เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าข้าวไทยและยางพารายังเป็นสินค้าหลักๆที่เรายังส่งออกไปขายในต่างประเทศเป็นจำนวนมากอยู่ แต่ข้าวดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากกว่า ส่วนยางพารามีบางช่วงที่ราคานั้นตกลงจนเกิดปัญหาต่อคนที่ทำอาชีพยางพารา ซึ่งประเทศที่นำเข้าข้าวของประเทศไทยเราอยู่ในอันดับต้นๆก็คือ อินโดนีเซีย ไอวอรี่โคส เนิน จีน และแคมเมอรูน ซึ่งข้าวของไทยยังคงได้รับออเดอร์อยู่เรื่อยๆ  บางครั้งก็ไม่สามารถรับออเดอร์ได้มากอย่างที่มีความต้อการสั่งมาเพราะสภาพอากาศส่งผลให้ผลผลิตมีไม่มากพอที่จะส่งออก แต่ถึงอย่างไรข้างของไทยก็เป็นที่นิยมซื้อขายมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามอยู่เพราะค่าเงินบาทยังแข็งตัวอยู่นั่นเองค่ะ

สำหรับเพื่อนๆบางคนคงไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่บทความนี้จะมาสรุปเรื่องข้าว และยางพาราที่ประเทศไทยเราส่งออกแบบให้เข้าใจง่ายๆไม่น่าเบื่อเพื่ออ่านเป็นความรู้ ส่วนเกษตรกรที่เข้ามาอ่านก็ได้รู้ความเคลื่อนไหวของสินค้าที่ตัวเองได้ลงแรงปลูกขึ้นมาค่ะ ซึ่งบทความนี้จะมาอธิบายเรื่องข้าว ยางพารา และความเคลื่อนไหวของการค้าขายสินค้านี้ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง และผันผวนของโลกค่ะ

ความเคลื่อนไหว

ความเคลื่อนไหว

มาดูความเคลื่อนไหวของราคาข้าวกันก่อนนะคะ ซึ่งโดยรวมถือว่ายังคงมีราคาที่สูง และยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอยู่มาก ซึ่งเพื่อทราบไหมว่าประเทศไหนที่ผลิตข้าวส่งออกมากพอๆกับประเทศไทยของเรา? คำตอบก็คือ ประเทศอินเดีย และประเทศเวียดนามนั่นเอง ซึ่งทั้งสามประเทศนี้ได้ครอบครองตลาดการค้าข้าวทั่วทั้งโลกอยู่ที่ 60% อยู่ที่จำนวน 43 ล้านตัน แต่ถึงแม้ข้าวจะยังมีความต้องการมากแต่ตอนนี้ด้วนสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้ทั้งสามประเทศไม่สามารถผลิตข้าวได้มากพอกับความต้องการในอนาคตของลูกค้าแน่นอน

มาดูราคาข้าวแต่ละชนิดของเราที่ขายออกไป อยู่ที่ราคาเท่าไหร่เมื่อคิดเป็นเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐ

  • ข้าวหอมมะลิไทย 100% เฉลี่ยตันละ 1,107 ดอลลาร์สหรัฐ ( 33,750 บาท )

  • ข้าวขาว 5% เฉลี่ยตันละ 412 ดอลลาร์สหรัฐ ( 12,561 บาท )

  • ข้าวขาว 25% เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐ ( 12,378 บาท )

  • ข้าวนึ่ง 5% เฉลี่ยตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐ ( 12,652 บาท )
 มาดูราคาข้างที่ขายภายในประเทศด้วยนะคะ

  • ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ เฉลี่ยตันละ 15,493 บาท

  • ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น เฉลี่ยตันละ 7,687 บาท

  • ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 ( ใหม่ ) เฉลี่ยตันละ 33,810 บาท

  • ข้าวขาว 5% ( ใหม่ ) เฉลี่ยตันละ 11,290 บาท

นี่ก็คือราคาข้าวที่นำมาบอกคร่าวๆให้ได้ทราบกันเอาไว้บ้างนะคะ เพื่อเป็นความรู้แต่สำหรับเกษตรกรความรู้นี้คงเป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ

มาดูกันต่อที่ความเคลื่อนไหวของยางพาราค่ะ ตอนนี้ยังถือว่าราคายางพารายังคงทรงตัว เพราะก่อนหน้านี้ราคายางพาราเคยตกลงมากๆจนเกิดปัญหาต่อคนที่ทำอาชีพนี้อย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเราที่มีประชากรประกอบอาชีพนี้เยอะมากๆ ประเทศที่รับซื้อยางพาราของเราไปมากก็คือ ประเทศจีน และประเทศอื่นๆในยุโรป แต่ด้วยสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีขึ้นมากทำให้ไม่ได้มีความต้องการรับซื้อยางพารามากเท่าที่ควร ราคาของยางพาราจึงยังไม่ปรับตัวกระโดดสูงสักเท่าไหร่ และตอนนี้ในหลายๆพื้นที่ของประเทศไทยก็หันมาประกอบอาชัพปลูกยางพารามากขึ้น เช่นบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางก็มี ทำให้มีปริมาณของผลผลิตที่ล้นตลาดอยู่ค่ะ

มาดูราคาเฉลี่ยของยางพาราของจังหวัด สงขลา / นครศรีธรรมราช / สุราษฎร์ธานี / ยะลา / บุรีรัมย์ / หนองคาย

  • ยางแผ่นดิบคุณภาพดี = 37.09
  • ยางแผ่นดิบความชื้น 3-5% = 36.89
  • ยางพาราแผ่นดิบความชื้น 5-7% = 36.50
  • ยางแผ่นดิบท้องถิ่น = 35.70
  • ราคาส่วนต่างยางแผ่นดิบ = 1.39
  • ยางแผ่นรมควันชั้น 1-3  = 39.60
  • ยางแผ่นรมควันชั้น 4 = 39.39
  • ยางแผ่นรมควันชั้น 5 = 39.31
  • ยางแผ่นรมควันฟองอากาศ = 39.30
  • ยางแผ่นรมควันคัตติ้ง = 34.69
  • เศษยาง 100% = 31.20
  • น้ำยางสด = 36.70
 นี่คือราคาของยางพาราโดยเฉลี่ยที่ควรรู้ค่ะ

ข้าว

ข้าว

การส่งออกข้าวขอประเทศไทยนั้นก็ยังคงน่าเป็นห่วงเพราะมีความต้องการมากกว่าปริมาณข้าวที่มีกักเก็บเอาไว้ พูดง่ายๆคือ มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการนั่นเอง อาจจะเกิดภาวะขาดแคลนได้แม้แต่การค้าขายข้าวในประเทศก็ตามอาจจะไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดภาวะ ข้าวยากหมากแพงได้ค่ะ ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นเพราะสภาพอากาศที่ทำให้แห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอฝนตกไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรชาวนาเพาะปลูกได้ในเวลาที่สั้นลง ในหนึ่งปีสามารถปลูกข้าวได้หนึ่งครั้ง ต่างจากเมื่อก่อนค่ะ ซึ่งเคยมีประสบการณ์จากประเทศอินเดียที่ต้องหยุดส่งออกข้าวเพราะมีข้าวไม่เพียงพอ และราคาข้าวที่ซื้อขายกันก็สูงขึ้นทำให้ประชาชนเดือดร้อน ดังนั้นจึงหวังว่าประเทศไทยของเราจะเตรียมตัวเรื่องนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเดือดร้อนนะคะ

ยางพารา

ยางพารา

ถ้ามองภาพรวมคู่แข่งที่ส่งออกสินค้ายางพาราเหมือนบ้านเราก็คือ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม เป็นต้นค่ะ ซึ่งถึงแม้จะเป็นคู่แข่งทางการค้าแต่ก็ร่วมมือกันเพื่อยกระดับราคายางพาราให้สูงขึ้นด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่ช่วยกัน คือพยายามหาวิธีการแปรรูปยางพาราเพื่อจะได้ส่งออกในตลาดโลกมากขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้บริโภครายใหญ่ชองยางพาราก็คือ ประเทศจีนนั่นเอง ก็เปรียบเสมือนลูกค้าประจำของผู้ผลิตยางพาราทั้งหลาย ดังนั้นทิศทางทางเศรษฐกิจของประเทศจีนจึงเป็นที่จับตามองของผู้ผลิตยางพาราอย่างมาก ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของประเทศจีนยังคงไปได้สวยอยู่ จึงน่าจะไม่มีปัญหายังคงทยอยส่งออกยางพาราได้อย่างต่อเนื่องอยู่ค่ะ แล้วก็ดูเหมือนว่าทิศทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจีนนั้นยังเติบโตไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะประเทศจีนตอนนี้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านการค้าของโลกแซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้วค่ะ การที่ประเทศไทยเรามีประเทศจีนเป็นลูกค้าประจำทั้งข้าว และ ยางพาราก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ

เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปมีผลต่อเกษตรกรอย่างมาก

เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปมีผลต่อเกษตรกรอย่างมาก

ไม่ใช่เพียงแค่เศรษฐกิจเท่านั้นที่มีผลต่อเหล่าเกษตรกรแต่ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อเหล่าเกษตรกร คือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีซึ่งมีการนำเครื่องจักรต่างๆมาใช้ทดแทนแรงงานของมนุษย์เพื่อสร้างผลผลิตที่รวดเร็วมีคุณภาพมากกว่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ดังนั้นนี่ก็คือสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพของเกษตรกร เมื่อมองดูก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตกต่ำแต่กลับต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเครื่องจักรต่างๆ แต่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าเพราะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น อันนี้ก็ต้องอยู่ที่วิจารณญาณของเกษตรกรว่าจะเลือกเอาแบบไหน แบบไหนที่ตัวเองไหว นี่คือสิ่งที่ต้องคิด และพร้อมปรับเปลี่ยนค่ะ แล้วก็ยังคงมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งทุกวันนี้ คือ แรงงานเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้วคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาทำงานอาชีพนี้ถือว่าน้อยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน จึงต้องมีการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่สนใจการเกษตรมากขึ้น หรือการทดแทนแรงงานของมนุษย์ด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี

คุณหล่ะคิดถึงอาชีพการทำการเกษตรบ้างหรือไม่? หรือสนับสนุนคนในครอบครัว หรือมีคนในครอบครัวทำอาชีพนี้บ้างหรือไม่? หวังว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้กันนะคะ