เรื่องภาษีที่ดินกำลังเป็นประเด็ดร้อนแรงในปี 2563 ในบทความนี้ผมจะมาพูดถึง 7 ข้อเท็จจริงเรื่องภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่เพื่อนๆควรรูก่อนเสียเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบร่างกฏหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเห็นว่า เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและป้องกันไม่ให้เกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบ ถึง 7 ข้อเท็จจริงในประเด็ด ดังนี้

1. ประเด็นการกำหนดนิยามการใช้ที่ดินที่ขาดความชัดเจนในกรณีของเกษตรกรรมและที่ดินรกร้าง

1. ประเด็นการกำหนดนิยามการใช้ที่ดินที่ขาดความชัดเจนในกรณีของเกษตรกรรมและที่ดินรกร้าง

ประเด็นที่หนึ่ง เป็นประเด็นเรื่องของความชัดเจนในการแยกแยะที่ดินเกษตรกรรมกับที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะทั้งสองที่ดินนั้นมีการเก็บภาษีที่แตกต่างกัน ให้เพื่อนๆมาดูคำชี้แจงกันดีกว่า คำชี้แจงร่างกฏหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดหลักการของที่ดินที่จะเป็นที่ดินเกษตรกรรมไว้ว่า ที่ดินเกษตรกรรม คือ ที่ดินที่หมายถึงที่ดินที่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และ กิจการอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด และส่วนทางด้านของที่ดินรกร้างว่างเปล่า ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในกฎกระทรวงที่เป็นกฎหมายลำดับรอง ซึ่งตอนนี้กระทรวงการคลังก็ได้กำหนดหลักการและหลักเกณฑ์ในเรื่องของที่ดินรกร้างว่างเปล่า พร้อมยกร่างกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว และตอนนี้ที่มีกฎหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกบังคับใช้แล้ว แปลว่า กระทรวงการคลังได้เสนอร่างกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรียบร้อย ดังนั้น เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในเรื่องการเก็บภาษีที่ก็จะเป็นไปตามที่กฎหมายลำดับรองที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการลดการใช้ดุลยพินิจและป้องกันการทุจริตในการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่

2. ประเด็นผลกระทบของภาษีต่อกิจการ SMEs

2. ประเด็นผลกระทบของภาษีต่อกิจการ SMEs

ประเด็นเรื่องที่สอง เป็นประเด็นผลกระทบของภาษีที่ดินที่จะมีต่อกิจการ SMEs (ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ให้เพื่อนๆมาดูคำชี้แจงกัน คำชี้แจง บอกว่า ธุรกิจ SMEs ทุกประเภทนั้น ในอดีตได้มีการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยจะต้องเสียภาษีเป็นรายปีหรือค่าเช่าที่สมควรได้ในอัตราร้อยละ 12.5 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ไม่ว่าธุรกิจ SMEs นั้นจะอยู่ที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะใจกลางเมืองหรือในชนบท ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เจ้าธุรกิจก็ทราบกันเป็นอย่างดี การประเมินภาษีโรงเรือนฯ นั้น จะตกลงต่อรองกับเจ้าหน้าที่ อปท. เพื่อที่จะทำให้เสียภาษีน้อยลงได้ ซึ่งตรงนี้นั้นทำให้อาจจะก่อให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเป็นในปัจจุบันที่ได้มีการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาบังคับใช้แทนภาษีโรงเรือนฯ นั้น ทำให้ตัดเรื่องการที่อาจจะก่อเกิดการทุจริตได้ เพราะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้กำหนดให้ใช้มูลค่าของทรัพย์สินเป็นฐานภาษี

วิธีการประเมินมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สิน มีวิธีการ ดังนี้ คือ ให้นำราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์มาใช้คำนวณมูลค่า ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับที่กรมที่ดินใช้ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในการเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนสิทธิและนิติกรรมเมื่อมีการซื้อขายที่ดินในปัจจุบัน และเรื่องของการกำหนดภาษี กระทรวงการคลังก็ได้ไปทำการศึกษาเปรียบเทียบภาระภาษีโรงเรือนฯ และภาษีที่ดินฯ ทั้งในเขตใจกลางเมืองและชนบทแล้วเพื่อนำข้อมูลมากำหนดอัตราภาษีที่จะให้ อปท. ใช้จัดเก็บจริงแล้ว และ พบว่า ธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ก็มีภาระภาษีใกล้เคียงกับที่เคยเสียภาษีโรงเรือนฯ ในอดีต ซึ่งเรื่องของราคาภาษีก็จะมีทั้งขึ้นมีทั้งลง นั้นก็เพราะราคาภาษีขึ้นอยู่การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน แต่ก็มีธุรกิจบางประเภทที่ดเป็นกิจการสาธารณะ เช่น สถานศึกษาเอกชนทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้ก็จะได้รับการดูแลจากรัฐบาลเป็นพิเศษ โดยจะตราพระราชกฤษฎีกาบรรเทาภาษีให้เป็นการเฉพาะ

3. ประเด็นการประเมินภาษีทรัพย์สินที่มีการใช้ประโยชน์หลายประเภทรวมกัน

3. ประเด็นการประเมินภาษีทรัพย์สินที่มีการใช้ประโยชน์หลายประเภทรวมกัน

ประเด็นที่สามเป็นประเด็นเรื่องของการที่เจ้าของพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ให้เพื่อนๆมาดูคำชี้แจงกัน คำชี้แจงบอกว่า ร่างกฏหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้มีการกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจน ให้ทำการจัดเก็บภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ โดยให้จัดเก็บภาษีในอัตราของที่อยู่อาศัยในส่วนของที่อยู่อาศัยและเก็บภาษีในอัตราพาณิชยกรรมเฉพาะพื้นที่ที่ใช้ค้าขายเท่านั้น ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพไม่ออก ผมมีตัวอย่างมาให้ดู สมมุติ เพื่อนๆมีบ้านอยู่ใจกลางเมือง มีพื้นที่อยู่ 200 ตารางวา เพื่อนได้ทำการแข่งพื้นที่หน้าบ้านทำร้านค้า 20 ตารางวา เพื่อนก็จะเสียภาษีในอัตราพาณิชยกรรมสำหรับพื้นที่ 20 ตารางวา ที่ใช้ทำการค้าเท่านั้น และในส่วนของพื้นที่ที่เหลือก็จะถูกเก็บภาษีเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยนั้นเอง และอีกเรื่อง คือ ถ้าบ้านหลังดังกล่าวในตัวอย่าง เป็นบ้านที่เพื่อนๆใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลักแล้วด้วยล่ะก็เพื่อนๆก็จะได้รับการยกเว้นถึง 50 ล้านบาทเลยทีเดียว

4. ประเด็นการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

4. ประเด็นการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ประเด็นที่สี่ เป็นประเด็นเรื่องของการยกเว้นภาษีที่ดินที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ มาดูคำชี้แจงกันดีกว่าว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีคำชี้แจงว่ายังไง กับประเด็นนี้ คำชี้แจง ร่างกฏหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้มีการกำหนดยกเว้นภาษีให้กับที่ดินที่ใช้พื่อประโยชน์สาธารณะ โดยพื้นที่ ดังกล่าวจะต้องมีหน่วยงานราชการเข้าไปดูแลและตรวจเช็คว่ามีการทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ ดังนั้นแล้ว ที่ดินที่ใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ (แก้มลิง) เจ้าของสามารถขอให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลการใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ โดยไม่จำเป็นจะต้องยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ราชการแต่อย่างใด และนั้นจะทำให้เจ้าของที่ดินนั้น ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินดังกล่าว และในกรณีที่ ที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย วาตภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ที่ดินเหล่านั้นเจ้าของที่ดินจะได้รับการยกเว้นหรือบรรเทาภาระภาษี ตามกฎหมายเหมือนที่เป็นมาตามภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนฯ ในอดีต

5. ประเด็นการคำนวณฐานภาษีของสิ่งปลูกสร้าง

5. ประเด็นการคำนวณฐานภาษีของสิ่งปลูกสร้าง

ประเด็นเรื่องที่ ห้า เป็นประเด็ดเรื่องเกี่ยวกับการคำนวนฐานภาษีของสิ่งปลูกสร้าง ในอดีตที่เป็นภาษีโรงเรือนฯ การคำนวนภาษีของสิ่งปลูกสร้างได้นำมูลค่าที่ดินและอาคารรวมถึงเครื่องจักรมารวมคำนวนด้วย มาดูคำชี้แจงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่ามีคำชี้แจงอย่างไร คำชี้แจง ฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีการคำนวนมาจากมูลค่าของที่ดินและอาคาร โดยจะไม่นำมูลค่าของเครื่องจักรมารวมคำนวณ ดังนั้น มูลค่าของทรัพย์สินที่นำมาคำนวนภาษีจะลดลงเป็นอย่างมาก

6. ประเด็นการเก็บภาษีสำหรับที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์

6. ประเด็นการเก็บภาษีสำหรับที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์

ประเด็นเรื่องที่หก เป็นประเด็นเรื่องการเก็บภาษีสำหรับที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์ ให้เพื่อนๆมาดูคำชี้แจงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันดีกว่ามามีคำชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างไร คำชี้แจง ประเด็นเรื่องการเก็บภาษีสำหรับที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์มี คำชี้แจ้งว่า  ในกรณีของที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์ด้วยกฎหมายอื่น เช่น บริเวณรอบพื้นที่สนามบินที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดภัยทางการบิน หรือพื้นที่ที่มีสายไฟแรงสูงพาดผ่าน เป็นต้น ก็จะมีการบรรเทาภาระภาษีให้กับที่ดินดังกล่าว และนอกเหนือจากนั้นในกรณีของกฎหมายผังเมือง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามที่กฎหมายผังเมืองระบุไว้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในเขตที่กฎหมายผังเมืองกำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรม ห้ามปลูกสร้างอาคารขนาดใหญ่ เมื่อเจ้าของที่ดินที่นำที่ดินในบริเวณนั้นมาทำการเกษตรตามกฎหมายผังเมืองกำหนด เจ้าของที่ดินนั้นก็จะได้รับการยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย

7. ประเด็นการกำหนดโทษ

7. ประเด็นการกำหนดโทษ

ประเด็นสุดท้าย ประเด็นที่ เจ็ดเป็นประเด็น เกี่ยวกับบทลงโทษของคนที่ฝ่าฝืน กฎหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีคำชี้แจงว่า ร่างกฎหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้มีการกำหนดไว้ในกรณีที่ผู้เสียภาษีขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกรณีที่ผู้เสียภาษีเจตนาแจ้งความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ก็จะใช้บทลงโทษเดียวกันกับบทลงโทษที่อยู่ในกฎหมายภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยใช้มาในอดีต เพราะฉะนั้นเรื่องบทลงโทษของคนที่ฝ่าฝืน กฎหมายพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่อัตราโทษของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ได้มีการปรับให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอื่นๆในปัจจุบันด้วยเท่านั้น

ใครมีที่ดินควรรับรู้ข้อเท็จเรื่องภาษีที่ดินเอาไว้จะได้ไม่เสียเปรียบ

ใครมีที่ดินควรรับรู้ข้อเท็จเรื่องภาษีที่ดินเอาไว้จะได้ไม่เสียเปรียบ

สุดท้ายแล้วใครที่มีที่ดินไว้ในครอบครองในปี 2563 นี้ก็ควรที่จะรับรู้ข้อเท็จจริง และ ข้อมุลเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเอาไว้เยอะๆนะครับ ถึงแม้มันจะเป็นเรื่องใหม่แต่ก็มีหลายอย่างที่เอามาจากภาษีโรงเรือนฯและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยใช้มาในอดีต แต่ก็มีบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ยังไงแล้วผมก็หวังว่าข้อมูลข้อเท็จจริงทั้ง 7 ข้อที่ผมได้นำมาเสนอในบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับเพื่อนๆที่มีที่ดินไว้ในครอบครองนะครับ