หุ้นอย่างหุ้นของร้านหนังสือในปัจจุบันนั้นยังน่าซื้อน่าลงทุนอยู่ไหม ปัจจุบันมีหนังสืออย่าง E-Book ที่เข้ามาแทนที่หนังสือฉบับพิมพ์แล้ว โดยถ้าเราสังเกตในช่วงที่ผ่านๆมา จะเห็นว่า E-Book นั้นที่เข้ามามีผลกระทบต่อนิตยสารและหนังสือฉบับพิมพ์จริงๆเพราะมีหลายบริษัทที่ได้ทำการประกาศปิดตัว ซึ่งถ้าไม่ปิดตัวก็คงจะอยู่กันไปไม่ได้ เพราะเห็นได้ชัดเลยจากพฤติกรรมส่วนตัวของผมเองหรืออย่างเราๆเองที่ปัจจุบันนั้นเชฟข่าวไม่ใช่จากหนังสือพิมพ์แล้วแต่เป็นใน มือถือ ในทีวี แทน ให้มาดูกันว่าในตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้มีหุ้นร้านหนังสืออะไรบ้าง โดยหุ้นร้านหนังสือในตลาดหลักทรัพย์มีทั้งหมด 3 เจ้าดังๆ คือ SE-ED , AMARIN , B2S  สำหรับผมส่วนตัวคิดว่าการที่พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดนาดนี้ ย่อมมีผลกระทบอย่างแน่นอนแต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ละบริษัทว่าจะมากจะน้อยขนาดไหน เพราะในแต่ละบริษัทมีข้อเด่นข้อด้อยแตกต่างกันและทั้ง 3 บริษัทก็ไม่ได้มีแค่หนังสืออย่างเดียว ยกตัวอย่าง B2S ที่ในร้านก็จะมีเครื่องเขียนมากมายหลากหลายวางขายภายในร้านด้วย ให้เรามาดูกันดีกว่าว่า E-Book ที่เข้ามาตีตลาดหนังสือฉบับเวอร์ชั่นพิมพ์นั้นได้รับความนิยมขนาดไหน

ความนิยมของ E-Book

ความนิยมของ E-Book

ผมจะพูดถึงตัวเลขของประชากรสหรัฐอเมริกามาล่ะกันนะครับ โดยตัวเลขผู้อ่านหนังสือแบบ E-Book เริ่มมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นกับหนังสือที่เป็นแบบรูปเล่มใกล้เคียงกันสุดๆจนมาถึงปี 2017 ยอดขายของ E-Book เริ่มที่จะแซงหนังสือเล่มเป็นที่เรียบร้อย โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าที่ E-Book เข้ามาตีตลาดได้สำเร็จนั้นเป็นเพราะการเข้าถึงการใช้งานนั้นเป็นอะไรที่ง่ายแสนง่าย และอุปกรณ์ที่เข้ามารองรับ E-Book ก็คือ พวกโทรศัพท์มือถือ Tablet ที่เรียกว่าปัจจุบันไม่มีใครไม่ได้ใช้กันอย่างแน่นอนเลยทำให้การเข้าไปอ่านหนังสือในรูปแบบ E-Book นั้นเข้าถึงง่ายและเป็นที่นิยม ส่วนที่ผมเอาตัวเลขของสหรัฐอเมริกามาพูดถึงเพราะว่า ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีการอ่านหนังสือมากที่สุดในโลกและภาษาที่เขาใช้กันเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกนั่นเอง ทำให้ E-Book มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษสักส่วนใหญ่ สรุปก็คือ E-Bookเข้ามาตีตลาดได้สำเร็จได้รับความนิยม แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้หนังสือที่เป็นแบบรูปเล่มหนังสือฉบับพิมพ์หายไปได้เพราะมันยังไม่สามารถที่จะทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังไงก็ทำให้ร้านหนังสือนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนกันนิดหน่อยจากพฤติกรรมของผู้บริโภทอย่างเราๆ เรามาดูกันดีกว่าร้านหนังสือแต่ละร้านทั้ง 3 ร้านมีการปรับตัวกันยังไง

Se-ed Book Center

Se-ed Book Center

ร้านแรกที่จะพูดถึง คือ ร้าน SE-ED Book Center ที่ถือได้ว่าเป็นร้านหนังสือเจ้าใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภทนี้ ที่มีสาขาแรกตั้งแต่ปี 2533 โดยมี ชื่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า SE-ED ในปี 2555 ที่ผ่านมา SE-ED Book Center มีสาขามากถึง 462 สาขา แต่ในปัจจุบัน เหลือสาขาอยู่ที่  357 สาขา มาดูตรงส่วนรายได้กันบ้างดีกว่า ย้อนให้ดูตั้งแต่ปี 2558 รายได้รวม 4,544 ล้านบาท กำไรสุทธิ 71 ล้านบาท ปีต่อมา 2559 รายได้รวม 4,289 ล้านบาท กำไรสุทธิ 12.4 ล้านบาท ปี 2560 รายได้รวม 3,769 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ -25.7 ล้านบาท และปี 2561 รายได้รวม 3,383 ล้านบาท กำไรสุทธิ 14.6 ล้านบาท ไตมาส 2/2562 รายได้รวม 1,677 ล้านบาท กำไรสุทธิ 21.31 ล้านบาท เห็นได้ว่ารายได้และกำไรลดลงทุกปี ซึ่งสาเหตุก็มาจากการทะยอยปิดสาขาเพื่อลดต้นทุนนั่นเอง

