ก่อนที่เราจะไปดูว่าภาษีแต่ละประเภทเป็นอะไรยังไงนะคะ เรามารู้จักกับคำว่าภาษีกันหน่อยดีกว่าว่ามันคืออะไร ภาษี ที่หลายคนคุ้นหูนั่นก็คือเงินที่ถูกเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนเพื่อไปพัฒนาประเทศ ภาษีที่เรียกเก็บจากคนที่มีรายได้จากการทำงานไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย งานบริการ หรืออุตสหกรรม ภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการที่เราซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆที่เรียกง่ายๆว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง ซึ่งสาเหตุที่คนไทยทุกคนต้องเสียภาษีนั่นก็เพื่อนำไปพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านรายจ่ายของรัฐบาล การคมนาคม การไฟฟ้า การขนส่ง การสร้างโรงเรียนหรือสถานที่ราชการ การสร้างถนน และเงินเดือนของข้าราชการเพื่อทำงานบริการให้ประชาชน เช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฏร์ เป็นต้น ดังนั้นภาษีก็หลายประเภทดังหัวเรื่องนี้และการคิดเงินเก็บภาษีนั้นในแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน เราจะมาดูรายละเอียดกันว่าภาษีแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

tax thailand

Bychykhin Olexandr/shutterstock.com

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฏากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

ผู้มีหน้าที่สียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพานิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ด้วย ดังนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย/บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ/กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไร/กิจการร่วมค้า/มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้/นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

นิติบุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวในข้างต้น และเฉาพะที่ตั้งขึ้นตามกฎหทายไทย เช่น กระทรวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ/บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน/บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฏหมายไทยหรือกฏหมายต่างประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม/บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทยตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา

ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินที่ได้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไป ได้แก่ กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้ กำไรสุทธิ / ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย / เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศ / การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกเต็มๆว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นมาตราการสำหรับเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่คุณรับเงิน ซึ่งโดยทั่วไปแม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีหน้าที่ต้องยานภาษีอีกต่อไปแล้ว เพราะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย ทั้งนี้การจ่ายเงินในบางกรณีกฏหมายจะกำหนดให้คนที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนที่คุณรับเงินด้วย แล้วค่อยนำเงินภาษีนั้นนำส่งกรมสรรพากรอีกที ในขณะที่การจ่ายเงินบางกรณีกฏหมายก็ไม่ได้กำหนดหน้าที่ให้คนจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและประเภทของเงินที่จ่าย อย่างไรก็ดี ผู้รับเงินจะได้รับ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการเสียภาษีด้วย

หักภาษี ณ ที่จ่ายไปทำไม?

การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องรับภาระภาษีเป็นเงินก้อน พอถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ เพราะมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว จึงเป็นเครดิตสำหรับคำนาณภาษีได้ แต่ในกรณีที่คุณถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เกินกว่าภาระที่คุณต้องจ่ายจริง เช่น คุณมีภาระต้องจ่ายภาษีตอนยื่นภาษี 5,000 บาท แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนรับเงินไป 6,000 บาท แสดงว่าคุณจ่ายภาษีเกินไป 1,000 บาท แบบนี้คุณก็มีสิทธิขอเงินคืนภาษี 1,000 บาท ที่จ่ายเกินไปได้ แต่ต้องรีบยื่นภาษีขอคืนภายใน 3 ปี นับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี อีกเหตุผลของการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เป็นการการันตีให้ภาครัฐว่าจะเก็บภาษีจากประชาชนได้แน่นอนเพราะหักภาษีทันทีขณะที่คุณมีเงินจ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินเดือนพนักงาน

ในกรณีที่ต้องจ่ายค่าจ้างในรูปแบบเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) ให้พนักงาน จะใช้วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือนโดยให้คำนวณภาษีของพนักงานแต่ละคนที่น่าจะเกิดขึ้นตลอดทั้งปีโดยคำนวณจากเงินเดือนที่ได้รับทั้งปี รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อได้ค่าภาษีแล้วจึงค่อยนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย (ค่าภาษีที่คำนวณได้ หาร จำนวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าตัวเองมีรายได้แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตอนรับเงิน หมายความว่าตัวเงทำหน้าที่เสียภาษีตามกฏหมายครบถ้วนแล้ว เลยไม่ยื่นภาษีซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะโดยปกติการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้ายแต่เป็นเพียงการจ่ายภาษีล่วงหน้าบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่มาก โดยเฉพาะตอนรับรางวัลลุ้นโชคต่างๆ คิดว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แล้วจบเลย ดังนั้น ทุกคนยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามกฏหมายอยู่ เว้นแต่ว่าเงินได้ของคุณจะเข้าข่ายได้รับการยกเว้นให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ เช่น เงินปันผลจากหุ้น / กองทุนรวมดอกเบี้ย / เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อและ ขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน ภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ กำหนดเวลาการจดทะเบียน

ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการงาน และ เตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้น แต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฏหมาย แต่มีสิทธิ์แจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
  • ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  • ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฏหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  • การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสหกรรมส่งออกตามกฏหมายว่าด้วยการนิคมอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย
  • การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฏหมาย
  • ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  • ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43 ) ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536
  • ผู้ประกอบการอานตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

วิธีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามรถกระทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

  • ยื่นแบบขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ http://www.rd.go.th/
  • ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ถ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20 ) ให้ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฏหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบการแห่งนั้น กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงกรณีต่างๆเกิดขึ้น จะต้องยื่นคำขอเพื่อแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 2. ออกใบกำกับภาษี 2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ 2.3การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 3. จัดทำรายงานตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ 3.1 รายงานภาษีซื้อ 3.2 รายงานภาษีขาย 3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มช่องทางการยื่น 4.1 การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต 4.2 การยื่นแบบและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 4.3 การยื่นแบบและชำระภาษีที่ธนาคารไทยพานิชย์ 4.4 การยื่นแบบและชำระภาษีที่สำนักงานสรพพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า

กำหนดโทษการปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กำหนดโทษการปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีการปฏิบัติฝ่าฝืน มีหลายกรณีดังต่อไปนี้ 1. ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่แจ้ง 3. ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ผู้ประกอบการจดทะเบียนเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออก 5. ผู้ประกอบการเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฏหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี 6. ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงาน 7. ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี 8. จงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี 9. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน นี่ก็เป็นเรื่องราวและรายละเอียดที่อาจจะดูเยอะหน่อยนะคะและก็เป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้นที่เราจะต้องศึกษาหาข้อมูลเอาไว้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวเราจริงๆเพื่อจะได้ทำอย่างถูกต้องค่ะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ. 2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ว่าผู้ประกอบกิจการในรูปของ

  • บุคคลธรรมดา

  • คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

  • กองมรดก

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • กองทุน

  • หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล

  • องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฏหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล

  • ฐานภาษีและอัตราภาษี ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจกประกอบกิจการ

  • รายรับ หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนือ่งมาจากการประกอบกิจการ

ภาษีอากรแสตมป์

ภาษีอากรแสตมป์

อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์

คำว่าตราสาร ตามประมวลรัษฏากรหมายถึง เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่ากระทำ หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์

  • บุคคลตาที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย
  • ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โดอนหรือถือเอาประโยชน์ได้ ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ
  • ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมปืบริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
  • ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 2.

วิธีการเสียอากร เรียกว่า ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า

วิธีการเสียอากร เรียกว่า ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า

  • ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว
  • ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว
  • ในกรณีเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงินเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตามบทบัญญัติในหมวดอากรแสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของการเสียภาษีต่างๆแต่ละประเภทที่เอาข้อมมูลมาฝากกันค่ะ เพราะเราทุกคนก็ต้องเสียภาษีกันทั้งนั้นการรู้เรื่องไว้บ้างก็จะทำให้เรารู้ตัวตัวเรานั้นได้เสียภาษีอะไรไปบ้างในแต่ละวันหรือเดือนหรือปี และเราได้ทำถูกต้องหรือยังและระวังการทำผิดกฏหมายด้วยค่ะ