จำเป็นต้องมีการสำรองจ่าย ในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไหมคะ สำหรับโครงการเมืองไทยวัยเก๋า หายห่วง (เพื่อผู้สูงอายุ) เมืองไทยประกันชีวิต
เนื่องจากคุณแม่ใช้บริการ โครงการเมืองไทยวัยเก๋า หายห่วง (เพื่อผู้สูงอายุ) เมืองไทยประกันชีวิต ช่วยตัวเองในการรับการรักษาเบิกค่าพยาบาลได้ในกรณี เกิดอุบัติเหตุขึ้นที่บ้าน เมื่อจำเป็นต้องจ่ายค่าพยาบาล อยากรู้ว่าจำเป็นต้องสำรองจ่ายในส่วนนี้ก่อนไหมคะ เพราะปกติแล้วฉันเองก็ไม่ค่อยอยากจะสำรองจ่ายเพราะว่าต้องไปยื่นเรื่องกว่าจะได้รับเงินคืนก็หลายวัน
ผู้ให้บริการทางการเงินที่เว็บบอร์ดนี้พูดถึง:
เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอะไรดีนะ..
คุยกับที่ปรึษาทางการเงินโดยตรงและรับข้อเสนอที่เหมาะกับคุณ
รับคำปรึกษาฟรี
สิน496-255
ปกติ ถ้าผู้เอาประกันภัยไปรักษาตัวในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ตามกรมธรรม์ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อนนี่ครับ มันจะเบิกได้เลย ผมเข้าใจอย่างนั้นนะ ของโครงการเมืองไทยวัยเก๋า หายห่วง (เพื่อผู้สูงอายุ) เมืองไทยประกันชีวิตก็น่าจะเป็นแบบนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นนอกเครื่อข่ายที่กำหนดต้องสำรองเวินจ่ายไปก่อน
Nidd
ทำประกันไปแล้วจ่ายค่าเบี้ยประกันต่อปีต้องแพงนี่จะต้องออกสำรองจ่ายก่อนอีกหรอคะเพราะว่าส่วนตัวเท่าที่เรารู้มาถ้าเป็นโรงพยาบาลในเครือของประกันเหมาจ่ายที่เราทำเราไม่จำเป็นต้องออกสำรองจ่ายก่อนนะคะแต่ถ้าไปโรงพยาบาลนอกเครือนี้อาจจะต้องออกสำรองก่อนแต่ถ้าจะให้ดีเช็คในเว็บไซต์ได้ค่ะว่ามีโรงพยาบาลไหนที่อยู่ในเครือบ้างตอนที่เข้ารับการรักษาเข้าโรงพยาบาลในเครือง่ายกว่าค่ะ
Kiss~kiss
ถ้าจขกทไม่อยากที่จะต่องสำรองจ่ายไปก่อน แนะนำให้ไปตามโรงพยาบาลในเครือของบริษัทประกันนะคะ พอเข้าไปรับการรักษาแค่ยื่นบัตรประชาชนและบัตรประกันตัวนี้เท่านั้นค่ะ ไม่ต้องสำรองจ่ายเลยค่ะ ( นอกจากว่าเกินวงเงิน) ซึ่งตรงนี้เราอาจจะต้องสำรองจ่ายเองไปก่อน แนะนำว่าถ้ากลัวต้องจ่ายเพิ่มควรสมัครประสุขภาพเพิ่มเติมนะคะ ที่นี่เค้ามีค่ะลองสอบถามดู
นราอินทร์
เรื่องการสำรองจ่ายมักจะเจอเวลาที่เข้ารักษาตัวของ โรงพยาบาลของรัฐครับ มักต้องจ่ายออกไปก่อนครับแล้วค่อยขอเคลมหลังจากออกโรงพยาบาลครับ ส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยกังวลเรื่องการสำรองจ่ายนะครับ เพราะยังไงท้ายที่สุดแล้ว ประกันก็ต้องจ่ายค่าคุ้มครองให้เราอยู่ดีครับ แต่แค่เราต้องรอเท่านั้นเองครับ ซึ่งอาจจะใช้เวลา 7-10 วันครับ ในการเคลมประกัน