ใครหลายคนคงอาจจะต้องขอสินเชื่อ เพื่อนๆที่เข้ามาอ่านบทความนี้บางคนก็อาจจะเคยขอสินเชื่อไปแล้ว จะต้องเคยได้ยินพนักงานพูดถึงเครดิตบูโรแน่ใช่มั้ยคะ หรือสำหรับบางคนที่ยังไม่เคยไปขอสินเชื่อ แล้วไม่เคยได้ยินคำนี้ก็ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าเครดิตบูโรมากขึ้นค่ะ บางคนอาจจะสงสัยว่าไอเจ้าเครดิตบูโรนี่ มันคืออะไร ทำไมถึงต้องมีเครดิตบูโรด้วย วันนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยเหล่านี้กันค่ะ

1.เครดิตบูโรคืออะไร?

1.เครดิตบูโรคืออะไร?

หากแปลความหมายของเจ้าเครดิตบูโร เครดิตบูโรนั้นก็คือ องค์กรกลางที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับสินเชื่อและรวมถึงบัตรเครดิตของพวกเราทุกคน โดยข้อมูลต่างๆที่ได้มาจากสถาบันการเงิน และสมาชิกขององค์กรกลางนี้หรือที่เรียกว่า Non-Bank องค์กรกลางก็จะเป็นคนที่เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้สมาชิก หรือไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปก็ให้เข้ามาดูได้ว่ารายละเอียดของสินเชื่อ หรือบัตรเครดิตของพวกเราแต่ละคนเป็นอย่างไร พฤติกรรมทางการเงินเราเป็นอย่างไร จ่ายครบ จ่ายตรงหรือไม่ มีประวัติหนี้ดีหนี้เสียอะไรบ้าง มีภาระหนี้มากน้อยแค่ไหน ในประเทศไทยของเรานั้น เรียกองค์กรกลางนี้ว่า "บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด" โดยที่องค์กรนี้เป็นองค์กรที่ได้รับใบอนุญาต และดำเนินกิจการให้บริการข้อมูลเหล่านี้ภายใต้กฎหมายที่เรียกว่า พรบ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545

2.ข้อมูลเครดิตบูโรที่เก็บเป็นเรื่องอะไร?

2.ข้อมูลเครดิตบูโรที่เก็บเป็นเรื่องอะไร?

ข้อมูลที่อยู่ในเครดิตบูโรจะมีด้วยกันถึง 2 ส่วน ซึ่งได้แก่

  • ข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ การชำระสินเชื่อ และยังรวมทั้งประวัติการจ่ายราคาสินค้า หรือบริการโดยบัตรเครดิตด้วย โดยคำว่า "สินเชื่อ" ตามกฎหมายเครดิตบูโรในที่นี้ความหมายกว้างมากค่ะ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการกู้ยืมเงินสินเชื่อเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อเงินสดเท่านั้น แต่ว่าจะรวมถึงการเช่าซื้อรถยนต์ ลิสซิ่ง ให้ยืมหลักทรัพย์ ค้ำประกัน ลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของสินเชื่อกับเงินฝากนั้น 2 เรื่องนี้คือคนละเรื่องกัน  ถ้าพูดในอีกแบบก็คือ ข้อมูลเครดิตบูโรจะแสดงแค่ข้อมูลที่เป็น "หนี้สิน" เท่านั้น แต่จะไม่แสดงข้อมูลที่เป็น "ทรัพย์สิน" ของเรา เช่น บ้านที่ดินที่เรามี หรือจำนวนเงินฝาก
  • ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับลูกค้า ก็คือข้อมูลทั่วๆไปเลยค่ะนั่นก็คือ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชนสถานภาพการสมรส อาชีพ เป็นต้น โดยจะมีเพียงเท่านี้เท่านั้น แต่เครดิตบูโรไม่สามารถเก็บข้อมูลต่อไปนี้ได้นั่นก็คือลักษณะพิการทางร่างกาย หรือคดีอาญาเกี่ยวกับคนๆ นั้นได้ค่ะ

3.ข้อมูลได้มาจากไหน?

3.ข้อมูลได้มาจากไหน?

ข้อมูลก็จะได้จากสมาชิกของทางเครดิตบูโรซึ่งสามาชิกที่กล่าวมานี้ก็คือเจ้าหนี้ของพวกเรานี่แหละค่ะ โดยประกอบไปด้วยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน (ทั้งวินาศภัยและประกันชีวิต) และผู้ให้บริการบัตรเครดิต เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเราขอสินเชื่อจาก Non-Bank หรือ สถาบันการเงินที่อยู่ในระบบเกือบทุกที่(ซึ่งนั่นก็คือสถาบันที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการอย่างถูกต้องค่ะ) ข้อมูลก็จะเชื่อมโยงไปที่เครดิตบูโรหมด แต่สำหรับผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ค่ายบริษัทมือถือ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าสมมุติว่ามีคนมาทวงหนี้เราบอกว่า เราไม่ได้จ่ายค่าไฟจะทำให้ติด Blacklist ของเครดิตบูโรนั้น สิ่งที่คนมาทวงเรานั้นไม่เป็นความจริงทั้งสิ้นนะคะ เพราะเครดิตบูโรไม่ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต หรือค่าโทรศัพท์มือถือใดๆทั้งสิ้น

4.ใครขอดูข้อมูลได้บ้าง?

4.ใครขอดูข้อมูลได้บ้าง?

คนที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้คือมี 2 ประเภทค่ะ นั่นก็คือ สมาชิก และบุคคลธรรมดาทั่วไปค่ะ โดยวัตถุประสงค์ในการขอดูก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและการออกบัตรเครดิตเท่านั้นค่ะ ดังนั้น ถ้าเราจะกู้เงินที่ธนาคาร A และเรายังมีหนี้ที่ค้างอยู่ที่ธนาคาร B ถ้าเราไปยื่นคำขอกู้เงินจากธนาคาร A ทางธนาคาร A ก็จะเข้าไปดูข้อมูลสินเชื่อในเครดิตบูโรที่เรามีอยู๋กับธนาคาร B ได้ ว่าเรานั้นมีหนี้อยู่หรือไม่ ประวัติการชำระหนี้ของเราเป็นอย่างไร ในกรณีที่เราเป็นบุคคลทั่วๆไป ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรนั้น เราจะดูแค่ข้อมูลของตัวเองได้เท่านั้น โดยมีค่าบริการที่เราต้องเสียค่ะ ค่าบริการตั้งแต่ราคา 100 150 บาท เราจะไปแอบดูข้อมูลของบุคคลอื่นไม่ได้เลย นอกจากเขาจะทำหนังสือมอบอำนาจให้เราขอดูแทนได้ วิธีนี้จะทำให้ดูข้อมูลของบุคคลอื่นได้ วิธีเดียวค่ะ

5.เราจะขอดูข้อมูลเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง?

5.เราจะขอดูข้อมูลเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง?

เรานั้นสามารถขอดูข้อมูลเครดิตบูโรเกี่ยวกับตัวของเรานั้นได้แค่ธนาคารบางแห่ง หรือว่าอาจจะเป็นศูนย์ตรวจเครดิตบูโร โดยเอกสารที่เราต้องเตรียมๆไปนั้นก็คือ กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา สิ่งที่ต้องเตรียมคือ หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง แต่ถ้าหากเราไม่ว่างหรือติดธุระ ก็สามารถให้คนอื่นไปแทนเราได้โดยต้องเตรียมเอกสารก็คือ หนังสือมอบอำนาจ (ต้องกรอกรายละเอียดให้สมบูรณ์ ครบถ้วน และถูกต้องด้วยค่ะ) สำเนาพร้อมกับตัวจริงของบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และสำเนาพร้อมกับตัวจริงของบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

6.ข้อมูล Update แค่ไหน?

