ในเวลานี้หลายคนหันมาสนใจสิทธิประกันสังคมกันมากขึ้น เนื่องจากภาวะความเสี่ยงจาก COVID-19 หลายจังหวัดแทบทั้งประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลมีพนักงานและลูกจ้าง ตกอยู่ในสถานะว่างงานกันเป็นจำนวนมาก ใครที่มีสิทธิจากประกันสังคมอยู่แล้ว เราก็วางใจได้ระดับนึงเลยล่ะ เรื่องการดูแลที่ครอบคลุม และโดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์ COVID-19 นี้ เพราะประกันสังคม ถือเป็นเหมือนการรับประกันจากทางภาครัฐ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่อยู่ในฐานะ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39. เราส่วนใหญ่จะได้สิทธิ์ประโยชน์อย่างไรบ้างจากประกันสังคมที่เรามี ไม่ว่าจะในฐานะลูกจ้างประจำ นายจ้าง และบริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อได้รับสิทธิการช่วยเหลือตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้และยิ่งได้รับความคุ้มครองที่เพิ่มเติมในช่วงนี้ มาเช็คมาตราการดีๆ ที่ทางรัฐบาลเคาะออกมาแล้ว กันได้เลย

มาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงาน

มาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงาน

เนื่องจากสถานะการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ครั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงานก็ได้มีเงื่อนไขออกมาแล้วเพื่อการคุ้มครองลูกจ้าง ใน 2 กรณี คือ การว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ซึ่งอาจมาจากการที่หน่วยงานทางภาครัฐ ได้มีคำสั่งให้หยุดกิจการห้างร้านชั่วคราว ก็จะมีการจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวน 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน แต่หากมาจากเหตุที่นายจ้างไม่ได้ให้ทำงาน ก็ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน 50% เช่นกัน แต่อยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน และล่าสุดทาง ครม.ก็ยืดมตินี้ให้มีการจ่ายเงินชดเชยเป็นเวลา 6 เดือนด้วย

ส่วนกรณี มีการวางงานจากการลาออกหรือถูกเลิกจ้าง ใครที่ได้รับผลกระทบในกรณีนี้ ทาง ครม. ก็มีมติเคาะออกมา ให้มีการเงินในส่วนของประโยชน์ทดแทน โดยมตินี้จะบังคับใช้เป็นเวลา 2 ปี คือ จะมีการนำจ่ายเงินเป็นจำนวน 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันให้กับพนักงานที่ได้รับผลกระทบ แต่หากมาจากการว่างงานกรณีถูกเลิกจ้าง ก็จะได้รับการจ่ายเงินเป็นจำนวน 70% ซึ่งจะรวมอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

มาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้ประกันตน

มาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้ประกันตน

แน่นอนว่า เราจะได้รับมาตราการการช่วยเหลือในด้านการรักษาแบบที่ดีที่สุดเรื่องการรักษาพยาบาลหากได้รับความเจ็บป่วยจากไวรัส COVID-19. แต่ในส่วนสิทธิเงินช่วยเหลือทดแทนของผู้ประกันตน เราจะต้องเข้าไปตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานเป็นอันดับแรก จากนั้นก็ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนในกรณีว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมที่ใกล้บ้านเราที่สุด ภายในเวลา 30 วัน เพื่อการแสดงสิทธิ์ โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองการออกจากงาน แต่หากช้ากว่าเวลา 30 วัน ก็จะหมดสิทธิ์การได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วย

หรือหากใครอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน ก็มีช่องทางการขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกได้ โดย เข้าไปที่เว็บไซต์ empui.doe.go.th ของกรมการจัดหางาน  แล้วเริ่มการ ลงทะเบียน กรณียังไม่มีรหัสผ่านและเคยเข้าใช้งานระบบ ในขั้นตอนเข้าสู่การสมัคร ก็จะต้อง ยอมรับข้อตกลง > ตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชน > กรอกข้อมูลส่วนตัว และ บันทึการลงทะเบียน

หลังจากนั้น ผู้ประกันตนอย่างเราก็จะได้รับหนังสือการรับรองจากการขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย เพื่อไปตามวันที่นัดรายงานตัว โดยต้องพิมพ์เอกสารสำคัญออกมาคือ ใบนัดรายงานตัว แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อตน เพื่อการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนนี้ ส่วนช่องทางในการยื่นแบบ ก็สามารถยื่นด้วยตนเองได้ในสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์, โทรสาร, อีเมล์ หรือไลน์ ในสาขาพื้นที่สำนักงานประกันสังคมที่กำหนด และสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทร 1506

มาตรการช่วยเหลือสำหรับนายจ้าง

มาตรการช่วยเหลือสำหรับนายจ้าง

ในส่วนมาตรการช่วยเหลือสำหรับนายจ้าง ทาง ครม. ก็ได้กำหนดมติให้มี การลดอัตราการส่งเงินสมทบจากนายจ้างให้ผู้ประกันตน ในอัตราร้อยละ 4 เป็นระยะเวลา 6 เดือน และมีการขยายมาตราการ เวลาในการส่งเงินสมทบของงวดเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือนด้วย คือ ในเงินนำส่งงวดเดือนมีนาคม นายจ้างสามารถเลื่อนการส่งออกไปได้ เป็นภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 , เงินนำส่งงวดเดือนเมษายน นายจ้างสามารถเลื่อนการส่งออกไปได้ เป็นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2563 และ เงินนำส่งงวดเดือนพฤษภาคม นายจ้างก็สามารถเลื่อนการส่งออกไปได้ โดยมีกำหนดชำระไม่เกินวันที่ 15 กันยายน 2563 นี้

มาตรการอื่นๆที่เป็นประโยชน์

มาตรการอื่นๆที่เป็นประโยชน์

ตามมาตรการเดิมที่มีการกำหนด ให้ประกันสังคมเรียกเก็บเราจากส่วนอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ไม่ว่านายจ้างจะนำส่งให้ หรือผู้ประกันตนจะส่งเอง แต่เงินจำนวนนี้ทุกเดือนก็จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ กรณีค่ารักษาพยาบาล/ การคลอดบุตร/ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เงินจำนวนที่นำส่งใน 1.5%  ต่อเดือนนี้  เราจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงจากโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้ และได้ค่าทำฟันปีละ 900 บาท, เงินค่าคลอดบุตรอัตราละ 50% เป็นเวลา 3 เดือน และเงินชดเชยในส่วนที่กำหนดต่างๆ

ในส่วนของ เงินออมเพื่อการเกษียณ ตรงนี้จะเป็นการนำส่งอัตราที่เยอะที่สุดถึง 3% ต่อเดือน หากฝั่งผู้ประกันตนได้จ่ายสมทบเป็นเวลาน้อยกว่า 15 ปี เราจะได้รับเงินบำเหน็จ คือจำนวนเงินที่จ่ายเข้าไปสมทบ แต่หากมีการนำส่งเกินระยะเวลา 15 ปี เราจะได้รับเงินแบบบำนาญ เราจะได้รับเงินทุกเดือนในอัตรา 20 % ของค่าจ้าง และเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1.5% ด้วย. และส่วนสุดท้าย ประกันการว่างงาน ส่วนนี้จะเป็นเงินก้อน ที่หักจากการนำส่งเดือนละ 0.5% ต่อเดือน โดยหากเกิดกรณีถูกไล่ออก เราจะได้รับเงินชดเชยในอัตรา 50 % เป็นเวลา 6 เดือน ส่วนกรณีลาออก จะได้รับเงินชดเชยในอัตรา 30% เป็นเวลา 3 เดือน

เงินชดเชยจากประกันสังคมที่ช่วยเราสู้วิกฤติโควิดครั้งนี้!

เงินชดเชยจากประกันสังคมที่ช่วยเราสู้วิกฤติโควิดครั้งนี้!

จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้ ย่อมส่งผลกระทบในหลายๆภาคส่วนต้องปิดกิจการกันชั่วคราวตามคำสั่งของภาครัฐ ทางฝั่งของประกันสังคมจึงได้มีมาตรารองรับ เพื่อการช่วยเหลือเหล่าผู้ประกันตนและนายจ้างออกมา เพื่อลดภาระผลกระทบที่ได้รับ ทั้งมาตราการชดเชยกรณีว่างงาน การลดอัตราการส่งเงินสมทบ เพื่อทำให้พวกเราสู้วิกฤตครั้งนี้และผ่านไปได้ด้วยกัน. เราจึงเห็นความสำคัญของสิทธิประกันสังคมที่เรามีกันมากขึ้น เพื่อดูแลความจำเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตของเรา และมีแผนเพื่อบริหารความเสี่ยงในอนาคต ใครที่ไม่เคยใช้สิทธิ์เลยหรือไม่รู้ว่าใช้อย่างไรจึงน่าเสียดาย ส่วนการนำส่งที่เราต้องจ่าย ก็ยังถือว่าเป็นเงินสวัสดิการที่แลกมาอย่างคุ้มค้าด้วย ดังนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเรา ก็คือการเช็คสิทธิ์ และเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ที่เราจะต้องได้รับ เพื่อจะไม่ได้มานั่งเสียดายกันภายหลังนั่นเอง!