บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX  เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนชั้นนำในประเทศไทย ที่มีศักยภาพการเติบโต และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนี้มากว่า 32 ปี ด้วยประสบการณ์ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ตอนนี้ SFLEX ได้เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ที่ผ่าน โดยที่บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจ Flexible Packaging ในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเมื่อ บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   ได้เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) แล้ว ผมก็เลยได้รวบรวมข้อมูลที่จ้องรู้เกี่ยวกับ บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX เพื่อที่จะใช้ในการประกอบการตัดสินใจให้กับเพื่อนๆนักลงทุนกัน มาดูกันดีกว่าว่าจะมีเรื่องอะไรบ้าง

จุดเริ่มต้น และ ผลิตภัณฑ์

จุดเริ่มต้น และ ผลิตภัณฑ์

ผู้ก่อตั้ง บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   คือ นายปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์ โดยตอนนี้ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดย นายปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์ มีประสบการณ์ในวงการธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มาอย่างยาวนานถึง 32 ปี โดย บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   ที่ก่อตั้งโดย นายปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์ ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2546 จุดประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายบรรจุภัตฑ์พลาสติดชนิดอ่อน Flexible Packaging ตามคำสั่งของลูกค้า โดย ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) ก็แบ่งออกมาได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ บรรจุภัตฑ์ประเภท ม้วน เรียกว่า Roll Form และ บรรจุภัตฑ์ประเภทซอง เรียกว่า Per Form Pouch ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น Stand-up Pouch , 3-Sided Seal Pouch , Center Seal Pouch และ 4-Sidded Seal Pouch

และแหล่งลูกค้าหลักของบริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   ก็จะเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญของประเทศ เช่น บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด , บริษัท นีโอแฟคทอรี่ จำกัด , บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ไอ.พี. แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นต้น ซึ่งเอาเข้าจริง บริษัทอุปโภคบริโภค ชั้นนำเหล่านี้ มีกระการและมีมาตรฐานที่สูงอยู่ในระดับบสากลในการคัดเลือกผู้จัดจำหน่าย และการที่เราเห็นว่าบริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX  มีลูกค้าหลักเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศแบบนี้ ก็แปลได้ว่า บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX ก็เป็นบริษัทที่มีมาตรฐานของสินค้าอยู่ในขั้นที่ผ่านระดับสากลได้และได้การยอมรับจากคู้ค้า

รายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง และ ความประสงค์ต่อรายได้นั้น

รายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง และ ความประสงค์ต่อรายได้นั้น

มาดูต่อกันที่รายได้ และวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกันต่อ ของบริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX  โดยสำหรับรายได้ของ บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX ผมได้นำข้อมูลมาในปี 2559 – 2561 บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX    มีรายได้ในปี 2559 อยู่ที่ 1,181.01 ล้านบาท และปี 2560 มีรายได้อยู่ที่ 1,353.33 ล้านบาท และปี 2561 มีรายได้อยู่ที่ 1,374.25 ล้านบาท ซึ่งในปี 2559 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 33.29 ล้านบาท และปี 2560 มีกำไรอยู่ที่ 146.63 ล้านบาท และปี 2561 มีกำไรอยู่ที่ 136.11 ล้านบาท  ซึ่งถ้าเพื่อนสังเกตรายได้ ก็จะเห็นว่ารายได้ของ บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX มีการเติบโตทุกปี และสาเหตุที่ทำให้รายได้ของ SFLEX นั้นเติบโตมาอย่างต่อเนื่องในทุกปีนั้นก็เพราะ มาจากจุดแข็งของบริษัท โดย SFLEX มีจุดแข็ง ในเรื่องของการทำงานที่มีการทำงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้า และมีการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

และนอกเหนือจากจุดแข็งของ SFLEX แล้ว บริษัท SFLEX ยังพยายามขยายฐานลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค และขยายไปยังกลุ่มบรรจุภัณต์สินค้าบริโภคมากขึ้นด้วย โดยเพื่อนๆจะเห็นได้จากสัดส่วนยอดขายของบริษัทที่มียอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้นจาก 15.23% ในปี 2561 เป็น 20.18% ใน 9 เดือนแรกของปี 2562 และหลังจากที่ บริษัท SFLEX ได้มีการเสนอขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) แล้ว บริษัทก็มีวัตถุในการใช้เงิน ประมาณ 426.80 ล้านบาท ไปกับ 4 สิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ 1. ลงทุนในโครงการผลิตฟิล์มประเภทที่ใช้ในการปิดผนึกขึ้นรูป 140 ล้านบาท 2. ลงทุนสร้างคลังสินค้า 50 ล้านบาท 3. ชำระเงินกู้สภาบันการเงิน 95 ล้านบาท 4.ใช้เงินไปกับการหมุนเวียนในประกอบธุรกิจ 122.95 ล้านบาท

วิธีการ และ ศักยภาพในการเติบโต

วิธีการ และ ศักยภาพในการเติบโต

วิธีการ และ ศักยภาพในการเติบโตของ บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX มีเป้าหมายในการที่จะเป็นผู้นำทางด้านบรรจุภัฯฑ์พลาสติกชนิดอ่อน Flexible Packaging ทั้งในประเทศและประเทศ กลุ่ม CLMV โดยวิธีการที่บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   คือ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partnership) กับลูกค้าในระยะยาว และนอกเหนือจากที่ทำการซื้อขาย บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX ยังร่วมกับลูกค้าในเรื่องของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์ลูกค้า ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังไม่ บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX    ยังสร้างมูลค่าเพิ่ม ( Value Added) โดยการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าด้วย และ เรื่องศักยภาพในการเติบโตของบริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX โดย บริษัทก็ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดในปัจจุบัน โดยการหันมาใช้วัตถุดิบพลาสติกชนิดอ่อน Flexible Packaging ที่สามารถรีไซเคิลได้ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่สอดคล้องเข้ากับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ราคาหุ้น IPO และ นโยบายจ่ายเงินปันผล

ราคาหุ้น IPO และ นโยบายจ่ายเงินปันผล

บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   ได้เสนอขายหุ้น IPO 110 ล้านหุ้น คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 26.83% ของหุ้นสามัญทั้งหมดโดยเสนอขายหุ้นในราคาหุ้นละ 3.88 บาทต่อหุ้น รวมมูลค่าเสนอขายแล้วอยู่ที่ 426.80 ล้านบาท โดยการกำหนดราคาขายหุ้นของบริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   มาจากการประเมินมูลค่าด้วยอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ราคา 3.88 คิดเป็น P/E 24.52 เท่า โดยคำนวณมาจากผลการดำเนินงานในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561 – วันที่ 30 ก.ย. 2562 ) นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทสตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน)หรือ SFLEX   จะทำการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังจากที่หักภาษีเงินได้ และหลังจากที่หักภาษีสำรองต่างๆทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะกิจการบริษัท

SFLEX ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนที่แข็งแกร่ง

SFLEX ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนที่แข็งแกร่ง

ผมมั่นใจว่า SFLEX จะเป็นอีกหุ้นเด่นที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเนื่องจาก SFLEX เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำในประเทศที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในระดับสากล โดยที่ยอดขายประมาณร้อยละ 80-85 มาจากการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภค (Non-Food) ในขณะที่อีกประมาณร้อยละ 20-25 มาจากการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าบริโภค (Food)โดยบริษัท SFLEX มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าบริโภคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจของบริษัท SFLEX อย่างมากในอนาคต