นกแอร์คงเป็นสายการบินที่เพื่อนรู้จักและคุ้นหูคุ้นตากันอยู่แล้วนะคะว่าเป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติไทยของเรานี่เอง แล้วก็เป็นที่นิยมใช้บริการอยู่ในอันดับต้นๆด้วย ซึ่งก็เป็นบริษัทสายการบินที่ประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอยู่บ้างตลอดเวลาแม้จะมีสายการบินไทยที่เป็นสายการบินรายใหญ่ถือหุ้นอยู่ก็ตาม มาดูข้อมูลกันว่านกแอร์เริ่มต้นเปิดให้บริการเมื่อไหร่กันค่ะ สายการบินนกแอร์เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 ภายใต้ชื่อบริษัท สกายเอเชีย จำกัด เริ่มทำการบินครั้งแรกเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ลได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อในภายหลังเป็น บริษัทสายการบินนกแอร์จำกัด เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ค่ะ และได้เดินหน้าเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 และเริ่มมีการซื้อขายหุ้นนักตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งอย่างที่บอกไปบ้างแล้วว่าสายการบินนกแอร์นั้นได้ก่อตั้งโดยมีบริษัทร่วมลงทุน คือ บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ซึ่งถือหุ้น 49% และยังมีผู้ถือหุ้นร่วมด้วยอีกหลายราย คือ บริษัทนกแอร์แมเนจเม้นท์ฮ่องกง 25% / บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) 6% /  ธนาคารไทยพานิชย์จำกัดมหาชน 5% / ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆอีก 10% โดยมีนายพาที สารสิน เป็น CEO ของบริษัทค่ะ

แต่เนื่องด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่แย่ลงประกอบกับการมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นทำให้สายการบินนกแอร์ต้องประสบกับปัญหาการขาดทุน และมีการให้บริการที่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งส่วนมากที่ผู้เขียนเองได้เคยใช้บริการมา และจากการฟังผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ก็คือ การล่าช้าของเที่ยวบินที่เป็นปัญหาที่มีอย่างต่อเนื่องของสายการบินนกแอร์ จึงเป็นเหตุให้มีข่าวว่าสายการบิน นกแอร์นั้นจะทำการปิดตัวลงและยกเลิกการให้บริการไป แต่ข่าวล่าสุดก็มีการเปิดตัวขึ้นมาใหม่ เรื่องราวเป็นอย่างไร และบทความนี้จะมามีเรื่องอะไรมาให้อ่านกันบ้างมาดูกันค่ะ เรื่องที่จะเอามาบอกก็คือ นกแอร์ประสบปัญหาอะไรในเชิงธุรกิจ / CEO คนใหม่เป็นใคร? / แผนการบริหารของ CEO คนใหม่จะไปทิศทางไหน? เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเพื่อนๆนะคะเพราะเพื่อนก็คงเป็นคนหนึ่งที่เดินทางโดยใช้บริการของสายการบินนกแอร์อยู่

นกแอร์ประสบปัญหาอะไรในเชิงธุรกิจ?

นกแอร์ประสบปัญหาอะไรในเชิงธุรกิจ?

ปัญหาใหญ่หลักๆที่สายการบินนกแอร์ประสบก็คือ การขาดทุนสะสมยาวนาน ทำให้สิ่งที่ตามมาคือบริษัทเป็นหนี้ ซึ่งปัญหาตรงนี้มีผลกระทบต่อหลายๆฝ่ายอย่างมาก ทั้งผู้ประกอบการ นักลงทุน สนามบิน และผู้โดยสารค่ะ เพราะก่อนหน้านี้นกแอร์เป็นสายการบินอันดับที่ 2 ที่มีผู้นิยมใช้บริการเมื่อเกิดปัญหาจึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองค่ะเพราะมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้โดยสารและมีมาอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งหุ้นของนกแอร์ตกลงอย่างมากจาก 13 บาทในปี 2557 ตกลงอยู่ที่ 2.34 บาทถือว่าตกลงอย่างมากจึงมีการเตือนนักลงทุนให้ถอนตัวนั่นก็ยิ่งสร้างปัญหาหนักให้แก่บริษัทนกแอร์ค่ะ ซึ่งปัญหาหลักที่ทำให้นกแอร์ประสบปัญหามีอยู่ 3 ปัญหา คือ

  1. ตั้งแต่เริ่มก่อตังบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่สูงด้านต้นทุนของการจ้างพนักงานเพราะมีการดึงตัวพนักงานมาจากสายการบินอื่นๆ และมีการแข่งขันแย่งชิงตะวนักบินกับสายการบินคู่แข่งอย่าง ไทยแอร์เอเชีย ทำให้นกแอร์ต้องใช้เงินในส่วนนี้อย่างมหาศาลเพื่อดึงตัวนักบินให้มาทำงานกับนกแอร์ค่ะ แต่ในส่วนของอุปกรณ์ต่างทางภาคพื้นดินนกแอร์ถือว่าได้เปรียบเพราะมีสายการบินหลักอย่างการบินไปทยคอยสนับสนุนแต่ก็ไม่วายเกิดปัญหาจนได้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  2. ปัญหาที่สองคือ ทางด้านฝ่ายบริหารมีปัญหาภายในกันเองเกิดขึ้น และลามไปจนถึงปัญหาระหว่างฝ่ายบริหารกับนักบิน นี่ส่งผลต่อการทำงานอย่างมากทั้งด้ายการบริหารจัดการ และด้านการให้บริการค่ะถ้าเพื่อนๆได้ดูข่าวก็จะเห็นว่าข่าวการประท้วงใหญ่ของนักบินเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 ทำให้ส่งผลต่อการให้บริการไม่มีการทำการบินของนักบินและทำให้มีผู้โดยสารตกค้างเป็นจำนวนมากซึ่งสร้างความไม่น่าเชื่อถือแก่ลูกค้าอย่างมาก ปี 2559 นั้นนกแอร์ขาดทุนอย่างหนักถึง 2,795 ล้านบาทค่ะ และยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้
  3. ปัญหาที่ 3 ถือว่าใหญ่มากที่สุด คือปัญหาของผู้ถือหุ้นอย่างการบินไทยไม่มีเงินที่จะลงทุนเพิ่มเพราะทางการบินไทยเองก็ประสบปัญหาการขาดทุนเองด้วย และผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่อย่าง จุฬางกูร ก็ยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณลงทุนเพิ่มและสนับสนุน CEO คนใหม่อย่าง นายปิยะ ยอดมณี ขึ้นทำหน้าที่แทน นายพาที สารสิน จนทำให้นายปิยะต้องลาออกไปในที่สุดค่ะ ทำให้ดูเหมือนวานกแอร์จะไม่สามารถดำเนินกิจการไปต่อได้และยังไม่มีทางออกเมื่อไม่มีเงินลงทุนเพิ่มเข้ามาค่ะ

แต่ตอนนี้นกแอร์กำลังจะกลับมาฟื้นตัว โดยผู้ถือหุ้นรายใหณ่อย่างจุฬางกูร ได้แต่งตั้งสนับสนุน นาย วุฒิภูมิ จุฬางกูร เป็น CEO คนใหม่ค่ะและได้ทำการดำเนินงานของนกแอร์ต่อไป โดยเริ่มจากการต่อใบอนุญาติการประกอบกิจการการบินต่อไปอีก 10 ปีค่ะ

CEO คนใหม่คือใคร?

CEO คนใหม่คือใคร?

CEO คนใหม่คือ นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ได้นั่งตำแหน่งนี้ จากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง จุฬางกูรค่ะ ซึ่งนายวุฒิภูมิ มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพราะผ่านการอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการจากสมาคมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตร Finance for Director (FFD) รุ่นที่ 12/2554 อีกทั้งมีประสบการณ์ด้านการทำงานที่หลากหลายโดยนั่งเป็นกรรมการและผู้บริหาร ทั้งในบริษัทจดทะเบียน และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งด้วยกัน อาทิ เป็นกรรมการ, กรรมการสรรหาและพิจารณาผลตอบแทน บมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บมจ.ไอร่า แคปปิตอล เป็นต้น นี่คือคุณสมบัติคร่าวของ CEO คนใหม่ของนกแอร์นะคะ

แผนการบริหารของ CEO คนใหม่จะไปทิศทางไหน?

แผนการบริหารของ CEO คนใหม่จะไปทิศทางไหน?

การมี CEO คนใหม่เป็นทายาทของผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป้นที่น่าจับตามอง และมีเสียงวิพากวิจารณ์ไปในทางที่ดีว่าจะมีการบริหารงานที่คล่องตัวมากขึ้นในการบริหารจัดการ ภายใต้การบริหารงานของ CEO คนใหม่ได้มีการเดินหน้าเพื่อเร่งฟื้นฟูธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้นให้แก่นักลงทุนและลูกค้าผู้ใช้บริการค่ะ ซึ่งแผนที่ตั้งไว้ในปี 2562 นี้คือ การดำเนินงานเพื่อหยุดการขาดทุนให้ได้ แต่ด้วยปัญหาของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นก็ทำให้ไม่ง่ายนักอาจจะทำให้เป้าหมายที่จะหยุดการขาดทุนนั้นล่าช้าลงไปแต่ก็ยังคงตั้งเป้าหมายในเรื่องนี้เป็นอันดับแรกๆค่ะ อันดับที่สองที่จะจัดการก็คือ การสร้างความเสถียรหรือความมั่นคงเชื่อมั่นและแน่วแน่ อันดับที่สามที่จะจัดการก็คือ การสร้างความเติบโตต่อๆไปตามระยะสัญญา 10 ปีที่มีตามใบอนุญาตค่ะ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับเราทุกคน หรือเป็นตัวอย่างของนักธุรกิจด้วยค่ะ

ส่วนแผนการอื่นก็มีดังนี้คือ นกแอร์ ได้ปรับแนวทางการตลาดให้เน้นขายผลิตภัณฑ์ที่มีราคาต่อหน่วยสูงขึ้น การจัดหาพันธมิตรทางธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะพันธมิตรธุรกิจสายการบินเท่านั้น พร้อมขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศ การเพิ่มรายได้อื่น นอกเหนือจากรายได้จากค่าโดยสาร (Ancillary revenue) และ การสื่อสารให้ผู้โดยสารเกิดความเชื่อมั่นต่อบริษัท โดยเฉพาะในเรื่องของการมีเที่ยวบินที่ตรงต่อเวลาสายการบิน อีกทั้งลดต้นทุนในการดำเนินงาน โดยการนำเครื่องบิน ATR 2 ลาออกจากฝูงบิน การเพิ่มอัตราการใช้เครื่องบิน โดยเพิ่มการบินในเวลากลางคืน การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องบินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงการบริหารงานด้านการให้บริการภาคพื้นดิน การเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้มีระยะทางการบินที่ยาวขึ้น การลดอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยบริหารจัดการแผนการนำเครื่องขึ้น (Take off) และลงจอด (Landing) ซึ่งบริษัทได้ปรับปรุงไปในหลายส่วนแล้ว ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 6.4% ขณะเดียวกันแม้ว่าจำนวนเครื่องบินจะลดลงแต่บริษัทสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสารต่อลำได้ดีขึ้นจากการเพิ่มเที่ยวบิน เช่น เส้นทางเช่าเหมาลำ ดอนเมือง-ฮิโรชิม่า และเส้นทางเช่าเหมาลำอื่นสู่ประเทศจีน ซึ่งทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุนต่อหน่วยลดลง เนื่องจากการใช้ฝูงบินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการสานต่อพันธมิตรทางธุรกิจที่มีอยู่ปัจจุบันเพื่อที่จะขยายเครือข่ายได้มากขึ้นและการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

ล่าสุด ผลดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2562 บริษัทขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด 391.29 ล้านบาท มีรายได้รวม 5,449.21 ล้านบาท ส่วนผลดำเนินงานในช่วงต่อจากนี้ สายการบินนกแอร์จะสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ คงต้องรอพิสูจน์ฝีมือ CEO คนใหม่จากตระกลูผู้ถือหุ้นใหญ่ "จุฬางกูร" จะสามารถขับเคลื่อน NOK ให้กลับมาแข็งแกร่งงอีกครั้งได้หรือไม่? ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปนะคะ

นี่คือประสบการฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหา

นี่คือประสบการฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหา

ตัวอย่างของ นกแอร์ สามารถเป็นแนวทางการเรียนรู้สำหรับนักธุรกิจต่างๆได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะประสบปัญหายาวนานแต่ก็ยังสามารถพยุงตัวกลับมาดำเนินกิจการต่อๆไปได้ แต่สิ่งที่เห็นก็คือ การที่เพื่อนๆจะฟื้นฟูธุรกิจที่กำลังจะไปไม่รอดนั้นสิ่งสำคัญคือ การพร้อมจะปรับเปลี่ยนซึ่งก็มีการปรับเปลี่ยนในหลายแง่มุมด้วยกัน และการปรับทัศนะยอมรับความเป็นจริงของสภาพการณ์โดยรอบค่ะ เหมือนที่ CEO ของนกแอร์นั้นได้มีการลาออกและเปลี่ยนแปลงกว่าจะมาเป็น CEO คนใหม่นี้ถึงสองคนด้วยกันค่ะ และในส่วนของผู้ถือหุ้นก็มีการปรับเปลี่ยนด้วย ดังนั้นเพื่อนๆคงจะสังเกตได้ว่าสิ่งสำคัญในการประกอบธุรกิจก็คือ เงินลงทุน การจัดการเงินลงทุนนั้น คณะผู้บริหาร วิธีการบริหาร ผู้ร่วมงานหรือพนักงาน นโยบายชองพนักงาน และการทำงานทีมเวิร์คนั้นสำคัญมากจริงๆ ถ้าภายในมีปัญหาเกิดขึ้นก็ไม่มีทางที่ภาพภายนอกจะดูดีได้ค่ะ ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนๆจะทำธุรกิจอะไรก็ตามจะเล็กหรือใหญ่ก็สามารถนำบทเรียนนี้ไปปรับใช้ได้ แล้วในส่วนของคนที่เป็นผู้ใช้บริการก็สามารถมั่นใจได้มากขึ้น หรือกลับมาใช้บริการนกแอร์อีกครั้งได้แล้วนะคะเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจชาวไทยด้วยกัน และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศด้วยกันค่ะมากขึ้นเพื่อเม็ดเงินจะได้วนเวียนอยู่ในบ้านเราไม่ออกไปข้างนอกมากกว่านะคะ