ก็ได้จบกันไปแล้วนะครับ กับ ชีรีย์ชื่อดังอย่าง Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ที่เริ่มฉายมาตั้งแต่ปี 2554 ใครก็ตามที่ได้ติดตามดูชีรีย์และได้เป็นแฟนๆของชีรีย์นี้จะรู้ว่าชีรีย์นี้มีข้อคิดดีๆมากมายที่เราสามารถเอามาปรับใช้ได้ในชีวิตจริงที่ไม่ควรจะให้มันจบไปกับตัวชีรีย์ ก่อนอื่นจะต้องบอกว่าบทความนี้มีการสปอยเล็กน้อยในช่วงซีซั่นแรกๆแต่ขะไม่ได้สปอยซีซั่นหลังใครที่ยังไม่ทันได้ดูซีซันหลังก็ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ และสิ่งที่จะมาบอกคือบทเรียนที่ชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ได้ทิ้งเอาไว้ 6 บทเรียน ที่นักลงทุน สามารถเอาไปใช้ได้ในการลงทุนในหุ้น มีบทเรียนอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1 เรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ

1 เรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ

Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ถ้าใครที่เคยดูจะรู้ว่าเป็นชีรีย์ที่มีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นเสมอถ้าภาษาคอหนังก็จะเรียกว่าหักมุมบ่อยจริงๆแทบจะทุกซีซั่น เป็นชีรีย์ที่รับน้องคนโลกสวยที่ดูตั้งแต่ซีซั่นแรกเลย ด้วยการเอาตัวเอกของเรื่อง อย่าง เน็ต สตาร์ต มาถูกประหารชีวิตโดยการตัดคอ แถมหลังจากถูกประหารเสร็จยังเอาหัวที่ตัดนั้นมาเสียบไม้ประจานอีก บอกเลยว่าใครที่โลกสวยหรือไม่ชอบหนังชีรีย์ความรุ่นแรงมีสำลักกันเป็นแถวเลยล่ะ และฉากนี้ทำให้คนที่ดูชีรีย์นี้อยู่ถึงกับงงกันเป็นไก่ตาแตกเพราะว่าดูมาในตอนแรกเหมือน เน็ต สตาร์ตนั้นจะเป็นตัวเอกของเรื่อง แต่กลับมาตายแล้วตายอย่างโหดด้วย  และ ในฉากนี้ก็สามารถเอามาปรับใช้กับการลงทุนในหุ้นได้ เพราะการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นก็มักจะมีอะไรที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวไม่ทันคิดเหมือนกัน เช่น เรากำลังดูหุ้นตัวนี้ดูกราฟแล้วว่าน่าจะเป็นอย่างนี้กราฟก่อนหน้าก็ดูดี อยู่ๆก็อาจจะพังได้เมื่อสถานการณ์โลกไม่เป็นใจ บริษัทที่ทำกำไรมาตลอดช่วงแรกๆที่เปิดตัว อาจจะกลับมาขาดทุนล้มเหมือนโดนเตะตัดขาเลยก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการลงทุนในหุ้นควรจะมีการเตรียมรับมือกับสถาณการณ์ที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบโดยเฉพราะกับเหตุการณ์สถาณการณ์เลวร้ายสุดๆที่จะเกิดขึ้นยิ่งดี เช่น การวางจุด Stop Loss หรือ Cut Loss นั้นเอง

