การทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นแม้ว่าจะทำงานแบบนี้มานานสักวันหนึ่งก็คงต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่นการลาออกจากงานเพื่อมาเปิดธุรกิจของตัวเองดังนั้นการปรับเปลี่ยนนี้นอกจากจะวางแผนเรื่องการเงินต่างๆด้านการลงทุนแล้วในส่วนของเรื่องประกันสังคมก็ต้องมีการจัดการด้วยเมื่อรายได้หรือการงานอาชีพเปลี่ยนไปสิทธิ์ของประกันสังคมที่ทำไว้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน และนี่แหละที่เป็นคำถามและข้อมูลที่หลายคนคงอยากทราบว่าถ้าจะต้องลาออกจากงานประจำที่ทำมาเป็นหลายสิบปีแล้วจะจัดการเรื่องของประกันสังคมอย่างไรดี? โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิ์ประโยชน์ และเรื่องของภาษีด้วย

แน่นอนเลยว่าการลาออกจากงานนั้นนอกจากจะเปลี่ยนแปลงเรื่องของสิทธิ์ที่จะได้รับและเรื่องภาษีแล้วการจ่ายเงินให้ประกันสังคมก็ต้องเปลี่ยนด้วย เพราะเมื่อคุณทำงานประจำเมื่อมีเงินเดือนก็ต้องถูกหักเป็นประจำเพื่อจ่ายให้ประกันสังคมตามกฎหมายกำหนดส่วนนายจ้างก็มีส่วนช่วยจ่ายด้วย ซึ่งสิทธิ์ของการทำประกันสังคมกับบริษัทที่คุณจะได้รับก็คือ ในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเจ็บป่วย,ทุพพลภาพ,ชราภาพ,ว่างงาน,อุบัติเหตุ,คลอดบุตร,การสงเคราะห์บุตร,เสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งจะเรียกการทำประกันสังคมแบบี้ว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 คือมีนายจ้างค่ะ แต่จะทำอย่างไรเมื่อลาออกจากงานแต่ยังมีรายได้แบบไม่มีนายจ้างต้องยกเลิก หรือเปลี่ยนการประกันตนเป็นแบบไหน? อย่างพึ่งงงกันไปเพราะบทความนี้มีคำตอบเรียกได้ว่าจะเป็นคู่มือของเรื่องการจัดการประกันสังคมเมื่อลาออกจากงานก็ว่าได้เลย เรื่องราวที่จะมาบอกมีดังนี้คือ ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน / สมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 การศึกษาความรู้ตรงนี้เอาไว้ก่อนแม้จะยังไม่ได้ลาออกก็เป็นสิ่งที่ดีเผื่อว่าวันหนึ่งต้องลาออกจากงานกระทันหันจะได้จัดการอย่างถูกต้องและไม่เสียผลประโยชน์หรือทำผิดขั้นตอนค่ะ

ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน

ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน

ถ้าการลาออกจากงานเดิมเพื่อไปทำงานที่ใหม่ทันทีแบบงานประจำมีนายจ้างเหมือนเดิมก็ไม่มีอะไรต้องจัดการมาก แต่ถ้าการลาออกจากเกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำงานใหม่ทันทีก็จะเกิดการว่างงานช่วงเวลาหนึ่งได้ดังนั้นขั้นตอนที่ต้องทำคือคุณต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานเพื่อจะได้รับเงินทดแทนขณะว่างงาน 30% ของเงินเดือนที่เคยได้ตามที่ได้รับจริงๆแต่จะได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และได้รับเงินทดแทนนั้นภายใน 3 เดือนที่ว่างงานเท่านั้น ส่วนเงื่อนไขนั้นก็ไม่ยากประกันสังคมจะมีการกำหนดให้คุณต้องไปรายงานตัวทุกเดือนและเงินที่ได้รับจะมีการแบ่งจ่ายเป็นรายเดือนให้คุณซึ่งคุณสามารถไปติดต่อขอรับสิทธิ์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่ใกล้บ้านคูรเพื่อความสะดวกดีที่สุดค่ะ ปัจจุบันนี้ก็ยิ่งสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะคุณสามารถรายงานตัวต่อประกันสังคมว่ายังว่างงานอยู่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ข้อกำหนดอีกอย่างคือการขึ้นทะเบียนคนว่างงานต้องรีบทำภายใน 30 วันหลังจากลาออกจากงานนะคะถ้าหากว่าเลยเวลานี้มาแล้วจะไม่สามารถขอรับสิทธิ์ได้ค่ะ ในสมัยนี้อะไรๆก็ง่ายการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานสามารถทำได้ผ่านเว็บไซด์แล้วค่ะ มาดูขั้นตอนกันค่ะ

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และการรายงานตัวผ่านเว็บไซด์

  • ลงทะเบียนสมาชิกในเว็บไซด์ https://empui.doe.go.th/auth/index ด้วยการใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชนพร้อมกับกรอกเลขหลังบัตรด้วย (Laser Code) แล้วจะได้รับรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานในระบบ
  • เมื่อได้รหัสผ่านมาแล้วก็สามารถลงทะเบียนได้สำเร็จก็เข้าไปยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส.2-01/7 พร้อมกับเอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก (ต้องมีชื่อและเลขบัญชีของคุณ) / ให้ส่งสำเนาแบบคำขอไปที่สำนักงานประกันสังคมไปได้ทุกที่ทุกสาขาทั่วประเทศไทยตามที่อยู่ของคุณ
  • การรายงานตัวก็สามารถรายงานตัวผ่านระบบในเว็บไซด์ได้แล้ว โดยมีข้อจำกัดว่าสามารถรายงานตัวได้ 1 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น
 (ถ้าเกิดเหตุขัดข้องคุณไม่สามารถทำการเข้าระบบด้วยตัวเองได้ในเว็บไซด์ก็สามารถเข้าไปติดต่อที่สำนักงานประหันสังคมใกล้บ้านคุณได้เพื่อขอความช่วยเหลือในการเข้าระบบ เพื่อความสะดวกในการรายงานตัวของคุณในทุกๆเดือนค่ะ)

สามารถสอบถามรายละเอียดได้ก่อนที่หมายเลข 1506 ซึ่งก็คือสายด่วนกระทรวงแรงงานที่ให้บริการ 24 ชม. ค่ะ

สมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39

สมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39

ตอนนี้คุณก็ทราบแล้วว่าหลังจากลาออกจากงานก็ต้องรีบไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานภายใน 30 วันเพื่อรับสิทธิ์เงินทดแทนระหว่างที่ว่างงานอยู่ซึ่งจะได้รับสิทธิ์ภายใน 3 เดือนเท่านั้น แต่มีอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณทำได้คำแนะนำก็คือให้เปลี่ยนมาสมัครทำประกันสังคมมาตรา 39 แทนโดยต้องส่งเงินสมทบรายเดือนเดือนละ 432 บาทซึ่งไม่มีเงินสมทบจากนายจ้างแต่คนที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ได้ต้องเคยทำประกันสังคมมาตรา 33 มาก่อนนี่คือเงื่อนไขอย่างหนึ่ง การจะสมัครประกันสังคมมาตรา 39 นั้นก็ต้องทำภายใน 30 วันหลังจากลาออกจากงานด้วยค่ะ สิทธ์ที่จะได้รับความคุ้มครองในกรณีต่อไปนี้คือ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย,อุบัติเหตุ,คลอกบุตร,สงเคราะห์บุตร,เสียชีวิต,ทุพพลภาพ,และเงินชราภาพ  มาดูรายละเอียดการสมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 กันค่ะ เรื่องของคุณสมบัติ,การยื่นใบสมัคร,หลักฐาน,เงินสมทบ,วิธีการจ่ายเงินสมทบ,การหักจากบัญชีใน 6 ธนาคาร,จ่ายด้วยเงินสด,หน้าที่ของผู้ประกันตนเองมาตรา 39,สาเหตุที่ทำให้สิ้นสภาพจากมาตรา 39

คุณสมบัติของผู้ประกันตนเองมาตรา 39

  • ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อนและมีการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และลาออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
 การยื่นใบสมัคร

  • ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเองภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน

  • สถานที่ที่สามารถไปยื่นใบสมัครได้ คือ ในกรุงเพทมหานครยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคม 12 แห่ง
 ในจังหวัดอื่นๆ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมของจังหวัดนั้นๆทุกสาขา

หลักฐานการสมัครผู้ประกันตนเองมาตรา 39

  • แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 สปส. 1-20
  • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย
 เงินสมทบที่ต้องส่งให้ประกันสังคมทุกเดือน

ต้องส่งเงินสมทบทุกเดือนเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เหมือนกับการประกันตนมาตรา 33 ทุกอย่าง

วิธีจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนเองมาตรา 39

สามารถจ่ายเงินสมทบที่สำนักงานประกันสังคมโดยตรงพร้อมแบบส่งเงิน สปส. 1-11 หรือการกัหบัญชี หรือจ่ายเงินสดที่ธนาคาร

จ่ายเงินสมทบโดยหักบัญชีได้ 6 ธนาคารดังนี้

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารธนชาต
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารทหารไทย
 (กรณีจ่ายเงินสมทบด้วยการหักบัญชีจากธนาคารไทยพาณิชย์นั้นสามารถดำเนินการได้ทุกสาขาที่คุณเปิดบัญชีนั้น)

(กรณีจ่ายเงินสมทบด้วยการหักบัญชีจากธนาคารกรุงไทยจะได้รับการลดค่าธรรมเนียมจาก 10 บาท เหลือเพียงรายการละ 5 บาทเท่านั้น)

จ่ายเงินสมทบด้วยเงินสด

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

  • ธนาคารกรุงไทย

  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา

  • จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์พร้อมแบบส่งเงิน สปส.1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมทุกสาขาที่คุณสะดวก

  • จ่ายเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศไทยจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท
 หน้าที่ของผู้ประกันตนเองมาตรา 39

  • ต้องจ่ายเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือนหากจ่ายเงินสมทบเกินวันที่กำหนดต้องมีการจ่ายเพิ่มอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน

  • หกมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต้องต้องแจ้งดังนี้ > กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันโดยส่งแบบการแจ้ง สปส. 1-34 > กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบเอกสาร > กรณีต้องการยกเลิกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะมีนายจ้างตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบการแจ้งเพื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 สปส. 1-21

สาเหตุที่ทำให้สิ้นสภาพผู้ประกันตนเองมาตรา 39

  • เสียชีวิต
  • กลับไปเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 33
  • ลาออก
  • ขาดการส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน
  • ภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน 
 ทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนเองมาตรา 39 ในขณะที่ว่างงานหรือไม่ได้ทำงานประจำแบบมีนายจ้างแล้วนั่นเองค่ะ

ศึกษาข้อมูลให้ดีเพราะการงานอาจจะไม่แน่นอนเพื่อจะจัดการได้

ศึกษาข้อมูลให้ดีเพราะการงานอาจจะไม่แน่นอนเพื่อจะจัดการได้

เมื่อลาออกจากงานและมีช่วงเวลาที่ว่างงานอยู่คุณต้องวางแผนให้ดีตัดสินใจให้ดีว่าต่อไปจะทำงานอะไรธุรกิจส่วนตัว หรือกลับไปทำงานประจำแบบมีนายจ้างเหมือนเดิมกับที่ทำงานใหม่เพื่อจะเลือกการรับสิทธิ์ประกันสังคมอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณซึ่งบทความนี้ก็แนะนำว่ามี 2 ทางเลือกคือ ขอรับสิทธิ์คนว่างงานในมาตรา 33 เหมือนเดิม หรือ ขอรับสิทธิ์เป็นผู้ประกันตนเองตามมาตรา 39 ไปก่อน แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกทางไหนก็มีเงื่อนไขและข้อกำหนดทั้งนั้นที่คุณต้องทำตามไม่อย่างนั้นจะเสียสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว เช่น ระยะเวลาการแจ้ง / เอกสารและข้อมูลต่างๆ / แบบคำขอต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้อย่างที่บอกว่าการติดต่อเรื่องประกันสังคมนั้นไม่ต้องเดินทางไปด้วยตัวเองแล้วสามารถจัดการเรื่องต่างๆเหล่านี้ได้ผ่านทางเว็บไซด์ของกระทรวงแรงงานตามลิงค์นี้นะคะ https://empui.doe.go.th/auth/index บอกเลยว่าสะดวกมากจริงๆค่ะยังไงก็หาข้อมูลเอาไว้ก่อนนะคะเพื่อจะไม่เสียผลประโยชน์และเลยเวลาที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ค่ะ