ร้านหนังสือนายอินทร์

ร้านหนังสือนายอินทร์

ร้านนายอินทร์ หรือ ที่จดทะเบียนตลาดหุ้นในชื่อ AMARIN เป็นร้านหนังสือที่เน้นขายหนังสืออย่างเดียว 100% โดยมีสาขาทั้งหมด 119 สาขาเยอะเป็นอันดับสอง โดยจุดเด่นของร้านหนังสือนายอินทร์นั้นคือมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยร้านหนังสือนายอินทร์ที่จดทะเบียนในชื่อ AMARIN นั้นมีกิจการอื่นๆด้วย อาทิเช่น สำนักพิมพ์ 14 สำนัก , ทีวีดิจิทัล:AMARIN TV , ธุรกิจการจัดงานอีเวนท์:บ้านและสวนแฟร์ มาดูรายได้กันดีกว่า ปี 2558 รายได้อยู่ที่ 2,004 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 417 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 1,945 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 628 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 2237 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 164 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 3536 ล้านบาท กำไรสุทธิ 172.7 ล้านบาท ไตรมาส 2/2562 รายได้ 1386.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 20 ล้านบาท เห็นกันอย่างชัดเจนว่า AMARIN นั้นขาดทุนอย่างย่อยยับแต่ก็มีปีที่ผ่านมาที่ได้กำไรคืนมาหน่อยจาก รายการทีวีอย่าง AMARIN TV

B2S

B2S

ต่อไป คือ ร้านหนังสือ B2S ถึงจะมีสาขาแค่ 114 สาขาเท่านั้น แต่พื้นที่ของร้านหนังสือ B2S แต่ละสาขานั้นค่อนข้างที่จะกินพื้นที่กว้างใหญ่ เพราะ B2S ไม่ได้เน้นการขายแค่หนังสือเพียงอย่างเดียว แต่มีทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน อย่างสมัยตอนผมยังเด็กๆเป็นนักเรียนพูดแล้วก็คิดถึงวันวานต้องทำงานกลุ่มทำรายงานตจ้องการที่จะซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนก็จะแวะเวียนไปใช้บริการ B2S บ่อยๆเพราะอุปกรณ์เครื่องเขียนเขาเยอะจริงๆ ส่วนชื่อในการใช้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ ชื่อ COL ส่วนสัดส่วนในร้านหนังสือจะแบ่งเป็น ดังนี้ ขายหนังสือ 26% ขายเครื่องเขียน 48% ขายอื่นๆ 26% มาดูต่อในส่วนของรายได้แลพกำไรกันดีกว่า ปี 2558 รายได้ 3,991 ล้านบาท กำไรสุทธิ 223 ล้านบาท , ปี 2559 รายได้ 4,509 ล้านบาท กำไรสุทธิ 255 ล้านบาท , ปี 2560 รายได้ 4,635 ล้านบาท กำไรสุทธิ 354 ล้านบาท , ปี 2561 รายได้ 4,550 ล้านบาท กำไรสุทธิ 388 ล้านบาท  จากที่ดูแล้วเหมือน E-Book จะเข้ามาตีตลาดหนังสือจริงแต่ไม่ค่อยจะกระทบกับทางร้าน B2S สักเท่าไร เพราะ B2S ไม่ได้เน้นขายหนังสือเพียงเดียว

E-Bookได้รับความนิยมแต่หุ้นร้านหนังสือก็ยังน่าสนใจ

E-Bookได้รับความนิยมแต่หุ้นร้านหนังสือก็ยังน่าสนใจ

จากข้อมูลทั้งหมดที่นำมาในวันนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า E-Book มีผลกระทบต่อร้านหนังสืออยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ได้ทำให้ร้านหนังสือในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 3 นั้นถึงกับเจ๋งไปแต่อย่างใด เพราะทั้ง 3 ร้านก็ไม่ได่มีกิจการแค่ร้านหนังสือเท่านั้น แต่ E-Book ก็ทำให้ขาดทุนอยู่พอสมควรสำหรับหุ้นร้านหนังสืออย่างร้านนายอินทร์ที่เน้นขายหนังสือ 100 % ในร้าน และต่อมาก็เป็นร้าน SE-ED ที่สัดส่วนในร้านขายหนังสือ 70% ขายอื่นๆ 30% และไม่ขาดทุนเลยอย่างร้าน B2S หรืออีกชื่อในตลาดหลักทรัพย์ COL  ที่จัดสัดส่วนในร้าน ดังนี้ 26% ขายหนังสือ 48% ขายเครื่องเขียน 26% ขายอื่นๆ