หากว่าเพื่อนๆกำลังมองหาสไตล์การลงทุนที่เน้นเรื่องของความปลอดภัย มีเงินเย็นที่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ และไม่ได้คาดหวังกับจำนวนของกำไรมาก แต่ว่าสามารถที่จะเอาชนะเจ้าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ณ ขณะนี้ได้ “หุ้นกู้ (Corporate Bond)” นั้นก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ว่าหุ้นกู้นั้นก็เช่นเดียวกับตัวเลือกการลงทุนประเภทอื่นที่ต้องมีอะไรหลายๆอย่างที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้น วันนี้ดิฉันจะขอพาเพื่อนๆค่อยๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหุ้นกู้ไปด้วยกันค่ะ

หุ้นกู้ คืออะไร

หุ้นกู้ คืออะไร

บางท่านนั้นอาจจะเคยได้ยินเรื่องของหุ้นกู้มาบ้างแล้ว แต่บางท่านนั้นอาจจะไม่เคยได้ยินและรู้ความหมายของหุ้นกู้เลย เพราฉะนั้นแล้ว หุ้นกู้ (Corporate Bond) คือ ตราสารหนี้ชนิดหนึ่งซึ่งออกโดยทางบริษัทเอกชนค่ะ (แต่ว่าถ้าหากหุ้นกู้ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ จะเรียกสิ่งนั้นว่าพันธบัตร) เพื่อการระดมทุนหรือการกู้เงินจากนักลงทุนที่จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ส่วนบริษัทที่ได้ทำการออกหุ้นกู้นั้นจะกลายเป็น “ลูกหนี้” และต้องไถ่ถอนตราสารตามกำหนดเวลา พร้อมกับผลตอบแทนที่เป็นดอกเบี้ยด้วยค่ะ โดยหุ้นกู้มีด้วยกัน 4 ประเภท แบ่งตามผลตอบแทน นั่นก็คือ

  • หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ที่ถือสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นสินทรัพย์อื่นได้ตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้
  • หุ้นกู้แบบทยอยจ่ายเงินต้น แบ่งจ่ายเงินต้นและผลตอบแทนของหุ้นกู้ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ - หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยคงที่ ให้ผลตอบแทนของเงินกู้ที่ตายตัวตามที่ตกลงไว้แต่แรก
  • หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว เปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้

หุ้นกู้ที่คนส่วนมากนั้นนิยมขายกัน คือ หุ้นกู้แบบจ่ายดอกเบี้ยคงที่กับหุ้นกู้แบบดอกเบี้ยลอยตัวค่ะ โดยในการเริ่มต้นในการลงทุนนั้นสามารถเริ่มลงทุนได้ที่จำนวนเงิน 100,000 บาท แต่ว่าถ้าหากเงินลงทุนของเรานั้นมีจำนวนเงินที่น้อยกว่านั้นจะเลือกเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกู้แทนก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกันค่ะ เพราะมีความยืดหยุ่นที่มากกว่า และสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าด้วยค่ะ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หุ้นกู้ คือ อะไร น่าลงทุนยังไง ก่อนลงทุนต้องรู้อะไรบ้าง ที่นี่

หุ้นกู้ขายให้ใคร

หุ้นกู้นั้นก็มีการกำหนดประเภทของการเสนอขาย หรือว่าถ้าจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายนั่นก็คือ กำหนดว่าแบบไหนสามารถขายให้ใครบ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  • PP (Private Placement) คือ การขายเป็นวงแคบจำกัดเฉพาะแค่ผู้ซื้อที่มีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การเป็นนักลงทุนรายใหญ่ หรือว่ามีคุณสมบัติตามที่ กลต.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) กำหนด
  • PO (Public Offering) คือ การขายให้บุคคลทั่วไปหรือนักลงทุนรายย่อย
  • RO (Right Offering) คือ การจัดสรรให้ตามสัดส่วนของผู้ที่ถือหุ้น
  • HNW (High Net Worth) คือ นักลงทุนรายใหญ่ โดยมีได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีรายได้ตั้งแต่ปีละ 4 ล้านบาทขึ้นไป สินทรัพย์สุทธิไม่รวมที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ 50 ล้านบาท ลงทุนในหลักทรัพย์ 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือ 20 ล้านบาทขึ้นไปเมื่อรวมเงินฝาก ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องมีการถือหุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 100 ล้านบาท ซื้อหุ้นกู้ตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป
  • UHNW (Ultra High Net Worth) คือ นักลงทุนรายใหญ่พิเศษมีได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กลุ่มนี้จะมีสินทรัพย์มากกว่าแบบ HNW ประมาณ 1 เท่าตัวเลยทีเดียวค่ะ
  • II (Institute Investor) คือ การขายให้กับนักลงทุนสถาบันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินต่างๆ กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกู้
 และทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นไม่ว่าจะเป็น PO (Public Offering), PP (Private Placement), RO (Right Offering), HNW (High Net Worth), UHNW (Ultra High Net Worth) และ II (Institute Investor แต่ที่นักลงทุนจะซื้อได้แบบทั่วไปคือหุ้นกู้ที่เป็นแบบ PO (Public Offering) ค่ะ

หุ้นกู้ขายที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

ในการซื้อขายหุ้นกู้จะเกิดขึ้นในตลาดหุ้น ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง ซึ่งโดยทั้ง 2 ตลาดนี้มีลักษณะขายหุ้นกู้ที่แตกต่างกัน คือ

  • ตลาดแรก(Primary Market)จะเป็นเรื่องของการขายหุ้นกู้ที่เพิ่งได้ถูกเปิดตัวออกมาเป็นครั้งแรกทั้งแบบ IPO (Initial Public Offering) คือการที่หุ้นกู้เพิ่งออกมาใหม่ และมาเสนอขายให้กับนักลงทุนเป็นครั้งแรก และยังมีแบบ MTN (Medium Term Note) คือเป็นหุ้นกู้สามารถที่จะเปิดขายได้เรื่อยๆ จะขายกี่ครั้งก็ได้ ที่ตลาดแบบนี้จะซื้อขายหุ้นกู้ในราคา Par หรือเรียกอีกอย่างว่าราคาหน้าตั๋ว เป็นราคาที่คงที่ ไม่มีเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงวันไถ่ถอน ถ้าถือครองจนครบกำหนดเวลาแล้ว ก็จะสามารถขายได้ในราคานี้ ซึ่งโดยปกติราคา Par จะอยู่ที่ 100 หรือ 1000 บาท ต่อหน่วยค่ะ
  • ตลาดรอง(Secondary Market)จะเป็นการขายหุ้นกู้ที่มาจากนักลงทุนและสถาบันขายกันเองค่ะ ราคาได้ถูกกำหนดเอาไว้โดยผู้ซื้อขาย และเรียกว่า Market Price สามารถขายถูกหรือแพงกว่าราคา Par ก็ได้ค่ะ แต่เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน จะไถ่ถอนที่ราคา Par เสมอค่ะ

ผลตอบแทนของหุ้นกู้

หุ้นกู้นั้นจะให้ผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในสินทรัพย์กระแสหลักทั่วไปเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม หุ้น หรือหุ้นกู้ก็มีผลตอบแทน 2 แบบเหมือนกัน แต่มีคำที่ต้องรู้จักเพิ่มขึ้นมาคือ ค่าผลตอบแทน (Yield) และดอกเบี้ย (Coupon) ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ค่ะ

  • ดอกเบี้ย (Coupon) โดนปกติแล้วทางหุ้นกู้นั้นจะระบุไว้อย่างชัดเจนเลยค่ะว่าจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่ โดยที่ดอกเบี้ยของหุ้นกู้เราจะเรียกว่าCoupon และจะมีการกำหนดเวลาที่แน่นอน อย่างเช่น การปันผล 12% ในระยะเวลาถือครอง 3 ปี นั่นหมายความว่า ใน 1 ปี หุ้นกู้นี้จะมีดอกเบี้ยปีละ 4% ส่วนมากหุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้งค่ะ

Yield = Coupon

  • ส่วนต่างเมื่อซื้อขาย (Capital Gain) วิธีคิดผลตอบแทนส่วนนี้จะคิดได้ดังนี้ค่ะ
 yield = Coupon + ส่วนต่างระหว่างราคา Par และ ราคาซื้อขาย

ถ้าเป็นการซื้อขายสิทธิ์ก่อนการกำหนดไถ่ถอนในตลาดรองนั่นหมายความว่า ราคา par ไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการเลือกว่าจะซื้อขายหุ้นกู้ตัวใดในราคาเท่าไหร่ เพราะจะมีปัจจัยเรื่องของดอกเบี้ย ระยะเวลาและราคาซื้อขายในการถือครองที่เหลืออยู่ประกอบด้วยนั่นเองค่ะ

ความเสี่ยงของหุ้นกู้

ในเรื่องของความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นกู้มีได้ 2 ปัจจัยนั่นคือ ความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อ(Inflation Risk)และความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้(Credit Risk) ซึ่ง 2 ปัจจัยนั้นจะมีผลในกรณีที่เป็นหุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยคงที่ค่ะ

แนะนำหุ้นกู้น่าลงทุน จากการจัดลำดับ

แนะนำหุ้นกู้น่าลงทุน จากการจัดลำดับ

ในแต่ละปีนั้นก็จะมีหุ้นกู้ออกใหม่เปิดให้ลงทุนมากมายเลยค่ะ ซึ่งการที่ดิฉันจะบอกว่าหุ้นกู้ตัวไหนดีที่สุด ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถตอบได้ง่ายๆเลยค่ะ เพราะว่าหนึ่ง การลงทุนทุกประเภทนั้นมีความเสี่ยง คำนี้เรามักจะได้ยินบ่อยๆ และสอง เป้าหมาย ความรู้ ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน แต่จะมีข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นกู้มานำเสนอ 2 ข้อ คือ

  • บริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นต้องมีความน่าเชื่อถือพอสมควร ซึ่งความน่าเชื่อถือของบริษัทต่างๆ มีการจัดอันดับจากสถาบันต่างๆ เช่น FITCH และ TRIS อันดับที่ดีที่สุดคือ AAA แต่ว่าสำหรับนักลงทุนทั่วไป ความน่าเชื่อถือที่ระดับ BBB- ก็ถือเป็นระดับที่ใช้ได้เลยแหละค่ะ และข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือยิ่งได้อันดับที่ดี หมายถึงความเสี่ยงที่เราจะได้รับนั้นต่ำ ซึ่งก็แปลว่าจะได้ดอกเบี้ยต่ำตามไปด้วย
  • หุ้นกู้ควรให้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรในหนังสือชี้ชวนการลงทุนจะมี Credit Spread แสดงไว้ ซึ่ง Credit Spread = ผลต่างระหว่างผลตอบแทนของหุ้นกู้ ณ ช่วงเวลานั้น – ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล

ในระดับความน่าเชื่อถือเดียวกัน เราควรเลือกที่ค่า Credit Spread สูงกว่าค่ะ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รวมหุ้นกู้ออกใหม่ ดอกเบี้ยสูง เดือนสิงหาคม 2565 ที่นี่

หุ้นกู้แบบ Debt Crowdfunding รูปแบบการลงทุนแบบใหม่

หุ้นกู้แบบ Debt Crowdfunding รูปแบบการลงทุนแบบใหม่

หุ้นกู้แบบ Debt Crowdfunding นั้นจะเป็นการลงทุนในรูปแบบการระดมทุน(Crowdfunding) ซึ่งเจ้าของกิจการจะนำกิจการของตนออกมาขอระดมทุนผ่านตัวกลางที่เป็นแพลตฟอร์มต่างๆ มีลักษณะที่คล้ายการขอสินเชื่อค่ะ โดยจะมีสัญญาจะชดใช้เงินคืนเป็นงวดๆ พร้อมกับการได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ให้กับนักลงทุนตามระยะเวลาการที่ได้กำหนดไว้ (Loan Term ) ซึ่งความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในหุ้นกู้ลักษณะนี้คือความเสี่ยงเรื่องการเบี้ยวหนี้

หุ้นกู้คือตัวเลือกการลงทุนที่ดี เพราะมีดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอ มีเวลาการไถ่ถอนที่ชัดเจนและแน่นอน และมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะลงทุนอะไรควรศึกษาและหาข้อมูลให้ดีๆ และที่สำคัญเลยคือเรื่องของความเสี่ยงที่เรานั้นจำได้รับ หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง