ถ้าเราต้องการทราบและรู้จักปัจจัยทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น! อยากดูเศรษฐกิจโลกแบบง่ายๆ ควรเริ่มจากอะไร? ตัวเลือกหนึ่งที่สำคัญ เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจในภาพรวม และเป็นสิ่งที่นักลงทุน จะต้องทำความเข้าใจ และรู้จักเป็นตัวแรก ก็คงหนีไม่พ้น “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ” หรือ GDP นั่นเอง!! เชื่อว่าเราหลายคนๆ ก็คงคุ้นหูกันไม่มากก็น้อย เมื่อดูข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ก็มักจะมีคำนี้หลุดออกมาเป็นประจำ แนวโน้มของเศรษฐกิจจะสดใสหรือน่าลงทุนก็ดูกันที่ ค่าGDP เราจึงอยากรู้กันมากขึ้นใช่ไหมว่า ค่า GDP คืออะไร? ตัวเลขจริงๆเกิดขึ้นได้อย่างไรและมาจากไหนบ้าง? GDP สำคัญอย่างไรกับนักลงทุนและนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ? และ ทำไมเราต้องมารู้จักกับเจ้า GDP กันด้วย? บทความนี้ ก็จะพาเราทราบคำตอบที่ทำให้หายสงสัยไปพร้อมๆกันได้ มาดูเลย
GDP คืออะไร
GDP (Gross Domestic Product) เป็น “ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ” ซึ่งก็คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในตลาด ที่ผลิตในประเทศช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะมาจากทรัพยากรภายในหรือภายนอกประเทศ และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ตัวนี้ ส่วนใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOT จะเป็นผู้ทยอยประกาศออกมา และประมาณการล่วงหน้า ให้ประชาชนได้ทราบเป็นรายไตรมาส จึงสามารถใช้วัดมาตรฐานค่าครองชีพของประชาชนในประเทศได้เป็นอย่างดี
โดยค่า GDP นี้ ได้ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1930 และใช้กันอย่างแพร่หลาย โดย Simon Kuznets ผู้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย และได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์. สำหรับประเทศไทยก็ใช้ค่านี้มานาน หากจะแปลเป็นภาษาง่ายๆให้เราเข้าใจชัดๆ GDP ก็คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายของประเทศหรือผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ เพื่อนับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศไทยเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนไทย แล้วมีรายได้ที่ต่างประเทศ ก็จะไม่นับเข้ามารวมกัน แต่จะเรียกว่า GNP : Gross National Product นั่นเอง
สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
GDP = C + I + G + (X – M)
โดนแต่ละตัวมีความหมาย คือ
- C หรือ Consumption คือ มูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนเป็นบริษัทและประชาชนทั่วไป (Private Consumption) เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป เช่น ค่าอาหาร ราคาบ้านหรือรถยนต์ที่ซื้อใช้ ค่าสาธาณูปโภคต่าง ๆ ส่วนบุคคลแทบทั้งหมด โดยจะมีดัชนี CPI หรือ Consumer Price Index เป็นตัวชี้วัดประกอบด้วย
- I หรือ Investment คือ มูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชนในสินค้าทุน หรือการลงทุนจากภาคเอกชนในการทำกิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการเษตร ถนนทางเดิน รถไฟฟ้า การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น แต่ไม่รวมการลงทุนรูปแบบการออม แบบหุ้นต่าง ๆ โดยจะมีดัชนี MPI หรือ Manufacturing Production Index เป็นตัวชี้วัด
- G หรือ Government Spending คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาล ในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ตามนโยบายต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธ ต่าง ๆ หรือ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทเงินโอน สวัสดิการทางสังคมต่างๆ
- X หรือ Export คือ มูลค่าการส่งออก หรือขายสินค้าให้กับต่างประเทศ
- M หรือ Import คือ มูลค่าการนำเข้า หรือการรับสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ส่วน X - M = Export ลบด้วย Import คือจะต้องตัวเลขการส่งออกลบด้วยการนำเข้าถึงจะเห็นอัตราการบริโภคสุดท้ายที่แท้จริง เป็นการดูมูลค่าการส่งออกสุทธิ เปรียบเหมือนการส่งออกคือรายได้ การนำเข้าคือรายจ่าย เราอยากรู้ว่าตัวเองเหลือเงินเท่าไหร่ เป็นบวกหรือไม่ ต้องนำรายได้หักรายจ่ายออกนั่นล่ะ
เกิดขึ้นอย่างไร
ในระบบเศรษฐกิจ GDP จะมีการเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก การหมุนเเวียนของรายได้และรายจ่าย ทั้งจากภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, และภาครัฐ ซึ่งจะมาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยประมาณการที่ประชาชนมีงานทำ ก็จะมีรายได้นำมาใช้จ่ายในตลาดสินค้าและบริการ จากนั้นก็จะมีการจ่ายภาษีคืนให้กับภาครัฐ หรือใช้เป็นเงินออมในสถาบันการเงินต่าง ๆ และลงทุนในธุรกิจ หรือ ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อซื้อหุ้นหรือกองทุนต่างๆ แล้วภาคธุรกิจก็จะขายสินค้าและบริการ จ่ายดอกเบี้ย จ่ายค่าแรงจ่าย ให้ประชาชนได้ประโยชน์ อีกทั้งจ่ายภาษีรายได้/มูลค่าเพิ่มต่อภาครัฐเช่นกัน
ส่วนภาครัฐเอง เมื่อมีรายได้จากภาษีต่างๆ ก็นำมาพัฒนาและสร้างสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุน ให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่อยอดได้ต่อไป จึงเป็นวงจรในการสร้าง “รายได้ประชาชาติ” ที่จะวัดเป็น “ผลผลิตมวลรวมของประชาชาติ” หรือเราเรียกง่ายๆว่า GDP นี่แหล่ะ ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวบรวมมาจากผลผลิตของภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคธุรกิจทั้งประเทศ จึงเป็นการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระดับสุดท้ายนั่นเอง
เช่น เลขต่างๆมาจากไหน เพิ่มขึ้นมาจากอะไร จาก C, I, G, X-M หรือจากทั้งหมดเลย ตามข้อมูลสำรวจจาก Trading Economics เป็นตัวเลข GDP ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในประเทศไทย ว่ามีเศรษฐกิจที่แข็งแรงและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ให้ข้อมูล GDP ในไตรมาส 2 ปี 2561 ไว้เช่น
- การบริโภคภาคเอกชน (C) มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เป็น 4.5% จาก 3.7% จึงมีการขยายตัวจากการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน และยอดขายรถยนต์นั่งที่โตขึ้น
- การลงทุนภาคเอกชน (I) มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกเป็น 3.2% จาก 3.1% จึงมีการขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และหมวดก่อสร้าง
- การลงทุนภาครัฐ (G) มีการเติบโตขึ้น เทียบกับไตรมาสแรก เป็น 4.9% จาก 4.0% เพราะมีขยายตัวจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
- .การส่งออกสินค้าและภาคบริการ (X) มีการเติบโตขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เป็น 6.4% จาก 6.0% ขยายตัวเกือบทุกหมวดสินค้าในอุตสาหกรรมหลัก
สรุปว่า GDP ในไตรมาส 2 ปี 2018 โตขึ้นมาเป็น 4.6% เทียบกับไตรมาสนี้ในปีที่แล้วอยู่ที่ 3.9% ทำให้ปลายปีที่ผานมา เศรษฐกิจไทยค่อนข้างเติบโตได้ดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเป็นบวกในช่วงต้นของไตรมาส 3ได้ และนี่ก็คือวิธีการอ่าน “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ” หรือ GDP ที่เราควรรู้
อีกอย่างที่น่าสนใจ คือ ค่า GDP เป็นบวก / เป็นลบ.ถ้าค่า GDP เป็นบวก แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น ด้วยการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่ม และมูลค่าการส่งออกสูงกว่าการนำเข้า แต่ถ้า GDP ติดลบ แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวเลง มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศลดลง หรือไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกลางของประเทศประมาณการ การลงทุนภาคอุตสาหกรรมลดลง การใช้จ่ายของภาครัฐน้อยกว่าที่คาด แม้กระทั่งการบริโภคของประชาชนก็ลดลงด้วย แต่ธุรกรรมที่เป็นเงินสดหรือไม่ได้เข้าระบบภาษีก็ยังไม่ได้ถูกนำเข้ามาคำนวณใน GDP
มีความสำคัญต่อนักลงทุนและเศรษฐกิจอย่างไร
แน่นอนว่า ค่า GDP ต้องสำคัญต่อนักลงทุนแน่ๆ เพราะเมื่อตัวเลข GDP (Gross Domestic Product)ติดลบ ก็จะบอกถึงภาวะเศรษฐกิจในงประเทศกำลังชะลอตัว จึงต้องเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปลงทุนในตลาดหรือระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากกว่า และเป็นสัญญาณทำให้รัฐต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ เช่น ภาคเกษตรตกต่ำ รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงราคาเพื่อให้ภาคเกษตรอยู่รอด แต่หาก GDP เป็นบวกหรือเท่ากับประมาณการเอาไว้ เศรษฐกิจที่ดีก็จะดึงดูดเม็ดเงินของนักลงทุนมากมายเข้ามา มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เรื่องที่ต้องระวังก็เห็นจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ อันเนื่องมากจากราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูง ประชาชนก็มีผลกระทบในการใช้จ่ายมากขึ้น
GDP มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ คือ ในระบบเศรษฐกิจต้องมีการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อประชาชนมีงานทำ และมีรายได้เพื่อนำมาจับจ่ายใช้สอยสำหรับซื้อสินค้าและบริการ จ่ายภาษีให้รัฐบาล และออมในสถาบันการเงินหรือลงทุนต่างๆ ภาคธุรกิจก็จะมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ มีการจ่ายดอกเบี้ย จ่ายค่าแรง จ่ายค่าปัจจัยการผลิตต่างๆ อีกทั้งจ่ายภาษีรายได้ แล้วภาครัฐก็จะมีรายได้จากภาษีต่างๆ โดยที่รัฐจะนำรายได้จากภาษีมาใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภค การสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อีกต่อไป
GDP บอกอะไรกับเราบ้างเพื่อการเลือกอย่างฉลาด!
จากข้อมูลที่เราผ่านตามาด้วยกัน จะเห็นว่า ตัวเลข GDP สำคัญมาก เพราะบอกเราให้รู้ว่าเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ จะดีและน่าลงทุนหรือไม่ หากตัวเลข GDP ออกมาสูงก็จะสามารถดึงดูดความสนใจให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและนักลงทุนต่างชาติลงทุนกันมากขึ้น จึงทำให้มีการกระจายเม็ดเงินไหลจากต่างประเทศเข้ามาหมุนเวียนในบ้านเรามากขึ้น เศรษฐกิจก็จะเติบโตได้ดี แต่ถ้าหากตัวเลข GDP ออกมาไม่ดี ก็จะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่ไม่ดีของคนในประเทศเอาได้เช่นกัน แสดงถึงประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายน้อย เศรษฐกิจก็จะถดถอย ไม่น่าลงทุน และมีผลต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารด้วย เพราะธนาคารจะเข้มงวดเรื่องการปล่อยกู้ เพื่อป้องกันหนี้สูญ ยิ่งถ้าตัวเลข GDP จริงที่ประกาศออกมา สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วล่ะก็ ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นเอาแน่ๆ แต่ถ้าหากตัวเลข GDP ประกาศออกมากต่ำ ตลาดหุ้นก็จะปรับตัวลดลงเช่นกัน
GDP จึงเป็นมูลค่าที่เราต้องใส่ใจ เหมือนการหมุนเวียนของรายได้และรายจ่ายของภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ และวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศของเราได้เป็นอย่างดี! ทั้งมีความสำคัญต่อนักลงทุนอย่างมาก และหากเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องก็จะทำให้รัฐต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ ทางที่ดีให้ผล GDP เป็นบวกคงจะดีที่สุดเพื่ออนาคตเศรษฐกิจที่สดใจ แต่ส่วนสรุปที่สำคัญ สำหรับนักลงทุนอย่างเราไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ย่อมอยากจะลงทุนในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี มีเสถียรภาพ และมีการเติบโตที่มากกว่าใช่ไหม ดังนั้น GDP จึงยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญที่นักลงทุนควรพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน และไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะจะมีผลกระทบต่อการเลือกอย่างฉลาดของเราในการดำเนินตามแผนธุรกิจนั่นเอง
Maprang
ตอนช่วงปีนี้ที่เจอโควิด19 ปี 2563 GDPติดลบ 5.3% ซึ่งถือว่าเยอะมากเลยนะ เพราะว่าช่วงโควิด19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในประเทศด้วย แต่เค้าคาดการณ์กันว่าปี 2564 GDP ไทยมีโอกาสขยายตัวได้ถึง 3.0% (ขอให้จริงเหอะ) จริงๆก็ไม่ใช่เเค่ประเทศเราประเทศเดียวหรอก ที่อื่นก็ GDP ติดลบเหมือนกัน แสดงว่าเศรษฐกิจแย่ทั่วโลกเลย
Priscilla
ใช่แล้วค่ะ เมื่อหนูอ่านข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจมักจะเห็นมีตัวเลขGDP แต่ก็ไม่เคยรู้เลยค่ะว่าคืออะไร วันนี้ได้เข้าใจมากขึ้นค่ะว่าเกี่ยวข้องกับสภาวะการหมุนเงินในประเทศ ถ้าช่วงไหนที่มีตัวเลข GDP เยอะ จะเป็นสถานการณ์ที่ดีที่นักลงทุนจะต้องคว้าโอกาสช่วงเวลานั้นเอาไว้ เพื่อชวนชวนนักลงทุนมาทำการลงทุนในประเทศค่ะ
สมหญิง
ค่า GDP เป็นอีกข้างหนึ่งที่เอาไว้สำหรับตรวจสอบระบบเศรษฐกิจทั้งการส่งออกของไทย ช่วยให้เราสามารถที่จะคิดคำนวณถึงระบบเศรษฐกิจว่าจะเป็นไปในทางทิศทางไหน ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการคำนวณระบบในเรื่องนี้ด้วย บทความนี้อธิบายได้ดีเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่า GDP คืออะไร เพื่อช่วยเราให้สามารถใช้ประโยชน์จากข่าวสารบ้านเมืองได้ค่ะ
ภูริตา
ตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ จะดีและน่าลงทุนหรือไม่ ก็คือตัวเลข GDP นี่เอง การคิดคำนวณอาจะดูยุ่งยากสักหน่อยแต่ก็ต้องทำกันน่ะนะ เพื่อให้นักลงทุนได้รู้ว่าเขาควรตัดสินใจอย่างไร ดีค่ะได้มารู้อะไรใหม่ๆมากขึ้น เคยเห็นและเคยได้ยินคำว่า GDP บ่อยๆแต่ไม่รู้รายละเอียดว่ามันคืออะไร มารู้ก็วันนี้แหละค่ะ
เนตรนาคราช
แสดงว่า ช่วงนี้ ถ้าเราคำนวน ค่า GDP ในช่วงนี้แสดงว่า ค่าจะติดลบมากอย่างบอกว่า อยู่ที่ 5.3% นั้นแสดงว่า สาเหตุที่ทำให้ค่า GDP ติดลบแบบนี้มันเกิดจากการที่เราไม่มีรายได้ที่เข้าประเทศด้วยใช่ไหม อย่างเช่น ภาคการท่องเดียวซึ่งปีนี้ก่อนที่จะเกิด โควิด-19 เขาคาดการณ์ว่าจะทำกำไรมากกว่าทุกๆเลย แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นแบบที่วางแผนไว้ แบบนี้เราจะแก้การติดลบได้อย่างไร
เนยหวาน
อ่านไปก็ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับการใช้ชีวิตของเราสักเท่าไหร่ เราก็คิดว่าเป็นที่สำคัญกับการดำเนินชีวิตมากกว่านี้ ทุกวันนี้ก้อยู่มาได้แบบไหม่รู้จักมาก่อน ไอค่า GDP เนี่ยก็ยังอยู่มาได้ ขอออกมาจากโลกของการเงินก่อนละกันนะคะ ปวดหัวแล้วเนี่ย ยังไงใครที่ขัดใจคอมเม้นท์ของเราก็ขอโทษทีพอดีเรามันสมองน้อยไม่สนใจเรื่องนี้จริง เข้ามาอ่านแต่อ่านไปไม่จบด้วย งง
ตะวันแดง
และการรู้จักค่า GDP ของสภาพเศรษฐกิจในประเทศไทยช่วงนี้ก็บอกให้เรารู้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยช่วงนี้ไม่น่าลงทุนอย่างยิ่งเลยครับไม่รู้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากพิษ covid ระบาดเมื่อไหร่ ผมก็ได้แต่หวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วๆนี้พ่อหลายคนปิดกิจการไปเยอะนะครับผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบเยอะมาก ค่า GDP ก็บอกอยู่แล้วว่าไม่มีนักลงทุนมาลงทุนกับประเทศเราแน่ๆ
ซ่อนกลิ่น
GDP คือ ค่าที่ใช้วัดความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสำคัญต่อนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ดังนั้นค่า GDP เกี่ยวข้องกับเราทุกคนค่ะ แม้ว่าเราจะทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศธรรมดาๆ แต่ลองนึกดูนะคะว่าถ้าบริษัทเราไม่มีกำไรมันก็จะส่งผลต่อเงินเดือนและโบนัสของเราด้วยคะ ดังนั้นมันไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวเราเลยนะคะ
หนู เฌอมณี
เห็นทางคนที่เก่งๆเรื่องนี้ออกมาคุยกันว่า ตอนนี้ น่าจะติดลบมากกว่าเดิมนะคะ มันคงไม่ได้มีผลมาแค่ โควิด-19 อย่างเดียวหลอกคะที่ทำให้ค่า จีพีดี ในบ้านเราลดลงขนาดนี้ มันน่าจะมาจากการบริหารของรัฐบาลมากกว่าคะ คนที่เข้ามาบริหารไม่น่าจะมีความรู้เรื่องแบบนี้นะคะ แค่ปีนี้ปีเดียว บ้านเรากู้เงินจากต่างประเทศมาแล้วหลายพันล้านบาทเลยคะ ไม่อยากจะคิดเลยคะว่าปีหน้าจะเป็นยังไง
บอย
ต้องสนใจสิครับตัวเลขของค่า dgp มีบอกอยู่ในข่าวตลอดเกี่ยวกับการส่งออกของประเทศไทยว่ามีค่าดีจีพีมากน้อยแค่ไหน เพราะการที่เรารู้แบบนี้จะช่วยให้เรารู้ถึงสภาพการส่งออกของประเทศไทยว่าดีมากหรือน้อย เพราะถ้าดีมากเมื่อไหร่นั้นเราก็ต้องยินดีกับคนที่ทำธุรกิจในด้านการส่งออก ทำให้ธุรกิจของประเทศไทยได้รับผลตอบแทนที่ดีนั่นเอง
แมวน้อย
GDP ไม่สนหรอกค่ะตอนนี้ สนแค่ว่าปากท้องเราจะเป็นยังไงแค่นั้น เศรษฐกิจต่อไปจะเป็นยังไงอันนี้ต้องรอดู เราไม่ใช่นักธุรกิจจะได้เข้าใจกับภาษาพวกนี้ได้ เราเองก็ทำมาค้าขาย เราไม่สนใจหรอกว่าค่า GDP คืออะไรเนี่ยไม่รู้เรื่องหรอก ฟังไปก็เท่านั้นแหละ ขออย่างเดี๋ยวให้เศรษฐกิจมันเดิน คนใช้เงินกันเหมือนเมื่อก่อน เท่านี้ก็พอใจแล้ว
muffinnn
ได้ยินบ่อยจริงๆล่ะค่ะคำว่า GDP ได้ยินได้เห็นเวลาดูข่าว เราไม่เคยสนใจแบบจริงจังว่ามันคืออะไรกันแน่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ อาจจะมีผลกับนักลงทุนหรือเปล่า คนทำงานธรรมดาทั่วไปอย่างเรา รู้สึกว่าไม่ว่าค่า GDP จะเป็นยังไง เราก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำงานหาเงินอยู่ดี เหนื่อยเหมือนเดิม เพิ่มเติม คือ รายจ่ายค่ะ