เพื่อนๆ เคยได้ยินคำว่า ‘บัตรเครดิตร่วม’ กันบ้างมั๊ย?! บางคนบอกว่าใช่สิ ฉันใช้อยู่ ดีมากเลย.. หรือบางคนอาจบอกว่า แล้วจริงๆ มันคืออะไร น่าสนใจอย่างไร!! เพราะทุกวันนี้ บัตรเครดิต มันไม่ได้มีแค่ บัตรเครดิตอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากหลากหลายข้อเสนอที่ดีกว่า หรือแต่ละธนาคารและบริษัทก็จับมือกัน เพื่อมอบทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อให้ลูกค้าหันมามองมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีการปรับให้บัตรเครดิตต่างๆ ทำได้มากกว่าที่เราเคยรู้จัก และก็ตรงกับการใช้จ่ายของเรามากขึ้นไปอีกระดับด้วย. ยิ่งการมีบัตรเครดิตร่วม อาจดูเหมือนกว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่เพิ่มเข้ามาด้วย เพราะการเข้าถึงที่มากขึ้น และได้รับความสนใจในกลุ่มวัยเจเนเรชั่นใหม่เป็นวงกว้าง ในบทความนี้ จึงอยากจะพาเพื่อนๆทุกคน มาลองทำความรู้จักมากขึ้นในตัวตนของบัตรเครดิตร่วม ว่าคืออะไรจริงๆ ต่างจากบัตรเครดิตทั่วไปยังไง เราควรมีไว้เพื่อประโยชน์อะไรบ้าง รวมถึงการวางแผนการใช้แบบที่ตรงกับความต้องการของเราได้ ไปดูกันเลย

บัตรเครดิตร่วมคืออะไร

บัตรเครดิตร่วมคืออะไร

พูดง่ายๆ บัตรเครดิตร่วม เป็นการออกแบบร่วมกัน ของธนาคารหรือผู้ให้บริการบัตรเครดิต กับ บริษัท/ห้างร้านชื่อดัง ที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว มานำเสนอบัตรที่ตรงกับประเภทของร้านค้านั้นๆ และมีบริการที่เราเข้าถึงง่ายขึ้น เช่น ปั้มน้ำมัน , ห้างสรรพสินค้า , สายการบิน หรือโรงภาพยนต์ ที่เราคุ้นเคย. และถึงแม้เราจะมีบัตรเครดิตที่มาพร้อมโปรโมชั่นดีๆ หรือโปรแกรมแลกรับของรางวัลอยู่แล้ว แต่ประเภทของสิทธิประโยชน์กลับไม่เป็นหมวดหมู่ หรือเหมาะกับประเภทการใช้งาน ดังนั้น บัตรเครดิตร่วม จึงให้ จุดขายที่แตกต่างกว่า ด้วยการจัดของรางวัลแบบที่ตรงกับประเภทการใช้งานของเรา หรือตรงกับความสนใจและพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้ามากขึ้น ถือว่าเจาะจงกลุ่มคนไปเลยนั่นเอง

ถ้าเราต้องการสมัครบัตรเครดิตประเภทนี้ สามารถดำเนินเรื่องได้เลยทั้งทางระบบออนไลน์หรือออฟไลน์ โดยเงื่อนไขการสมัครนั้น เราจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดเช่นเดียวกับการสมัครแบบปกติ แต่เราจะได้ส่วนลดที่เพิ่มขึ้นกว่า และข้อเสนอที่่คุ้มกว่าบัตรแบบธรรมดา. ส่วนเรื่องข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นในแต่ละแห่ง หรือการสะสมไมล์อาจไม่สามารถนำไปแลกคะแนนไปมาได้ ต้องดูว่าบัตรที่เราสนใจร่วมโปรแกรมอะไรอยู่ เป็นต้น

วางแผนการใช้อย่างไรดี

วางแผนการใช้อย่างไรดี

ถ้าถามว่า เราาจะได้อะไรจากบัตรเครดิตร่วม? คำตอบ ก็คือ เราสามารถใช้งานได้เหมือนๆบัตรเครดิตทั่วๆไปนั่นล่ะ โดยที่เรายังสามารถรูดบัตรแทนการใช้จ่ายได้เหมือนเดิม ได้รับสิทธิประโยชน์แบบที่บัตรเครดิตทุกใบให้กับเรา ทั้งการสะสมแต้ม หรือแลกรับส่วนลดจากการใช้จ่าย แต่สิ่งที่มากกว่า จะมาในรูปแบบเอกสิทธ์ในการใช้จ่ายที่พิเศษกว่า เช่น รูปแบบของส่วนลดที่มากว่า การแลกรับของรางวัลที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค และเครดิตเงินคืนแบบแอ็กซ์คูซีฟสำหรับเรา เมื่อใช่จ่ายผ่านร้านค้าชั้นนำที่ร่วมออกบัตรเครดิตใบนั้น

หากเราเริ่มสนใจบัตรเครดิตร่วมเท่ห์ๆ สักใบไว้ในครอบครอง ก็อย่าเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจกันไป ขอให้ดูข้อเสนอเพื่อพิจารณาความสนใจที่เหมาะกับเราและพฤติกรรมการใช่จ่ายส่วนตัวด้วย เช่น เรามักใช้เงินไปกับอะไรเป็นส่วนใหญ่ , เราชอบซื้อสินค้าร้านไหนหรือบริการในแบรนด์อะไรที่สุด รวมถึงเรื่องสิทธิประโยชน์อะไรที่จะตอบโจทย์ชีวิตเราได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น เครดิตเงินคืน การแลกรับของรางวัล หรือการร่วมงานสังคมในระดับเอ็กซ์คูซีฟ เป็นต้น โดยเราสามารถเลือกจากรายละเอียดของค่าธรรมเนียมรายปี อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บ ไปจนถึงค่าปรับหากผิดชำระประกอบด้วยก็ยิ่งดี

ตัวอย่างบัตรเครดิตร่วมยอดฮิต

ตัวอย่างบัตรเครดิตร่วมยอดฮิต

บัตรเครดิตร่วมหลายสถาบัน มักมอบสิทธิพิเศษที่มากกว่าในรูปแบบตัวเงิน อย่างสิทธิพิเศษในการชมการแสดง หรือเข้าใช้บริการคลักต่างๆ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมแบบเอ็กซ์คูซีฟในงานเปิดตัว และมีผู้ช่วยส่วนตัวในสถานที่ต่างๆกับเราด้วย รวมถึงการจับจ่ายที่มากกว่า อย่าง บัตรเครดิตซิตี้เอ็ม เราก็จะได้คะแนนสะสมเพิ่มเมื่อใช้จ่ายที่เอ็มโพเรี่ยม หรือสยามพารากอน เมื่อเทียบกับบัตรเครดิตตัวอื่น ๆ หรือหลายคนที่ถือบัตรเครดิตร่วมของการบินไทย ก็จะได้เครดิตเงินคืน เมื่อเราโดยสารกับการบินไทย โดยเอกสิทธิ์แบบนี้จะเจาะจงและมีเพื่อผู้ถือบัตรเครดิตร่วมโดยอย่างเราโดยเฉพาะ

อย่างส่วนของการบินไทย ก็จะมีหลายสถาบันการเงินที่เลือกมาร่วมเป็นพันธมิตร เช่น บัตรเครดิตซิตี้ รอยัล ออคิดพลัส ซีเล็คท์ บัตรเครดิตอิออน รอยัล ออคิดพลัส แพลตินั่น เป็นต้น  หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ บัตรร่วมยอดฮิตก็คือ บัตรเครดิต เคทีซี บางกอกแอร์เวย์ วีซ่า แพลตินั่ม หรือห้างร้านชั้นนำเช่นบิ๊กซี ก็มีบัตรเครดิตร่วมแบบ อิออน บิ๊กซี แพลทินั่มเพย์เวฟ เพื่อรับส่วนลด 3 % ในการใช้จ่าย เป็นต้น

ประเภทและระดับของบัตรเครดิตที่เราควรสนใจ

ประเภทและระดับของบัตรเครดิตที่เราควรสนใจ

เราอาจคุ้นเคยในบัตรเครดิตแต่รู้มั๊ย..มันมี 2 ประเภทหลักที่ควรสนใจ คือ บัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ และบัตรเครดิตร่วมที่เราทราบรายละเอียดกันไปเมื่อต้นบทความ โดยบัตรเครดิตร่วม หรือ Co-Branded จะเป็นในรูปแบบความเป็นพันธมิตรกันของธนาคารร่วมกับร้านค้าหรือบริษัทยักษ์ใหญ่ ทำให้เราที่เป็นผู้ถือบัตร ก็ได้รับสิทธิพิเศษที่มากขึ้นในการใช้ ทั้งเครดิตส่วนลดหรือเครดิตเงินคืน. ส่วนบัตรเครดิตธุรกิจ หรือ Business and Corporate Card จะเป็นบัตรเครดิตที่ใช้ตาม คำต้องการของผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานต่างๆ อาจออกให้กับกรรมการบริษัทเพื่ออำนวยความสะดวกในการเลี้ยงรับรองลูกค้า หรือเพื่อการจ่ายชำระหนี้ จากหน่วยงานหรือบริษัทที่ถือบัตรเครดิต เป็นต้น

ส่วนระดับในการใช้ ก็ยังจำแนกได้อีก 4 ระดับด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระดับคลาคสิค ที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นใช้งานบัตรเครดิต อาจสมัครเข้ามาด้วยฐานเงินเดือนที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ ต่อมาคือ ระดับโกลด์ จะบ่งบอกถึงผู้สมัครที่มีรายได้สูงขึ้นมา และได้รับสิทธิพิเศษตามเงื่อนไข พร้อมวัตถุประสงค์การใช้งาน หรือบัตรสำหรับผู้หญิงเท่านั้นก็มีมาแล้ว ระดับที่สูงขึ้นมาอีก คือ แบบไทเทเนี่ยม ถือว่าให้ผลประโยชน์และสิทธิพิเศษที่มากกว่าไปอีก หรือมีการคุ้มครองประภัยเสริมมาให้ผู้ถือด้วย แต่อาจแลกมาด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น และระดับสุดท้ายคือ บัตรแบบเอ็กซ์คูลซีฟ หรือมีคำต่อท้ายหรูๆ อย่าง บียอนด์ / วิสดอม จัดว่าจะมีการกำหนดสินทรัยพ์และรายได้ที่สูงที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน แต่ก็ให้สิทธิประโยชน์สูงที่สุดไปด้วย เช่น ประกันภัยวงเงินสูง การเป็นแขกที่เล้าจ์ของสนามบิน เป็นต้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่ถูกต้อง

ความเข้าใจเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่ถูกต้อง

การใช้บัตรเครดิตของเรานั้น ถือเป็นธุรกิจอย่างนึงที่เราต้องเข้าใจที่มาที่ไปให้ถูกต้อง ความจริงแรกคือ บัตรเครดิต ถือเป็นเป็นการดูแลโดยตรงในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น เราก็จะเป็นผู้บริโภคคนนึงที่จะได้รับการคุ้มครองจากทางรัฐบาลด้วย แต่ในส่วนของการใช้จ่ายนั้น เราต้องรับผิดชอบอย่างดีในเรื่องการบริหารนั่นล่ะ เพราะหากไม่ระมัดระวัง ย่อมมีผลเสียตามมาแน่ๆ เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องการใช้จ่ายแบบพื้นฐานในส่วนของบัตรเครดิต คือ

  • คุณสมบัติขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิต: ปกติแล้ว บัตรเครดิตหลายตัวกำหนดว่า ผู้ที่จะทำบัตรเครดิตจะต้องมีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15000 บาท หรือถ้ามีอาชีพอิสระก็ต้องมีเงินฝากพื้นฐานดี เช่น การฝากประจำไม่ต่ำกว่า 500000 บาท ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเรื่องการใช้บัตรหลักบัตรเสริม หากเราใช้บัตรเสริม ผู้ถือบัตรหลัก ก็ถือว่าต้องมีส่วนรับชำระหนี้ช่วยกัน หรือรับผิดชอบภาระทั้งหมดด้วยซ้ำ
  • วงเงินและจำนวนดอกเบี้ย: สำหรับวงเงินสูงสุดที่เราจะได้รับในการอนุมัตินั้น ในการขอครั้งแรก ก็จะไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือนของเรา หรือคิดง่ายๆ ว่าไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินในบัญชีฝากประจำที่มีตามกฎธนาคารแห่งประเทศไทย. ส่วนเรื่องของดอกเบี้ย ในกรณีที่เราได้เบิกถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม หรือรูดบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่าย แล้วชำระไม่ครบตามจำนวนในแต่ละงวด ถือว่าเรามีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ในการผิดนัดหรือค่าปรับตามอัตราที่มีการกำหนดโดยผู้ออกบัตรด้วย
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี: ในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและประเภทของบัตรเครดิตในมือเรา สำหรับบัตรพื้นฐาน จะเฉลี่ยอยู่ที่ 800 - 1000 บาท , บัตรระดับกลาง ประมาณ 1500 -2000 บาท ส่วนบัตรระดับสูง จะตกอยู่ที่ 4000 - 8000 บาท เป็นต้น แต่หลายแห่งมักงดเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าในช่วง 1-3 ปี หากเราใช้บัตรตามข้อกำหนดตามสัญญา แต่จะมาเก็บในค่าบริการอื่นๆ แทน อย่าง ค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด , การออกบัตรใหม่ หรือการขอใบแจ้งยอดบัตรในบางกรณีด้วย
  • ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย: ในการใช้ของเรา ปกติแล้วจะไม่ต้องชำระเงินสดทันที เพราะจะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยที่มาพร้อมกับจำนวนวันที่กำหนด เช่น 45-55 วัน ซึ่งแตกต่างกันตามแต่ละธนาคาร แต่ถ้าเราไม่ได้ชำระคืน ในวันที่ระบุไว้ ยอดบัญชีก็จะถูกหักออกเป็นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่รูดบัตร
  • การผ่อนชำระขั้นต่ำ: กำหนดชำระแต่ละงวดของเรานั้น ถ้ามียอดเงินไม่เพียงพอ ก็สามารถขอชำระขั้นต่ำได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของยอดที่ค้าง แต่ถ้าเรายังไม่มีการผิดชำระหนี้ แต่เสียยอดโดยชำระแบบไม่เต็มนั้น ก็จะเสียดอกเบี้ยต่อไปอีกเช่นกัน จนกว่าจะชำระได้ครบตามจำนวน
  • การเบิกแบบล่วงหน้า : ปกติแล้ว เราจะทำธุรกรรมได้ง่ายๆ ผ่านทางเอทีเอ็ม หรือเคาร์เตอร์ของธนาคาร แต่ในเรื่องการถอนเงินสดแบบล่วงหน้านั้น จะมีการคิดดอกเบี้ยทันทีตั้งแต่วันที่กดเงิน โดยจะต้องไม่เกิน 100 % ของวงเงินที่กำหนด บวกค่าธรรมเนียมอีก 3 % ในส่วนของจำนวนเงิน และเพิ่ม VAT 7 % ด้วย เราจึงควรตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมดีๆในส่วนนี้ เพื่อการชำระที่ทันเวลา

บัตรเครดิตร่วมที่ควรมีไว้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เราไม่ควรมองข้าม

บัตรเครดิตร่วมที่ควรมีไว้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เราไม่ควรมองข้าม

เราทุกคนคงมีบัตรเครดิตกันอยู่แล้ว นอกจากจะเลือกเพื่อประเภทเครดิตเงินคืน การสะสมคะแนนการใช้จ่าย ตลอดจนส่วนลดแล้ว การที่เรามีบัตรเครดิตร่วม หรือ Co-Brand แบบที่มีการทำงานแบบพันธมิตรระหว่างธนาคารที่ออกบัตร กับบริษัทห้างร้านชั้นนำ เราจะยิ่งได้รับสิทธิประโยชน์ ที่มากขึ้นไปอีก ทั้งคะแนนสะสมที่ตรงกับการใช้และพิเศษยิ่งกว่า ส่วนลดที่ได้เมื่อใช้บริการห้างร้านนั้นๆ ตลอดจนเครดิตเงินคืนที่เร็วขึ้น ถือว่าเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแบบที่ไม่น่ามองข้ามจริงๆ และอยากเสริมว่า ถ้าเราอยากมีบัตรเครดิตร่วมไว้เพื่อเพิ่มความน่าใจ และใช้งานแบบสะดวกที่สุด ก็ต้องมีบัตรเครดิตแบบกลางไว้อีกสักใบเพื่อการใช้จ่ายที่ยิ่งครอบคลุมด้วย ส่วนบัตรเครดิตร่วมนั้น จะขอได้ง่ายมากขึ้น ถ้าเป็นธนาคารเดียวกันกับบัตรกลางที่เราถืออยู่ การขอบัตรร่วมแบบนี้เพื่อใช้เสริมจะถือว่านิยมมากกว่า.

เราคงได้เห็นกันแล้วว่า การมีความรู้และความเข้าใจในการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าบัตรหลักๆ หรือบัตรร่วม เป็นเรื่องสำคัญ เพราะความไม่เข้าใจ จะทำให้เราต้องเสียจำนวนเงินที่มากกว่า และควบคุมในเรื่องของการใช้จ่ายได้ยาก รวมถึงเรื่องของการคำนวนอัตราดอกเบี้ย หรือการรูดชำระสินค้า การใช้จ่ายเบิกถอนล่วงหน้า ก็ต้องมีการชำระเงินคืนแบบครบกำหนดให้เร็วที่สุดด้วย เพื่อให้ทุกการใช้จ่ายของเราลงตัวที่สุด ได้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มกว่า และไม่มีภาระหนี้ที่พอกพูนนั่นเอง