2 ควรมีแผนรับมือกับเรื่องไม่คาดคิด

2 ควรมีแผนรับมือกับเรื่องไม่คาดคิด

ต่อจากข้อแรก คือ อาจจะมีเรื่องที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอเราที่เปรียบได้กับจุดเล็กๆจุดหนึ่งบนโลกที่ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนอะไรที่เกิดขึ้นได้มีแต่จะต้องตามน้ำไปกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ก็คือ การวางแผนรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างจาก ชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) เรานั้นไม่สามารถที่จะสั่งให้พวกผีดิบ White Walker ไม่ให้บุกเข้ากำแพงได้ แต่เราสามารถหาแผนมารับมือกับมันได้ และ นอกจากนี้การวางแผนและการวางแผน ยังมีผลต่อความก้าวหน้าในชีวิตอีกด้วย ตัวอย่างที่ทุกคนน่าจะคิดตรงกันเลยก็คือจาก ลิตเติลฟิงเกอร์/ลอร์ดเบลิช ที่มีการวงาแผนทุกอย่างได้ละเอียดถี่ถ้วนจนสามารถสร้างความก้าวหน้าในชีวิต จากการเป็นแค่เจ้าของซ่องโสเภณีก็ได้กลายมาเป็น Master of Coin และต่อมาก็มาเป็น Lord Protector of The Vale จากแผนการที่เจ้าเล่ห์ที่ใช้ความรักของไลซา (น้องสาวของแคทเธอรีน สตาร์ค เป็นเครื่อง จนได้เป็น Lord of Harrenhal บอกได้เลยว่าการกระทำของ ลิตเติลฟิงเกอร์ เป็นอะไรที่น่ายกย่อง ในฐานะคนที่รู้จักวางแผนอ่ะนะ จนทำให้มีความก้าวหน้าในชีวิต แต่จะเป็นเรื่องดีและยั่งยืนกว่าถ้าการวางแผนของเรานั้นเป็นการวางแผนเรื่องที่ดีและใสสะอาด ไม่ได้เจ้าเลล่ห์พาคนอื่นเดือนร้อน เพราะยังไงคนที่ฉลาดวางแผนแต่เรื่องไม่ดีสุดท้ายก็ไม่ได้อยู่อย่างยั่งยืนเหมือนกับ ลิตเติลฟิงเกอร์ นั้นแหละ

3 ต้องยอมรับปัญหาและควบคุมอารมณ์

3 ต้องยอมรับปัญหาและควบคุมอารมณ์

การควบคุมอารมณ์ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก และ ถ้าควมคุมอารมณ์ไม่ได้แล้วมาเทรนหุ้นยิ่งไปกันใหญ่ จะเห็นได้ว่าหลายคนประสบกับปัญหาแบบนี้ เลยเริ่มมีความนิยมในการใช้หุ่นยต์หรือ AI มากขึ้นในการเข้ามาเทรนหุ่นแทนเพราะบางสถานการณ์ในตลาดหุ้นบอกเลยว่า AI นั้นทำได้ดีกว่าและสามารถทำกำไรได้กว่าคนเราที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ AI ทำทุกอย่างเหมือนที่มนุษย์ทำได้หากป้อนข้อมูลเข้าไปโดยที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ก็มีตัวอย่าง การปล่อยอารมณ์ให้เหนือกว่าเหตุผลจนทำให้ชีวิตตัวเองและครอบครัวพังมาแล้วเหมือนกัน ตัวอย่างนั้นคือ ร็อบ สตาร์ค ที่ไม่ยอมแต่งงานกับลูกสาวตระกูลเฟรย์ ทั้งๆที่ได้ให้สัญญาเอาไว้แล้ว แต่ดันไปเลือกทาลิซาและลูกตามความรู้สึกของตัวเองสุดท้ายก็ต้องพบจุดจบแบบที่เห็น

4 ต้องฝึกฝนเพื่อความชำนาญ

4 ต้องฝึกฝนเพื่อความชำนาญ

ในชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ตัวละครอย่าง อาร์ยา สตาร์ค คือตัวอย่างทที่ดีมากในเรื่องนี้ที่มีความพยายามฝึกฝนจนเก่งขึ้นเรื่อยๆ และ สามารถทำตามเป้าหมายของตัวเองได้สำเร็จ ซึ่งเป้าหมายของ อาร์ยา สตาร์ค คือ การสังหารคนที่เคยทำร้ายครอบครัวของเธอตามรายชื่อ ตอนเริ่มเรื่อง อาร์ยานันเป็นแค่เด็กผู้หญิงลูกคุณหนูตระกูลสูงคนหนึ่งที่ถึงแม้จะได้เรียบร้อยเป็นกลุสตรีขนาดเหมือนกับซานซ่า แต่เธอก็เป็นลูกคุณหนูดีๆคนนึง จะเห็นได้ว่าตลอดทั้ง 8 ซีซั่น อาร์ยา นั้นมีพัฒนาการตลอดทุกซีซั่น จากเด็กผู้หญิงธรรมดา กลายมาเป็นนักสู้ เพราะการฝึกฝน อดทน ถึงจะต้องเจอเรื่องร้ายๆมากมาย ถึงจะโดนทำให้ตาบอดก็ยังมีความพยายามที่จะต่อสู้ นี่แหละคือคุณสมบัติที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ที่สามารถเอามาใช้กับการลงทุนในหุ้นได้ เพราะก่อนที่เราจะทำกำไรได้ในตลาดหุ้นก็ต้องผ่านการฝึกฝนแต่คนที่ไม่ยอมแพ้และฝึกฝนมาเรื่อยๆสักคนนั้นแหละจะทำได้สำเร็จเหมือนกับ อาร์ยา สตาร์ค ใน ชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์)

5 ฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง

5 ฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง

มีอยู่ด้วยกันหลายตัวละครัในชีรีย์รีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์) ที่ไม่ได้มีการคิดวิเคราะห์เอง หรือเรียกว่าไม่ได้คิดด้วยตัวเองแล้วโดนคนอื่นหลอกใช้หลอกด้วยแค่คำพูด ยกตัวอย่างก็จะมี เน็ต สตาร์ค ที่ต้องมาตายเพราะไปเชื่อคำพูดของ ลิตเติลฟิงเกอร์ หรือ ฉายา นิ้วก้อย ที่ทำให้สแตนิสนั้นถึงกับต้องเผาลูกสาวตัวเองทั้งเป็น เพราะเชื่อคำพูดของสตรีแดง (Red Woman) เช่นกันนะครับกับการลงทุน เรานั้นไม่ควรที่จะเอาคำพูดหรือคำแนะนำของใครมาเชื่อ 100% หรือแม้จะบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์แต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์เองเลย

6 มารู้จักอัตราทด (Leverage)

6 มารู้จักอัตราทด (Leverage)

หลังจากที่เดเนอริสกลายเป็นแม่ม้ายเพราะสามีตายและถูกคนในเผ่าโดธรากีทอดทิ้ง เหลือไว้ก็แค่ลูกมังกรสามตัวที่เพิ่งจะฟักออกมาจาก ณ ตอนนั้นเรียกได้ว่าเดเนอริสแทบจะไม่มีอะไรติดตัวเลย แต่สิ่งที่ทำให้กลับมายิ่งใหญ่และสามารถสร้างกองทัพนับแสนได้ ก็เพราะเธอนั้นรู้จักอัตราทด (Leverage ) ซึ่งในที่นี้คือ มังกรที่เพิ่งฟักออกจากไข 3 ตัวนั้นเอง รวมถึงสายเลือดกษัตริย์ของเธอ ทำให้สามารถสร้างพันธมิตรและกองทัพที่ยิ่งใหญ่ มากเป็นหลายเท่าจากสิ่งที่เธอนัดเหลืออยู่เพียงน้อยนิด ในตัวอย่างนี้สามารถเอามาปรับได้กับการลงทุนในแง่ที่ว่า สิ่งที่เล็กน้อยก็สามารถที่จะสร้างมูลค่าได้อย่างมากมาย ถ้าหากเรามองเห็นถึงคุณค่าของมันอย่างแท้จริง ทำให้สามารถสร้างมูลค่ากับมันได้ เหมือนการเพิ่มอัตราทดโดยใช้มังกรของเดเนอริสในชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์)  นั้นเอง

ชีรีย์ Game of thrones นั้นมีบทเรียนให้ 6 บทเรียนที่นักลงทุนควรนำไปใช้

ชีรีย์ Game of thrones นั้นมีบทเรียนให้ 6 บทเรียนที่นักลงทุนควรนำไปใช้

สรุปแล้วในชีรีย์ Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์)  นั้นก็มีบทเรียนที่สอนเราได้หลายๆอย่างทั้งการเตรียมความพร้อมกับเรื่องที่ไม่คาดคิด วางแผนรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิด ใช้เหตุผลอยู่เหนือกว่าอารมณ์ และขยันมั่นฝึกฝนแล้วจะสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ และการมองเห็นคุณค่าสิ่งเล็กน้อยที่สามารถสร้างมูลค่าได้มองให้เห็นคุณค่าของมันจริงๆ สิ่งสุดท้ายที่อยากจะฝากสำหรับใครที่ชอบดูชีรีย์ ให้ดูชีรีย์แล้วได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้นคือเอาแนวคิดในชีรีย์มาปรับใช้ได้จะดีที่สุดพยายามคิดมองกลับมาที่ตัวเองว่าจะนำมันไปใช้อย่างไร โดยเฉพาะ ชีรีย์ที่มีความยาวอย่าง Game of thrones (มหาศึกชิงบัลลังก์)  ที่ทั้งยาวและทิ้งข้อคิดไว้ให้เพียบ