6.ข้อมูล Update แค่ไหน?

ถ้าพูดตามกฎหมายของเครดิตบูโรแล้ว ไม่มีเวลาที่กำหนดว่าสมาชิกเครดิตบูนั้นต้องส่งข้อมูลลูกค้าเข้าไปที่เครดิตบูโรเมื่อไหร่บ้าง เพียงแต่มีการกำหนดไว้เป็นหลักการไว้ให้ปฏิบัติเหมือนกันว่า ข้อมูลที่สมาชิกนั้นต้องส่งเข้าเครดิตบูโรจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและต้องทันสมัยอยู่เสมอ ถ้าเกิดรู้ว่าข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง สมาชิกที่รับผิดชอบเครดิตบูโรของคนนั้นๆจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และส่งข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่เครดิตบูโรต่อๆไป แต่ในทางปฏิบัติสะส่วนใหญ่เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดเวลาที่ชัดเจนมา ทางสถาบันการเงินหรือธนาคารก็มักจะส่งเดือนละครั้ง ซึ่งนั่นหมายความว่า หากเราติดหนี้ก้อนหนึ่งตอนต้นเดือน และในช่วงกลางเดือนเราได้ชำระหนี้หมดไปแล้วนั่นก็คือเราไม่มีหนี้ค้างชำระอีกแล้ว นั่นก็มีความเป็นไปได้ว่า Record ของเครดิตบูโรในช่วงกลางเดือนนั้น มันอาจแสดงข้อมูลว่าเราเป็นหนี้อยู่ก็ได้ถ้าทางธนาคารยังไม่ได้ Update ข้อมูลล่าสุดเข้าไปที่เครดิตบูโรค่ะ

7.ข้อมูลเครดิตบูโรไม่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร?

7.ข้อมูลเครดิตบูโรไม่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร?

ตามที่เราได้เคยพูดกันไว้ในข้อ 6 เลยค่ะ ถ้าสมมุติเราไปตรวจดูเครดิตบูโรของเราแต่ยังพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือสมาชิกยังไม่อัปเดตข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เราควรทำอย่างไร สามารถทำได้ 2 วิธี พร้อมกันค่ะคือ

  1. ทำการแจ้งธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เรา (เคย) เป็นลูกหนี้อยู่ว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือไม่อัพเดต เพื่อเป็นการบอกเรื่องให้ธนาคารได้ทำการแก้ไขข้อมูลของเราให้ถูกต้อง หรือสถาบันการเงินทำเรื่องแก้ไขเข้าไปที่เครดิตบูโรต่อไป เพราะตามกฎหมายนั้นธนาคาร หรือสถาบันการเงินเหล่านี้มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยให้เครดิตบูโรตลอดเวลาอยู่แล้ว
  2. เราก็สามารถเดินเรื่องเข้าไปที่เครดิตบูโรได้เช่นกัน โดยการกรอกแบบฟอร์ม "คำขอโต้แย้ง" ตามลิงค์ได้เลยค่ะ https://www.ncb.co.th/PDF/dispute070206.pdf   และยื่นส่งแบบฟอร์มนี้ไปยังสถานที่ตามข้อ 5 ได้เลยค่ะ โดยถ้าทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้รับแบบฟอร์มนี้แล้ว ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแก้ไขให้เสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่เราได้รับแบบฟอร์ม แต่ถ้ามีข้อโต้แย้งกัน และหาข้อที่จะยุติการโต้แย้งไม่ได้ เครดิตบูโรก็จะบันทึกข้อโต้แย้งไปพร้อมกับหลักฐานที่เรามีไว้ในระบบข้อมูลต่อไป แต่ถ้าเรายอมไม่ได้จริงๆยังไงเราก็มั่นใจในหลักฐานของตัวเองว่าถูกต้อง เราอาจจะอุทธรณ์เรื่องต่อไปที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตก็ได้ค่ะ ซึ่งคำวินิจฉัยของทางคณะกรรมการถือว่าคือที่สุดค่ะ

8.จ่ายหนี้ครบแล้วควรทำอะไรหรือไม่กับข้อมูล?

