Brand สินค้า ไม่ใช่แค่ Logo แต่ ‘แบรนด์’ ที่ดี จะเปรียบได้เหมือนกับ ประตูสู่ชัยชนะของธุรกิจ! เราจึงต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุด สร้างความรู้สึกที่น่าประทับใจต่อผู้บริโภคในสินค้าและบริการส่วนของเราให้มากที่สุด ผ่านการโฆษณาเพื่อให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักในวงกว้างเป็นเวลาต่อมาด้วย. แม้แบรนด์ที่ประสบผลสำเร็จจะต้องใช้เวลา แต่เมื่อเวลาผ่านต่อไป ผู้บริโภคที่เกิดความผูกพันต่อสินค้าของเรา เลือกซื้อเลือกใช้เพราะความไว้วางใจ แต่บางครั้งเราอาจไม่ได้ตอบโจทย์และมัดใจลูกค้าได้เหมือนก่อน จึงอาจจะถึงเวลา ที่เราต้องทำความรู้จักกับ การรีแบรนด์ (Rebranding) บทความนี้ จะพาเราไปดูว่า การรีแบรนด์คืออะไร เมื่อไหร่เป็นเวลาที่เราต้องทำการรีแบรนด์ ไปจนถึงประโยชน์และขั้นตอนในการรีแบรนด์ พร้อมชวนมาดูตัวอย่างของแบรนด์ดัง ที่รีแบรนด์มาแล้วประสบความสำเร็จได้อย่างสวยงาม เพื่อเป็นไอเดียทางธุรกิจต่อไปด้วย มาดูกันเลย..

การรีแบรนด์คืออะไร

การรีแบรนด์คืออะไร

การรีแบรนด์ (Rebranding) คือ กลยุทธ์ด้านการตลาด เพื่อปรับเปลี่ยนในส่วนของภาพลักษณ์องค์กร เพื่อรูปแบบทางธุรกิจที่แปลกใหม่ขึ้น มีการสื่อสารได้อย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนในด้านวิสัยทัศน์ตามมา อีกทั้งยังเกิดขึ้นเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนขององค์กรต่อไปด้วย

เมื่อไหร่ที่เราต้องรีแบรนด์

เมื่อไหร่ที่เราต้องรีแบรนด์

การทำการรีแบรนด์มันดี และใช้ได้ แต่เราก็ต้องตรวจสอบก่อนว่า สิ่งนี้คุ้มกว่า และเหมาะกับเราในสถานณ์นี้หรือไม่ โดยปกติแล้ว กลุ่มที่ทำการรีแบรนด์ส่วนใหญ่ จะมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ

  • Under Branding หรือกลุ่มที่ยังไม่เคยมีการตั้งแบรนด์
  • Confused Branding หรือกลุ่มที่มีแบรนด์แล้ว แต่ยังไม่ค่อยมีความชัดเจน
  • Over Branding หรือกลุ่มที่ผู้ติดกับสินค้าเฉพาะกลุ่มเกินไป และไม่ครอบคลุมในเรื่องสินค้าและบริการในองค์กร
 เมื่อเรามีการวิเคราะห์และตัดสินใจว่าเราอยู่ในกลุ่มไหนแล้ว ก็สามารถมองหาเหตุผลเพื่อการตัดสินใจลงมือได้ หากสถานการณ์ของเราเข้าข่ายว่า กลุ่มเป้าหมายของเรากำลังเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เกิดขึ้น ตลาดในปัจจุบันก็มีการขยายตัวออกไป ในแบบที่ต้องการความหลายหลายของสินค้าด้วย จึงอาจจะเป็นเวลาที่เราต้องทำการขยับขยาย หรือโกอินเตอร์บ้าง. หรือองค์กรของเราอาจกำลังเจอกับการเป็น แบรนด์เก่าทางประวัติศาสตร์ที่กำลังจะถูกลืมเลือน , มีการเปลี่ยนแปลง CEO หรือผู้บริหาร และมีสัญญาณ Disrupt ที่กำลังส่อเค้าอยู่ และมีเหตุการณ์อื่นร่วมอย่าง การเทคโอเวอร์ของบริษัท การมีธุรกิจอื่นใช้ชื่อแบรนด์ซ้ำกับเรา ก็คงถึงเวลาแล้วสำหรับการรีแบรนด์!

ประโยชน์ของการรีแบรนด์

ประโยชน์ของการรีแบรนด์

การรีแบรนด์ เป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว  ตามระยะเวลา ในแต่ละประเภทของธุรกิจ เพื่อให้สถานะของแบรนด์มีความร่วมสมัย สร้างตัวตนให้แบบที่น่าจดจำกับผู้บริโภค. สำหรับแบรนด์ใหม่เริ่มต้น เราก็รีแบรนด์ได้เพื่อ พัฒนาปรับปรุงเพื่อให้สินค้าและบริการเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ตรงที่สุด ส่วนแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ก็จะได้ประโยชน์จากการรีแบรนด์ ในการทำแบรนด์ให้แข็งแรงกว่าเดิม และเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดได้มากกว่าเดิมด้วย ทั้งยังช่วยให้ทั้งองค์กรตื่นตัว มีเป้าหมายที่จะเดินหน้าอย่างเป็นระบบ ไม่ติดอยู่กับความเคยชินแบบเดิมๆ แต่ช่วยกันเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่าเดิมอีกเรื่อยๆ. รีแบรนด์จึงเป็นเหมือนการค้นหาความจริง เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ลงไปในธุรกิจของเรา ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดเพื่อทำให้แบรนด์ที่หลับใหลกลับมามีชีวิตอีกครั้งนั่นเอง

ขั้นตอนในการรีแบรนด์

ขั้นตอนในการรีแบรนด์

การเปลี่ยนแปลงด้วยการรีแบรนด์ทำได้หลายวิธี ไม่กว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อของแบรนด์ไปเลย หรือการสร้างการจดจำใหม่ การพัฒนาสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ หรือการเปลี่ยนแพ็คเกจและบรรจุภัณฑ์. ส่วนช่วงแรกๆของการรีแบรนด์ เราก็ต้องสร้างความแปลกใหม่ในเรื่องการใช้ถ้อยคำ เพราะประโยคที่เคยฮิตในครั้งก่อน ก็อาจจะเชยในภายหลังด้วย เมื่อเราคำนึงถึงผลกระทบที่จำเป็นต้องรีแบรนด์แล้ว ก็สามารถลงมือทำ เพื่อผลกระทบในระยะยาวด้วย 5 ขั้นตอน คือ

  1. กำหนดจุดยืนและเอกลักษณ์ของแบรนด์ : เราต้องวิเคราะห์เรื่องกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนดหัวใจหลักของธุรกิจได้ เพื่อสร้างมูลค่าของแบรนด์ เราต้องตอบให้ได้ว่า ทำอย่างไรถึงจะเข้าไปเป็น 1 ในใจผู้บริโภคได้ เมื่อลูกค้าเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เราจะพิชิตใจพวกเขาได้หรือไม่

  2. สร้างความแตกต่างให้น่าจดจำ : ถ้าเราตอบได้ว่าแบรนด์นี้สร้างความแตกต่างอย่างไร ก็เป็นความพร้อมที่ขาดไม่ได้ในการรีแบรนด์ที่ดี หากความแตกต่างไม่เด่นชัด ลูกค้าก็จะสับสนกับภาพลักษณ์ที่หลากหลายในท้องตลาดได้ จึงต้องตอบให้ได้ว่า แบรนด์ของเรามีมาเพื่ออะไร

  3. เตรียมในส่วนของลูกค้า : เราต้องไม่ทำให้ลูกค้าหรือกลุ่มผู้บริโภครู้สึกขาดช่วง หรือขาดการติดต่อ เมื่อมีการรีแบรนด์เกิดขึ้น ก็อธิบาย หรือเกริ่นนำล่วงหน้า เพื่อบอกพวกเขาว่า แบรนด์รูปแบบใหน่ตัวนี้ มาจากอะไร และมีประโยชน์ต่อเขาอย่างไรด้วย เมื่อลูกค้าจดจำได้ ก็จะได้รับกระแสตอบรับที่ดีตามมาด้วย

  4. การลงพื้นที่เพื่อพูดคุย :การรีแบรนด์เราจะไม่ทำแค่การเปลี่ยนโลโก้ หรือเปลี่ยนชื่อ แต่เราต้องทำการวิจัยเพื่อวางแผนงานที่มีจุดยืน เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค และ บอกกล่าวกระบวนการเบื้องหลังเพื่อแชร์ประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นนี้แก่ฐานลูกค้าด้วย พร้อมกลยุทธ์ในการโพสต์อย่างสม่ำเสมอด้วย

  5. ภาพรวมในอนาคต : การรรีแบรนด์ทำให้เราได้คิดให้ดีก่อนลงมือทำการใหญ่ และเมื่อลงมือไปแล้ว ก็ต้องมองการณ์ไกลต่อไป ในส่วนของภาพรวมว่าอีก 5 - 10 ปี เราจะทำอะไรต่อด้วย เพราะแบรนด์ที่ดี ต้องมีตัวตนเสมอ เรายิ่งต้องสร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาสินค้าต่อๆไป

สร้างความน่าจดจำอีกครั้งด้วยการรีแบรนด์ให้ได้ตรงตามเป้าหมาย!

สร้างความน่าจดจำอีกครั้งด้วยการรีแบรนด์ให้ได้ตรงตามเป้าหมาย!

เพราะ ‘แบรนด์’ คือสัญลักษณ์ที่ช่วยทำให้คนเห็นภาพ และจดจำสินค้าของเราได้ จึงถือว่ามีอานุภาพมากในการทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักในท้องตลาด และเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เราจึงควรเข้าใจธรรมชาติของแบรนด์ และรู้จักทางออกที่เหมาะสม เมื่อต้อง ‘รีแบรนด์’ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ให้เป็นที่จดจำของสังคมด้วย. และเนื่องจากแบรนด์ที่เคยนิยม แม้แต่แบรนด์ดังๆ เมื่อเวลาผ่านไป ก็ยังไม่อาจอยู่ในสถานะเดิม เนื่องจากคู่แข่ง หรือสภาวะที่เราควบคุมไม่ได้ จึงต้องมีกระแสการ รีแบรนด์ เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับภาพลักษณ์ใหม่ๆ และให้กลุ่มผู้บริโภคตื่นตัว และเปิดใจรับอีกครั้ง. เราจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์และตัวอย่างมากมายกับผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จัก จึงอยากจะฝากผู้ทำธุรกิจทุกคนไว้ว่า การกล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง มันไม่แย่เสมอไป และเราสามารถลงมือที่จะเริ่ม เพื่อสิ่งที่ดีกว่าได้ อย่างการรีแบรนด์!