วิกฤตแต่ละวิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ล้วนนับได้ว่าเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการด้วยกันทั้งนั้น ที่จะนำพาองค์กรของพวกเขาข้ามผ่านวิกฤตนั้นไปให้ได้ โดยที่ยังจะต้องคงความแข็งแกร่งในองค์กรไปให้ได้ ทั้งในเรื่องของลูกค้า และพนักงานที่ยังคงให้ความมั่นใจและภักดีต่อองค์กรอยู่ ซึ่งในทุกวันนี้ที่ได้เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้นซึ่งก็แน่นอนว่าผู้ประกอบนั้นได้รับความท้าทายเป็นอย่างมากจากปัญหาต่าง ๆ และยังเรื่องรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่อีก แต่ในบทความนี้ผมก็จะพาเพื่อนๆมาพูดกันถึงเรื่องที่ผู้ประกอบการอาจจะมองข้ามกันไปนั้นก็คือ เรื่องของ พนักงาน ที่ในตอนนี้ที่เกิดวิกฤตโควิด-19 พนักงานมีความคิดเห็นอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไรกับองค์กร

พนักงานยังคงมีความมั่นใจในองค์กรและพร้อมจะสู้ไปพร้อมกับองค์กรเพื่อก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19ไปด้วยกันไหม หรือ จะถอดใจจากองค์กรไปแล้ว และถ้าเป็นแบบนั้นเราจะมีวิธีอะไรบ้างในการกู้ใจของพนักงานกลับมา เหตุผลที่ผมนำเรื่องเหล่านี้มาพูดถึงในบทความนั้นก็เพราะว่า พนักงานนั้นเป็นส่วนสำคัญมากๆในองค์กร พนักงานนั้นก็ส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าและประสบความสำเร็จ พนักงานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่องค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนก็ขาดไม่ได้ แต่กลับกันผู้ประกอบการมักจะมองข้ามความสำคัญของพนักงานไปสักส่วนใหญ่เพราะมัวแต่ยุ่งกับการบริหารเรื่องอื่นอยู่ ซึ่งถ้าองค์กรไหนขาดพนักงานในการดำเนินงานรับรองว่าองค์กรนั้นก็ไปต่อได้ยากมาก เพราะฉะนั้นเราไปดูด้วยกันเลยครับ เกี่ยวกับเรื่องของพนักงานในปัจจุบันที่ต้องเจอกับวิกฤตโควิด-19เขาเป็นอย่างไรบ้าง

พนักงานเป็นส่วนสำคัญขององค์กร

พนักงานเป็นส่วนสำคัญขององค์กร

พนักงานนั้นถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนสำคัญขององค์กร แต่กลับกันผู้ประกอบการกับไม่ได้ให้ความสำคัญกับพนักงานขนาดนั้น และโดยเฉพาะในช่วงเวลาแบบนี้ที่ทั่วโลกกับประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดมาจากโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายกำลังวุ่นวายไปกับการรับมือเพื่อให้องค์กรของพวกเขานั้นอยู่รอดไปได้ ซึ่งนั้นทำให้ผลการประเมินถึงนายจ้างจากพนักงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ขนาดเล็กหรือจะเป็นกิจการขนาดเล็กได้รับผลประเมินที่ต่ำเอามากๆ ซึ่งนั้นทำให้เป็นปัญหาอย่างแน่นอน

เพราะอย่างที่หัวข้อได้บอกไปพนักงานนั้นเป็นส่วนสำคัญขององค์กร เพราะฉะนั้นแล้วนายจ้างต้องรับมือกับปัญหานี้ให้ได้  โดยผมได้รับคำแนะนำดีๆมาจาก คุณ โสพิส เกษมสหสิน รองประทานอาวุโส พาร์ตเนอร์และผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย เลยอยากจะนำคำแนะนำดีๆนั้นมาบอกกับเพื่อนๆด้วย โดยวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับพนักงานที่ได้ให้ผลประเมินต่ำกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการนั้นมีวิธีแก้อย่างนี้ คือ ให้มีการสื่อสารกันอย่างเป็นระบบ เน้นคุณค่าและการกระทำ แค่นี้เท่านั้น

เพราะทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับอุปสรรคและความท้าทายที่หลากหลายที่อาจะเกิดขึ้นได้ในปัจุบัน และแถมยังช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งดีๆกับพนักงาน องค์กร ตลอดจนสังคมอีกด้วย เพราะท้ายที่สุดและไม่ว่าผู้ประกอบการจะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามรูปแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเศรษฐกิจหรือในรูปแบบของสังคม สิ่งที่สำคัญในการจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับพนักงานได้นั้น คือ การสื่อสารที่จริงใจต่อทุกฝ่าย และให้อยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ โปร่งใส แค่นั้นเลยจริงๆครับ อันนี้คือสำหรับผู้ประกอบการที่ยังคงมีพนักงานในองค์กรที่ยังไม่ได้ถอดใจกับองค์กรนะครับสามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่กับพนักงานที่ถอดใจจากองค์กรนี้ไปแล้วจะมีวิธีกู้ใจพนักงานกับมาอย่างไร ไปดูต่อในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

วิธีการกู้ใจพนักงานที่ถอดใจไปจากองค์กรแล้วในช่วงวิกฤต

วิธีการกู้ใจพนักงานที่ถอดใจไปจากองค์กรแล้วในช่วงวิกฤต

และในหัวข้อนี้ผมก็จะมาแนะนำวิธีการกู้ใจพนักงานที่ถอดใจจากองค์กรไปแล้ว เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการให้นำไปปรับใช้กัน แต่ก่อนอื่นเลยผมต้องมาอธิบายคำจำกัดความของคำว่าถอดใจจากองค์กรกันก่อน การถอดใจในที่นี้ หมายถึงการที่พนักงานนั้นๆรู้สึกเกิดวิกฤตทางด้านสุขภาพจิตซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน นั้นคือความหมายของคำว่าถอดใจจากองค์กรไปแล้วนั้นเอง ไม่ได้หมายถึงใจของพนักงานที่จะลาออกนะครับ ขอให้เข้าใจตรงกันด้วยนะครับ ซึ่งปัญหาวิกฤตทางด้านสุขภาพจิตนั้นในตอนนี้พบว่ามีพนักงานหลายคนเป็นซึ่งมันส่งผลต่อประสิทธิภาพงานเป็นอย่างมาก เนื่องจาก การระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทันหัน พนกงานหลายคนต้องมีการกักตัว ทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตในแบบที่เคย และนั้นคือต้นเหตุของปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงาน เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อที่พนักงานที่ทำงานที่บ้านจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมันก็ต้องได้รับการช่วยเหลือจากนายจ้างหรือผู้ประกอบการนั้นเอง มาดูกันว่ามีวิธีการอย่างไรบ้างที่นายจ้างหรือผู้ประกอบการจะสามารถกู้จิตใจของพนักงานเหล่านี้ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไปดูกันครับ

เริ่มด้วยวิธีการแรกเลยครับวิธีนี้ง่ายมากๆนั้นก็คือ เปิดประตูหัวใจของพนักงาน วิธีการนั้นก็คือ เมื่อมีการทำงานที่บ้านแน่นอนว่าต้องมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้างอยู่แล้วถึงจะไม่ได้พบหน้ากันเหมื่อนเมื่อก่อนเพราะฉะนั้นการพูดคุยกันเกี่ยวกับสิ่งที่นอกเหนือจากงานนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น การถามว่าเป็นยังไงบ้าง  สบายดีไหม ทำอะไรอยู่ ยังโอเคอยู่รึเปล่าแค่คำถามสั้นๆเหล่านี้จากผู้ที่เป็นนายจ้างนั้นจะทำให้พนักงานเองรู้สึกถึงความเป็นห่วงเป็นใย ถึงแม้คำถามเหล่านี้จะดูเป็นคำถามที่ไม่ได้เคารพความเป็นส่วนตัวสักเท่าไร แต่การถามคำถามเหล่านี้จะเป็นการทำให้พนักงานเปิดประตูหัวใจให้กับนายจ้างมากขึ้นเพราะรู้สึกได้ถึงความเป็นห่วงเป็นใย และเป็นการสัมพันธภาพระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอีกด้วย

วิธีต่อมาคือ แสดงออกว่ายินรับฟัง เมื่อได้ถามไปแล้วว่า เป็นยังไงบ้าง โอเครึเปล่านั้นเป็นโอกาสที่จะทำให้พนักงานเปิดใจกับนายจ้างถึงปัญหาความเครียดต่างๆที่เผชิญอยู่ในขณะนี้เพราะฉะนั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างมากหากนายจ้างถามคำถามเหล่านี้ไปแบบที่ไม่ได้แสดงออกว่ายินดีที่จะรับฟังคำตอบแค่ถามผ่านๆไปอย่างนั้น

วิธีสุดท้ายมาคือพยายามติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้องทำงานอยู่บ้านคนเดียวการไม่ได้พบปะผู้คนเหมือนก่อนนั้นเป็นต้นเหตุของการมีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการหรือนายจ้างจำเป็นจะต้องทำหน้าที่แก้ปัญหาตรงนี้ซึ่งนั้นก็คือการพยายามติดต่อสารกันมากขึ้นและสม่ำเสมอ เช่น จากเมื่อก่อนทำงานที่ออฟฟิศอาจจะมีการเรียกประชุมงานกันสัปดาห์ล่ะครั้งหรืออาจะเดือนละครั้งก็เป็นไปได้ แต่เมื่อต่างคนต่างทำงานอยู่บ้านไม่ได้พบปะหน้าตากันก็อาจจะมีการประชุมงานที่เพิ่มความถี่ขึ้นก็เป็นอีกวิธีในการช่วยพนักงานในเรื่องของทางด้านจิตใจไม่ให้เกิดความโดดเดี่ยวและหดหู่

การเข้าใจถึงสภาพการณ์ความรู้สึกของพนักงานเป็นสิ่งที่ควรเอาใจใส่

การเข้าใจถึงสภาพการณ์ความรู้สึกของพนักงานเป็นสิ่งที่ควรเอาใจใส่

และนี้คือบทความที่จัดทำขึ้นมาเพื่อผู้ประกอบการที่ตอนนี้กำลังยุ่งรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดจากวิกฤตโควิด-19และลืมใส่ใจไปถึงสภาพการณ์และความรู้สึกของพนักงานหรือลูกจ้าง ในขณะนี้ว่าเป็นยังไงบ้าง ในบทความนี้ผู้ประกอบการก็จะได้รับประโยชน์และจะได้สามารถเข้าใจว่าพนักงานขององค์กรตัวเองน่าจะต้องการอะไร และผู้ประกอบการควรจะปฎิบัติอย่างไรต่อไป และโดยความคิดส่วนตัวของผม ถึงแม้ตัวผมเองจะเป็นนักเขียนบทความที่ทำงานออนไลน์และทำงานอยู่ที่บ้านอยู่แล้วก่อนจะเกิดวิกฤตโควิด-19  ก็ยังรู้สึกเลยว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมที่เคยสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้เบื่อของผมเองอย่างการไปออกกำลังกาย เดินห้าง ก็ถูกสั่งห้าม เพราะฉะนั้นพนักงานที่มีกิจวัตรประจำวันต้องออกจากไปบ้านไปทำงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกับต้องอยู่ที่บ้านอย่างเดียวคงจะได้รับผลกระทบมากกว่าตัวผมเองแน่นอน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรจะเอาใจใส่ให้เป็นอย่างดีถึงสภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรนะครับ