คุณทราบไหม? ว่าทุกวันนี้ยิ่งมีการทำธุรกิจมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งมีการทำลายทรัพยากรของโลกมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ / ธุรกิจความสวยความงาม / ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัว / ธุรกิจด้านอาหาร และโรงงานการผลิต  และคุณทราบไหม? ว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่ควรรักษาคือทรัพยากรมนุษย์ หรือพูดง่ายๆคือแรงงานของคนเรานี่เองที่เป็นส่วนขับเคลื่อนที่สำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจต่างๆ แต่จะว่าอย่างไรถ้าแรงงานของมนุษย์กลับถูกเอารัดเอาเปรียบหรือเกิดความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น? ก็แน่นอนว่าในเมื่อแรงงานของมนุษย์สำคัญต่อธุรกิจที่สุดเมื่อเกิดปัญหาอย่างที่กล่าวมาก็ต้องส่งผลเสียหายต่อธุรกิจแน่นอน แต่จะมีทางออกของปัญหานี้หรือวิธีไหนที่จะช่วยแก้ไขได้ดีจริงๆ?

ในบทความนี้จะให้ข้อมูลว่าการประกอบธุรกิจอาจจะสร้างปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในด้านใดได้บ้าง? ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจระวังเพื่อจะไม่หาผลกำไรด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องหรือยุติธรรมต่อแรงงาน และทรัพยากรส่วนอื่นๆ แน่นอนว่าก่อนจะหาวิธีแก้ปัญหาอย่างดีต้องทราบรายละเอียดของปัญหาก่อนเพื่อจะหาแนวทางแก้ไขได้ดีที่สุด ปัญหาที่บทความนี้จะยกมาพูดถึงคือ ปัญหาด้านสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม / ปัญหาด้านธุรกิจ และการลงทุนระหว่างประเทศ / ปัญหาด้าผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม / ปัญหาด้านธุรกิจของรัฐวิสาหกิจกับสิทธิมนุษยชน และตอนท้ายของบทความจะมาสรุปให้คุณทราบว่าภาครัฐเตรียมรับมือแก้ไขปัญหาด้านต่างเหล่านี้แบบไหนด้วยค่ะ

ปัญหาด้านสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ปัญหาด้านสิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ปัญหานี้ถือว่ากำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทยของเราเลยก็ว่าได้ เพราะการประกอบธุรกิจก็มีส่วนทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้คือ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ค่ะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหานี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้อย่างรวดเร็วแต่ต้องช่วยกันแก้ไขต่อไปในระยะยาวเลยค่ะ ปัญหานี้ก็เกิดจากที่มีการประกอบธุรกิจแบบละเมิดสิทธิของชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยไม่มีการตรวจสอบอย่างดีจนปัญหาสะสมจนกลายมาเป็นปัญหาฝุ่นควันที่อันตรายต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในทุกวันนี้ค่ะ แล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจึงเริ่มมีการจัดการแต่ก็ถือว่าค่อนข้างยากแล้วต่อการจัดการแก้ไข ดังนั้นการตระหนักถึงผลเสียจากการเริ่มธุรกิจอะไรก็ตามก่อนจะช่วยชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้มากเลยทีเดียวค่ะ

ปัญหาธุรกิจ และการลงทุนระหว่างประเทศ

ปัญหาธุรกิจ และการลงทุนระหว่างประเทศ

ปัญหาการลงทุนระหว่างประเทศก็มีอยู่เรื่อยๆ แต่บอกตามตรงว่าเป็นปัญหาที่ทางการไทยเองก็ใช้กฎหมายช่วยแก้ไขได้ยากเพราะบ่อยครั้งที่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นนั้นเกิดอยู่ในพื้นที่นอกประเทศไทยนั่นเองค่ะ การใช้กฎหมายของไทยเพื่อจัดการจึงมีข้อจำกัด ดังนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงทำได้เพียงจัดตั้งการรับร้องเรียนและติดตามผลของใครก็ตามที่ถูกละเมิดสิทธิจากการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศค่ะ แต่ก็มีการสนับสนุนให้ช่วยจัดการและเข้าช่วยเหลือให้ได้มากกว่านี้ค่ะ

ปัญหาผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

ปัญหาผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วย HIV ค่ะ ซึ่งพบว่าปัญาที่ก็อยู่คู่สังคมไทยอยู่ไม่หายไปไหน คนเหล่านี้มักได้รับการปฏิบัตอย่างไม่ยุติธรรม และไม่เคารพในสิทธิ์ที่ควรจะมี ไม่ว่าคนเหล่านี้จะติดต่อ หรือรับบริการ หรือแม้แต่การทำงานก็ตามมักจะเป็นกลุ่มถูกประพฤติอย่างไม่เหมาะสมด้วยมากที่สุด ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้มีการให้ความสำคัญที่จะมีกฎหมายขัดเจนเด็ดขาดเพื่อคุ้มครองคนเหล่านี้ เพื่อช่วยให้ไม่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อไป และเมื่อถูกกระทำอย่างนั้นสามารถร้องเรียนและขอการคุ้มครองได้ค่ะ

ปัญหาธุรกิจของรัฐวิสาหกิจกับสิทธิมนุษยชน

ปัญหาธุรกิจของรัฐวิสาหกิจกับสิทธิมนุษยชน

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ารัฐวิสาหกิจคงจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐแน่นอน ดังนั้นหน่วยงานนี้ต้องมีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมากที่สุดเพื่อเป็นตัวอย่างต่อหน่วยงานภาคเอกชนต่อๆไป เพราะถ้าหน่วยงานภาครัฐมีการประกอบธุรกิจที่หาผลกำไรก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อนเพื่อภาคเอกชนจะเลียนแบบ โดยเคารพสิทธิมนุษยชนทุกๆด้านอย่างครบถ้วน มีการจัดการด้วยนะบบที่เรียกว่า Human Rights Due Diligence ระบบนี้จะเป็นตัวอย่างที่จะตรวจสอบอย่างชัดเจนถึงความถูกต้องในการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจค่ะ และการเคารพสิทธิมนุษยชนของรัฐวิสาหกิจก็ต้องมีการวัดประเมินผลด้วย KPI เป็นวิธีการวัดประเมินผลค่ะ

ประเทศไทยพยายามแก้ไขป้องกันปัญหาเหล่านี้ในแนวทาง NAP

ประเทศไทยพยายามแก้ไขป้องกันปัญหาเหล่านี้ในแนวทาง NAP

เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่ยกมาในบทความนี้เป็นปัญหาที่มีอยู่มากมายในสังคไทยของเรา ประเทศไทยโดยเฉพาะภาครัฐจึงพยามยามแก้ไขและป้องกันปัญหาเหล่านี้ โดยมีแผนการใช้แนวทาง NAP เพื่อจัดการซึ่งก็เป็นการจัดการในระยะเริ่มต้นเท่านั้นอาจจะยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าอย่างน้อยภาครัฐก็เห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานี้ซึ่งปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจก็ยังคงมีอยู่มากมาย และยังมีค้างคาต่อเนื่องยาวนานไปในอนาคตด้วย ดังนั้นแผนการที่ชื่อ NAP จึงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกันเพื่อให้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างรวดเร็วค่ะ

แต่ขอให้ใครก็ตามที่ประสบปัญหานี้อยู่ด้วยตัวเองขอให้มีความหวังว่าแผนการ NAP จะมีคุ้มครองสิทธิ์ที่คุณเสียไปให้กลับมาได้แน่ๆ และแผนการนี้จะครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งการทำอย่างนั้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆฝ่ายด้วยกัน ผู้เขียนคิดว่าเมื่อถึงวันนั้นที่แผนการ NAP พัฒนาตามทันปัญหาก็จะช่วยให้หลายคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนกลับมายืนได้อีกครั้งนึง รวมถึงปัญหาอื่นๆที่มาจากผลของการประกอบธุรกิจที่ไม่เหมาะสมด้วยจะหมดไปค่ะ