เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากหยิบยื่นโอกาสทางการเรียนที่ดีที่สุดให้ลูก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกเรียนในสถาบันที่ดี มีมาตรฐาน ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว วันนี้น้องหมูมีครอบครัวที่สมบูรณ์ขึ้น ในระยะสั้นอย่างในช่วงอนุบาล ประถม การประมาณการค่าใช้จ่ายทำได้ไม่ยาก แต่หากเป็นช่วงอุดมศึกษา ซึ่งระยะเวลาห่างกันมาก การประมาณค่าใช้จ่ายอาจผิดพลาดได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พ่อแม่มักจะหลงลืมไป รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่มีอัตราสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น การวางแผนเตรียมการศึกษาให้ลูกในระยะยาว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการพูดคุยและวางแผนแต่เนิ่นๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะมีเงินเพียงพอที่จะส่งให้ลูกเรียนในวันข้างหน้า

วางแผนการศึกษาทั่วไป

วางแผนการศึกษาทั่วไป

ในบทความนี้ เราจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาวางแผนการการศึกษาให้กับลูกๆกันค่ะ เพื่อจะทำได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ เราต้องกำหนดเป้าหมายและค่าใช้จ่าย, เลือกทำประกันเพื่อการศึกษา และลงทุนควบคู่ไปกับการออม วิธีเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการวางแผนเพื่อลูกที่ฉลาดมากๆค่ะ ขอคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอ่านไปพร้อมๆกันเลยนะคะ

กำหนดเป้าหมาย และค่าใช้จ่าย

เป้าหมายคือสิ่งที่ทุกคนอยากไปให้ถึง! ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะเป็นระยะสั้น หรือยาว ถ้าไม่มีการกำหนดเป้าหมาย และค่าใช้จ่ายเอาไว้ให้ชัดเจนเป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จได้ โดยเฉพาะเป้าหมายในการวางแผนเพื่อการศึกษาของลูกๆ พออายุได้ 3 ขวบนั่นเป็นเวลาที่ลูกจะต้องเข้าไปเรียนในชั้นอนุบาลแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองคิดดูนะคะว่า การเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรี จะต้องใช้เงินเท่าไหร่? เมื่อคิดถึงค่าใช้จ่าย พ่อแม่บางคนถึงกับบอกว่ามีลูก 1 คนจนไป 10 ปี!

คือเราต้องรู้ว่าจะให้ลูกเรียนโรงเรียนแบบไหน รัฐบาล หรือว่าเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ จะให้ลูกเรียนไปจนถึงระดับไหน จะเรียนในประเทศหรือต่างประเทศ เมื่อกำหนดเป้าหมายได้แล้วการวางแผนในเรื่องค่าใช้จ่ายจะชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ

เรียนระดับอนุบาลที่ไหน ค่าเทอมทั้ง 3 ปีเท่าไหร่ พอถึงระดับประถม 6 ปีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ระดับมัธยมอีก 6 ปีหล่ะจะให้เรียนที่ไหน ค่าเทอมเท่าไหร่ ?เพราะค่าเทอมของแต่ละโรงเรียนก็ต่างกัน เราอยากให้ลูกเรียนพิเศษในด้านอื่นๆอีกหรือเปล่า อันนี้ต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเทอมอีก การวางแผนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูกต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อด้วยนะคะ พ่อแม่ต้องเตรียมใจเอาไว้เลยว่า เงินเฟ้อด้านการศึกษาจะอยู่ที่ 6 % และทุกๆ 12 ปีค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า! นั่นหมายความว่า กว่าลูกจะเรียนจบระดับปริญญาเราอาจจะต้องใช้เงินเป็นแสนๆบาทเลยนะคะ

เลือกทำประกันชีวิตเพื่อการศึกษา

การเก็บเงินเพื่อการศึกษาของลูกด้วยเงินสดอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราในอนาคต เราอาจจะเสียชีวิต หรือ ตกงาน เป้าหมายที่วางไว้อาจจะหยุดชะงักได้ เพื่อความมั่นใจว่าลูกจะได้เรียนจนจบ พ่อแม่อาจจะต้องหาตัวช่วยในการวางแผนทางการเงินแล้วหล่ะค่ะ

ลงทุนควบคู่กับการออม

การวางแผนเพื่อการศึกษาให้กับลูกคุณสามารถลงทุนควบคู่ไปกับการออมได้ด้วยนะคะ การออมและการลงทุนยิ่งเราลงมือได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะได้มีเวลาในการลงทุนนานไปอีก ถ้าเราเริ่มต้นเร็วจะใช้เงินต้นไม่สูงมากค่ะ เช่น ถ้าเราวางแผนการเรียนให้ลูกตั้งแต่แรกเกิดเราจะมีเวลาลงทุนถึง 18 ปี ถ้าเริ่มตอนที่ลูกอายุได้ 6 ปีจะมีเวลาลงทุน 12 ปี แต่ถ้ามาลงทุนตอนที่ลูกอายุ 12 ปีคุณจะมีเวลาในการลงทุนแค่ 6 ปีเท่านั้นเอง ส่วนผลตอบแทนยิ่งเราใช้เวลาลงทุนมากเท่าไหร่ก็จะได้มากเท่านั้น

วางแผนการศึกษาสำหรับเรียนต่อ

วางแผนการศึกษาสำหรับเรียนต่อ

เชื่อว่าการเรียนต่อต่างประเทศ ถือเป็นเป้าหมายชีวิตใครหลายๆ คน แต่นอกจากการเตรียมตัวในการสอบ ในการยื่นเอกสารสมัคร อีกสิ่งหนึ่งที่พลาดกันถ้วนหน้า นั่นก็คือการวางแผนค่าใช้จ่ายเมื่อต้องไปเรียนต่อนั่นเอง ในกรณีที่ไม่ได้ขอทุนเรียนฟรี การไปเรียนต่อต่างประเทศต้องคำนวณค่าใช้จ่ายให้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด เพราะพอไปใช้ชีวิตเรียนต่อจริง ๆ กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากมายจนรายจ่ายเกินงบที่มี ซึ่งอาจจะทำให้เราต้องลำบากเกินไปในช่วงเวลาเรียนต่อ ลองวางแผนงบประมาณเรียนต่อตามนี้ก่อนไป ช่วยให้เรียนต่อได้อย่างมั่นใจ ง่ายนิดเดียว! . ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อ สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่

ค่าวีซ่านักศึกษา

ในบางประเทศอาจจะต้องขอวีซ่านักศึกษาก่อน ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้านเอกสารและตรวจสุขภาพ โดยแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป เช่น

  • อัตราค่าวีซ่านักศึกษาในอังกฤษ $335
  • อัตราค่าวีซ่านักศึกษาในอเมริกา $160
  • อัตราค่าวีซ่านักศึกษาในออสเตรเลีย $450 AUD

ค่าเดินทาง

เมื่อเตรียมค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่าแล้ว ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเดินทางไปยังเมืองนอกด้วย ซึ่งค่าตั๋วเครื่องบินจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แนะนำให้วางแผนก่อนเดินทางล่วงหน้าสัก 1 เดือนจะช่วยประหยัดค่าเดินทางได้มากเดียว

ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์หรือค่าอินเทอร์เน็ต โดยค่าครองชีพของแต่ละประเทศจะต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเรียนที่ไทยแน่นอน ยิ่งถ้าหากเราเรียนในเมืองก็ยิ่งทวีคูณค่าใช้จ่ายมากกว่านอกเมือง ดังนั้นเราต้องประเมินค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้ดี เพื่อควบคุมการเงินให้เหมาะสม

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร

ส่วนสำคัญมากๆ สำหรับค่าใช้จ่ายเรียนต่อต่างประเทศ หรือค่าลงทะเบียนเรียนตามหลักสูตร เราจะต้องเช็กค่าเรียนให้ดีว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละประเทศ มหาลัยและแต่ละหลักสูตรก็จะมีความแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างค่าเทอมโดยเฉลี่ยสำหรับเรียนต่อปริญญาโท เช่น

  • ค่าเทอมปริญญาโท อังกฤษ 750,000 บาทต่อปี
  • ค่าเทอมปริญญาโท อเมริกา 1,000,000 บาทต่อปี
  • ค่าเทอมปริญญาโท ออสเตรเลีย 850,000 บาทต่อปี

ค่าที่อยู่อาศัย

หลังจากวางแผนค่าเทอมแล้ว เราก็ต้องคำนวณค่าที่พักระหว่างเรียนด้วย โดยราคาที่พักตามนอกเมืองจะค่อนข้างประหยัดกว่าในเมือง สำหรับใครที่ไม่อยากเสียค่าที่พักแพง ๆ ก็สามารถเลือกอยู่หอพักของมหาวิทยาลัยได้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้กว่าครึ่งเลย

ค่าอุปกรณ์การเรียน

หลายคนอาจมองข้าม ค่าอุปกรณ์การเรียนอย่าง เช่น หนังสือ สมุด เครื่องเขียน หรือของใช้ที่จำเป็นต่อการเรียน นอกจากนี้ ในบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีค่าธรรมเนียมเสริม แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก ก็ควรเตรียมเผื่อไว้กันด้วย

ค่าประกันเรียนต่อต่างประเทศ

หากต้องเรียนต่อต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน ก็จะต้องมีค่าธรรมเนียมสุขภาพคุ้มครองเมื่อยามเจ็บป่วยด้วย ทำให้อาจจะมีค่าบริการสุขภาพหรือประกันเดินทางสำหรับนักเรียนที่เรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเข้ามา

อีกสิ่งที่อยากให้ คำนึงถึงคือเรื่องของอัตราค่าแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศด้วย หากคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาเก็บเงินเตรียมพร้อมไปเรียนต่อกันได้เลย หากอยากปรึกษาเพิ่มเติมสามารถถามผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง