‘8 ชั่วโมงต่อวัน...40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น!’ นี่คือเวลางานแบบปกติของมนุษย์เงินเดือนทุกคน แต่ยังไม่รวมโอที หรือล่วงเวลางาน. ถ้าถามว่า อะไรเปรียบเหมือนหินที่ถ่วงบนบ่าของเราทุกคน แต่ก็ต้องแบกไว้เพราะหน้าที่รับผิดชอบ ก็คือ ‘งาน’ นี่เอง ซึ่งเราทุกคนก็อยากให้งานออกมาดี มีผลงานที่น่าพอใจ และมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ใช่จะราบรื่นเหมือนที่คิดเสมอ บางครั้งอาจเจอปัญหาที่แตกต่างกันไป ใช่ว่าทุกเทคโนโลยีจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ซะหมด เพราะเรานี่แหละที่จะเป็นคนพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง แต่เราจะทำงานอย่างไรให้มีความสุข และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานนั้นๆได้ ก็คงจะดีแน่ๆ ดีต่อตัวเราที่มีโอกาสสร้างผลงาน ดีต่อองค์กรที่จะพัฒนาได้อีกยาวไกล และดีต่อสังคม เมื่อมีบุคคลที่มีคุณภาพด้วยนั่นเอง แล้ววิธีล่ะ เราจะรับมือกับความเครียดสะสม หรือความเหนื่อยล้าจากรูปแบบชีวิตที่เจออยู่เกี่ยวกับงานได้อย่างไร อะไรจะเป็นทางออกที่ดีของมนุษย์เงินเดือน เพื่อทำให้งานที่ต้องรับผิดชอบนั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้จริง มาดูกันเลย
รับมือกับการหมดไฟในการทำงาน(Burnout syndrome)
ความเหน็ดเหนื่อยเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน แต่ถ้าความเหน็ดเหนื่อยมีผลมาจากการทำงานหนักเป็นเวลานาน หรือ วิตกกังวลมากเกินไป ก็อาจยังผลให้เรามีอาการที่ส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ที่เรียกว่า ‘การหมดไฟในการทำงาน’ ได้ โดยอาการที่พบเจอบ่อยให้มนุษย์เงินเดือนที่เจอกับสภาพการเดิมๆ ซ้ำๆ และเครียดสะสม ก็คือ ความกดดัน ความวิตกกังวล หมดแรง อ่อนเพลีย ว่างเปล่าเฉยชา ท้อแท้กับงาน หงุดหงิดร้อนใจ ขาดความสมดุลในชีวิต และหมดไฟหรือขาดประสิทธิภาพในการทำงานในที่สุด
สาเหตุหลักที่เราต้องเจออาจมาจากงานที่ไม่ตรงกับสายงาน เมื่อไม่สามารถรับผิดชอบงานให้สำเร็จผลได้ อาจเครียดและสมองเหนื่อยล้าได้ แต่ความเข้าใจอาจช่วยให้จัดการชีวิตได้ดีขึ้น โดยสังเกตอาการและสาเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น เมื่อถูกคาดหวังจากนายจ้างหรือเพื่อนร่วมงาน เรารู้สึกอึดอัดใจตลอดเวลา , เมื่องานที่ทำไม่ตรงกับความสามารถหรือความสนใจก็หมดความกระตือรือร้นอย่างรวดเร็ว , รู้สึกโดดเดี่ยวในที่ทำงานหรือชีวิต หรือ ไม่อยากเข้าสังคมหรือสังสรรค์กับเพื่อนเหมือนที่เคย หากเราตรวจสอบและเข้าใจอาการก็จะรับมือได้ง่ายขึ้น
วิธีที่ดี: ถ้าเราเจอสัญญาณที่บ่งบอกอาการ หรือ รู้สึกว่าหมดไฟในการทำงานเข้าแล้วล่ะก็ อย่าพึ่งกังวลจนเกินไป เพราะการปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิต เพื่อไม่ให้ร่างกายและจิตใจทรุดโทรมมากขึ้นจะช่วยเราได้ อาจเริ่มจาก การดูแลสุขภาพที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ลาพักร้อยหรือพักสมองให้พอจะสู้ต่อไป ลดการท่องอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ยิ่งการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะไขมันดีและโปรตีนก็ยิ่งช่วยเสริมสร้างร่างกายและกระบวนการคิดของเรา เมื่อจัดการกับความเครียดได้ ก็อาจหาวิธีปรึกษากับส่วนการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำงานแต่พอดี แก้ปัญหางานที่เป็นอยู่ ช่วยกันคิด เพื่อหลีกหนีจากโรคภัยต่างๆ ที่อาจตามมา เช่น ซึมเศร้า โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง นอนไม่หลับสะสม เป็นต้น
จัดการกับ OT อย่างมืออาชีพ
ทำงานหนักทุกวัน ล่วงเวลาจนดึก นี่คือสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนต้องรับมือ และเจอกับ OT! เมื่องานด่วนต้องอยู่ดึก หรืองานประจำให้วันหยุด กลายมาเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้เจอการนั่งทำงานเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายเราอย่างแน่นอน แต่การทำโอทีเยอะส่งผลมากกว่านั้น เช่น การนั่งทำงานนาน หรือนั่งผิดท่า อาจส่งผลให้ผลทำงานหนักเกินไป กระดูกสันหลังไม่ยืดหยุ่นคดงอ กล้ามเนื้อบั้นทายและขาเกร็งตัว หมอนรองกระดูกทับเส้น หรือกระดูกพรุนก่อนวัยอันควรเอาได้
การพักผ่อนไม่เพียงพอไม่ใช่เรื่องเล็กของร่างกายเรา ถึงอัดกาแฟและจัดการกับงานต่อ ก็ใช่ว่าจะคุ้มกับสุขภาพเรา แต่กลับเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปด้วย ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย สายตามีปัญหา ลามไปถึงฮอร์โมนผิดปกติก็มี ยิ่งงานที่กองท่วมหัวเป็นเวลาที่ติดกันนานๆ ส่งผลต่อระบบการย่อยและกระเพาะเราได้ ทำให้เกิดโรคฮิตของมนุษย์เงินเดือนด้วยคือกรดไหลย้อน หรือโรคอัลไซเมอร์ในระยะยาวอีกด้วย
วิธีที่ดี: อันดับแรก การปรับเปลี่ยนท่านั่งหรืออิริยาบถบ้างบ่อยๆ จะทำให้เราได้พักสายตา เส้นสายได้ยืด และกล้ามเนื้อได้เปลี่ยนท่าเพื่อผ่อนคลายได้ หรือการเลือกเก้าอี้ที่ดีและเหมาะสมก็จะช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมกับเราด้วย รู้จักวางแผนการทำงานและบริหารให้ดี หรือการบันทึงานล่วงเวลาเอาไว้บ้าง ที่สำคัญคือไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเป็นเวลานานๆ เพราะอาหารที่ครบมื้อยิ่งทำให้สุขภาพเราแข็งแรงและร่างกายสดใสกระฉับกระเฉง รวมถึงการหาเวลาออกกำลังกายทุกสัปดาห์ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ดี ไม่ต้องหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีกด้วย
รับมือกับการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน(Multi Tasking)
เศรษฐกิจกดดัน ที่ทำงานจึงต้องรัดเข็ดขัดให้แน่นขึ้น ส่งผลให้งานมีล้นมือ ขณะที่พนักงานกลับน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาการต้องทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันในหลายๆออฟฟิศ แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะรับมือกับการทำงานแนวนี้ยังไง เพราะสมองของเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์ หากทำหลายอย่างพร้อมกันเยอะๆ จะลดประสิทธิภาพของงานและเกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น งานยิ่งอาจจะเสร็จช้าลงและไม่ประหยัดเวลาได้จริง
แต่สำหรับบางคน ความชำนาญ ประสบการณ์ หรือความสามารถเฉพาะอาจทำให้เขารับมือได้ดีกว่าเรา จนดูเหมือนการทำงานหลายอย่างพร้อมๆกันเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ไม่ควรคาดหวังตัวเองมากเกินไป เพราะความคิดสร้างสรรค์มักจะมาคู่กับสมาธิในการทำงาน ทางที่ดีเราต้องมีสติเพื่อจัดการสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก่อนปล่อยให้ไอเดียบรรเจิดได้มาเต็มๆ ไม่อย่างนั้นอาจมีผลเสียต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ง่าย การแก้งานปล่อยๆ ก็อาจถูกมองว่าชอบทำอะไรลวกๆเอาได้
วิธีที่ดี: หากบริษัทเล็งเห็นจำนวนงานและจำนวนคนที่พอเหมาะต่อกัน อาจเป็นวิธีเพิ่มกำไรในระยะยาวได้จริง แต่หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาระบบนี้ได้ ก็ต้องโฟกัสที่การบริหารเวลาของเราและการสร้างสมาธิในการทำงานนี่ล่ะ ฝึกนิสัยในการทำงานให้เสร็จไปแบบทีละอย่าง อาจทำงาน 25 นาที พักสัก 5 นาทีเพื่อผ่อนคลายก็ได้ หลังจากนั้น ก็ลองวิธีจัดลำดับความสำคัญของแต่ละงานที่ทำ บริหารเวลาว่าอะไรรีบ และรีบที่สุด และปิดการแจ้งเตือนอีเมล์บ้างเมื่อมีงานต้องจดจ่อพิเศษ
รู้จักอาการคาดหวังความสมบูรณ์แบบ(Perfectionist)
เคยมีการวิจัยว่า คนที่ทำงานแบบคาดหวังความสมบูรณ์แบบ หรือ perfectionist มากเกินไป มีแนวโน้มที่จะทำงานได้มีประสิทธิภาพลดลงตามมาได้ เพราะสมองอาจจะจดจ้องรายละเอียดมากกว่าที่ควร สูญเสียความคิดสร้างสรรค์และการมองภาพรวมเอาได้ และยิ่งเราพยายามทำตัวให้ใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบมากเท่าไหร่ ความสุขในการทำงานก็จะลดน้อยลงไปได้ด้วย ดังนั้น อาการคาดหวังความสมบูรณ์แบบนี้แหละ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน และเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นๆเอาได้ด้วย
ไม่มีใครสักคนที่ไม่เคยทำผิดพลาด เราจึงควรเลิกคาดหวังว่าจะต้องสมบูรณ์แบบเสมอ 100 เปอร์เซ็นต์ทั้งในชีวิต และที่ทำงาน ยิ่งการนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือคาดหวังในคนรอบข้างสมบูรณ์แบบยิ่งแย่ลงไปด้วย. การรู้สึกอยากเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากรู้สึกกดดันตัวเองไปพร้อมๆกัน หรือรู้สึกว่ายังไม่ดีพอในโลกอุดมคติ ก็คงจะแน้วโน้มที่นำไปสู่ปัญหาภาวะทางจิตอีกก็เป็นได้ จึงต้องรู้จักอาการ รับมือให้เป็น และยอมรับมากขึ้น
วิธีที่ดี: เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็มีความสุข ถ้าเรารู้จักพอใจในสิ่งที่ทำได้ รวมถึงงานของเราไม่คาดหวังความสบูรณ์แบบมากเกินไป ก็จะเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของงานได้ด้วย เพราะการพยายามทำให้คนอื่นประทับใจอาจทำให้งานไม่เป็นธรรมชาติแต่การคิดบวกหรือการมองโลกในแง่ดี จะเพิ่มประสิทธิภาพของของเราได้จริง ไม่คิดลบกับตัวเอง หรือหาข้อเสียของเพื่อนร่วมงานตลอดเวลาค่อยๆปรับเปลี่ยนกันไป ก็จะทำให้ทุกวันที่ในทำงานของเรามีความสุขมากขึ้นเท่านั้น
การพักผ่อนและคลายเครียด
เป็นความจริงที่ว่าเมื่อสมองได้พัก อะไรดีๆก็จะหลั่งไหลมา เนื่องจากการทำงานของสมองจะได้หยุดพักเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และเพิ่มความจำอีกด้วย และการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศก็จะกระตุ้นนกระบวนการแก้ปัญหาของเราได้เช่นกัน เพราะการพักผ่อนให้เพียงพอ และถูกวิธีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานเราได้จริง ไม่เสียสุขภาพและไม่เหนื่อยล้าเกินไป
ร่างกายจะได้รับการซ่อมแซมและมีสมดุลมากขึ้น เมื่อเรานอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่บางคนที่โหมงานหนักเป็นเวลานาน แล้วมานอนยาวเอาช่วงวันหยุด ความจริงแล้วกลับทำให้ระบบของร่างกายรวมไปอีกได้ เราจึงควรทำเป็นประจำทุกวันให้ชินจะได้ประโยชน์มากกว่า และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์เงินเดือน การไม่มีสิ่งเร้าหรือทำให้คิดมากและฟุ้งซ่านจึงเป็นเรื่องที่ดี ลองหยุดจากการแชทและท่องอินเตอร์เน็ตติดต่อกันเป็นเวลาอาจช่วยได้ หรือการรับแสงยามเช้าบ้าง ก็อาจทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่าและสดชื่นเลยล่ะ
วิธีที่ดี: หลายคนเสพติดการทำงาน ทำมันทุกวันแม้วันหยุด นี่เป็นสัญญาณด่วนที่ต้องแก้ไขแล้วล่ะ ถ้าเราหยุดคิดเรื่องงานหรือไม่ปล่อยวางเลย สมองของเราก็จะทำงานหนักตลอดเวลา และมีความเครียดสะสม จึงควรรู้จักเปลี่ยนโหมด เช่น กินขนมหวานบ้าง , ฟังเพลงเบาๆ หรือเล่นเกมส์รับสมอง เพราะความสนุกจะช่วยให้ร่างกายเราฟื้นพลังและพร้อมสู้ต่อ อีก 5-6 วันต่อสัปดาห์อีกได้ และสิ่งที่ช่วยเรานอนหลับพักผ่อนได้ถูกวิธีก็เกี่ยวกับแสงสว่างเช่นกัน อาจทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น โดยปิดไฟให้มืดสนิท งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชากาแฟก่อนนอน และอาบน้ำอุ่น ก็จะช่วยให้เราพร้อมพักผ่อน นอนยาวสบายๆได้ง่ายๆเลยล่ะ
สมดุลในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพงานของเราได้จริง
จะเห็นว่า ความเครียดด้วยปัญหาหลักๆของมนุษย์เงินเดือน จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเราเอาได้ แต่หลายคนก็อาจคิดว่า การทำงานหนักจะเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิต เป็นรากฐานที่ดีในวันข้างหน้า แต่อาจลืมคิดไปว่า งานที่ดี คือ งานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราจึงควรรู้จักปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพงานของเราลดลง และรับมือกับมันได้ตรงจุด เพื่อทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ทำงานแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ด้วยวิธีที่สมดุล
เช่น รับมือกับอาการหมดไฟในการทำงานได้ตรงจุด ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น แล้วหาทางพูดคุยเพื่อแก้ปัญหากันได้ต่อไป , การรับมือกับโอทีที่มาซ้ำๆ ไม่รู้จบ จนทำให้เสียสุขภาพและมีบรรยากาศที่ไม่ดีในการทำงานเอาได้ , รู้วิธีหนีปัญหาในการทำหลายอย่างพร้อมๆกัน เพราะร่างกายของเรามีสมองแค่หนึ่ง หากทำอะไรที่ซับซ้อนอาจทำให้งานช้าลงหรือไม่มีคุณภาพเอาได้ , การรู้จักอาการคาดหวังความสมบูรณ์แบบมากเกินไปก็เป็นเรื่องด่วนที่เราต้องให้ความสนใจด้วย เพราะความกังวลหรือความกดดันแบบนี้แหละ ที่ทำให้งานที่ตั้งใจออกมาไม่ได้ดั่งใจเอาได้ แต่ควรรู้จักยืดหยุ่ดมากขึ้น และอย่างสุดท้าย คือการพักผ่อนให้เพียงพอและรู้จักคลายเครียดซะบ้าง หลายคนอาจคิดว่าไม่จำเป็น แต่จริงๆแล้วขาดไม่ได้เลยล่ะ ความจริงแล้วการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ก็มาจากการพักผ่อนนี่ล่ะ เพราะถึงจะก้าวหน้าในสายอาชีพ แต่ถ้าร่างกายเราไม่ดูแลรักษา จะทันได้อยู่ชื่นชมความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไรล่ะ! เพราะงานที่มีคุณภาพ ไม่ใช่งานหนัก แต่เป็นแนวคิดที่ฉลาดซึ่งเราวางแผนรับมือได้ จึงต้องวางแผนให้ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แล้วเราก็จะมีงานที่ดี ควบคู่ไปกับ ชีวิตที่สมดุล มีความสุขได้จริงนั่นเอง
หวาน
เราว่าวิธีจัดการกับความเครียดเป็นเรื่องสำคัญนะไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ช่าง ถ้าเป็นพนักงานและไม่รู้จะระบายความเครียดไปทำงานไม่มีความสุขงานก็พอแย่ไปด้วยมีผลต่อตำแหน่งเอกถ้าทำงานที่เป็นนายตัวเองไม่รู้จักคลายเครียด การบริหารธุรกิจก็ไม่ดี เราเลยมองว่าไม่ว่าจะทำงานแบบไหนการจัดการความเครียดของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่แย่ก็คือบางคนก็ยังคิดไม่ออกว่าตัวเองเครียดเรื่องอะไรเนี่ย
ไลน์
อันนี้คือความเห็นส่วนตัวนะ ตั้งแต่โควิดระบาด บริษัทหลายบริษัทต้องปลดพนักงานออก ที่นี้พอในบริษัทมีพนักงานลดลงแต่งานมีจำนวนเท่าเดิมพนักงานในบริษัทก็ทำงานเพิ่มขึ้นเงินเดือนเพิ่มขึ้นหรือเปล่าที่เราไม่รู้แต่เห็นหลายคนบ่นเร็วนะว่าเหนื่อยมาก เอาจริงๆเป็นพนักงานกินเงินเดือนก็ไม่ได้สบายเหมือนกันเพราะบางครั้งเจ้านายก็คาดหวังมากกว่าความเป็นจริง
อ้อย
ช่วง work from home นี้เราก็มีปัญหานะคือหมดไฟทำงานไม่ได้ถ่ายแบบอยู่บ้านใครจะอยากมานั่งหน้าคอมทำงานก็เลือกครั้งหรือว่าเพราะว่าต้องกลับไปทำงานที่บริษัทเหมือนเดิมแล้วแต่พอกลับไปทำงานที่บริษัทเหมือนเดิมมันก็มีปัญหาอย่างอื่นตามมาอีกรู้สึกว่าคงติดระบาดที่เดียวมันทำให้ตารางชีวิตเราเสียแล้วดูท่าว่าจะกลับคืนมายากด้วยเนี่ยสิไม่รู้จะทำยังไงดีเหมือนกัน
โบ
เห็นด้วยเขาว่าเราต้องมีสมดุลย์ในเรื่องของการทำงาน ถ้าเพราะว่าถ้าเราขาดความสมดุลย์เมื่อไหร่ก็อาจจะทำให้งานมีคุณภาพที่ไม่ดี เวลาพักก็ต้องพักเวลาทำงานก็ต้องทำงาน ถ้าไม่มีการพักเลยทำงานตลอดก็อาจจะทำให้เกิดความเครียดได้แล้วก็ทำให้งานออกมาไม่ดี ดังนั้นการพักผ่อนเป็นเรื่องสำคัญมากถึงแม้ว่าจะห่วงงานแต่ยังไงก็ต้องพักผ่อน ส่วนตัวเราคิดว่าการพักผ่อนสำคัญมากด้วย
Natty
@หวาน ใช่ค่ะการจัดการกับความเครียดเป็นเรื่องสำคัญและก็วิธีกำจัดหรือว่าจัดการความเครียดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันบางคนชอบออกไปข้างนอกบางคนชอบดูหนังบางคนต้องช้อปปิ้งถึงจะหายเครียดส่วนตัวเรารู้สึกว่าการอ่านหนังสือแล้วก็เล่นกับแมวอยู่ที่บ้านเป็นการคลายเครียดอย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งก็คือเราต้องบังคับตัวเองไม่ให้เครียดคิดว่านี่ก็เป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนไม่เหมือนกัน
สมเจตน์
เรื่องหมดไฟในการทำงานนี่ เจอบ่อยคะเพื่อนเราหลายคนที่ทำวานที่เดิมๆตำแหน่งเดิมๆบอกว่าเบื่อมาก ไม่มีอะไรใหม่เลยๆ หลายคนก็บอกว่า ลาออกจากงานมาทำสวนที่บ้าน น่าจะดีกว่า มีครั้งหนึ่งเราก็เกลือบที่จะออกจากงานเหมือนกันคะ เพราะทำตำเหน่งเดิมมา5ปีแล้ว แต่ดีหน่อย เราแอบไปเรียนบริหารเพิ่มเติม เลยได้ขยับตำแหน่งงานที่ทำ
LOVE_LOVE
ไม่เคยหมดไฟเลยค่ะ กลัวไม่มีเงิน5555 แต่ปัญหาคือเหนื่อยเกินไป ไม่ค่อยได้พักผ่อนเเล้วสมองมันตื้อๆงงๆ ตอนนี้เริ่มจะปวดหลัง ปวดเอว ปวดหัว ปวดตา สงสัยต้องทำเหมือนความเห็นด้านบนแล้วมั้ง เล่นกับหมา กับแมว กับนก กับปลาที่มีในบ้านบ้างดีกว่า ดีนะบทความนี้....แนะนำดีมากเลย เว็บนี้น่าจะมีคำแนะนำอื่นๆเกี่ยวกับวิธีอะไรก็ได้เยอะๆหน่อยก็ดีนะ