8.จ่ายหนี้ครบแล้วควรทำอะไรหรือไม่กับข้อมูล?

หากเรานั้นไม่มีการขอบัตรเครดิตเป็นประจำ หรือไม่ได้มีการขอสินเชื่อ เมื่อเราจ่ายหนี้หมดแล้ว อาจจะรอให้ธนาคารหรือทางสถาบันการเงินได้ส่งข้อมูลเข้าไปที่เครดิตบูโรก็ได้ โดยปกติแล้วเขาจส่งข้อมูลเป็นรายเดือนกันไปหรือถ้าเราขอสินเชื่อ หรือเป็นคนที่สมัครบัตรเครดิตเป็นประจำ  หรือเราปิดบัญชีเงินกู้กับธนาคาร A ไปแล้ว แต่อยากกู้ต่อกับธนาคาร B ในกรณีแบบนี้ ข้อมูลของเราอาจจะอัปเดตไม่ทันสถานการณ์ หรือเครดิตบูโรของเรายังเป็นหนี้ที่ยังค้างกับธนาคาร A อยู่ ดังนั้น เราควรเดินเรื่องนี้เองตามข้อ 7 ได้เลยค่ะเพื่อให้ข้อมูลของเราเป็นปัจจุบัน

9.ติด Blacklist คืออะไร?

9.ติด Blacklist คืออะไร?

เพื่อนๆอาจจะได้ยินผ่านๆมาบ้างคำว่า "Blacklist" หรือ "ติดเครดิตบูโร" ซึ่งคำเหล่านี้จะไม่มีในระบบเครดิตบูโร อย่างเช่น พวกที่รับจ้างมาทวงหนี้มักชอบใช้คำนี้ หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ไม่ได้ให้สินเชื่อแก่เรา ในระบบนะคะการรายงานข้อมูลคำว่า Blacklist ก็คือการที่เรามีหนี้ค้างชำระ เช่นที่เขียนว่า สถานะบัญชี : หนี้ค้างชำระเกิน 60 วัน เป็นต้น ซึ่งถ้าเราจะไปขิสินเชื่อแล้วพนักงานดูข้อมูลเครดิตบูโรของคุณ โอกาสในการขอสินเชื่อก็จะเป็นศูนย์ โดยตามหลักการแล้ว เครดิตบูโรให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระสินเชื่อและประวัติการขอสินเชื่อเท่านั้น แต่เจ้าเครดิตบูโรไม่ได้เป็นคนตัดสินใจว่าจะให้สินเชื่อหรือไม่ให้การให้หรือไม่ให้สินเชื่อเป็นเรื่องของดุลพินิจ และนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปสำหรับแต่ละสถาบันการเงินด้วย

เครดิตดีนั้นสำคัญ

เครดิตดีนั้นสำคัญ

ถ้าเรามีเครดิตบูโรที่ดีสิทธิที่ดีต่างๆก็จะตามมาด้วย อย่างเช่น การขอสินเชื่อได้ต่อเนื่องอย่างไม่มีปัญหา สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้เต็มที่จากบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อได้เต็มที่ตามรายได้ เป็นต้น โดยการรักษาเครดิตที่ดีนั้นต้องชำระหนี้ให้ตรงเวลา ไม่ควรชำระล่าช้า เพราะอาจทำให้เครดิตบูโรของคุณเสียได้ หรือที่เรียกว่าการติดแบล็คลิสต์ สุดท้ายนี้ใครที่จะขอสินเชื่อดิฉันขอให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดีนะคะ หากผิดพลาดยังไงก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย