ข้อสงสัยที่ 1 การฝากเงินจะมีดอกเบี้ยสูงก็จริงแต่ไม่น่าจะเกิน 3% ต่อปี

ข้อสงสัยที่ 1 การฝากเงินจะมีดอกเบี้ยสูงก็จริงแต่ไม่น่าจะเกิน 3% ต่อปี

ข้อสงสัยแรกเลย ถ้ามีการเสนอจากเจ้าพนักงานถึงเรื่องของเงินฝากที่ได้ดอกเบี้ยที่สูง ได้ดอกเบี้ยคืนเท่านั้นเท่านี้ ได้คืน 5% หรือบางที มีถึง 10% จนมีบางทีการที่มีการเสนอแบบนี้มาทำให้เราอาจจะคิดว่า เรานั้นเป็นคนพิเศษหรือป่าวว่ะ เป็นข้อเสนอที่มีแค่เราเท่านั้นที่ได้รับ เป็นการฝากเงินประจำพิเศษสุดเฉพราะเรา คล้ายกับที่เราได้รับ SMS จากค่ายมือถือ ว่ามีโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะคุณเท่านั้น บอกเลยว่าคุณคิดผิดอย่างร้ายแรง ถ้าคนที่ไม่มีความรู้แน่นอน ว่าต้องคิดประมาณแบบที่ผมบอก แต่ถ้าคนที่มีความรู้หน่อยจะรู้ว่ามันไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะสมัยนี้การฝากเงินไม่ว่าจะมีดอกเบี้ยที่สูงขนาดไหนก็ตามไม่น่าจะเกิน 3% เป็นมาตรฐาน แล้วยิ่งช่วงเศรษฐกิจไม่ดี อัตราดกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำลงไปอีก แล้วเมื่อมีใครที่มาเสนอดอกเบี้ยที่ให้สูงเกินกว่ามาตรฐาน อย่าคิดเข้าข้างตัวเองว่าฉันเป็นคนพิเศษล่ะ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้เลยว่าไม่น่าจะใช่เงินฝากปกติแน่ๆ เพราะฉะนั้นก็จำให้ขึ้นใจว่าการที่มีการเสนอดอกเบี้ยที่สูงกว่ามาตรฐานต้องไม่ใช่การฝากเงินธรรมดา

ข้อสงสัยที่ 2 การฝากเงินไม่ควรมีเงื่อนไขยาวนานมากกว่า 5 ปี หรือ 60 เดือน

ข้อสงสัยที่ 2 การฝากเงินไม่ควรมีเงื่อนไขยาวนานมากกว่า 5 ปี หรือ 60 เดือน

โดยส่วนใหญ่การหลอกทำประกันมักจะทำการพูดออมๆให้เหมือนกับการเปิดบัญชีเงินฝากประจำ โดยมีเงื่อนไขคล้ายๆกันแต่ต่างกันตรงที่เงินฝากประจำนั้น จะมีระยะเวลาที่ไม่ถึง 5 ปี ให้ความรู้เกี่ยวกับเงินฝากประจำนิดนึงเงินฝากประจำจะได้ดอกเบี้ยที่สูงก็จริงแต่ก็อย่างที่บอกไปในหัวข้อแรกคือไม่เกิน 3% เป็มาตรฐานเผลอๆอาจจะน้อยกว่านี้ด้วยซ้ำ ส่วนเงื่อนไขการฝากเงินประจำต่างกับออมทรัพย์คือฝากแล้วไม่สามารถที่จะถอนได้จนกว่าจะครบกำหนด ส่วนกำหนดก็จะมีตั้งแต่ระยะสั้นสุด 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน ไปจนสูงสุดๆ 36 เดือน เพราะฉะนั้นถ้ามีใครที่มาเสนอแล้วมีเงื่อนไขให้ฝากเกินระยะเวลาที่บอกให้ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่าไม่ใช่การฝากเงินปกติ อาจจะเป็นรูปแบบการซื้อประกันชีวิต

ข้อสงสัยที่ 3 มีเงื่อนไขการฝากเงินแต่สามารถคุ้มครองในทุกกรณี

ข้อสงสัยที่ 3 มีเงื่อนไขการฝากเงินแต่สามารถคุ้มครองในทุกกรณี

อันนี้ถ้าเป็นคนใส่ใจรายละเอียดก็อาจจะมีการรู้ตัวได้แต่ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่อาจจะไม่ได้สงสัยหรือสังเกต อาจจะคิดว่าเอ่อดีเว้ยเปิดบัญชีเงินฝากแต่มีการคุ้มครองเข้ามาเสริมให้ด้วยดีจริงๆ แต่ต้องบอกเลยว่านั้นเป็นความคิดที่ผิดนะครับ บอกไว้ ณ ตรงนี้เลยว่า การเปิดบัญชีเงินฝากไม่ว่าจะเป็นของธนาคารใดในประเทศไทย จะไม่มีการพ่วงความคุ้มครองชีวิตใดๆ เข้ามา แต่ก็จะมีบางอันที่มีพ่วงประกันอุบัติเหตุ แต่ทั้งสองอย่างจะแยกกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีภาระผูกพันกนแต่อย่างใด ถ้าหากมีการเสนอแบบที่พ่วงประกันชีวิตเข้ามาในข้อตกลงหรือในสัญญาเป็นฉบับเดียวกัน ให้คิดได้เลยว่า มันไม่ใช่การเปิดบัญชีเงิน แต่เป็นการทำประกันชีวิต

ข้อสงสัยที่ 4 มีคำว่า (ผู้เอาประกัน) ในเอกสารที่คำลงท้าย

ข้อสงสัยที่ 4 มีคำว่า (ผู้เอาประกัน) ในเอกสารที่คำลงท้าย

คราวนี้มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการทำธุรกรรมล่ะนะครับ ให้อ่านเอกสารให้ดีในการจะทำสัญญา เอกสารที่พนักงานจะให้เราทำการเซ็น ต้องอ่านให้ละเอียดว่าเอกสารนี้ป็นเอกสารอะไรกันแน่ ถ้าเป็นเอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีเงินฝาก ให้สังเกตจะมีตัวหนังสือชัดเจนที่หัวกระดาษว่า เอกสารหรือแบบฟอร์มเปิดบัญชีเงินฝาก แต่ถ้ามันไม่มีคำว่าเปิดบัญชีเงินฝากแต่เป็นคำว่า ใบคำขอประกันชิวิต ไม่ต้องตั้งข้อสงสัยแล้วนะครับเพราะเอกสารมันก็เขียนชัดเจน แต่ถ้าหากหัวกระดาษไม่ได้มีตัวหนังสือ มีอีกจุดหนึ่งที่ให้สังเกต คือ ตรงจุดที่ให้เซ็นชื่อ ต้องไม่มีคำว่าผู้เอาประกัน หรือ คำว่าประกันอยู่ ถ้ามีก็อย่าไปทำการเซ็นนะครับ

สรุป

สรุป

ข้อสังเกตทั้งหมดที่นำมาให้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้และตรวจสอบได้จริงๆว่าเรา เพื่อนเรา ญาติเรา นั้นถูกหลอกขายประกันในรูปแบบเงินฝากหรือไม่ แต่ถ้าเกิดเหตุการที่เซ็นชื่อไปแล้ว แล้วเพิ่งจะมาเจอบทความของผมแล้วรู้ว่าเอ่อเราถูกหลอกนี่หว่า แล้วซื้อประกันชีวิตไปแล้ว ก็สามารถที่จะยกเลิกได้นะครับถ้าเพิ่งทำไปได้ไม่เกิน 15 วัน วิธีการคือเมื่อได้รับกรมธรรม์ จะมีเอกสารมาให้อีกเพื่อเซ็นรับกรมธรรม์ เราก็ไม่ต้องทำการเซ็นรับกรมธรรม์ และไปขอยกเลิกได้ แต่เราก็นั้นแหละเรียกว่าต้องเสียค่าโง่ไปหรือเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท ทางที่ดีที่สุดนะครับ ก่อนจะเซ็นเอกสรอะไรตั้งแต่แกให้อ่านและทำความเข้าใจให้ดีสักก่อน หรือสามารถที่จะร้องเรียนไปที่ สำนักงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ หรือ ปรึกษา ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินได้อกีช่องทางนะครับ